เจตสิกที่ลืม

 
govit2553
วันที่  30 พ.ค. 2555
หมายเลข  21193
อ่าน  2,422

สัญญาเจตสิก ทำหน้าที่จำ แล้วเจตสิกอะไร ทำหน้าที่ตรงข้ามกันคือ ลืม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สัญญาเจตสิกทำหน้าที่จำ จำเท่านั้น แต่ไม่สามารถนึกขึ้นได้ ระลึกได้ สัญญา จำเท่านั้น แต่เพราะอาศัย สัญญาเจตสิกที่เกิดขึ้นในอดีต ที่เคยจำสิ่งในอดีต ในอารมณ์ในอดีตที่ผ่านมา ทำให้ มีการนึกขึ้นได้ การนึกขึ้นได้ ไม่ลืมนั้น ก็ด้วย กุศลจิตก็ได้ ที่เป็นกิจหน้าที่ของสติเจตสิก หรือไม่ลืม นึกขึ้นได้ ที่เป็นไปในทางอกุศล ที่เป็นหน้าที่ของวิตกเจตสิก เช่น ลืมกุญแจไว้แล้วนึกขึ้นได้ ว่าลืมไว้ที่ไหน ขณะนั้นเป็นอกุศล เพราะไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา แต่ก็นึกขึ้นได้ด้วยอกุศล ครับ แต่ ไม่ใช่ หน้าที่ของ สัญญาเจตสิกที่นึกขึ้นได้ เพราะ สัญญาทำหน้าที่จำเท่านั้น ครับ

ซึ่ง การลืม นึกขึ้นไม่ได้ ต้องเป็นไปในทางอกุศลเท่านั้น ขณะที่เป็นกุศล ย่อมไม่หลงลืม เพราะมีสติ ระลึกขึ้นได้ ระลึกเป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ส่วน ขณะที่เป็นอกุศลทำให้หลงลืม ซึ่งอกุศลทั้งหมด ทำให้หลงลืมที่จะทำความดี หลงลืมที่จะรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม เพราะขณะนั้น เป็นอกุศล ต่ ถ้าเป็นการไม่ลืมในเรื่องราวทางโลก ไม่ลืมวางของว่า วางไว้ที่ไหน เป็นอกุศลเหมือนกัน แต่การไม่ลืม เป็นกิจหน้าที่ของ วิตกเจตสิก ที่เกิดกับอกุศลจิต ส่วนการลืมที่เป็นอกุศล เช่น ลืมวางของไว้ที่ไหน ด้วย อกุศลจิต ที่เป็นโมหมูลจิตที่เกิดร่วมกับ ความฟุ้งซ่าน ที่เป็นอุทธัจจะ ครับ เพราะ จิตขณะนั้นที่เป็นโมหะ มีกำลังอ่อน ไม่สามารถนึกได้ เพราะเป็นจิตที่ไม่รู้อะไร เป็นสำคัญ จึงนึกขึ้นไม่ได้ ลืม ครับ

เพราะฉะนั้น ลืม ที่เป็นในทางอกุศล เป็นจิตที่เป็นโมหะ ประกอบด้วย โมหเจตสิกและอุทธัจจเจตสิก ความฟุ้ง ทำให้ลืม ครับ ส่วนอกุศลจิต ทุกประเภท ประกอบด้วยโมหเจตสิก โมหเจตสิกนี้เอง ที่ทำให้หลงลืม ไม่รู้ หลงลืมที่จะทำความดี และ ไม่เป็นกุศลธรรมในขณะนั้น ครับ หลงลืมที่จะให้ทาน รักษาศีล อบรมปัญญา เป็นต้น

สรุปได้ว่า เพราะอาศัยโมหเจตสิก ทำให้ลืม นึกไม่ได้ที่จะทำกุศล และ อาศัยเจตสิกอื่นๆ มีอุทธัจจเจตสิก เป็นต้น ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ทำให้หลงลืมในเรื่องราวทางโลกได้ ส่วนสัญญาทำหน้าที่จำเท่านั้น ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

การระลืกเป็นไปใน อกุศล ไม่ทราบว่าเป็นหน้าที่การงานของเจตสิกใดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
govit2553
วันที่ 30 พ.ค. 2555

