วิปัสสนาภูมิ ๒

 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่  22 ม.ค. 2555
หมายเลข  20422
อ่าน  1,389

สืบเนื่องจากผมเคยเรียนสนทนาสอบถามในกระทู้เรื่อง วิปัสสนาภูมิ มาก่อน และต่อมาผมได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์บรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ในกระทู้นี้เพื่อการศึกษาเพิ่มเติมนะครับ

ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๖๙๐ สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ ปี ๒๕๔๗

ท่านผู้ถาม ท่านอาจารย์ค่ะ แล้ว ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เนี่ย ก็เป็นภูมิของวิปัสสนาภาวนา

ท่านอาจารย์สุจินต์ ใช้ภาษานี้นะค่ะ แล้วก็เหมือนกับเจาะจงว่าอย่างอื่นไม่ใช่ภูมิใช่ไหมคะ บางคนก็บอกจำนวนจำกัดมาเลย ว่าอะไรเป็นภูมิของวิปัสสนาได้ อะไรเป็นภูมิของวิปัสสนาท่องชื่อได้ แต่แท้ที่จริงแล้วทุกอย่างที่มีจริงเป็นภูมิของวิปัสสนาทั้งนัั้น

ท่านผู้ถาม ก็คือไม่พ้นปรมัตถธรรม ๔

ท่านอาจารย์สุจินต์ ก็แน่นอนค่ะ ถ้าไม่รู้ก็คือไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ ไม่ใช่ปัญญา จะดับกิเลสได้หรือ

ท่านผู้ถาม เพราะขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็ไม่พ้นสภาพธรรมะที่เป็นจิต เจตสิก และรูป

ท่านอาจารย์สุจินต์ ถูกต้องไหม ถ้ามีคนบอกว่า คนนี้พิจารณาขันธ์ คนนั้นพิจารณาธาตุ ในเมื่อไม่รู้อะไรเลย ใช่ไหมคะ แต่ผู้ที่ท่านรู้ ท่านสามารถที่จะรู้ว่า ขณะนั้นนะคะ ท่านพิจารณาอะไร ท่านพิจารณาลักษณะของขันธ์ หรือท่านพิจารณาของความเป็นอายตนะ หรือพิจารณาในความเป็นธาตุ แต่คนที่ไม่รู้เลย แล้วเราก็จะไปบอกว่า ให้คนนี้พิจารณาขันธ์ ให้คนนั้นพิจารณาธาตุ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะ ไม่รู้อะไร

ท่านผู้ถาม ท่านอาจารย์คะ แล้วอย่างปฏิจจสมุปปาทะเนี่ย ท่านก็แสดงไว้ว่า เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนาได้ด้วย ซึ่งก็ต้องเป็นลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมด้วย

ท่านอาจารย์สุจินต์ ถ้าไม่เป็นปรมัตถแล้วจะไปรู้อะไรละคะ ไปรู้สิ่งที่ไม่จริง ไปนั่งคิดเอา แล้วก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าขณะคิดน่ะอะไร

ท่านผู้ถาม จะให้ท่านอาจารย์ขยายความว่า บัณฑิตผู้ฉลาดในปฎิจจสมุปปาทะนั้น เป็นอย่างไร

ท่านอาจารย์สุจินต์ บัณฑิตทั้งหมดนะคะที่ท่านแสดง สูงสุดคือพระอรหันต์ อย่างที่เราพูดถึงคำแรกนะคะ "อวิชชา" แค่คำเดียวของปฏิจจสมุปปาทะ อยู่ที่ไหน ก็ยังไม่รู้ แล้วจะไปรู้ลักษณะความต่างของปัญญาซึ่งไม่ใช่อวิชชา

ท่านผู้ถาม ขอถามท่านอาจารย์ ถ้าเผื่อเราเห็นครั้งหนึ่งเนี่ย เราพิจารณาตรงลักษณะของสภาพธรรมหรือสภาวธรรม ขณะนั้นก็เป็นอโมหะ โลภะหรืออกุศลก็ไม่เกิด อย่างนี่ จะถูกไหมครับ

