ความมัวเมา

 
พิมพิชญา
วันที่  20 มิ.ย. 2555
หมายเลข  21279
อ่าน  2,367

ขอกราบเรียนถามนะคะ

ได้อ่านพระสูตรที่ท่านความเห็นที่4 กรุณายกมา ...

ความประมาท เป็นทางแห่งความเสื่อม

อยากทราบว่า ความมัวเมา เป็นมานเจตสิกใช่หรือเปล่าคะ เพราะความมัวเมามีการถือตัว และยกตัวดุจธง ถ้าแบบนี้พระโสดาบันท่านสามารถดับความมัวเมาได้ทั้งหมดหรือยังคะ ที่สงสัยเพราะพระโสดาบันยังดับมานเจตสิกไม่ได้ หรือว่าความมัวเมาบางอย่างเป็นเพียงทิฏฐิเจตสิก อันพระโสดาบันดับได้แล้ว และบางอย่างมีมานเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นถึงจะดับได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 มิ.ย. 2555

ในพระอภิธรรมวิภังค์ แสดงความมัวเมาไว้หลายประการ และอธิบายว่า ความมัวเมาเป็นลักษณะของมานเจตสิก ซึ่งมานะ ก็มีหลายระดับ ผู้ที่จะดับมานะเป็นสมุจเฉท ต้องบรรลุธรรมถึง ความเป็นพระอรหันต์เท่านั้น แต่พระอริยบุคคลขั้นต่ำมีพระโสดาบัน บุคคลเป็นต้น ท่านละมานะได้บางประการ คือท่านละมานะที่ไม่เป็นไป ตามเป็นจริง เช่น ดีกว่าเขา สำคัญว่า เลวกว่าเขา หรือความสำคัญตนว่า ได้บรรลุธรรมวิเศษ เป็นต้น

[๘๖๒] ความมัวเมา เป็นไฉน

ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมาความถือตัว กิริยาที่ถือ ตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตน ขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความมัวเมา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
edu
วันที่ 20 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 20 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความมัวเมาในที่นี้ มุ่งหมายถึง ความสำคัญตนในสิ่งที่ตนมี ไม่ว่าจะเป็นชาติ ตระกูล ผิวพรรณ รูปร่าง ชื่อเสียง ซึ่งพระโสดาบันยังละความมัวเมาที่เป็ความสำคัญของตน ที่เป็นมานะเหล่านี้ไม่ด้ทั้งหมด แต่ มานะของท่าน ย่อมเบาบางกว่าของปุถุชน คือ ไม่ได้มีลักษณะมัวเมา ด้วยความสำคัญตน ด้วยมานะ อย่างมีกำลังอันแสดงถึงความ มัวเมาดังเช่น ปุถุชน ครับ เพราะฉะนั้น ลักษณะของความมัวเมาของพระโสดาบัน จึง ไม่ได้มีกำลัง ที่แสดงถึงความมัวเมา ใน ลาภ สักการะ ตระกูล เป็นต้นเลย เพียงแต่ อาจเกิดจิตที่มีมานะ สำคัญตนในสิ่งที่ตนมี มีชาติสูง เป็นต้น แต่ไมไ่ด้ถึงกับจะต้อง แสดงกาย วาจา ที่มีกำลัง อันแสดงถึงความมัวเมาอย่างมาก ที่เป็นมานะที่มีกำลัง ใน สิ่งที่ตนมี ครับ เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงความมัวเมา ก็ต้องเข้าใจว่า โดยนัยไหน ก็ เป็นความสำคัญตนที่เป็นมานะ แต่มานะ ความสำคัญตน ของพระอริยบุคคล ย่อมไม่ แสดงถึงความมัวเมา ดังเช่นปุถุชน ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พิมพิชญา
วันที่ 21 มิ.ย. 2555

กราบขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 21 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มานะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นความถือตนทะนงตน เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามตเหตุตามปัจจัย ผู้ที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ มานะก็ยังมี แต่ว่าความหยาบ ความเบาบางก็แตกต่างกันออกไป เมื่อศึกษาในเรื่องของมานะ ซึ่งเป็นอกุศลเจตสิกประเภทหนึ่ง ทำให้เห็นว่าอกุศลในชีวิตประจำวันมีมากจริงๆ แล้ว แต่ว่าใครจะสะสมหนักมากไปในทางใด หรือว่า ใครจะสามารถขัดเกลาให้เบาบางลง ได้ในแต่ละทาง ธรรมที่จะเป็นไปเพื่อขัดเกลามานะ ก็จะต้องเป็นกุศลธรรมเท่านั้น ที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน มี ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น เพราะขณะ นั้น จิตใจอ่อนโยน ไม่หยาบกระด้าง และประการสำคัญ การอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเริ่ม จากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้สามารถ ไปถึงซึ่งการดับกิเลสได้ รวมถึงกิเลสที่กำลังกล่าวถึง คือ มานะ ด้วย กิเลสทั้งหลาย ที่มีนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญา ถึงจะดับได้ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 22 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เข้าใจ
วันที่ 12 ก.ค. 2555

ขอขอบพระคุณอาจาย์มากครับ

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