แชร์ประสบการณ์ครับเรื่องการปฎิบัติ
ผมฟังอาจารย์สุจินต์อยู่หลายปีได้อะไรก็มาก สงสัยอะไรก็มาก โดยเฉพาะการนั่งสมาธิ เจริญอานาปานสติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้สาวกทำให้มากเจริญให้มาก แต่อาจารย์สุจินต์ไม่แนะนำ ดูมันขัดๆ นะคร้บ ผมฝึกหัดนั่งสมาธิอยู่แปดเดือน ผมจึงหายสงสัยในคำสอนทั้งหมดจริงๆ จนในขณะนี้ ผมยอมที่ลดละเลิกอะไรได้มากจริงๆ อย่างไม่น่าเชื่อ
แชร์ประสบการณ์นะครับน่าจะเป็นประโยชน์
ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ
ต้องขอโทษท่านเจ้าของกระทู้นะครับ ถ้าอาจจะสนทนาไม่ถูกประเด็น เพราะ อ่านในกระทู้แล้วไม่แน่ใจว่าตอนนี้ท่านเจ้าของกระทู้รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วหายสงสัยในคำสอน หรือว่า เข้าใจในคำสอนจึงเลิกนั่งสมาธิแล้ว แต่ก็ขอสนทนาแบบกว้างๆ นะครับ
ก่อนอื่นขออนุญาตออกความเห็นเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ ครับ คือ จากที่ฟังการบรรยายของท่านอาจารย์มาพอสมควร ก็ทราบได้ว่า ท่านอาจารย์ไม่เคยห้ามไม่ให้ใครทำอะไร หรือสั่งให้ใครไปทำอะไร แต่ท่านแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังได้พิจารณาจนเป็นความเข้าใจเป็นปัญญาของตนเอง
อย่างเรื่องสมาธิ ท่านอาจารย์ก็ไม่ได้ห้ามใคร แต่ท่านแสดงให้ผู้ฟังได้เข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับสมาธิ อย่างเช่น
- สมาธิคือ เอกัคคตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว เป็นเจตสิกที่ต้องเกิดกับจิตทุกดวงไม่มีเว้น แต่ปกติลักษณะที่ตั้งมั่นไม่ปรากฏ จะปรากฏลักษณะตั้งมั่นจนเป็นสมาธิก็เมื่อจดจ่อกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ
- สมาธิ มีสองอย่างคือสัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ ถ้าเมื่อใดพยายามทำสมาธิด้วยความต้องการ เช่นต้องการสงบต้องการไม่โกรธ ต้องการปัญญา ขณะนั้นต้องเป็นโลภะ ต้องเป็นมิจฉาสมาธิแน่นอน เพราะการจะเจริญสมาธิแม้ในแนวของสมถภาวนา ก็ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก เห็นโทษของอกุศล และ รู้ว่าวันหนึ่งมีอกุศลมากกว่ากุศล คือ แม้แค่หลังจากเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด โลภะก็เกิดติดข้องในสิ่งนั้นอย่างรวดเร็ว และต้องมีปัญญารู้ว่าจะน้อมพิจารณาอารมณ์ใดจึงจะทำให้จิตเป็นกุศลได้ต่อเนื่องยาวนาน (แม้กระนั้นสมถภาวนาก็ไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท) เพราะฉะนั้นถ้าขาดปัญญาแล้วก็เป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิไม่ได้
- อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก เป็นต้น เพราะลมหายใจเป็นรูปที่เกิดจากจิต ฉะนั้นจิตเกือบทุกดวงในชีวิตประจำวันเป็นสมุฏฐานให้เกิดลมหายใจได้ ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นรูปที่ละเอียดรู้ได้ยาก ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก จึงจะรู้ได้ถูกต้อง เราต้องรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าอยู่ในฐานะที่มีปัญญาเช่นนั้นหรือไม่
- ท่านอาจารย์สุจินต์ จะย้ำเสมอว่า เวลาไปนั่งสมาธิแล้ว มีความรู้ความเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นรึเปล่า หรือเพียงแค่พอใจที่รู้สึกว่าสงบไม่วุ่นวาย (ซึ่งไม่ใช่ความสงบที่แท้จริง เพราะ สงบจริงๆ คือสงบจากอกุศล)
- ภาษาไทยเรานำคำว่าปฏิบัติมาใช้ในความหมายว่า "ทำ" ดังนั้นพอพูดถึงการปฏิบัติ เราจึงเข้าใจว่าต้องไปลงมือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา เช่นไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม แต่ปฏิบัติในภาษาบาลี หมายถึง "ถึงเฉพาะ" คือ ขณะใดที่ความรู้ความเข้าใจจากการฟังธรรม ปรุงแต่งให้สติระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งพร้อมกับปัญญาที่พิจารณารู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นชื่อว่าปฏิบัติแล้ว คือสภาพธรรมแต่ละอย่างปฏิบัติหน้าที่ของตน ไม่มีตัวเราอีกต่างหากที่ต้องไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผิดไปจากปกติ
- เวลาที่เราศึกษาธรรมเรามักจะอดไม่ได้ที่จะคอยวัดผลว่า เราดีขึ้นแค่ไหน บางทีเราอาจจะพอใจว่าเรารู้สึกว่าเราโกรธน้อยลง มีความต้องการน้อยลง แต่นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของการศึกษาธรรม จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมคือเพื่อให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในสภาพธรรมที่มีอยู่ในขณะนี้ จากที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นเลย เพราะการที่จะละความโกรธ หรือความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ได้เป็นสมุจเฉท ต้องถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล ปุถุชนอย่างเราไม่มีทางละได้ แต่สิ่งที่ควรละก่อนอื่นคือความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน คน สัตว์ ซึ่งต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ท่านเจ้าของกระทู้เชิญชวนให้แชร์ประสบการณ์ในการปฏิบัติ ผมก็ขออนุญาตเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะได้ฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์และอาจารย์วิทยากรของมูลนิธิฯ ผมก็นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ พุทโธบ้าง ยุบหนอ พองหนอบ้าง อาศัยทำตามหนังสือที่มีคนเขียนหรือวิทยุของสำนักปฏิบัติต่างๆ ทำไปแล้วบางครั้งก็รู้สึกสุขสงบมาก จนรู้สึกว่า ตัวเบา ตัวลอย บางครั้งก็หงุดหงิดว่าทำไมนั่งวันนี้แล้วไม่สงบเหมือนวันก่อน บางครั้งก็ง่วงหลับ บางครั้งปวดศีรษะมากจนแทบระเบิด แต่ไม่ได้รู้อะไรขึ้นมาเลย มีแต่ความสงสัย ความไม่รู้มากมายเต็มไปหมด พอได้มาฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ จึงรู้ว่าหนทางที่ถูกต้องคือค่อยๆ ฟังธรรมให้เข้าใจขึ้นทีละน้อย โดยไม่ต้องไปหวังอะไร ไม่ต้องหวังว่าสติจะเกิดเมื่อไหร่ ไม่ต้องหวังว่าจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมวันไหน เพียงแค่ฟังให้เข้าใจและไม่ละทิ้งการฟัง เพราะ เป็นหนทางละโดยตลอด ขณะใดที่คิดจะไปทำอย่างอื่นด้วยความต้องการ ขณะนั้นเป็นเครื่องกั้น เครื่องเนิ่นช้าแล้ว
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"ขณะที่สงสัย แสดงว่ายังไม่เข้าใจ"
"การอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่การนั่งสมาธิ"
การนั่งสมาธิแล้วคิดว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่นคือโลภะที่ประกอบด้วย
มิจฉาทิฏฐิ (ความพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิด)
เพราะการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ ทำอะไรที่ผิดปกติจากชีวิตประจำวัน
สมาธิมี ๒ อย่าง คือ สัมมาสมาธิ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑
ควรศึกษาพระธรรมให้เข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อการเจริญสัมมามรรคที่ถูกต้อง มิจฉามรรคเป็นทางผิดไม่ควรเจริญ เมื่อเจริญมิจฉามรรคย่อมมีโทษ ไม่มีคุณประโยชน์เลยครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยครับ
ขอร่วมสนทนาหน่อยครับ
ผมเป็นผู้ใหม่ในการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม มาฟังและศึกษาจริงๆ ก็ยังไม่นานครับ แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่าขณะนี้นั้นของจริงๆ นั้นมีอยู่จริงๆ