ท่านอาจารย์สุจินต์ แม้เวลาที่กล่าวถึง อกุศล นะคะ เพราะเหตุว่า แม้แต่อกุศลนั้นเป็นอะไรก็ยังไม่รู้ ซึ่งความจริงแล้วเวลาที่พูดถึงอกุศลเนี่ยค่ะ ต้องเป็นโลภมูลจิต หรือ โทสมูลจิต หรือ โมหมูลจิต ซึ่งจะสังเกตได้ด้วยความต่างของเวทนาที่เกิดร่วมด้วย ถ้าขณะนั้นเป็นความรู้สึกที่ไม่เดือนร้อน เฉยๆ ขณะนั้นก็จะเป็นโลภะหรือโมหะ แต่ไม่ใช่รู้ได้โดยการคาดคะเนค่ะ ต้องสามารถรู้โดยสติสัมปัชชัญญะ ทั้งหมดนี่ขึ้นอยู่กับสติสัมปชัญญะ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่รู้ตรงลักษณะ ก็เพียงเดานะคะว่านี้เป็นโมหะ หรือว่าเป็นโลภะ ขณะที่ความรู้สึกนั้นไม่ใช่เดือดร้อน คือ ไม่ใช่โทมนัสเวทนา ก็จะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด นี่คือขั้นของการศึกษา

แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรมะ คือตัวธรรมะเนี่ยนะคะ เข้าใจลักษณะของสติสัมปชัญญะ รู้ขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ว่าต่างกับสติสัมปชัญญะไม่เกิด จะเข้าใจอวิชชาไหมคะ ไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย อรรถะของอวิชชานี้มีเยอะ หลายคำ ตรงไหมกับที่กล่าวไว้แล้วทั้งหมดนะคะ เช่น ขณะที่เห็นแล้วก็หลงลืมสติเนี่ยนะคะ ขณะนั้นเห็นดับแล้ว แล้วก็มีอกุศลจิตเกิดต่อโดยมีอวิชชา ถ้าไม่มีอวิชชา อะไรจะเกิดหลังจากที่เห็นดับแล้ว แล้วไม่รู้นะคะ

ไม่ใช่ว่ามีสติสัมปชัญญะที่รู้ คือตามรู้มโนทวารวิถีจิตจะรู้สิ่งที่ปัญจทวารวิถีรู้ หรือที่โสตทวารวิถี ฆานทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี กายทวารวิถี มโมทวารวิถี ถ้าสติสัมปชัญญะเกิด เราไม่จำเป็นต้องกล่าวแยกไปเลยนะคะว่า ทางทวารไหน อะไร อย่างไร แต่ผู้ที่ทรงแสดง ทรงแสดงถึงความละเอียดที่สุดที่ว่า หลังจากจิตหนึ่งขณะดับไปแล้ว ยังไม่ทันถึงมโนทวารนะคะ ในปัญจทวารซึ่งอาศัยจักขุเป็นทวารนั่นเองมีจิตอะไรเกิดสืบต่อ พอถึงชวนจิตเนี่ยค่ะ เวลานี้ขณะที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด สภาพธรรมะเกิดดับนับไม่ถ้วนนะคะ เราจะไปรู้จริงๆ ในสิ่งซึ่งทรงแสดงไว้เนี่ยเป็นไปไม่ได้ นอกจากฟังแล้วก็เริ่มเข้าใจว่า ธรรมะคืออย่างนี้

เพราะฉะนั้น จะรู้ว่าอวิชชาคือเมื่อไร อย่างไร ต่อเมื่อสติสัมปัชชัญญะเกิด จึงรู้ความต่างว่าขณะที่สติสัมปชัญญะไม่เกิดนะคะ ขณะนั้นไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมะ ทันทีที่เรานอนหลับและตื่นขึ้นมาเห็นเนี่ยค่ะ เรารู้ลักษณะของเห็น สภาพนั้นไม่ใช่เรา เป็นธาตุรู้ และสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นสภาพธรรมะอย่างหนึ่ง เรารู้อย่างนี้หรือเปล่า เป็นผู้ที่มีสติหลับ มีสติตื่น หรือเปล่า ถ้ายังไม่ใช่ ก็คือว่าขณะนั้นนะคะ ไม่รู้ใช่ไหมคะ