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 30 พ.ค. 2555

กราบขอบพระคุณอาจารย์ผเดิมที่กรุณาอธิบายอย่างกระจ่างครับ

ก่อนหน้านี้ผมสงสัยว่าสัญญาเจตสิกทำหน้าที่จำแล้ว แล้วทำหน้าที่นึกออกด้วยหรือไม่

ตอนนี้ได้คำตอบและหายสงสัยไปอีกมาก

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้ด้วยครับที่ตั้งคำถามที่มีประโยชน์

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
majweerasak
วันที่ 30 พ.ค. 2555

ผมเข้าใจว่าสัญญาเจตสิกจำทุกอย่างที่จิตรู้ เพราะเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ ทุกดวง

ขอเรียนถามเพิ่มเติมครับ การจำไม่ได้ หรือ การลืม หรือการนึกขึ้นไม่ได้ ของพระอรหันต์ มีหรือไม่ครับ เช่น
พระอรหันต์ท่านจะลืมอารมณ์ที่เคยจำ (มีสัญญา) ในขณะที่เคยอยู่ในครรภ์หรือไม่

พระอรหันต์ท่านมีโอกาสที่จะนึกขึ้นไม่ได้ถึงเรื่องราวต่างๆ ในอดีต เช่นสมัยเด็ก หรืออดีตชาติ หรือไม่

พระอรหันต์ท่านมีโอกาสที่จำไม่ได้ถึงเรื่องราวต่างๆ ในอดีต เช่นสมัยเด็ก หรืออดีตชาติ หรือไม่

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 31 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

คำว่า สติ ที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎก อีกนัยคือ เป็นผู้มีสติ คือ ระลึกถึงสิ่งที่ทำ และ คำที่พูดแม้นาน ได้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ เมื่อดับกิเลสแล้ว เป็นผู้ไม่หลงลืมสติ ท่านก็สามารถนึกถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาได้ ตามกำลังของสติและปัญญาของท่าน ดังนั้นกำลังของสติและปัญญาเป็นตัววัด พระอรหันต์ผู้ที่มีปัญญา สติย่อมมีกำลังด้วย ย่อมสามารถระลึกเรื่องราวในอดีตไปได้ไกลมากกว่า ผู้ที่มีปัญญาน้อยกว่า

ตัวอย่างเช่น พระอรหันต์ที่ได้ฌานด้วย ก็สามารถระลึกถึงอดีตชาติก่อนๆ ไปได้ไกล แต่ พระอรหันต์ที่ไม่ได้ฌาน เป็น สุกขวิปัสสก ก็ไม่สามารถระลึกในอดีตชาติก่อนๆ ไกลๆ ได้ ครับ และ พระอรหันต์ที่ได้ฌาน แต่เป็นเพียงสาวก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าที่เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน แต่มีปัญญาหาประมาณไม่ได้ กำลังของสติที่จะระลึกในอดีตชาติ ก็ระลึกชาติก่อนๆ เหตุการณ์ก่อนๆ ได้นับชาติไม่ถ้วน มากกว่า พระอรหันต์ที่เป็นเพียงสาวก แม้จะได้ฌานก็ตาม ครับ นี่แสดงถึง กำลังของสติที่แตกต่างกัน ตามกำลังของปัญญาของพระอรหันต์ บางท่านก็รู้ระลึกเรื่องราวตอนอยู่ในครรภ์ได้ก็มี ไม่ได้ก็มี ระลึกชาติก่อนได้ก็มี ไม่ได้ก็มี ระลึกได้มากชาติก็มี ไม่มากชาติก็มี ระลึกชาติก่อนๆ เรื่องราวก่อนๆ ได้ไม่มีที่สิ้นสุดก็มี คือ พระพุทธเจ้า ครับ ตามกำลังของสติและปัญญาที่แตกต่างกันไป แม้จะมีสัญญาที่เกิดขึ้นกับจิตทุกขณะ แต่จะระลึกได้หรือไม่ ตามกำลังของสติและปัญญา ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
majweerasak
วันที่ 31 พ.ค. 2555