เห็นมีจริง ได้ยินมีจริง คิดมีจริง รู้บ้างไม่รู้บ้างมีจริง เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างมีจริง รู้สึกชอบไม่ชอบ ดีใจเสียใจ เฉยๆ ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ สภาพสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราไม่เคยรู้เลยในแต่ละขณะ เกิดขึ้น มีขึ้นแล้วดับไป เปลี่ยนไป มีการผันแปรเปลี่ยนแปรอยู่ตลอดเวลา อย่างไม่เคยหยุดนิ่ง มาถึงทำสมาธิอานาปานสติหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ รู้ที่ลมกระทบเข้าและออก
ผมเข้าใจว่า เป็นที่เราจะไปทำ คือมีการตั้งใจ จงใจจะไปทำขึ้นเหมือนขาดความปรกติ เพราะเป็นเราจะทำ ซึ่งต่างจากสภาพรู้และสภาพที่ไม่รู้ที่ไม่มีใครทำ ซึ่งไม่สามารถจะมีใครไปทำได้เลย ที่เขาเรียกว่าอนัตตา สภาพที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ผมก็จำอาจารย์มาใช้ครับ
ที่สนทนามาทั้งหมดนี้ ถ้าผิดพลาดประการใดก็กราบประทานอภัยด้วยครับ ด้วยจิตที่เป็นกุศล
ขอกราบอนุโมทนาครับ
ผมจะกล่าวจากความคิดผมนะครับ จะไม่ไปเอาความคิดของใครมาปะปน
จากการที่ ผมได้เดินบนเส้นทางนี้ ผมได้ฟังและอ่านจากหลายท่านเกี่ยวกับธรรม สรุปแล้ว ลงมาไม่พ้นเรียนรู้เรื่องอริยสัจ ๔ และก็กิจในอริยสัจ จนรู้ว่ากิจในอริยสัจเราได้กระทำแล้ว หรือเข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ ทำอย่างไรให้เราเข้าถึงปัญญาสูงสุด คือไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เราเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวง จนเข้าถึงสภาวะนิพพาน
ทั้งหมดก็น่าจะจบลงตรงนี้ แต่สิ่งที่สำคัญเราจะถึงตรงนี้ได้อย่างไรต่างหาก แน่ละครับ อยู่ๆ จะให้เราไปทำอะไรโดยไม่รู้อะไร เป็นอะไร ก็คงเป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ คงจะต้องเริ่มจากสุตมยปัญญาก่อน หลังจากนั้นก็พิจารณาหาเหตุผลไตร่ตรองหาเหตุ มารองรับกับสิ่งที่ได้รับรู้มา (จินตามยปัญญา) แล้วก็ลงมือปฏิบัติให้เกิดสภาวะจริงตามนั้น (ภาวนามยปัญญา)
แต่ปัญญาสูงสุดอย่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฟัง อ่าน และคิด พิจารณาเอา มันก็พอเข้าใจได้ แต่ถึงขั้นประจักษ์ก็คงจะไม่ใช่ ธรรมชาติที่เรารับรู้ทั้งหมด เช่น ได้ยินเสียง เสียงดับ ได้กลิ่น กลิ่นดับ ได้รับความเย็น เย็นดับ มีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ สติที่เข้าไประลึกตรงลักษณะแค่นี้ พอจริงหรือ ที่จะให้เรา เบื่อหน่าย สามารถละคลายสิ่งต่างๆ ได้ คงเป็นไปไม่ได้ ยังหยาบอยู่มาก สิ่งที่ละเอียด ถึงละเอียดที่สุด มีอยู่ในร่างกายเรา ที่เราสามารถพัฒนาเข้าไปสัมผัสโดยใช้ลมหายใจที่ ธรรมชาติเป็นเครื่องมือ ผมเองประจักษ์ไตรลักษณะนี้ที่ผุดขึ้นมาในมโนทวาร (นี่ต่างหากที่ผมมั่นใจว่าคือภาวนามยปัญญา) อธิบาย อย่างไรท่านก็ไม่เข้าใจหรอก ถ้าผมอธิบายก็เหมือนผมกำลังอธิบายรสหวาน อธิบายอย่างไรก็อธิบายไม่ถูก จนกว่าคุณจะชิมมันถึงจะรู้ใช่ไหมครับ สภาวะที่ปรากฏนั้นไม่ได้มาง่ายนะ จากความจริงผมต้องยอมที่จะเสียสละชีวิตเลยก็ว่าได้ ระหว่างความเป็นกับความตายทีเดียว และสิ่งที่ผมมั่นใจว่าผมมาถูกทาง ไม่ได้หลงทางคือเครื่องวัด ไม่มีอะไร จะเป็นเครื่องวัด ในพระพุทธศาสนานี้นอกจากการลด ละ เลิก ผมลด ละ เลิก ได้มากเสียจนหลายท่านอาจจะยินดีที่ผมกระทำได้
ถ้านั่งสมาธิ แม้ว่าจะฝึกจนได้อัปปนาสมาธิ สำเร็จฌานขั้นใดๆ ก็ตาม ไม่ใช่แค่เพียงการไปตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนานๆ เพื่อพักผ่อนจิต แต่ต้องเป็นการอบรมจนเป็นวสีซึ่งใช้ดับกิเลสเป็นวิกขัมภนปหานได้จึงจะให้คุณประโยชน์ที่แท้จริงของการเจริญสมาธิ
สำหรับฌาน ที่เป็นรูปวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลนั้น จะเป็นกุศลได้ก็ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาที่เห็นโทษของอกุศลแล้วเท่านั้น จึงจะไปเจริญฌานเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดับกิเลส มีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น ... ถ้าเจริญฌานเพราะต้องการความสงบ จะเอาความสงบ อย่างนี้เป็น อกุศลจิต ที่ประกอบด้วยโลภะและอวิชชาครับ
และแม้ว่า เป็นฌานที่เป็นวสีนั้นเป็นไปเพื่อการดับกิเลสเป็นวิกขัมภนปหานแล้ว บุคคลผู้เข้าถึงแล้วก็ย่อมทราบด้วยตนเองว่า สามารถดับกิเลสได้เพียงชั่วคราวตราบเท่าที่มีฌานจิตเกิด ก็เกิดอกุศลแทรกขั้นไม่ได้นั้นยังไม่พอ ยังไม่สามารถดับกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ เมื่อฌานจิตไม่ได้เกิดก็มีอกุศลเกิดได้เหมือนเดิม และฌานนี้ก็ยังเสื่อมได้อีกด้วยเพราะยังไม่ได้ดับอนุสัยกิเลส
สมาธิใดที่เกิดขึ้นพร้อมกับความพึงใจ มีความจงใจทำขึ้นด้วยความต้องการ ยังประกอบด้วยภวตัณหา วิภวตัณหา, ยังยินดีในความมีความเป็น ความไม่มีความไ่ม่เป็น ยังมีความยินดีในรูปภพ อรูปภพ ... เหล่านี้ก็ยังเป็น มิจฉาสมาธิ ยังมีอวิชชาที่ปิดบังไม่ให้เห็นตัณหาที่ละเอียด ซึ่งยังไม่ใช่ สัมมาสมาธิ
ถ้าฌานทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไปทำด้วยความเป็นเรา มีตัวตนของเราไปนั่งสมาธิ มีตัวตนของเราที่ทำความสงบให้เกิดขึ้น ความสงบนี้เป็นของเรา ความสงบนี้เกิดแก่ตัวเรา เกิดความหลงใหลในความสงบของฌาน เกิดความทะนงตนว่าได้ฌาน ฯลฯ ... เหล่านี้ ก็ยังเป็น มิจฉาสมาธิ เพราะยังประกอบด้วยความเห็นผิด ซึ่งยังไม่ใช่ "สัมมาสมาธิ" นะครับ
ส่วนการที่จะละความติดในความสงบของฌานนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เคยได้ฌานมาแล้ว ตามมาด้วยการติดแล้วในฌาน จึงจะละความยินดีในฌานได้ด้วยมีปัญญา เห็นว่ามีความสงบที่ยิ่งกว่านี้ ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก แล้วเจริญให้ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ จนพบว่าฌานไม่สามารถดับกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ ... ทั้งนี้ อาจจะเป็นผู้ที่สะสมปัญญาจากในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ ก็ได้ ... การอบรมนี้จะต้องไม่ข้ามขั้นตอน คือต้องไม่ใช่ละความติดในฌานด้วยการคิดเอาว่าตนเป็นผู้ไม่ยินดีในฌานแล้ว ข้ามผ่านฌานแล้ว โดยที่ยังไม่เคยเจริญให้ฌานจิตเกิดได้เลย ยังไม่เคยสัมผัสถึงอารมณ์ของฌานว่าสงบประณีตเพียงไร ละเอียดเพียงไร น่าหลงใหลเพียงไร สงบเพียงไร
ผู้ที่ติดในฌานแล้ว มีกสิน ๙ เป็นต้น (ไม่รวมอรูปกสิน) เมื่อได้กสินแล้วท่านให้เพิกกสินก่อน แล้วจึงเริ่มต้นวิปัสสนาภาวนาต่อไปได้ ในระดับนามรูปปริจเฉทญาณที่มีการพิจารณาลักษณะของนามรูปโดยอาศัยปัญญาขั้นปริยัติ นั้นก็ต้องอาศัยกำลังของสมาธิระดับหนึ่งที่เป็นขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิซึ่งต่ำกว่าปฐมฌาน ... เมื่อวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นเรื่อยๆ ก็จะได้ฌานอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน ซึ่งเป็นฌานที่เกิดเฉพาะในวิปัสสนาเท่านั้น
การเจริญวิปัสสนาเริ่มต้นก็ต้องอาศัยสมาธิด้วย มิฉะนั้นแล้วก็จะตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาไม่ได้นาน จะพิจารณาอารมณ์ได้แค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ยังไม่ทันได้เกิดปัญญาอะไรเลยความตั้งมั่นก็หมดลงไปเสียแล้ว ... แต่จะไม่มีปัญหาสำหรับผู้ที่มีปัญญามาก เพราะเพียงสมาธิตั้งมั่นช่วงระยะเวลาสั้นๆ นี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะเจริญปัญญาละอวิชชาได้แล้ว เพราะอาศัยกำลังของสติปัฐานและปัญญาที่คมกล้าแล้วนั่นเอง
ในยุคนี้สมัยนี้ ไม่ใช่กาลสมัยที่จะมีผู้ที่ได้ฌาน ดังนั้นถ้าไปฝึกฌานก็จะกลายเป็นการเนิ่นช้านะครับ เพราะใช้เวลาฝึกนานมาก คงจะหมดอายุขัยเสียก่อนที่จะได้ฌาน ได้วสีที่ใช้ดับกิเลสได้ ... ทางที่ดีก็ควรจะอบรมเจริญปัญญาให้เจริญขึ้น แล้วละอวิชชาที่เป็นมูลรากของอกุศลทั้งปวงโดยอาศัยปัญญา จะเป็นผลดีกว่านะครับ เพราะถึงแม้ว่าจะได้ฌานแล้วก็ต้องมาต่อวิปัสสนา ...
