พระธรรมกถึกคือใคร สมัยนี้ยังมีหรือไม่ ต่างกับการสนทนาธรรมอย่างไร

 
Zeta
วันที่  13 มี.ค. 2555
หมายเลข  20762
อ่าน  8,487

พูดถึงการสนทนาธรรม มักนึกถึงลักษณะของการถาม-ตอบ ทบทวนความรู้ตนเองว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ และเพื่อการได้รู้ได้ทราบถึงสิ่งที่ไม่รู้ และมักจะนึกถึงการสนทนาในมิลินทปัญหาได้ยินมาว่าลักษณะของการสนทนานั้นไม่จำกัด เพียงแต่ระวังที่จะไม่ให้เกิดโทษก็คือ “การพูดต้องมีที่มา มีที่ไป มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่กล่าวลอยๆ ”

แต่หากเป็นการบรรยายธรรมจะนึกถึงการเทศนาของพระ โดยมีข้อควรระวังในการเทศนา คือแสดงไปตามลำดับ ไม่ตัดทอน หรือข้ามลำดับจนเสียความ ไม่แสดงธรรมในลักษณะยกตนข่มท่านและไม่แสดงธรรมเสียดสีผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่มุ่งกล่าวให้ร้ายใคร ไม่มุ่งทำร้ายใคร ฯลฯ สมัยนี้ฆารวาสก็บรรยายธรรมกันมาก ทั้งนี้ สงสัยว่าการสนทนาธรรม ต่างกับการบรรยายธรรมอย่างไรประโยชน์สูงสุดที่ผู้ฟังจะได้รับจากทั้งการสนทนาธรรม การฟังธรรม คือความเข้าใจ การขัดเกลากิเลส ไม่ใช่ให้เกิดอกุศล ผู้สนทนาและบรรยายธรรม จึงควรสำรวมระวังในการวางตัวและการพูดแสดงธรรมใช่หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 15 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การที่จะเป็นผู้เข้าใจธรรม เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้นั้น ต้องอาศัยการฟังการศึกษา จากกัลยาณมิตรผู้ที่มีปัญญา มีความเข้าใจธรรมตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม กัลยาณมิตรสูงสุด คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เลิศ ผู้ประเสริฐสูงสุดที่อุบัติขึ้นมาในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างแท้จริง เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว เป็นผู้ที่เห็นว่าพระธรรมละเอียดลึกซึ้ง ถ้าไม่มีการกล่าว ไม่มีการแสดง ไม่มีการเปิดเผย แล้ว คนอื่น ก็จะไม่มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาได้เข้าใจธรรมอันละเอียดลึกซึ้ง นั้น จึงแสดงธรรม แสดงสิ่งที่มีจริง ตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อประโยชน์คือความเข้าใจถูกเห็นถูกแก่ผู้อื่น ตามกำลังปัญญาของตนเอง การที่จะเป็นผู้แสดงธรรม เป็นผู้กล่าวธรรม กล่าวสอนธรรม บรรยายธรรม หรือจะเรียกตามภาษาบาลีว่า ธมฺมกถิก (ธรรมกถึก) ซึ่งก็คือ ผู้กล่าวธรรม นั่นเอง