ขอเรียนถามเพิ่มเติมครับ เนื่องจากมีบางประเด็นที่ผมยังไม่กระจ่างครับ

ตามที่อาจารย์ paderm กล่าวไว้ในความเห็นที่ 5 นั้น จะกล่าวได้หรือไม่ว่า "ท่านพระอรหันต์บางรูป ท่านลืม เหตุการณ์บางเหตุการณ์ในอดีต" หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ "ท่านพระอรหันต์บางรูป ท่านจำ เหตุการณ์บางเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้"

ถ้าคำกล่าวข้างต้นถูกต้อง ก็แสดงว่า ขณะที่จำเรื่องราวในอดีตไม่ได้ หรือนึกถึงเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นอกุศลเสมอ เพราะพระอรหันต์ไม่มีกุศลจิต

ถ้าคำกล่าวข้างต้นไม่ถูกต้อง รบกวนช่วยกรุณาอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ เพื่อคลายความสงสัยของผมในประเด็นที่กล่าวไว้ในความเห็นที่ 1 ย่อหน้าที่สอง ที่ว่า "การลืม นึกขึ้นไม่ได้ ต้องเป็นไปในทางอกุศลเท่านั้น"

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 31 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

ถูกต้อง ครับ เพราะ เรื่องในอดีตชาติ ชาติก่อนๆ ก็ชื่อว่า เรื่องในอดีตเช่นกัน

พระอรหันต์ ที่ไม่ได้ฌาน ไม่สามารถนึกเรื่องในอดีตได้ทั้งหมด เช่น ถามว่าชาติก่อนๆ ท่านเกิดเป็นใคร พระอรหันต์ที่ไมไ่ด้ฌาน ท่านก็ตอบไม่ไ้ด้ นึกไม่ได้ แต่การนึกเรื่องราวในอดีตของท่านไม่ได้ ไม่เป็นอกุศล เพราะ จิตของท่าน มี 2 ชาติ คือ กิริยาจิตและวิบากจิตเท่านั้น ครับ เพราะ ท่านดับกิเลสหมดสิ้น แล้วนั่นเอง ซึ่งในความเห็นที่หนึ่ง มุ่งกล่าวโดยทั่วไป ที่ ลืมนึกขึ้นไม่ได้ ในการทำกุศล ซึ่ง ก็มีข้อความต่อจาก ข้อความที่ลืม นึกไม่ได้ คือ เมื่อเป็นกุศล ย่อมไม่หลงลืม ไม่หลงลืมที่ทำความดี ส่วนซึ่งอกุศลทั้งหมด ทำให้หลงลืมที่จะทำความดี หลงลืมที่จะรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม เพราะขณะนั้น เป็นอกุศล

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 1 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 1 มิ.ย. 2555

โลภะมีโืทษน้อย คลายช้า

โทสะมีโทษมาก คลายเร็ว

โมหะมีโทษมาก คลายช้า

ปุถุชนมีการหลงลืมเป็นธรรมดา เพราะถ้าสติไม่เกิด กุศลอื่นๆ ก็เกิดไม่ได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
majweerasak
วันที่ 1 มิ.ย. 2555

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

จากที่ได้อ่านกระทู้ ทำให้ผมสรุปความเข้าใจของผมเองได้ว่า "สัญญาเจตสิก จำทุกอย่างที่จิตรู้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน แต่วิตกเจตสิก ก็ ตรึกหรือนึกถึงได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตามสมควรแก่เหตุและปัจจัย อันนี้ก็ทำให้เข้าใจเพิ่มขึ้น ในความเป็นธรรม และความเป็นอนัตตา" หากมีความคลาดเคลื่อน กรุณาแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Thanapolb
วันที่ 26 มิ.ย. 2555

กราบขอบพระคุณอาจารย์ผเดิมและผู้ตั้งกระทู้ถามครับ และผู้ร่วมสนทนา

ก่อนหน้านี้ก็ผมสงสัยว่าสัญญาเจตสิกทำหน้าที่จำแล้ว แล้วขณะลืมนึกไม่ได้ เป็นลักษณะหรือสภาวะแบบไหนเกี่ยวกับสัญญาหรืออะไร

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
p.methanawingmai
วันที่ 23 มี.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