อาศัยปัญญาขั้นปริยัติให้เกิดสติระลึกรู้ลักษณะของนามรูปแต่ละประเภท แล้วเจริญขึ้นจนเห็นนามรูปเกิดติดต่อกันเป็นสติปัฏฐาน แล้วเจริญขึ้นอีกเป็นวิปัสสนาญาณระดับต่างๆ ได้รู้แจ้งไตรลักษณ์ของธาตุที่เป็นปรมัตถ์ซึ่งพ้นจากบัญญัติแล้ว ... จากเดิมที่เคยเห็นว่าเรามีตัวมีตน ก็เป็นอันแตกแยกย่อย กระจัดกระจายออกเป็นธาตุแต่ละอย่างที่แยกขาดจากกัน ไม่เหลืออะไรให้ประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อนอันเป็นที่ตั้งของอุปาทานยึดมั่นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ได้อีก ฯ
ขออนุโมทนากุศลจิตทุกท่านครับ ... และขอกราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ที่ทำให้ผมได้เกิดปัญญาอันหาค่ามิได้นี้ ขออุทิศกุศลทั้งปวงแด่ท่านอาจารย์ครับ
ภัยสิ่งที่น่ากลัวที่สุด ก็คือภัยจากการคิด ... เพราะการคิดนั้น เกิดในขณะที่ยังเป็นผู้ที่มากด้วยกิเลส มากด้วยอวิชชา เป็นสังขารธรรมที่มีอกุศลเจตสิกปรุงแต่อยู่ตลอดเวลา การพิจารณาใดๆ จึงต้องไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบจริงๆ โดยใช้ความรู้ที่ได้จากปริยัติมาใช้มาประกอบให้ครบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ก่อนจะเห็นไตรลักษณ์ ก็ต้องเกิดปัญญาเห็นแจ้งปรมัตถ์เสียก่อน ... ขณะนั้นไม่มีการคิด แต่เป็นการรู้เฉพาะสิ่งที่มีจริงที่เกิดดับอยู่เฉพาะหน้าเป็นปัจจุบันขณะ เป็นสภาพที่ ไ่ม่มีบัญญัติ หรือพ้นจากบัญญัติ ไม่มีชื่อ ไม่มีความหมาย มีแต่รูปธาตุและสภาพรู้ที่รู้รูปธาตุนั้น แล้วเห็นการเกิดขึ้นแล้วดับไปชัดเจนแจ่มแจ้ง จนค่อยๆ ปรากฏไตรลักษณ์มาให้ปัญญาพิจารณา
ทั้งหมดนี้รู้ด้วยการประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่รู้จากการคิดนึกหรือจินตนาการ เป็นเรื่องละเอียดมากครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"ขณะที่สงสัย แสดงว่ายังไม่เข้าใจ"
"การอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่การนั่งสมาธิ"
การนั่งสมาธิแล้วคิดว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่นคือโลภะที่ประกอบด้วย
มิจฉาทิฏฐิ (ความพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิด)
เพราะการอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่ ทำอะไรที่ผิดปกติจากชีวิตประจำวัน
สมาธิมี ๒ อย่าง คือ สัมมาสมาธิ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑
ควรศึกษาพระธรรมให้เข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อการเจริญ
สัมมามรรคที่ถูกต้อง มิจฉามรรคเป็นทางผิดไม่ควรเจริญ
เมื่อเจริญมิจฉามรรคย่อมมีโทษ ไม่มีคุณประโยชน์เลยครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยครับ
มิจฉาสมาธิ คือสมาธิที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการบรรลุธรรม เช่นการตั้งใจแน่วแน่อยู่กับการละเล่นต่างๆ อย่างเช่นการกระโดดร่ม การขับรถ การเดินบนเชือก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ต้องมีสมาธิเท่านั้น
ส่วนสัมมาสมาธินั้น เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ธรรม เช่นมีจิตตั้งมั่นอยูกับลมหายใจ จนกายสงบเมื่อกายสงบจิตก็สงบ เมื่อจิตสงบค่อยๆ น้อมจิตเข้าพิจารณาธรรมะในกายเรานี่แหละครับมันถึงจะได้ผลจริง ส่วนการนั่งสมาธิที่ท่านบอกว่าเป็นโลภะนั้นก็ถูกถ้าไม่ได้ศึกษาอะไรเลย แต่ถ้าศึกษาพอเข้าใจแล้วไม่ใช่แน่นอนครับ และมิจฉาทิฎฐินั้น ก็เห็นผิดกันมาทั้งนั้น จนกว่าจะเข้าใจอริยสัจสี่อย่างแจ่มแจ้งนั้นแหละครับถึงจะเกิดสัมมาทิฎฐิ มรรคข้อ ๒ ถึงจะเดินได้เต็มกำลัง ทางที่ชอบอาจจะเดินไปได้ไกล แต่ทางที่ใช่เดินไปได้ไกลกว่า
ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ
ต้องขอโทษท่านเจ้าของกระทู้นะครับถ้าอาจจะสนทนาไม่ถูกประเด็นเพราะ อ่านใน
กระทู้แล้วไม่แน่ใจว่าตอนนี้ท่านเจ้าของกระทู้รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วหายสงสัยในคำสอน
หรือว่าเข้าใจในคำสอนจึงเลิกนั่งสมาธิแล้ว แต่ก็ขอสนทนาแบบกว้างๆ นะครับ
ก่อนอื่นขออนุญาตออกความเห็นเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ครับ
คือจากที่ฟังการบรรยายของท่านอาจารย์มาพอสมควร ก็ทราบได้ว่าท่านอาจารย์ไม่เคย
ห้ามไม่ให้ใครทำอะไร หรือสั่งให้ใครไปทำอะไร แต่ท่านแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังได้
พิจารณาจนเป็นความเข้าใจเป็นปัญญาของตนเอง อย่างเรื่องสมาธิ ท่านอาจารย์ก็ไม่
ได้ห้ามใคร แต่ท่านแสดงให้ผู้ฟังได้เข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับสมาธิ อย่างเช่น
- สมาธิคือ เอกัคคตาเจตสิก คืิอเจตสิกที่ทำให้ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว เป็นเจตสิกที่ต้อง
เกิดกับจิตทุกดวงไม่มีเว้น แต่ปกติลักษณะที่ตั้งมั่นไม่ปรากฎ จะปรากฏลักษณะตั้งมั่นจน
เป็นสมาธิก็เมื่อจดจ่อกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ
- สมาธิมีสองอย่างคือสัมมาสมาธิ กับมิจฉาสมาธิ ถ้าเมื่อใดพยายามทำสมาธิด้วยความ
ต้องการ เช่นต้องการสงบต้องการไม่โกรธ ต้องการปัญญา ขณะนั้นต้องเป็นโลภ ต้อง
เป็นมิจฉามาธิแน่นอน เพราะการจะเจริญสมาธิแม้ในแนวของสมถภาวนา ก็ต้องเป็นผู้มี
ปัญญามากเห็นโทษของอกุศลและรู้ว่าวันหนึ่งมีอกุศลมากกว่ากุศลคือแม้แค่หลังจาก
เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดโลภก็เกิดติดข้องในสิ่งนั้นอย่างรวดเร็ว และต้องมีปัญญารู้ว่าจะน้อม
พิจารณาอารมณ์ใดจึงจะทำให้จิตเป็นกุศลได้ต่อเนื่องยาวนาน (แม้กระนั้นสมถภาวนาก็
ไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลสเป็นสมุทเฉท) เพราะฉะนั้นถ้าขาดปัญญาแล้วก็เป็นสมาธิที่
เป็นสัมมาสมาธิไม่ได้
- อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก เป็นต้น
เพราะลมหายใจเป็นรูปที่เกิดจากจิตฉะนั้นจิตเกือบทุกดวงในชีวิตประจำวันเป็นสมุฏฐาน
ให้เกิดลมหายใจได้ ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นรูปที่ละเอียดรู้ได้ยาก ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก
จึงจะรู้ได้ถูกต้อง เราต้องรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าอยู่ในฐานะที่มีปัญญาเช่นนั้นหรือ
ไม่
- ท่านอาจารย์สุจินต์จะย้ำเสมอว่า เวลาไปนั่งสมาธิแล้ว มีความรู้ความเข้าใจอะไรเพิ่ม
ขึ้นรึเปล่า หรือเพียงแค่พอใจที่รู้สึกว่าสงบไม่วุ่นวาย (ซึ่งไม่ใช่ความสงบที่แท้จริง เพราะ
สงบจริงๆ คือสงบจากอกุศล)
- ภาษาไทยเรานำคำว่าปฏิบัติมาใช้ในความหมายว่า "ทำ" ดังนั้นพอพูดถึงการปฏิบัติ
เราจึงเข้าใจว่าต้องไปลงมือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา เช่นไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม แต่
ปฏิบัติในภาษาบาลี หมายถึง "ถึงเฉพาะ" คือขณะใดที่ความรู้ความเข้าใจจากการฟัง
ธรรมปรุงแต่งให้ สติระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งพร้อมกับ
ปัญญาที่พิจารณารู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นชื่อว่า
ปฏิบัติแล้ว คือสภาพธรรมแต่ละอย่างปฏิบัติหน้าที่ของตน ไม่มีตัวเราอีกต่างหากที่ต้อง
ไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผิดไปจากปกติ
- เวลาที่เราศึกษาธรรมเรามักจะอดไม่ได้ที่จะคอยวัดผลว่า เราดีขึ้นแค่ไหน บางทีเรา
อาจจะพอใจว่าเรารู้สึกว่าเราโกรธน้อยลง มีความต้องการน้อยลง แต่นั่นไม่ใช่จุด
ประสงค์ของการศึกษาธรรม จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมคือเพื่อให้มีความเข้าใจเพิ่ม
ขึ้นในสภาพธรรมที่มีอยู่ในขณะนี้จากที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่น
เลย เพราะการที่จะละความโกรธ หรือความพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสได้เป็นสมุท
เฉท ต้องถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล ปุถุชนอย่างเราไม่มีทางละได้ แต่สิ่งที่ควรละ
ก่อนอื่นคือความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนคนสัตว์ ซึ่งต้องเริ่มจากการฟังพระ
ธรรมศึกษาพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ท่านเจ้าของกระทู้เชิญชวนให้แชร์ประสบการณ์ในการปฏิบัติ ผมก็ขออนุญาตเล่าให้
ฟังว่าก่อนที่จะได้ฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์และอาจารย์วิทยากรของมูลนิธิฯ ผมก็
นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ พุทโธบ้าง ยุบหนอพองหนอบ้าง อาศัยทำตามหนังสือที่มีคน
เขียนหรือวิทยุของสำนักปฏิบัติต่างๆ ทำไปแล้วบางครั้งก็รู้สึกสุขสงบมากจนรู้สึกว่าตัว
เบาตัวลอย บางครั้งก็หงุดหงิดว่าทำไมนั่งวันนี้แล้วไม่สงบเหมือนวันก่อน บางครั้งก็ง่วง
หลับ บางครั้งปวดศีรษะมากจนแทบระเบิด แต่ไม่ได้รู้อะไรขึ้นมาเลย มีแต่ความสงสัย
ความไม่รู้มากมายเต็มไปหมด พอได้มาฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์จึงรู้ว่าหนทางที่
ถูกต้องคือค่อยๆ ฟังธรรมให้เข้าใจขึ้นทีละน้อยโดยไม่ต้องไปหวังอะไร ไม่ต้องหวังว่าสติ
จะเกิดเมื่อไหร่ ไม่ต้องหวังว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมวันไหน เพียงแค่ฟังให้เข้าใจและไม่
ละทิ้งการฟัง เพราะเป็นหนทางละโดยตลอด ขณะใดที่คิดจะไปทำอย่างอื่นด้วยความ
ต้องการขณะนั้นเป็นเครื่องกั้นเครื่องเนิ่นช้าแล้ว
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก เป็นต้น เพราะลมหายใจเป็นรูปที่เกิดจากจิต ฉะนั้น จิตเกือบทุกดวงในชีวิตประจำวันเป็นสมุฏฐาน ให้เกิดลมหายใจได้ ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นรูปที่ละเอียดรู้ได้ยาก ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก จึงจะรู้ได้ถูกต้อง เราต้องรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าอยู่ในฐานะที่มีปัญญาเช่นนั้นหรือไม่ อานาปานสติไม่ได้สงวนไว้แต่เฉพาะมหาบุรุษ และอริยสาวกหรอกนะครับ ทุกคนสามารถทำได้ พระองค์บอกกับสาวกของท่านให้ทำให้มาก เจริญให้มาก ท่านก็กล่าวกับภิกษุบวชใหม่ทั้งนั้นแหละครับ เธอจงไปสู่ป่า สู่เรือนว่าง นั่งตัวตรงดำรงสติให้มั่นอยู่เฉพาะหน้า หายใจออกก็รู้ หายใจเช้าก็รู้ ตามหลักอานาปานสติกรรมฐานนั้นแหละครับ ลมหายใจก็เป็นกายหนึ่ง สมถวิปัสสนารวมอยู่ในนี้ทั้งหมด ลงมือเข้าไปเถอะครับอย่ากลัวเลย เพราะท่านที่ฟังอาจารย์สุจินต์ ล้วนมีปัญญาด้านปริยัติพอสมควรไม่ต้องกลัวหลงทางหรอก เพราะท่านมีความเห็นถูกอยู่แล้ว ปฏิบัติพร้อมกับศึกษาปริยัติไปจะได้ไม่เสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะอานาปานสติถูกจริตกับทุกจริต ท่านจะได้เข้าเรียนรู้สิ่งที่ละเอียดที่สุดในร่างกาย สิ่งละเอียดจะไขความกระจ่างให้ท่านได้
ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ
ต้องขอโทษท่านเจ้าของกระทู้นะครับถ้าอาจจะสนทนาไม่ถูกประเด็นเพราะ อ่านใน
กระทู้แล้วไม่แน่ใจว่าตอนนี้ท่านเจ้าของกระทู้รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วหายสงสัยในคำสอน
หรือว่าเข้าใจในคำสอนจึงเลิกนั่งสมาธิแล้ว แต่ก็ขอสนทนาแบบกว้างๆ นะครับ
ก่อนอื่นขออนุญาตออกความเห็นเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ครับ
คือจากที่ฟังการบรรยายของท่านอาจารย์มาพอสมควร ก็ทราบได้ว่าท่านอาจารย์ไม่เคย
ห้ามไม่ให้ใครทำอะไร หรือสั่งให้ใครไปทำอะไร แต่ท่านแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังได้
พิจารณาจนเป็นความเข้าใจเป็นปัญญาของตนเอง อย่างเรื่องสมาธิ ท่านอาจารย์ก็ไม่
ได้ห้ามใคร แต่ท่านแสดงให้ผู้ฟังได้เข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับสมาธิ อย่างเช่น
- สมาธิคือ เอกัคคตาเจตสิก คืิอเจตสิกที่ทำให้ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว เป็นเจตสิกที่ต้อง
เกิดกับจิตทุกดวงไม่มีเว้น แต่ปกติลักษณะที่ตั้งมั่นไม่ปรากฎ จะปรากฏลักษณะตั้งมั่นจน
เป็นสมาธิก็เมื่อจดจ่อกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ
- สมาธิมีสองอย่างคือสัมมาสมาธิ กับมิจฉาสมาธิ ถ้าเมื่อใดพยายามทำสมาธิด้วยความ
ต้องการ เช่นต้องการสงบต้องการไม่โกรธ ต้องการปัญญา ขณะนั้นต้องเป็นโลภ ต้อง