ซึ่งต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง จากการที่จะได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ทั้งนั้น แต่ถ้าไม่ได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่สามารถอนุเคราะห์เกื้อกูลด้วยการให้ความเข้าใจถูกเห็นถูกแก่ผู้อื่นได้เลย ยิ่งถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องหรือมีความเห็นผิดแล้ว การเผยแพร่ก็ย่อมจะเป็นไปตามความเห็นที่ผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ตรงตามพระธรรมทีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง นั่นเป็นอันตรายอย่างยิ่งทีเดียว ดังนั้น การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความละเอียดรอบคอบ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จริงอยู่ ผู้กล่าวธรรม ก็ต้องมุ่งเพื่อประโยชน์ คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูกของผู้ฟังเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งลาภสักการะ ไม่ใช่เพื่อยกตน ไม่ใช่เพื่อข่มผู้อื่น และที่สำคัญต้องประกอบด้วยเมตตา เมื่อกล่าวถึงข้อความใดเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ย่อมเป็นประโยชน์ทั้งนั้น [พวกเราทุกคนเป็นคนไทย ก็สามารถเข้าใจธรรมด้วยภาษาของตน คือ ภาษาไทย] แม้บางครั้งจะไม่ได้อ้างถึงที่มา (เพราะคงไม่มีใครที่จำข้อความจากพระไตรปิฎก ได้ทั้งหมด) แต่ก็เป็นธรรม เพราะกล่าวถึงสิ่งที่มีจริง เมื่อสอบทานกับพระไตรปิฎก แล้ว ก็ตรงกัน เพราะทุกคำในพระไตรปิฎก ก็เพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ และตราบใดที่ยังเป็นผู้ที่มีกิเลสอยู่ สิ่งที่ไม่ดี ความไม่เหมาะสม ก็ย่อมจะเกิดมีด้วยกันทั้งนั้น ไม่่ว่าใครก็ตาม สิ่งที่ไม่ดีเหล่านี้ จะค่อยๆ ละคลายลงไปได้ ก็เมื่อมีความเข้าใจธรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น ผู้ที่มีปัญญาท่านย่อมเข้าใจในการสะสมของแต่ละบุคคล ไม่ว่าร้าย ไม่ซ้ำเติมผู้อื่นเมื่อกระทำในสิ่งที่ไม่ดี หรือผิดพลาด ถ้ามีโอกาสท่านก็จะให้คำแนะนำที่ดี เพื่อจะให้ได้ระลึกได้เห็นโทษของอกุศลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีอันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในการขัดเกลาตนเองสำหรับผู้นั้นต่อไป เพราะกัลยาณมิตร ย่อมให้สิ่งทีดีสำหรับผู้อื่นเสมอๆ ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเิติมได้ที่นี่ ครับ ลักษณะของผู้แสดงธรรมที่ีดี [อุทายิสูตร]

ธรรมกถิกสูตร .. คุณธรรมของพระธรรมกถึก ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 15 มี.ค. 2555

ธรรมกถึก คือผู้ที่แสดงธรรม ไม่เจาะจงว่าเป็นบุคคลใด มุ่งประโยชน์ของผู้ฟัง ที่สำคัญขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น เคยสะสมบุญในอดีต ก็จะได้ฟังธรรมของบัณฑิต ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 15 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ที่มีปัญญาท่านย่อมเข้าใจในการสะสมของแต่ละบุคคล ไม่ว่าร้ายไม่ซ้ำเติมผู้อื่นเมื่อ

กระทำในสิ่งที่ไม่ดี หรือผิดพลาด ถ้ามีโอกาสท่านก็จะให้คำแนะนำที่ดี เพื่อจะให้ได้

ระลึกได้เห็นโทษของอกุศลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีอันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในการ

ขัดเกลาตนเองสำหรับผู้นั้นต่อไปเพราะกัลยาณมิตร ย่อมให้สิ่งทีดีสำหรับผู้อื่นเสมอๆ

และ

ธรรมกถึก คือผู้ที่แสดงธรรม ไม่เจาะจงว่าเป็นบุคคลใด มุ่งประโยชน์ของผู้ฟัง

ที่สำคัญขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น เคยสะสมบุญในอดีต ก็จะได้ฟังธรรมของบัณฑิต ค่ะ

แจ่มแจ้งครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.คำปั่น อ.วรรณีและทุกท่านครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

จุดประสงค์ของการแสดงหรือสนทนาธรรมทึ่ถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Zeta
วันที่ 15 มี.ค. 2555

แจ่มแจ้งค่ะ ท่านอาจารย์และอาจารย์คำปั่นเป็นผู้มีเมตตามากค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