การสวดมนต์

 
gboy
วันที่  10 มิ.ย. 2555
หมายเลข  21241
อ่าน  3,998

เรียนถามเรื่องการสวดมนต์ ว่าทำให้เกิดสมาธิหรือไม่ และมีปรากฏในพระคัมภีร์ใดหรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในพระไตรปิฎก และในสมัยพุทธกาล ไม่มีการสวดมนต์แบบสมัยนี้ แต่เป็นการสาธยาย คือ การกล่าวคำสอนที่ได้เรียน ได้ศึกษามา เพื่อประโยชน์ คือ การได้คิด พิจารณา พระธรรมที่ได้เล่าเรียนมาแล้ว อันเป็นเพื่อความเจริญขึ้นของกุศล และ ความเจริญขึ้นของปัญญา และ สละ ละคลายกิเลส

ดังนั้น การสาธยายพระธรรมในสมัยพุทธกาล จึงไม่ใช่เรื่องได้ มีการได้สมาธิ ได้ความสงบ ได้อานิสงส์ผลบุญ คือ ไม่ใช่เรื่องของการได้ ที่เกิดจากโลภะเป็นปัจจัยเลย แต่ การสาธยายธรรมเป็นเรื่องของการละอกุศล คือ โลภะ ละอกุศล มีความไม่รู้ และ เพื่อความเจริญขึ้นของกุศลประการต่างๆ ครับ และการสาธยายธรรม ที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการได้สมาธิ เพราะ ในความเป็นจริง สมาธิเกิดอยู่แล้วกับจิตทุกๆ ขณะ คือ เอกัคคตาเจตสิกที่เป็นองค์ธรรมของสมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต เกิดกับจิตทุกประเภท ทุกขณะ ขณะที่จิตเป็นอกุศล ก็มีสมาธิแล้ว ที่เป็นขณิกสมาธิ เพราะฉะนั้น เมื่อใดที่จิตเกิดขึ้นมีสมาธิแล้ว ชั่วขณะจิตนั้น ที่เป็นขณิกสมาธิ แม้ไม่ต้องไปสวดมนต์ก็มีสมาธิ

แต่สมาธินั้น คือ เอกัคคตาเจตสิกนั้นจะเกิดร่วมกับจิตประเภทอะไร ดังนั้น สวดมนต์ด้วยความไม่เข้าใจ เป็นอกุศลจิต สวดมนต์อยากได้บุญ เป็นอกุศลจิต ได้สมาธิแน่นอนครับ แต่เป็นมิจฉาสมาธิ คือ เป็นอกุศลจิตที่เกิดร่วมกับ เอกัคคตาเจตสิกที่เป็นองค์ของสมาธิ ที่ตั้งมั่นชั่วขณะที่เป็นขณิกสมาธิ ครับ ดังนั้น การมีสมาธิไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ดีทั้งหมด เพราะ สมาธิมีทั้ง สัมมาสมาธิ สมาธิที่กิดกับกุศลจิต และ มิจฉาสมาธิ สมาธิที่เกิดกับอกุศลจิต ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 11 มิ.ย. 2555

ดังนั้น การสวดมนต์ จึงมีมาในยุคหลัง ที่ท่องคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยจุดประสงค์ ที่ผิด เพราะเป็นไปเนื่องด้วยกิเลส มีความอยากจะสงบ อยากได้สมาธิ อยากได้ผลบุญ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ในสมัยพุทธกาล จึงไม่ใช่การสวดมนต์ แต่เป็นการสาธยายธรรม คือ ท่านเหล่านั้น ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เมื่อฟัง ศึกษาแล้ว ก็นำธรรมนั้น มานึก ตรึก หรือ กล่าวเป็นเสียง เพื่อให้ทบทวนและพิจารณาถ้อยคำธรรมนั้นอีกครั้ง เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เป็นสำคัญ ครับ ซึ่ง ผู้ที่มีความเข้าใจสิ่งที่ได้จากการสาธยายพระธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นไปเพื่อได้สมาธิ เพราะ สมาธิ มีทั้ง มิจฉาสมาธิที่เกิดกับอกุศล และ สัมมาสมาธิที่เกิดกับกุศล แต่สิ่งที่ได้จากการสาธยายธรรมจากการได้เรียนมาเป็นสำคัญ คือ ปัญญา ความเข้าใจพระธรรม เมื่อได้กล่าวบทธรรมนั้นให้ตนเองฟังอีกครั้ง ปัญญาก็พิจารณาเสียงที่ตนเองกล่าว ย่อมเป็นปัจจัยให้เข้าใจพระธรรมมากขึ้น ปัญญาเจริญขึ้น พร้อมๆ กับกุศลธรรมที่เจริญขึ้น จากการสาธยาย ครับ และพิจารณาพระธรรมในขณะที่กล่าวธรรมนั้นเป็นสำคัญ