เป็นมิจฉามาธิแน่นอน เพราะการจะเจริญสมาธิแม้ในแนวของสมถภาวนา ก็ต้องเป็นผู้มี
ปัญญามากเห็นโทษของอกุศลและรู้ว่าวันหนึ่งมีอกุศลมากกว่ากุศลคือแม้แค่หลังจาก
เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดโลภก็เกิดติดข้องในสิ่งนั้นอย่างรวดเร็ว และต้องมีปัญญารู้ว่าจะน้อม
พิจารณาอารมณ์ใดจึงจะทำให้จิตเป็นกุศลได้ต่อเนื่องยาวนาน (แม้กระนั้นสมถภาวนาก็
ไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลสเป็นสมุทเฉท) เพราะฉะนั้นถ้าขาดปัญญาแล้วก็เป็นสมาธิที่
เป็นสัมมาสมาธิไม่ได้
- อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก เป็นต้น
เพราะลมหายใจเป็นรูปที่เกิดจากจิตฉะนั้นจิตเกือบทุกดวงในชีวิตประจำวันเป็นสมุฏฐาน
ให้เกิดลมหายใจได้ ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นรูปที่ละเอียดรู้ได้ยาก ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก
จึงจะรู้ได้ถูกต้อง เราต้องรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าอยู่ในฐานะที่มีปัญญาเช่นนั้นหรือ
ไม่
- ท่านอาจารย์สุจินต์จะย้ำเสมอว่า เวลาไปนั่งสมาธิแล้ว มีความรู้ความเข้าใจอะไรเพิ่ม
ขึ้นรึเปล่า หรือเพียงแค่พอใจที่รู้สึกว่าสงบไม่วุ่นวาย (ซึ่งไม่ใช่ความสงบที่แท้จริง เพราะ
สงบจริงๆ คือสงบจากอกุศล)
- ภาษาไทยเรานำคำว่าปฏิบัติมาใช้ในความหมายว่า "ทำ" ดังนั้นพอพูดถึงการปฏิบัติ
เราจึงเข้าใจว่าต้องไปลงมือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา เช่นไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม แต่
ปฏิบัติในภาษาบาลี หมายถึง "ถึงเฉพาะ" คือขณะใดที่ความรู้ความเข้าใจจากการฟัง
ธรรมปรุงแต่งให้ สติระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งพร้อมกับ
ปัญญาที่พิจารณารู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นชื่อว่า
ปฏิบัติแล้ว คือสภาพธรรมแต่ละอย่างปฏิบัติหน้าที่ของตน ไม่มีตัวเราอีกต่างหากที่ต้อง
ไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผิดไปจากปกติ
- เวลาที่เราศึกษาธรรมเรามักจะอดไม่ได้ที่จะคอยวัดผลว่า เราดีขึ้นแค่ไหน บางทีเรา
อาจจะพอใจว่าเรารู้สึกว่าเราโกรธน้อยลง มีความต้องการน้อยลง แต่นั่นไม่ใช่จุด
ประสงค์ของการศึกษาธรรม จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมคือเพื่อให้มีความเข้าใจเพิ่ม
ขึ้นในสภาพธรรมที่มีอยู่ในขณะนี้จากที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่น
เลย เพราะการที่จะละความโกรธ หรือความพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสได้เป็นสมุท
เฉท ต้องถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล ปุถุชนอย่างเราไม่มีทางละได้ แต่สิ่งที่ควรละ
ก่อนอื่นคือความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนคนสัตว์ ซึ่งต้องเริ่มจากการฟังพระ
ธรรมศึกษาพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ท่านเจ้าของกระทู้เชิญชวนให้แชร์ประสบการณ์ในการปฏิบัติ ผมก็ขออนุญาตเล่าให้
ฟังว่าก่อนที่จะได้ฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์และอาจารย์วิทยากรของมูลนิธิฯ ผมก็
นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ พุทโธบ้าง ยุบหนอพองหนอบ้าง อาศัยทำตามหนังสือที่มีคน
เขียนหรือวิทยุของสำนักปฏิบัติต่างๆ ทำไปแล้วบางครั้งก็รู้สึกสุขสงบมากจนรู้สึกว่าตัว
เบาตัวลอย บางครั้งก็หงุดหงิดว่าทำไมนั่งวันนี้แล้วไม่สงบเหมือนวันก่อน บางครั้งก็ง่วง
หลับ บางครั้งปวดศีรษะมากจนแทบระเบิด แต่ไม่ได้รู้อะไรขึ้นมาเลย มีแต่ความสงสัย
ความไม่รู้มากมายเต็มไปหมด พอได้มาฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์จึงรู้ว่าหนทางที่
ถูกต้องคือค่อยๆ ฟังธรรมให้เข้าใจขึ้นทีละน้อยโดยไม่ต้องไปหวังอะไร ไม่ต้องหวังว่าสติ
จะเกิดเมื่อไหร่ ไม่ต้องหวังว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมวันไหน เพียงแค่ฟังให้เข้าใจและไม่
ละทิ้งการฟัง เพราะเป็นหนทางละโดยตลอด ขณะใดที่คิดจะไปทำอย่างอื่นด้วยความ
ต้องการขณะนั้นเป็นเครื่องกั้นเครื่องเนิ่นช้าแล้ว
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
สิ่งที่ท่านทำนั้นผิดเต็มประตู อยู่ๆ ก็ไปนั่งนี่แหละครับที่คือความผิด ท่านไม่รู้อะไรเลย วางจิตวางใจก็ไม่เป็นมีแต่ความต้องการ คนที่เข้าวางใจเป็นเขาก็ได้อะไรดีๆ มากจนบรรลุธรรมกันมากแล้ว อย่าติดกับปริยัติมากเลย ฟังเพียงพระสูตรบางพระสูตรพอเข้าใจ เช่นอนัตตลักขณสูตรก็น่าจะโอเคนะ แต่ถ้าต้องการเป็นพหูสูตเพื่ออนุเคราะห์ชนรุ่นหลังก็ไม่ว่ากันนะครับ ถือเป็นการดี มีประโยชน์ แต่ต้องลงมือปฏิบัติ
เรียนคุณ saree ที่เคารพ
ถ้าหากว่ามีใครสักคนที่อบรมปัญญาจนปัญญาเจริญขึ้นเป็นปัญญาระดับสูงเป็นวิปัสสนาญาณหรือรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ผมเองและสหายธรรมทุกท่านต้องอนุโมทนายินดีด้วยแน่นอน
แต่ก็ขอให้พิจารณานะครับ ว่า ภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นทีละน้อยจากขั้นการฟัง การพิจารณา จนสติค่อยๆ เกิดระลึกสภาพธรรมที่มีจริงเป็นปกติ จนปัญญาค่อยๆ เจริญมีกำลังขึ้นตามลำดับ ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานมากเป็น จิรกาลภาวนา จะให้ปัญญาเกิดรวดเร็วไม่ได้ จะไม่รู้สิ่งที่ปรากฏเป็นปกติเช่น สี เสียง แข็ง เห็น ได้ยิน ฯลฯ แล้วจะข้ามไปรู้การเกิดดับย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้ ไม่เช่นนั้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าคงไม่ต้องใช้เวลาถึงสี่อสงไขยแสนกัปในการอบรมพระบารมี และแม้แต่อริยสาวกก็ต้องอบรมกันเป็นหลายกัป ไม่ใช่เพียง เป็นเดือน เป็นปี หรือเป็นชาติ
