สติปัฎฐาน และ สัญญาที่มั่นคง

 
peeraphon
วันที่  7 พ.ค. 2555
หมายเลข  21086
อ่าน  1,735

เรียนท่านอาจารย์ทุกท่านครับ

พยายามจะหาคำตอบจากที่หลายๆ ท่าน ได้เคยถามปัญหาธรรมมะมา ในเบื้องต้นเพื่อศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเองไปก่อน โดยที่ว่าท่านอาจารย์จะได้ไม่ต้องตอบซ้ำๆ กับคำถามเดิมๆ และก็ได้ไปเจอกระทู้หนึ่ง ซึ่งสงสัยมีข้อสงสัยและอยากทราบว่าสิ่งที่ผมเข้าใจเกี่ยวกับ สติปัฏฐาน นั้นถูกต้องหรือไม่ และได้ไปพบ หัวข้อนี้ เข้า

สัญญา เป็นเหตุ ใกล้ให้เกิดสติ

และได้พบข้อความของคุณ Akrapat ในความคิดเห็นที่ 7. ซึ่งผมก็มีความเข้าใจว่าอย่างลักษณะแบบนั้นเลย. แต่ในนั้นเห็นว่า ไม่มีใครที่ confirm ว่าความเห็นถูกต้อง จึงอยากรบกวนท่านอาจารย์ ลองพิจาราณา ข้อความที่ความคิดเห็นที่ 7 ว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจ ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ.

ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากข้อความที่ว่า

สัญญาที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ คือ ถิรสัญญา จิตจำสภาวธรรมได้ ไม่ได้จำชื่อ รู้ความหมายแล้วเข้าใจด้วยการคิด สภาวธรรมใดที่เกิดขึ้นบ่อยจิตจะจำไว้ได้ เช่น โกรธ มีลักษณะ หรือสภาวะอย่างหนึ่ง โลภะมีสภาวะอีกอย่างหนึ่ง คือติดข้อง เมื่อโลภะหรือโทสะเกิดขึ้น ถ้าจิตจำสภาวะได้ก็จะเป็นเหตุให้สติระลึก ถ้าเป็นสติปัฏฐานแล้ว จิตที่มีโทสะหรือโลภะ ก็จะดับลงทันที เพราะจิตเกิดดับทีละขณะ และจิตที่เป็นกุศลจะไม่เกิดร่วมกับจิตที่เป็นอกุศล บางคนอาจจะถามว่า บางทีขณะที่โกรธก็รู้ตัวว่าโกรธ แต่ความโกรธไม่หาย นั่นแสดงว่ายังไม่ใช่สติปัฏฐานหรือยังไม่มีสัมปชัญญะ ความตั้งมั่นชั่วขณะ หรือถ้ากำลังคิดอะไรเพลินๆ สติระลึกขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ความคิดก็จะดับลงอีก เมื่อจิตจำสภาวธรรมได้บ่อยๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตื่นเต้น สติก็จะเกิดบ่อยๆ ทุกครั้งที่สติเกิด จะรู้สึกว่าจิตที่เป็นโทสะหรือโลภะก่อนหน้านั้น ไม่ใช่เรารู้สึกจริงนะครับ ไม่ใช่คิดเอา จนกระทั่งสติเกิดบ่อยๆ ปัญญาเจริญขึ้นเป็นลำดับ จนท้ายสุดก็จะเห็นว่าแม้กระทั่งจิตที่มีสติก็ไม่ใช่เรา ... เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้วก็ใช่ว่าจะมั่นคงนะครับ ถ้ายังละความเห็นผิดว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ได้


ธรรม เป็นเรื่องละเอียดมากครับ แม้แต่คำว่า สัญญาเป็นเหตุใกล้ให้สติเกิด ก็มีความลึกซึ้ง เช่นกัน จากข้อความข้างต้น กล่าวว่าจิตจำสภาวธรรมได้ คำนี้ไม่ถูกต้อง เพราะจิตทำหน้าที่รู้ เป็นใหญ่ในการรู้เท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่จำ สภาพธรรมที่ทำหน้าที่ จำ คือสัญญาเจตสิก แต่ สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท คือ เกิดกับกุศลจิตก็ได้ อกุศลจิตก็ได้

