ว่าด้วยความต่างแห่งพาลและบัณฑิต [พาลบัณฑิตสูตรที่ ๙]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 91
๙. พาลบัณฑิตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งพาลและบัณฑิต
[๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบ
ด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย ย่อม
มีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ
สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องคนพาล
เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ กายนี้ของบัณฑิต ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว
ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอก
ด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้จึงเกิด
ผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองงอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง
ถูกต้องบัณฑิต เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์.
[๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น จะแปลกกันอย่างไร
จะมีอธิบายอย่างไร จะต่างกันอย่างไร ระหว่างบัณฑิตกับพาล พวก
ภิกษุกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมของพวกข้าพระองค์มี
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเดิม มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มี
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่รวมลง ขอประทานพระวโรกาส เนื้อความแห่งพระ
ภาษิตนี้ แจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลาย
ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวก
เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กายนี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว
และประกอบแล้วด้วยตัณหาใดเกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น
คนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น
เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเข้าถึงกาย
ชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า
ยังไม่พ้นไปจากทุกข์
กายนี้ของบัณฑิตผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว
และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น
บัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น
เมื่อตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย
ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า
ย่อมพ้นจากทุกข์
อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย
อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล
กล่าวคือ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.
จบพาลบัณฑิตสูตรที่ ๙
ข้อความบางตอนใน อรรถกถาพาลบัณฑิตสูตรที่ ๙
..................
อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสแสดงธรรม แก่พวกข้าพระองค์เถิด.
ในคำว่า สาเจวอวิชฺชานี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
อวิชชาและตัณหานั้น แม้ยังกรรมให้แล่นไป ชักปฏิสนธิมาแล้ว
ดับไปก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็กล่าวคำนี้ว่า สาเจวอวิชชาสาเจว
ตณฺหาไว้แม้ในที่นี้ เพราะอรรถว่า เห็นสมกัน เหมือนเภสัชที่ดื่ม
วันวาน แม้วันนี้บริโภคโภชนะเข้าไป เภสัชนั้นก็ยังเรียกว่า เภสัชนั่นเอง
ฉันนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยํได้แก่มรรคพรหมจรรย์. บทว่า
ทุกฺขกฺขยายได้แก่เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏทุกข์. บทว่า กายูปโค
โหติได้แก่เป็นผู้เข้าถึงปฏิสนธิกายอื่น. ด้วยบทว่า ยทิทํพฺรหฺมจริย-
วาโสนี้ ท่านแสดงว่า มรรคพรหมจริยวาสนี้ใด. นี้คือความแปลกกัน
ของบัณฑิตจากคนพาล. ดังนั้นในพระสูตรนี้ ท่านจึงเรียกว่าปุถุชนผู้ยัง
มีปฏิสนธิทั้งหมดว่า เป็นคนพาล พระขีณาสพผู้ไม่มีปฏิสนธิ เรียกว่า
เป็นบัณฑิต. ส่วนพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ใครๆ
ไม่ควรเ รียกว่า บัณฑิต หรือคนพาล. แต่เมื่อคบ ก็คบแต่ฝ่ายบัณฑิต.