และแม้ในครั้งพุทธกาลเองก็มีอริยสาวกที่เป็นคฤหัสถ์มากมายที่บรรลุธรรมจากการเพียงได้ฟังธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เช่นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านวิสาขามิคารมารดา และอีกมากมาย ท่านเหล่านั้นเพียงฟังพระธรรม ประกอบกับปัญญาที่ได้สะสมมาสมบูรณ์พร้อมจึงได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ท่านไม่ได้ไปทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผิดปกติจากชีวิตประจำวันเลย ไม่ต้องไปนั่งให้ผิดปกติ ไม่ต้องไปเดินให้ผิดปกติ ไม่ต้องทำให้ชีวิตของตนลำบาก ไม่ต้องเสียสละชีวิต เพราะการจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมต้องด้วยปัญญา ไม่ใช่แลกด้วยชีวิต
และการปฏิบัติ ไม่ใช่การที่มีเราเป็นตัวเป็นตนที่ต้องลงมือทำ ลงมือตั้งใจพิจารณาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อหวังผลหนึ่งผลใด เพราะเป็นหน้าที่ของธรรมแต่ละอย่าง ไม่มีเราอีกต่างหากที่จะเป็นคนที่ทำ ขณะใดที่จะทำขณะนั้นเป็นโลภะรึเปล่า ขณะใดที่คิดว่าจะทำได้ ขณะนั้นเห็นผิดรึเปล่า ขณะใดพอใจในผลที่ได้ขณะนั้นติดข้องรึเปล่า เพราะสภาพธรรมเป็นอนัตตา ไม่มีใครจะไปบังคับบัญชาได้ ทำได้เพียงอบรมเหตุให้ปัญญาเจริญขึ้นจากขั้นการฟัง การพิจารณา เมื่อเหตุสมควรแก่ผลเมื่อใด สติและปัญญาอีกขั้นก็เกิดขึ้นได้เมื่อปัจจัยพร้อม
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์โลกตลอด ๔๕ พรรษา ไม่ใช่ด้วยการบอกให้ไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ทรงแสดงพระธรรม แสดงความจริงของธรรมแต่ละอย่างที่มีจริงที่ผู้ที่ไม่ได้สดับจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเป็นแต่เพียงธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่ตัวตน คน สัตว์
ดังนั้น เราในฐานะสาวก (ผู้ฟัง) ก็สมควรที่จะฟังพระธรรมด้วยความเคารพโดยไม่หวังผลอื่นใดนอกจากให้มีความเข้าใจธรรมมากขึ้นจนเป็นความเห็นถูก คือสัมมาทิฏฐิ และการที่มีผู้ที่ปฏิบัติผิดทุกยุคทุกสมัยแม้ในครั้งพุทธกาล พระองค์จึงไม่ได้แสดงเพียงสัมมามรรคมีองค์ ๘ แต่ยังแสดงมิจฉามรรค ๘ ด้วย เพื่อให้สาวกอย่างพวกเราได้คอยตรวจสอบตัวเองว่าเราได้คลาดเคลื่อนจากทางที่ถูกต้องบ้างไหม เพราะสัมมามรรคย่อมนำไปสู่ สัมมาญาณ และ สัมมาวิมุตติ แต่มิจฉามรรคย่อมนำไปสู่ มิจฉาญาณ และมิจฉาวิมุตติ
ขออนุโมทนาครับ
แน่นอนครับการที่ท่านไปนั่งโดยไม่รู้เรื่องอะไรเลย มิจฉาสมาธิแน่นอน ท่านยังไม่รู้เป้าหมาย ยังไม่รู้ว่าอะไรคือความอยาก คุณก็จะมีความอยากมาปิดกั้นคุณจิตเป็นอกุศลล้วนๆ จะไปถูกทางได้อย่างไร เรียนรู้อริยสัจให้เข้าใจก่อน แล้วค่อยเข้าไปศึกษาอานาปานสติ อานาปานสติมิได้สงวนอยู่แต่พระพุทธองงค์และอริยสาวกเท่านั้น พระองค์ก็ทรงสั่งสอนสาวกบวชใหม่ยังไม่บรรลุธรรม ให้ทำให้มาก เจริญให้มาก การนั่งสมาธิมิได้เป็นการนั่งเพื่อให้ได้ฌานอย่างเดียวนะครับ เป็นการนั่งเพื่อให้ได้รับรู้ถึงสภาวะที่หยาบไปจนถึงละเอียดที่สุดเท่าที่มนุษย์เท่าที่จะรับรู้ได้ และเป็นการรับรู้สภาวะแห่งการถูกบีบคั้นจนถึงที่สุด เมื่อถูกบีบคั้นที่สุด สภาพแห่งธรรมก็จะปรากฏในมโนทวาร เพราะไม่สามารถทนสภาพเดิมได้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งเหล่านี้ผมจึงบอกว่ามิใช่แต่คิดเอาหรือเอาสภาพธรรมที่รับรู้ทั้งหกทวารเล็กๆ น้อย มันไม่พอหรอกครับ มันอาจจะมีประโยชน์อยู่บ้างตามเชาว์ปัญญาพอพูดคุยกัน เป็นการเริ่มต้นในการศึกษาธรรมะ พระอริยบุคคลที่กระดูกเป็นพระธาตุ เขาเอาชีวิตเข้าแลกกันทั้งนั้น ส่วนฌานนะไม่ยากเกินไปหรอกครับ เพ่งลมหายใจอย่างเดียวโดยไม่พิจารณาสภาพธรรมก็เกิดขึ้นได้ แต่ก็ต้องกล้าที่จะปวดหัว ตึงหัวบ้าง แต่จะกล้าทำต่อหรือเปล่า ไม่กล้าก็จบ ธรรมะเหล่านี้ไม่ได้มาสำหรับคนไม่กล้า เมื่อได้แล้วก็เป็นเครื่องอยู่อย่างมีความสุขได้เช่นกัน แต่ไม่ทำก็ไม่เป็นไรไม่ว่ากัน อย่างไรแล้วการบรรลุธรรมอย่างน้อยก็ต้องไปบรรลุที่ปฐมฌานอยู่ดี เพราะนิวรณ์ ๕ ไม่ปรากฏ การบรรลุธรรมไม่สามารถบรรลุได้ในภูมิกามาวจรเพราะต้องมีนิวรธรรมไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่ง นี้เป็นการแชร์นะครับเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็รับไว้ ถ้าไม่มีประโยชน์อันใด เพราะผู้เขียนก็ไม่หวังประโยชน์แก่ตัวเอง แสดงเพราะมั่นใจว่ามีประโยชน์ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ
ต้องขอโทษท่านเจ้าของกระทู้นะครับถ้าอาจจะสนทนาไม่ถูกประเด็นเพราะ อ่านใน
กระทู้แล้วไม่แน่ใจว่าตอนนี้ท่านเจ้าของกระทู้รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วหายสงสัยในคำสอน
หรือว่าเข้าใจในคำสอนจึงเลิกนั่งสมาธิแล้ว แต่ก็ขอสนทนาแบบกว้างๆ นะครับ
ก่อนอื่นขออนุญาตออกความเห็นเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ครับ
คือจากที่ฟังการบรรยายของท่านอาจารย์มาพอสมควร ก็ทราบได้ว่าท่านอาจารย์ไม่เคย
ห้ามไม่ให้ใครทำอะไร หรือสั่งให้ใครไปทำอะไร แต่ท่านแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังได้
พิจารณาจนเป็นความเข้าใจเป็นปัญญาของตนเอง อย่างเรื่องสมาธิ ท่านอาจารย์ก็ไม่
ได้ห้ามใคร แต่ท่านแสดงให้ผู้ฟังได้เข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับสมาธิ อย่างเช่น
- สมาธิคือ เอกัคคตาเจตสิก คืิอเจตสิกที่ทำให้ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว เป็นเจตสิกที่ต้อง
เกิดกับจิตทุกดวงไม่มีเว้น แต่ปกติลักษณะที่ตั้งมั่นไม่ปรากฎ จะปรากฏลักษณะตั้งมั่นจน
เป็นสมาธิก็เมื่อจดจ่อกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ
- สมาธิมีสองอย่างคือสัมมาสมาธิ กับมิจฉาสมาธิ ถ้าเมื่อใดพยายามทำสมาธิด้วยความ
ต้องการ เช่นต้องการสงบต้องการไม่โกรธ ต้องการปัญญา ขณะนั้นต้องเป็นโลภ ต้อง
เป็นมิจฉามาธิแน่นอน เพราะการจะเจริญสมาธิแม้ในแนวของสมถภาวนา ก็ต้องเป็นผู้มี
ปัญญามากเห็นโทษของอกุศลและรู้ว่าวันหนึ่งมีอกุศลมากกว่ากุศลคือแม้แค่หลังจาก
เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดโลภก็เกิดติดข้องในสิ่งนั้นอย่างรวดเร็ว และต้องมีปัญญารู้ว่าจะน้อม
พิจารณาอารมณ์ใดจึงจะทำให้จิตเป็นกุศลได้ต่อเนื่องยาวนาน (แม้กระนั้นสมถภาวนาก็
ไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลสเป็นสมุทเฉท) เพราะฉะนั้นถ้าขาดปัญญาแล้วก็เป็นสมาธิที่
เป็นสัมมาสมาธิไม่ได้
- อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก เป็นต้น
เพราะลมหายใจเป็นรูปที่เกิดจากจิตฉะนั้นจิตเกือบทุกดวงในชีวิตประจำวันเป็นสมุฏฐาน
ให้เกิดลมหายใจได้ ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นรูปที่ละเอียดรู้ได้ยาก ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก
จึงจะรู้ได้ถูกต้อง เราต้องรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าอยู่ในฐานะที่มีปัญญาเช่นนั้นหรือ
ไม่
- ท่านอาจารย์สุจินต์จะย้ำเสมอว่า เวลาไปนั่งสมาธิแล้ว มีความรู้ความเข้าใจอะไรเพิ่ม
ขึ้นรึเปล่า หรือเพียงแค่พอใจที่รู้สึกว่าสงบไม่วุ่นวาย (ซึ่งไม่ใช่ความสงบที่แท้จริง เพราะ
สงบจริงๆ คือสงบจากอกุศล)
- ภาษาไทยเรานำคำว่าปฏิบัติมาใช้ในความหมายว่า "ทำ" ดังนั้นพอพูดถึงการปฏิบัติ
เราจึงเข้าใจว่าต้องไปลงมือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา เช่นไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม แต่
ปฏิบัติในภาษาบาลี หมายถึง "ถึงเฉพาะ" คือขณะใดที่ความรู้ความเข้าใจจากการฟัง
ธรรมปรุงแต่งให้ สติระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งพร้อมกับ
ปัญญาที่พิจารณารู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นชื่อว่า
ปฏิบัติแล้ว คือสภาพธรรมแต่ละอย่างปฏิบัติหน้าที่ของตน ไม่มีตัวเราอีกต่างหากที่ต้อง
ไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผิดไปจากปกติ
- เวลาที่เราศึกษาธรรมเรามักจะอดไม่ได้ที่จะคอยวัดผลว่า เราดีขึ้นแค่ไหน บางทีเรา
อาจจะพอใจว่าเรารู้สึกว่าเราโกรธน้อยลง มีความต้องการน้อยลง แต่นั่นไม่ใช่จุด
ประสงค์ของการศึกษาธรรม จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมคือเพื่อให้มีความเข้าใจเพิ่ม
ขึ้นในสภาพธรรมที่มีอยู่ในขณะนี้จากที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่น
เลย เพราะการที่จะละความโกรธ หรือความพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสได้เป็นสมุท
เฉท ต้องถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล ปุถุชนอย่างเราไม่มีทางละได้ แต่สิ่งที่ควรละ
ก่อนอื่นคือความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนคนสัตว์ ซึ่งต้องเริ่มจากการฟังพระ
ธรรมศึกษาพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ท่านเจ้าของกระทู้เชิญชวนให้แชร์ประสบการณ์ในการปฏิบัติ ผมก็ขออนุญาตเล่าให้
ฟังว่าก่อนที่จะได้ฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์และอาจารย์วิทยากรของมูลนิธิฯ ผมก็
นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ พุทโธบ้าง ยุบหนอพองหนอบ้าง อาศัยทำตามหนังสือที่มีคน
เขียนหรือวิทยุของสำนักปฏิบัติต่างๆ ทำไปแล้วบางครั้งก็รู้สึกสุขสงบมากจนรู้สึกว่าตัว
เบาตัวลอย บางครั้งก็หงุดหงิดว่าทำไมนั่งวันนี้แล้วไม่สงบเหมือนวันก่อน บางครั้งก็ง่วง
หลับ บางครั้งปวดศีรษะมากจนแทบระเบิด แต่ไม่ได้รู้อะไรขึ้นมาเลย มีแต่ความสงสัย
ความไม่รู้มากมายเต็มไปหมด พอได้มาฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์จึงรู้ว่าหนทางที่
ถูกต้องคือค่อยๆ ฟังธรรมให้เข้าใจขึ้นทีละน้อยโดยไม่ต้องไปหวังอะไร ไม่ต้องหวังว่าสติ
จะเกิดเมื่อไหร่ ไม่ต้องหวังว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมวันไหน เพียงแค่ฟังให้เข้าใจและไม่
ละทิ้งการฟัง เพราะเป็นหนทางละโดยตลอด ขณะใดที่คิดจะไปทำอย่างอื่นด้วยความ
ต้องการขณะนั้นเป็นเครื่องกั้นเครื่องเนิ่นช้าแล้ว
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
เรียนคุณ saree ที่เคารพ
ถ้าหากว่ามีใครสักคนที่อบรมปัญญาจนปัญญาเจริญขึ้นเป็นปัญญาระดับสูงเป็นวิปัสสนาญาณหรือรู้แจ้งอริยสัจธรรม ผมเองและสหายธรรมทุกท่านต้องอนุโมทนายินดีด้วยแน่นอน
แต่ก็ขอให้พิจารณานะครับ ว่า ภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นทีละน้อยจากขั้นการฟังการพิจารณา จนสติค่อยๆ เกิดระลึกสภาพธรรมที่มีจริงเป็นปกติ จนปัญญาค่อยๆ เจริญมีกำลังขึ้นตามลำดับ ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานมากเป็น จิรกาลภาวนา จะให้ปัญญาเกิดรวดเร็วไม่ได้ จะไม่รู้สิ่งที่ปรากฏเป็นปกติเช่น สี เสียง แข็ง เห็น ได้ยิน ฯลฯ แล้วจะข้ามไปรู้การเกิดดับย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้ ไม่เช่นนั้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าคงไม่ต้องใช้เวลาถึงสี่อสงไขแสนกัปในการอบรมพระบารมี และแม้แต่อริยสาวกก็ต้องอบรมกันเป็นหลายกัป ไม่ใช่เพียง เป็นเดือน เป็นปี หรือเป็นชาติ
และแม้ในครั้งพุทธกาลเองก็มีอริยสาวกที่เป็นคฤหัสถ์มากมายที่บรรลุธรรมจากการเพียงได้ฟังธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เช่นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านวิสาขามิคารมารดา และอีกมากมาย ท่านเหล่านั้นเพียงฟังพระธรรม ประกอบกับปัญญาที่ได้สะสมมาสมบูรณ์พร้อมจึงได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ท่านไม่ได้ไปทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผิดปกติจากชีวิตประจำวันเลย ไม่ต้องไปนั่งให้ผิดปกติ ไม่ต้องไปเดินให้ผิดปกติ ไม่ต้องทำให้ชีวิตของตนลำบาก ไม่ต้องเสียสละชีวิต เพราะการจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมต้องด้วยปัญญาไม่ใช่แลกด้วยชีวิต
และการปฏิบัติ ไม่ใช่การที่มีเราเป็นตัวเป็นตนที่ต้องลงมือทำลงมือตั้งใจพิจารณาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อหวังผลหนึ่งผลใด เพราะเป็นหน้าที่ของธรรมแต่ละอย่าง ไม่มีเราอีกต่างหากที่จะเป็นคนที่ทำ ขณะใดที่จะทำขณะนั้นเป็นโลภะรึเปล่า ขณะใดที่คิดว่าจะทำได้ขณะนั้นเห็นผิดรึเปล่า ขณะใดพอใจในผลที่ได้ขณะนั้นติดข้องรึเปล่า เพราะสภาพธรรมเป็นอนัตตา ไ่ม่มีใครจะไปบังคับบัญชาได้ ทำได้เพียงอบรมเหตุให้ปัญญาเจริญขึ้นจากขั้นการฟังการพิจารณา เมื่อเหตุสมควรแก่ผลเมื่อใด สติและปัญญาอีกขั้นก็เกิดขึ้นได้เมื่อปัจจัยพร้อม