จากคำกล่าวที่ว่า

สภาวธรรมใดที่เกิดขึ้นบ่อยจิตจะจำไว้ได้ เช่น โกรธ มีลักษณะหรือสภาวะอย่างหนึ่ง โลภะ มีสภาวะอีกอย่างหนึ่ง คือติดข้อง เมื่อโลภะหรือโทสะเกิดขึ้น ถ้าจิตจำสภาวะได้ก็จะเป็นเหตุให้สติระลึก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ค. 2555

ตามที่กล่าวแล้วครับว่า สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท ซึ่งเกิดกับ จิตที่เป็นอกุศลก็ได้ และจิตก็เป็นสภาพธรรมที่รู้ทุกอย่าง แม้อกุศลก็รู้ได้ ดังนั้น ขณะที่โกรธเกิดบ่อยๆ ไม่ได้หมายความว่า สภาพธรรมอะไรเกิดบ่อยๆ จิตจะจำไว้ได้และจะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด เพราะจิตไม่ได้ทำหน้าที่จำ แต่สัญญาทำหน้าที่จำ และขณะที่โกรธเกิดบ่อยๆ ไม่จำเป็นครับว่า สิ่งที่เกิดบ่อยแล้วมีความจำบ่อยๆ ในสิ่งนั้นจะเป็นความจำที่มั่นคงให้สติปัฏฐานเกิด เพราะ สัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นการจำที่เกิดกับอกุศล ขณะที่โทสะเกิด สัญญาที่จำด้วยอกุศล ไม่เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด แน่นอน คือ ความจำที่มั่นคงที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด ครับ

แต่สัญญาที่มั่นคงที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด คือ ความจำที่เกิดพร้อมกับปัญญา ความเข้าใจในขั้นการฟังไปเรื่อยๆ ทีละเล็กละน้อย ว่า ขณะนี้เป็นธรรมไม่ใช่เรา นี่คือ การสะสม สัญญา ความจำจนมั่นคง ที่เกิดพร้อมปัญญา ย่อมเป็นสัญญาที่มั่นคงที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิด ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peeraphon
วันที่ 9 พ.ค. 2555

เรียนอ.ผเดิม ครับ

แสดงว่า สติปัฏฐานไม่ได้เกิด เพราะความจำที่มั่นคง แต่ สัญญาที่มั่นคงไปในทาง ทาน ศีล ปัญญา ทำให้สติปัฏฐานเกิด ใช่หรือไม่ครับ? หากว่าจะยกตัวอย่างสักข้อนึงนะครับ. เมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่อยู่ในกลุ่มเพื่อนฝูง. มีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น มีสิ่งที่กระทบสัมผัส ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ เมื่อเสียงกระทบโสตทวาร และจิตคิด สืบต่อ ซึ่งรู้สึกไม่ยินดีพอใจ ขณะนั้นเป็นโทสะ. ขณะนั้น จิตคิดก็เกิดสืบต่อ พิจารณาสภาพธรรมที่ปรากฏ ถึงความไม่ยินดีพอใจ. หากผู้นั้นเป็นผู้สะสมปัญญาจากการฟัง ก็ พิจาราณา และ สัญญาเจตสิกก็ทำกิจ จำ เสียง และสภาพจิตที่ไม่ยินดีพอใจ ที่เป็นเหตุให้โทสะเกิด ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็น อกุศล. เมื่อพิจารณาอย่างนี้อยู่บ่อยๆ ก็เกิดสะสมเป็นสัญญาความจำไป หลายๆ ครั้ง ที่เกิดปรากฏ. เมื่อโทสมูลจิต เกิดขึ้น ครั้งต่อๆ ไปที่เป็นลักษณะเดียวกัน และเมื่อปัญญาถึงพร้อมและถึงระดับขั้นที่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่จะเป็นผลให้ สติปัฎฐาน เกิดระลึกในสภาพธรรมที่เคยเจอมาแล้ว ณ ขณะนั้น (มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย) ว่ามีแต่สภาพธรรม ไม่มีเรา ขณะนั้น โทสะ ที่เกิดขึ้น ก็ดับไป ไม่สืบเนื่องไปยังวิถีจิตต่อๆ ไป อย่างนี้ใช่หรือไม่ครับ?

