ความหมายของสาระ [วัฑฒิสูตร]

 
wittawat
วันที่  2 ม.ค. 2555
หมายเลข  20288
อ่าน  12,384

ความหมายของสาระ

สาระ คือ สิ่งที่เป็นแก่นสาร หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในบรรดาสิ่งที่เกิดดับทุกขณะ มีทั้งที่เป็นประโยชน์ ประเสริฐ และสิ่งที่ตรงข้าม ได้แก่ ปัญญา และ อวิชชาสิ่งที่ประเสริฐ คือ มรรคมีองค์ ๘ เพราะเป็นหนทางดับกิเลสได้ แม้ว่าเกิดดับ และสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นประโยชน์ก็มี เช่น ความติดข้อง พอใจ ไม่รู้

อ่านข้อความเตือนสติ ทั้งหมดจากวัฑฒิ สูตร..ข้อความเตือนสติเรื่องวัฑฒิสูตร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 3 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สาระ คือ สิ่งที่เป็นแก่น สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ในที่นี้ไมได้หมายถึงการได้ รูปเสียง รส กลิ่น.....แต่ประโยชน์คือกุศลธรรมนี่คือสาระ เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกนี้ ประโยชน์สุขในโลกหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง (นิพพาน) ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสาระจึงมีหลายระดับตามระดับของกุศลธรรม ศีลก็เป็นสาระ นำมาซึ่งประโยชน์ ความสุข สมาธิก็เป็นสาระ (สัมมาสมาธิ) ปัญญาก็เป็นสาระ เพราะเห็นถูกตามความเป็นจริง วิมุตติ (การหลุดพ้น) เป็นสาระเพราะประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรม คือ เพื่อหลุดพ้นจากกิเลส ดังนั้นวิมุตติ (การหลุดพ้น) จึงเป็นสาระ
สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เกิดขึ้นและดับไป ไม่ใช่สาระ แต่สาระคือความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจก็ชื่อว่าเป็นสาระ กุศลธรรมประการต่างๆ ก็เป็นสาระ แต่สาระที่ประเสริฐคือการอบรมปัญญาเพื่อเข้าใจธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะเป็นไปเพื่อเพื่อดับกิเลส อันเป็นสาระสูงสุด ผู้ที่ถือในสิ่งที่เป็นสาระย่อมได้สาระ คือ ได้ในสิ่งที่ถูก เป็นประโยชน์ เป็นแก่นนั่นคือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมและดับกิเลสได้ในที่สุด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 ม.ค. 2555

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 367

๑๐. สารสูตร ว่าด้วยสาระ ๔ ประการ

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาระ๔ นี้ ฯลฯ คือ สีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ นี้แล สาระ ๔ ประการ.

จบสารสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 153
เรื่อง สญชัย

"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 3 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
k0982315910
วันที่ 3 ต.ค. 2561

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สิริพรรณ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