เพราะฉะนั้นอวิชชาไม่ใช่ชื่อ ที่อยู่ในหน้านั้น หน้านี้นะคะ แต่อวิชชาก็คือขณะที่สติสัมปัชชัญญะไม่เกิด ขณะนั้นจะไม่รู้ความต่างของสภาพธรรมะที่มีลักษณะจริงๆ กับเรื่อง ราวทั้งหมดด้วยความไม่รู้ เพราะฉะนั้นในที่นี้ที่กล่าวว่า หลงไปในบัญญัติ ในเรื่องราวต่างๆ ในความคิดนึกต่างๆ นะคะ นั้นเป็นขณะที่สติสัมปัชชัญญะไม่เกิด เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจอวิชชาก็คือสามารถที่จะรู้ได้ว่าปัญญาต่างกับขณะที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด เพราะฉะนั้น อวิชชาอยู่ที่ไหน ก็ตอบได้ มิฉะนั้นตอบไม่ได้เลย ใช่ไหมคะ อยู่หน้านั้น เล่มนี้ แต่ว่าจริงๆ แล้ว เมื่อสติสัมปัชชัญญะไม่เกิด ตั้งแต่ลืมตาตื่น จนกระทั่งหลับ ก็เป็น เรื่องราวของสมมติบัญญัติ

เพราะฉะนั้นก็จะกล่าวได้เลยนะคะว่า ทันทีที่ตื่น ก็หลง หลงนี้คืออวิชชา อวิชโชฆะ กว้างใหญ่สักแค่ไหน แล้วก็บัญญัติด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวถึง โอฆะ คือ อวิชชา เพราะว่า หลง หลงในอะไร ในเรื่องราว ในบัญญัติ ถ้าโอฆะเป็นทะเล เป็นมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ เรื่องราวในวันหนึ่งๆ ก็กว้างใหญ่มากเหมือนกับชื่อทั้งหลาย เป็นทะเลที่หลงไปในชื่อเรื่องราวต่างๆ นั้น ด้วยอวิชชานั้นเอง

ท่านผู้ถาม ที่ท่านอาจารย์บอกว่าขณะที่ไม่รู้สภาพธรรมะที่กำลังปรากฏขณะนี้ ก็จะเห็นว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

ท่านอาจารย์สุจินต์ ถูกต้องค่ะ ซึ่งถ้าเป็นกุศลก็คือกุศลเจตนาที่เกิดกับกุศลจิต

ท่านผู้ถาม เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะจึงเห็นความต่างกันระหว่างมีสติกับหลงลืมสติ

ท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยสติสัมปชัญญะเท่านั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยความเคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาทุกๆ ท่านด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เซจาน้อย
วันที่ 22 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยความเคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 22 ม.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 23 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิปัสสนาภูมิ หากพูดให้เข้าใจง่าย ก็คือ ที่ตั้งให้สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมทั้งหมด ที่มีจริง ที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน เป็นที่ตั้งของวิปัสสนา หรือ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา สติปัฏฐาน ที่เรียกว่า ภูมิของวิปัสสนาครับ

ขณะนี้ มีเห็น เห็นเป็นสิ่งที่มีจริง เมื่อสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ ลักษณะของเห็น สติปัฏฐานที่เ่กิด คือ วิปัสสนา เห็นที่ถูก สติปัฏฐานรู้ เป็นภูมิ หรือ เป็นที่ตั้งของวิปัสสนา ภูมิ จึงหมายถึง อารมณ์ที่สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ครับ ดังนั้นเมื่อเข้าใจว่า ภูมิ คือ สภาพธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ก็เป็นที่ตั้งของสติ และเพราะอาศัย การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเรื่องสภาพธรรม หรือ จะกล่าวว่า ศึกษาเรื่องภูมิของวิปัสสนา ก็จะเป็น เหตุให้สติปัฏฐานเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็คือ ระลึกตัวภูมิของวิปัสสนา นั่นเอง

ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้คำว่า ปัฏฐาน ที่ตั้งของสติ หรือ ภูมิ หรือ อารมณ์ ก็ล้วน แล้วแต่ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นที่ตั้งของสติปัฏฐานนั่นเองครับ

ขออนุโมทนา คุณผู้ร่วมเดินทางครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 ม.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jaturong
วันที่ 23 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pat_jesty
วันที่ 23 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 23 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ทันทีที่ตื่น ก็หลง หลงนี้คืออวิชชา อวิชโชฆะ กว้างใหญ่สักแค่ไหน แล้วก็บัญญัติด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวถึง โอฆะ คือ อวิชชา เพราะว่าหลง หลงในอะไร ในเรื่องราวในบัญญัติ ถ้าโอฆะเป็นทะเล เป็นมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ เรื่องราวในวันหนึ่งๆ ก็กว้างใหญ่มาก เหมือนกับชื่อทั้งหลายเป็นทะเลที่หลงไปในชื่อเรื่องราวต่างๆ นั้น ด้วยอวิชชานั้นเอง"

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง...

