เอกราชชาดก.. คุณธรรมคือขันติและตบะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔- หน้าที่ 393
๓. เอกราชชาดก
คุณธรรมคือขันติและตบะ
[๕๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเอกราช พระองค์
เสวยกามคุณอันบริบูรณ์อย่างยิ่งในกาลก่อน
มาบัดนี้ พระองค์ถูกโยนลงในบ่ออันขรุขระ
เหตุไรจึงมิได้ละพระฉวีวรรณและพระกำลังกาย
ที่มีอยู่แต่เก่าก่อนเสียเลย.
[๕๑๑] ข้าแต่พระเจ้าทุพภิเสน ขันติและตบะ
เป็นคุณธรรมที่หม่อมฉันปรารถนามาแต่เดิม
แล้ว บัดนี้ หม่อมฉันได้สิ่งปรารถนานั้นแล้ว
เหตุไรจะพึงละฉวีวรรณและกำลังกายที่มีอยู่
แต่เก่าก่อนเสียเล่า.
[๕๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เปรื่องยศ มีปัญญาญาณ
ทนทานได้เป็นพิเศษ ได้ทราบมาว่า กิจที่ควร
ทำทุกอย่าง หม่อมฉันทำให้สำเร็จแล้ว ทั้ง
ได้ยศอันยิ่งใหญ่อันมีในกาลก่อน หม่อมฉัน
จึงไม่ละฉวีวรรณและกำลังกายที่มีอยู่แต่เก่าก่อน
[๕๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งปวงชน
สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความสุขด้วยความ
ทุกข์ หรือบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะทน
ได้ด้วยความสุข เพราะเป็นผู้มีจิตเยือกเย็น
ยิ่งนัก ในความสุขและทุกข์ทั้งสองอย่าง
ย่อมเป็นผู้มีจิตเป็นกลางทั้งในความสุขและทุกข์
ดังตราชูฉะนั้น.
จบ เอกราชชาดกที่ ๓
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออธิบายในชาดกเรื่องนี้ ดังนี้ ครับ
พระพุทธเจ้า ทรงปรารภ ที่ อำมาตย์ ผู้ที่คิดไม่ดี กับ พระเจ้าโกศล และ ขับไล่ไป
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ไม่ใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ผู้ที่ประพฤติไม่เป็น
ประโยชน์ก็มี
เรื่องในอดีต มีว่า อำมาตย์ของพระเจ้าพาราณสี ประพฤติสิ่งที่ไม่ดี มีคนรายงาน
พระราชา ที่เป็นพระโพธิสัตว์ พระราชารู้ความจริง จึงขับไล่อำมาตย์ไม่ดีออกไปจาก
พระนคร อำมาตย์ไปอีกเมือง และไปสมคบคิดกับพระราชาอีกเมือง และให้ยกทัพมา
ครองเมืองพาราณสีของพระโพธิสัตว์ เมื่อยกทัพมาถึงชายแดน ทหารของพระโพะธิ
สัตว์ ขออาสาไปจับตัว พระราชาโกง และอำมาตย์นั้นมา พระโพธิสัตว มีขันติ เมตตา
ได้รับสั่งกับทหารว่า จงอย่าทำร้ายเขา ให้เขาเข้ามา จนทำอย่างนี้ ถึงประตูเมือง พระ
โพธิสัตว์ ก็คิดกับพระราชาโจรดังเช่นบุตร ก็บอกให้ปล่อยเข้ามา พระราชาโกง จึงจับ
พระโพธิสัตว์ที่นั่งอยู่บนบัลลังค์ ให้จับเอาเชือกมัดที่ขา ห้อยหัวลงมา พระโพธิสัตว์มี
เมตตา ไม่โกรธ จึงเจริญเมตตาฌาน มีเมตตากับพระราชาโกง พระราชาโกง ดิ้น
ทุรนทุราย เพราะ การทำร้ายผู้มีคุณธรรม พระราชาโกง ตรัสถามที่ปรึกษา ว่าเกิดอะไร
ขึ้น ที่ปรึกษากล่าวว่า เพราะพระองค์ทำร้ายพระราชาผู้มีคุณธรรม พระราชาโกง จึง
ให้รีบไปปล่อย พระโพธิสัตว์ เมอื่ไปพบ เห็นพระโพธิสัตว์ หลุดจากเชือก นั่งขัดสมาธิ
อยู่กลางอากาศ พระราชาโกง จึงตรัสพระคาถาาว่า
[๕๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเอกราช พระองค์
เสวยกามคุณอันบริบูรณ์อย่างยิ่งในกาลก่อน
มาบัดนี้ พระองค์ถูกโยนลงในบ่ออันขรุขระ
เหตุไรจึงมิได้ละพระฉวีวรรณและพระกำลังกาย
ที่มีอยู่แต่เก่าก่อนเสียเลย.