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 9 พ.ค. 2555
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

จากคำถามที่ว่า

แสดงว่า สติปัฏฐานไม่ได้เกิด เพราะความจำที่มั่นคง แต่ สัญญาที่มั่นคงไปในทางทาน ศีล ปัญญา ทำให้สติปัฏฐานเกิด ใช่หรือไม่ครับ?


- ถูกต้องครับ ต้องเป็น สัญญา ที่เกิดพร้อมกับปัญญาในขั้นการฟัง ในเรื่องของสภาพธรรม ว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ เป็นสัญญาที่เกิดกับกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ครับ


จากคำถามที่ว่า

หากว่าจะยกตัวอย่างสักข้อหนึ่งนะครับ. เมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่อยู่ในกลุ่มเพื่อนฝูง. มีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น มีสิ่งที่กระทบสัมผัส ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ เมื่อเสียงกระทบโสตทวาร และจิตคิด สืบต่อ ซึ่งรู้สึกไม่ยินดีพอใจ ขณะนั้นเป็นโทสะ. ขณะนั้น จิตคิดก็เกิดสืบต่อ พิจารณา สภาพธรรมที่ปรากฏ ถึงความไม่ยินดีพอใจ. หากผู้นั้นเป็นผู้สะสมปัญญาจากการฟัง ก็ พิจาราณา และ สัญญาเจตสิกก็ทำกิจ จำ เสียง และสภาพจิตที่ไม่ยินดีพอใจ ที่เป็นเหตุให้โทสะเกิด ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็น อกุศล. เมื่อพิจารณาอย่างนี้อยู่บ่อยๆ ก็เกิดสะสมเป็นสัญญาความจำไป หลายๆ ครั้ง ที่เกิดปรากฎ. เมื่อโทสมูลจิต เกิดขึ้น ครั้งต่อๆ ไป ที่เป็นลักษณะเดียวกัน และเมื่อปัญญาถึงพร้อมและถึงระดับขั้นที่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่จะเป็นผลให้ สติปัฏฐาน เกิดระลึกในสภาพธรรมที่เคยเจอมาแล้ว ณ ขณะนั้น (มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย) ว่ามีแต่สภาพธรรม ไม่มีเรา ขณะนั้น โทสะ ที่เกิดขึ้นก็ดับไป ไม่สืบเนื่องไปยังวิถีจิตต่อๆ ไป อย่างนี้ใช่หรือไม่ครับ


- สัญญาเจตสิก ที่เกิดขึ้น จำเสียงที่ไม่ดี รวมทั้ง สัญญาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับโทสมูลจิตที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นสัญญาที่เป็นเหตุใกล้ให้สติเกิดเพราะ จำสิ่งที่ไม่ดี จำสิ่งที่ผิด ไม่ใช่เป็นการจำที่เกิดพร้อมกับปัญญา ที่เข้าใจในขั้นการฟังในเรื่องของสภาพธรรม ครับ และเมื่ออาศัยการฟังพระธรรมบ่อยๆ ในเรื่องของสภาพธรรม ขณะที่เข้าใจทีละน้อย สัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น จนปัญญาคมกล้า สัญญาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ที่เป็นสัญญาที่เกิดพร้อมปัญญาในขั้นการฟัง สัญญานั้น ย่อมเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด ครับ ซึ่งขณะนั้นไม่มีโทสะเกิดร่วมด้วย

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 10 พ.ค. 2555

สติปัฏฐานและสัญญาความจำที่มั่นคง ต้องมาจากความเข้าใจ จากการฟังที่มั่นคงแล้วไม่ลืมว่าทุกขณะที่ปรากฏแต่ละทวาร แต่ละหนึ่ง เป็นธรรมะ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เกิดแล้วดับแล้ว สั้นมาก จะปรากฏต่อเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peeraphon
วันที่ 10 พ.ค. 2555

ดังนั้น การฟังพระธรรม อ่านพระธรรม ขณะที่อ่านหรือที่ศึกษาอยู่ เพื่อลับคมปัญญา และเป็นสัญญาความจำที่มั่นคง จากการศึกษา เป็นเหตุให้สติเกิด ในช่วงเวลาที่มีเหตุปัจจัยพร้อม และปัญญาถึงระดับขั้นที่จะทำให้สติเกิดได้.