จบอรรถกถาพาลบัณฑิตสูตรที่ ๙
ขออนุโมทนาค่ะ
ขณะที่เป็นบาป คือ ขณะที่ทำบาป มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ มีความเห็นผิด เป็นต้น แต่การไม่มีคู่ครอง
ไม่ได้เป็นการทำร้ายผู้อื่น และไม่ได้ ทำบาป ตามประการต่างๆ ที่กล่าวมา จึงไม่ได้
เป็นบาป ครับ เพราะฉะนั้ น การทำบาป สำคญที่การกระทำทางกาย วาจาของแต่ละ
บุคคล ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีคู่ครอง ไม่มีคู่ครอง หากมีคู่ครอง แต่ทำการกระทำทาง
กาย วาจา ไม่ดี มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จในขณะใด เป็นบาปแล้วในขณนั้น และ
แม้ไม่มีคู่ครอง แต่ มีการทำบาป มีการฆ่าสัตว์ ลักทรพัย์ เป็นต้น ขณะใด ขณะนั้นเป็น
บาปในขณะนั้น ครับ
สรุปได้ว่า ขณะที่เป็นบาป คือ ขณะที่มีกาย วาจาและใจที่ไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่การมีคู่ครอง
หรือ ไม่มีคู่ครอง ครับ
ซึ่ง การจะเป็นคนดี คือ กุศลจิตเกิดขึ้นบ่อย และ อกุศลเกิดขึ้นน้อยลง ไม่ใช่เพราะ
การมีคู่ครอง หรือ ไม่มีคู่ครอง แต่ขึ้นอยู่กับ ปัญญาที่เจริญขึ้น ที่เป็นสภาพธรรมที่เห็น
ถูกตาความเป็นจริง เมื่อมีความเห็นถูก ก็ทำให้คิดถูก เป็นกุศลในขณะนั้น วาจา และ
กายก็ถูกขึ้น ตาม ปัญญาที่เจริญขึ้น ก็งดเว้นจากบาปทางกาย วาจา ตาม ปัญาความ
เห็นถูกที่มากขึ้น เพราะอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ย่อมทำให้ปัญญาเจริญ
ขึ้น และทำให้เป็นคนดี ดีด้วยกุศลธรรมที่เจริญขึ้น และงดเว้นจากบาปมากขึ้นนั่นเอง
ดังนั้น การมีคู่ครอง หรือ ไม่มีคู่ครอง ไม่ใช่เครื่องตัดสินว่า จะทำบาป หรือ ตัดสินว่า
เป็นคนดี มีปัญญา แต่ขึ้นอยู่กับใจของแต่ละใจ แต่ละคน ว่าสะสม สิ่งใด กุศลธรรม
หรือ ปัญญา หรือ อกุศลธรรมมามาก ไม่มาก ครับ ดังนั้น วัดที่ใจ วัดที่จิตของแต่ละคน
ว่า จิตใจเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้า ทรงแสดงหนทางการดับกิเลส ไม่ใช่เพียงไม่ให้มี
คู่ครอง หรือ มีคู่ครอง แต่ทรงแสดงธรรม เพื่อละ อกุศลธรรม มีโลภะ เป็นต้นที่ ยิ่งกว่า
คู่ครอง สนิทชิดเชื้อมากกว่า การมีคู่ครอง เพราะ ติดตาม จิตใจของบุคคลนั้นไปตลอด
พระองค์ทรงแสดงธรรม เพื่อละโลภะ ความสนิทสนมด้วยกิเลส ด้วย อริยมรรค คือ การ
เจริญสติปัฏฐาน คือ การรู้ความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ปัญญา
จึงเป็นธรรม ที่นำไปสู่หนทางการดับกิเลส ซึ่ง ผุ้ที่เจริญตามทางที่พระองค์ทรงแสดง
ก็บรรลุธรรม ทั้งที่มีคู่ครอง และ ไม่มีคู่ครอง ครับ
ประโยชน์ที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่การจะมีคู่ครอง หรือ ไม่มีคู่ครอง แต่ ทุกอย่างก็ต้องเป็น
ไปตามเหตุปัจจัย ที่จะมีคู่ครอง หรือไม่ บังคับไม่ได้ แต่สำคัญที่สุด คือ จะมีคู่ครอง หรือ
ไม่มีก็ตาม สมควรที่จะอบรมหนทางการดับกิเลส ด้วยการฟังพระธรรม ตามกาลเวลาอัน
สมควร เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา อันจะ ละ ธรรมที่สนิทยิ่งกว่าคู่ครอง คือ โลภะ
และกิเลส ที่ติดตามจิตใจ ไปทุกชาติ มากกว่า คู่ครอง ที่มีเพียงชาตินี้เท่านั้น ครับ ขอ
อนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอเชิญสหายธรรมทุกท่านร่วมสนทนา
ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน แต่ธรรมะของสัตบุรุษ และ อสัตบุรุษ ไกลกันยิ่งกว่านั้น ค่ะ