พระโพธิสัตว์ ตรัสว่า
[๕๑๑] ข้าแต่พระเจ้าทุพภิเสน ขันติและตบะ
เป็นคุณธรรมที่หม่อมฉันปรารถนามาแต่เดิม
แล้ว บัดนี้ หม่อมฉันได้สิ่งปรารถนานั้นแล้ว
เหตุไรจะพึงละฉวีวรรณและกำลังกายที่มีอยู่
แต่เก่าก่อนเสียเล่า.
[๕๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เปรื่องยศ มีปัญญาญาณ
ทนทานได้เป็นพิเศษ ได้ทราบมาว่า กิจที่ควร
ทำทุกอย่าง หม่อมฉันทำให้สำเร็จแล้ว ทั้ง
ได้ยศอันยิ่งใหญ่อันมีในกาลก่อน หม่อมฉัน
จึงไม่ละฉวีวรรณและกำลังกายที่มีอยู่แต่เก่าก่อน
[๕๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งปวงชน
สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความสุขด้วยความ
ทุกข์ หรือบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะทน
ได้ด้วยความสุข เพราะเป็นผู้มีจิตเยือกเย็น
ยิ่งนัก ในความสุขและทุกข์ทั้งสองอย่าง
ย่อมเป็นผู้มีจิตเป็นกลางทั้งในความสุขและทุกข์
อธิบายพระคาถาาว่า
ขันติ ตบะและเมตตา เป็นคุณธรรมของเรา ที่อบรมมาเนิ่นนาน จึงไม่ละเว้น
คุณธรรมเหล่านี้ เมื่อเราอบรมเมตตาฌาน จึงหลุดพ้นจากเครื่องผูก และมีผิวพรรณ
งดงาม
ผู้มีปัญญาทั้งหลาย บรรเทาความทุกข์ด้วยความสุข คือ ความสุขในกุศลธรรมที่ได้
ฌานจะเห็นนะครับว่า ผู้ประสบทุกข์ เมื่อมีปัญญาย่อมไม่ละทิ้งกุศลธรรม ครับ
ดังคำว่า
บัณฑิตเมื่อประสบทุกข์ย่อมไม่ทิ้งธรรม คือ กุศลธรรม
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม
ขออนุโมทนาคุณหมอ และ ทุกท่าน ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรม เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ขันติ ความอดทนก็ไม่พ้นไปจากธรรม อดทนที่จะ
ไม่ว่าร้ายผู้อื่น อดทนที่จะไม่ทำร้ายผู้อื่น อดทนที่จะไม่กระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ
เป็นต้น ทั้งหมดนี้ คือ ความอดทนในชีวิตประจำวัน ละเอียดยิ่งไปกว่านั้น คือ อดทน
ทั้งต่ออกุศล อดทนต่อผลของอกุศล นอกจากนั้น ยังอดทนต่อผลของกุศล ด้วย กล่าว
คือ เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ อันเป็นผลของอกุศล และ ได้รับสิ่งที่น่าพอใจ อันเป็น
ผลของกุศล ก็อดทนที่จะไม่เป็นไปด้วยอำนาจของอกุศล ทั้งโทสะ และ โลภะ ซึ่ง
จะเห็นได้ว่า ความอดทน เป็นธรรมเครื่องเผาบาปธรรม พร้อมทั้งเป็นธรรมที่ทำให้ถึงซึ่ง
ฝั่ง คือ การดับกิเลส (บารมี) ที่ควรเจริญในชีวิตประจำวันเพื่อเกื้อกูลต่อการรู้แจ้งอริย
สัจจธรรม ด้วย ความประพฤติเป็นไปของพระโพธิสัตว์ เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างยิ่ง
ทั้งในเรื่องความอดทน และความเป็นผู้มีเมตตาต่อผู้อื่น เป็นต้น พระธรรม ควรค่าแก่
การศึกษาและน้อมประพฤติปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง และพระธรรมจะเป็นประโยชน์เกื้อ
กูลสำหรับผู้ศึกษาและน้อมประพฤติปฏิบัติตามเท่านั้นจริงๆ ครับ.
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านด้วยครับ...
ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผดิม คุณคำปั่น คุณเซจาน้อย
และ
ทุกท่านครับ