สภาพธรรมที่มีจริงทุกอย่าง เป็นที่ตั้งให้ปัญญาเกิดขึ้นรู้ตามความเป็นจริงได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจถูกเห็นถูก ตั้งแต่ต้นว่า เป็นธรรมที่มีจริง ซึ่งเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ เพราะ ธรรม นั้น กว้างขวางมาก ครอบคลุมทั้งนามธรรมและรูปธรรมทั้งหมด ขณะที่รู้ ก็รู้ทีละอย่างไม่ปะปนกัน

ดังนั้น สภาพธรรมทั้งหมด ทั้งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยที่เป็นสังขารธรรม และ ทั้งที่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่เกิดไม่ดับ คือ พระนิพพาน ปัญญาสามารถเข้าใจตามความเป็นจริงได้ทั้งหมด ไม่มีเว้น สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกที่ค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ เพราะ ปัญญาระดับสูงจะมีได้ ก็ต้องเริ่มจากการอบรมเจริญสะสมไปทีละเล็กทีละน้อย ด้วยความอดทนจริงๆ ครับ

...ขอบพระคุณ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้ร่วมเดินทางและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Thanapolb
วันที่ 23 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ที่ยังไม่ใช่อริยบุคคล หรือผู้ที่สติสัมปชัญญะไม่ได้เกิดอยู่เนืองๆ ก็ยากที่จะเข้าใจสภาพธรรมะที่เกิดตามจริง ไม่ว่าจะเกิดทางปัญจทวาร แม้ในขณะเป็นชวนจิต ที่เป็น อกุศล เช่น มีโลภะ เล็กน้อย มีโทสะ ขุ่นเคืองใจเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ทราบได้ เพราะ ขณะนั้นเป็นอกุศลไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย แต่เมื่อสภาพธรรมะนั้นดับไป มาระลึกได้ทีหลังว่า อ้อ เป็นโลภะ โทสะนะ ขณะนั้นสภาพนึกคิดหรือพิจาณาอย่างนั้น ก็อาจยัง เป็นเพียงปัญญาขั้นนึกคิด เพราะเคยฟังมา แต่ก็ยังดีกว่าระลึกไปทางอกุศล หรือไม่เข้าใจอะไรเลย ใช่ไหมครับ และการระลึกได้อย่างนี้เนืองๆ จะเป็นปัจจัยให้เกิด สติสัมปชัญญะที่แท้จริง เมื่อมีเหตุปัจจัยพอเพียงหรือปัญญาสะสมเกร่งกล้าพอแล้ว โดยไม่ต้องรอ ไม่ต้องหวัง ถูกผิดอย่างไรเมตตาชี้แนะ ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 23 ม.ค. 2555

เรียน ความเห็นที่ 8 ครับ

ถูกต้องครับ ผู้ที่เพิ่งเริ่มสะสมปัญญามาเพียงไม่มาก ก็ยังไม่มีสติและปัญญาที่ระลึก รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ แต่เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็เริ่มคิด พิจารณาถูกต้อง หลังจากสภาพธรรมะนั้นดับไปแล้ว เช่น คิดว่าเป็นโลภะ โทสะที่ดับไป แต่ก็ต้องเป็น ผู้ตรง ไม่สำคัญผิดว่า ขณะที่คิดว่าเป็นโลภะ โทสะ ยังไม่ได้รู้จริงๆ เพราะคิดนึก ถึงสภาพธรรมที่ดับไปแล้ว เมื่อไม่สำคัญผิดว่า เป็นสติปัฏฐานแล้ว ก็ฟังธรรมต่อไป จะนึกคิดเรื่องอะไร ก็เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ เพราะเป็นสภาพธรรมที่มีจริง

ดังนั้น หน้าที่ คือ ฟังพระธรรมต่อไปเท่านั่นครับ และเมื่อถึงเวลา สติปัฏฐานก็จะเกิดเอง เพราะเป็นหน้าที่ของธรรมใช่เรา เมื่อเริ่มถูก ย่อมถึงจุดหมายแน่นอนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
bsomsuda
วันที่ 23 ม.ค. 2555

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