สรุปได้ว่า สัญญาที่จะทำให้สติเกิดนั้น เกิดจากการศึกษาธรรมมะ และเมื่อเข้าใจ สะสมปัญญาถึงระดับขั้นที่เป็นเหตุให้เกิด หรือใกล้ให้เกิดได้ ซึ่งเป็นเหตุให้มีสัญญาที่มั่นคงในเรื่องของสภาพธรรม

ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องเริ่มที่การฟังพระธรรมให้เข้าใจ ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งแสดงถึงสิ่งที่มีจริงทั้งหมด จากที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าขณะนี้เป็นธรรม ก็จะค่อยๆ สะสมความเข้าใจที่ถูกต้องไปตามลำดับ มีความเข้าใจว่าธรรมไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน มีจริงในขณะนี้ ฟังจนกว่าจะเข้าใจจริงๆ เป็นสัญญาที่มั่นคง อันเป็นสัญญาที่จำสภาพธรรมอันเกิด เกิดพร้อมกับปัญญา เพราะมีการฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ จึงมีเหตุที่จะทำให้มีการพิจารณาหรือระลึกถึงพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังอย่างถูกต้องแยบคาย ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากเรื่องของธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ในขณะนั้น ก็เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมเลย ก็คงจะไม่มีการพิจารณาไตร่ตรองพระธรรมอย่างแน่นอน

สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ นั่นเอง ที่จะเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และปัญญารู้ตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน) เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ไม่ใช่เรื่องหวัง ไม่ใช่เรื่องต้องการ ไม่ใช่เรื่องของความจดจ้อง ไม่ใช่เรื่องของการไปกระทำอะไรด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความเห็นผิด และ ด้วยความไม่รู้ แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับ

เรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุผลแล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย

ธรรม คือ สิ่งที่มีจริง มีจริงในขณะนี้ หนทางที่จะเป็นไปเพื่อการรู้ธรรมตามความเป็นจริง ก็มีจริง แต่ต้องเป็นหนทางแห่งปัญญา เพราะฉะนั้น ก็ต้องกลับมาที่ฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kinder
วันที่ 10 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wittawat
วันที่ 11 พ.ค. 2555

สิ่งที่สำคัญที่สุด

ถ้าไม่ได้มีการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า คนที่อบรมเจริญกุศลประเภทต่างๆ ก็มี ถึงขนาดกุศลที่ละเอียดที่มีกำลังทำให้อกุศลไม่เกิด เพราะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ในชั่วขณะหนึ่งก็มีแต่กุศลที่เป็นสติปัฏฐานนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่ปัญญาจะเกิดขึ้นเองได้ง่ายๆ ถ้าไม่ใช่พระปัจเจกโพธิสัตว์หรือพระมหาโพธิสัตว์ที่พร้อมจะตรัสรู้ หรือว่าเป็นชาติที่ได้ฟังธรรม

ถ้าเกิดมาแล้วไม่เคยได้ฟังธรรมเลย สติปัฏฐานจะเกิดรู้ความจริงที่มีในขณะนี้ได้หรือไม่ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ไตร่ตรองความละเอียดก็จะทราบได้ว่า ไม่ใช่เรื่องที่คิดเองได้และประโยชน์สูงสุดก็คือ เข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้

ขออนุโมทนากับคำตอบที่เพิ่มเติมความเข้าใจทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เซจาน้อย
วันที่ 13 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ แล้วน้อมปฏิบัติตามพระธรรม ตามกำลังสติปัญญาของตนเอง ย่อมจะเป็นหนทางที่ทำให้พบกับความสุขที่แท้จริงได้ สามารถทำให้พ้นจากทุกข์โดยประการทั้งปวงได้ในที่สุด"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
peem
วันที่ 16 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
nong
วันที่ 18 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Witt
วันที่ 12 ก.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