ประโยชน์ จึงสำคัญที่ความเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องของสมาธิ ครับ ทุกอย่าง จึงต้องเริ่ม จากการศึกษา การฟังพระธรรมให้เข้าใจเป็นสำคัญ เพราะหากไม่ศึกษา ฟังพระธรรม จะกล่าวท่องคำใด ก็ไม่ต่างจากนกแก้วนุกขุนทอง แต่ไมได้มีความเข้าใจในคำนั้น ตามพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง อันไม่เป็นไปในการเจริญขึ้นของปัญญา ครับ ซึ่ง การสวดมนต์ เพื่อได้สมาธิ จึงไม่มีกล่าวไว้ในคำสอนของพระพุทธเจ้าและในพระไตรปิฎกเล่มใด ครับ

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

เวลาสวดมนต์ทำไมขนลุก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 11 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประเด็นเรื่องสาธยาย ได้ฟังจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประมวลได้ ดังนี้

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมเพื่อให้พุทธบริษัทได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ที่จะสอนให้ไม่รู้นั้น ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นพระสูตรใด ส่วนใด ไม่ใช่สำหรับสวดหรือสำหรับท่อง แต่สำหรับศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามที่พระองค์ทรงแสดง

สวดแล้วหวัง ท่องแล้วหวัง เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนที่ดี นั่นไม่ตรงแล้ว เพราะหวัง เป็นโลภะ เป็นเหตุที่ไม่ดี ในเมื่อเป็นเหตุที่ไม่ดี ก็ไม่สามารถนำผลที่ดีมาให้ได้เลย นี่คือ ความเป็นผู้ตรง ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจด้วยว่า ระหว่างการสวดโดยที่ไม่เข้าใจ กับ การฟังพระธรรมแล้วก็เข้าใจ อย่างไหนจะเป็นประโยชน์กว่ากัน

การสาธยาย คือ การทบทวนสิ่งที่ได้ฟังให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ในครั้งพุทธกาล ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็สาธยาย แต่เพราะได้ฟังพระธรรมแล้ว ในครั้งนั้น กว่าจะได้ฟังพระธรรม นั้น ยากลำบาก เดินทางไปเข้าเฝ้าฟังพระธรรมจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไกลแสนไกล เพื่อที่จะได้ฟัง เมื่อฟังเสร็จแล้ว ก็เดินทางกลับ ระหว่างนั้นก็มีการระลึกถึงพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง เพื่อจะได้ไม่ลืม เวลาที่มีการระลึกถึงคำที่ได้ฟัง บ่อยๆ เนืองๆ แล้วไตร่ตรองด้วยความเข้าใจ นี้ คือ การสาธยาย ซึ่งไม่ใช่การพูดคำที่ไม่รู้จัก ครับ

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
gboy
วันที่ 11 มิ.ย. 2555

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jaturong
วันที่ 11 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kinder
วันที่ 11 มิ.ย. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 11 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"สมาธิเกิดอยู่แล้วกับจิตทุกๆ ขณะ"

"ในสมัยพุทธกาล จึงไม่ใช่การสวดมนต์ แต่เป็นการสาธยายธรรม"

"ประโยชน์ จึงสำคัญที่ความเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องของสมาธิ ครับ"

"ระหว่างการสวดโดยที่ไม่เข้าใจ กับ การฟังพระธรรมแล้วก็เข้าใจ อย่างไหนจะเป็นประโยชน์กว่ากัน"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
aurasa
วันที่ 17 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
edu
วันที่ 19 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 มิ.ย. 2555

"พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นพระสูตรใด ส่วนใด ไม่ใช่สำหรับสวดหรือสำหรับท่อง แต่สำหรับศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามที่พระองค์ทรงแสดง"

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
peem
วันที่ 12 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 2 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