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์โลกตลอด 45 พรรษาไม่ใช่ด้วยการบอกให้ไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ทรงแสดงพระธรรม แสดงความจริงของธรรมแต่ละอย่างที่มีจริงที่ผู้ที่ไม่ได้สดับจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเป็นแต่เพียงธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่ตัวตนคนสัตว์ ดังนั้นเราในฐานะสาวก (ผู้ฟัง) ก็สมควรที่จะฟังพระธรรมด้วยความเคารพโดยไม่หวังผลอื่นใดนอกจากให้มีความเข้าใจธรรมมากขึ้นจนเป็นความเห็นถูก คือสัมมาทิฏฐิ
และการที่มีผู้ที่ปฏิบัติผิดทุกยุคทุกสมัยแม้ในครั้งพุทธกาล พระองค์จึงไม่ได้แสดงเพียง สัมมามรรคมีองค์ 8 แต่ยังแสดงมิจฉามรรค 8 ด้วย เพื่อให้สาวกอย่างพวกเราได้คอยตรวจสอบตัวเองว่าเราได้คลาดเคลื่อนจากทางที่ถูกต้องบ้างไหม เพราะสัมมามรรคย่อมนำไปสู่ สัมมาญาณและสัมมาวิมุตติ แต่มิจฉามรรคย่อมนำไปสู่ มิจฉาญาณ และมิจฉาวิมุตติ
ขออนุโมทนาครับ
ดูเหมือนคุณจะเข้าใจถูกแต่ก็ยังถูกไม่หมด ในสมัยก่อนกาลก็พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสัตว์ด้วยญาณที่หยั่งรู้ว่าใครมีปัญญาระดับไหน บางคนสะสมมาเพื่อการที่จะบรรลุโดยง่าย ก็แสดงธรรมอันสมควร บางท่านก็บรรลุรรมยาก อาศัยเวลามากมาย และเราเองก็ไม่มีญาณ กลับไปรู้อดีตว่าใครปฏิบัติอย่างไร อ่านเพียงแต่ตำราก็อย่าพึงเชื่อว่าคนนั้นสำเร็จไว สำเร็จได้ง่าย แนวทางที่ผมกระทำอยู่ผมมั่นใจว่าถูกแนวทางหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครบอกให้ผมทำ ผมทำโดยความไม่เชื่อว่าการที่จะอาศัย แสง สี เสียงได้ เกิดดับ เปลี่ยนแปลง เพียงแค่นี้จะทำให้ผมบรรลุธรรมชั้นสูงได้ ๓ เดือนแรกที่ประจักษ์แจ้งธรรมะในมโนทวาร ผมเดินต่ออีก ๑๐ ปี เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ในโลกไม่มีอะไรน่าปรารถนา ประกาศ ศิลพรหมจรรย์ตลอดชีวิต รับอาหารเพียงมื้อเดียวเดินหน้าท้าพญามาร จะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ปรากฏตามรอยพระพุทธองค์
ก็โลภะ ติดข้อง ให้หมองจิต ล้วน "ความคิด" ไม่พะวง และ สงสัย
ตามติด สนิทแนบ แอบในหทัย ย่อมพาไป ด้วยอำนาจ อวิชชา
ศึกษาเพียง ผิวเผิน ก็เพลิน "คิด" ไม่รู้ผิด เพราะติดข้อง ด้วยโมหา
เข้ารก เข้าพง ทะนงพา อนิจจา ติดที่ "ตน" ไม่พ้นเลย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เห็นถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม และเข้าใจความจริงว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ที่เห็นผิด หรือ เห็นถูก มีแต่สภาพธรรมที่เป็นไป แทนที่จะโกรธ ไม่ชอบ หรือ เป็นอกุศลกับผู้ที่มีความเห็นผิด ก็กลับมาที่ความเข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลาย แตกต่างกันโดยธาตุ ผู้ที่สะสมธาตุที่เป็นความเห็นผิด กาย วาจาและใจที่คิดนึก ก็ย่อมน้อมไปในทางที่เห็นผิด ไม่มีใคร หรือ สัตว์ บุคคลที่เห็นผิดเลย ผู้สะสมธาตุที่มีความเห็นถูก กาย วาจาและใจ ที่เป็นความคิดนึก ก็ย่อมนึก ตรึกไปในทางที่ถูก ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่มีสัตว์ บุคคลที่เห็นผิด มีแต่ความแตกต่างแห่งธาตุ ความแตกต่างของสภาพธรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไป ที่เป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก เท่านั้น ที่เกิดขึ้นและดับไป จะให้ อกุศล ที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ให้เป็นความเห็นถูก ก็ไม่ได้ จะให้ กุศลที่ประกอบด้วยความเห็นถูก จะมาเป็นความเห็นผิดก็ไม่ได้ เพราะต่างก็รักษา คงซึ่งสภาวะลักษณะของตนอย่างนั้น อันเป็นลักษณะของธาตุ คือ ทรงไว้ซึ่งลักษณะ เพราะฉะนั้น จึงไม่โทษใคร เพราะ ไม่มีใครให้โทษ เป็นแต่พียงโทษของสังสารวัฏฏ์ ที่อาศัย ความไม่รู้ อวิชชา ทำให้ตกอยู่ในอำนาจไม่รู้ และก็ไหลไปตามอำนาจของกิเลส
เพราะฉะนั้น ประโยชน์ที่สำคัญ คือ สัตว์โลกเป็นที่ดูบุญ และบาป ทั้ง เป็นที่ดูผลของบุญ และ ผลของบาป ว่าเกิดมาแตกต่างกันไป ยากดี มีจน รวมทั้ง สัตว์โลกเป็นที่ดูบุญและบาป โดยนัยที่เป็นการสะสมมาแตกต่างกัน คือ สะสมมาทั้งฝ่ายดี ที่เป็นความเห็นผิด และ ความเห็นถูก ประโยชน์ คือ ย้อนมาพิจารณาตนเองว่า นี่คือโทษของอวิชชา ความไม่รู้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมเป็นพืชเชื้อให้เห็นผิดต่างๆ ได้ จึงควรเป็นผู้ไม่ประมาทในการศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง เพราะ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่งสิ่งที่จะเป็นที่พึ่ง ก็คือ พึ่งพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ศึกษาให้ถูกต้อง ย่อมจะเกื้อกูลต่อความเห็นถูก และ ปฏิบัติถูก ครับ
ประโยชน์ จึงอยู่ที่น้อมเข้ามาในตน เพื่อมั่นคงในหนทางที่ถูก และ อบรมปัญญาต่อไป ไม่ประมาทในการศึกษาพระธรรม
ขออนุโมทนาผู้ร่วมสนทนาทุกท่าน ด้วยจิตที่เป็นกุศล ครับ
เรียนคุณpaderm
ที่จริงแล้วผมแอบชื่นชอบคุณมานานแล้วละ ที่คุณเสียสละเวลาตั้งมากมายมาให้ความรู้กับผู้คนหาใครทำได้ยาก ผมเองไม่เคยประมาทในธรรมะเลยครับ ผมมีความสุขกับการได้อยู่กับบรรยากาศธรรมะ ครับ ไม่ว่าจะเป็นการฟังธรรม รักษาศิล (ศิลพรหมจรรย์) ให้อาหารสัตว์ เข้าวัดสวดมนต์ ชวนคนปฏิบัติธรรม ไม่แสวงหาความสุข ไม่ดูหนัง ไม่ฟังเพลง ไม่แสวงหาความอร่อย ไม่คิดร้ายผู้อื่น มีแต่ให้
จากชีวิตก่อนหน้านี้ผมกินเหล้า สูบบุหรี่ ติดกัญชา บ้ายาอี เล่นการพนัน ยืนเต้นกลางสี่แยกอสมท มาแล้วตอนกลางวัน ใครจะบ้าเท่าผม ผมใช้ความสุขแบบนี้มาเกิอบ ๒๐ ปี ผมเริ่มชีวิตจากศูนย์ มีทุกอย่างสูงสุด จนมีตำแหน่งกรรมการบริหารบริษัทของตรกูลที่รวยที่สุดในเมืองไทย จากความรู้ที่ผมไม่มีเลย ในขณะที่เพื่อนเพิ่งเริ่มต้น ผมมีทุกอย่าง และในขณะที่เพื่อนผมเงินเดือนหลายแสน ผมกลับทิ้งทุกอย่างเดินตามทางพระพุทธองค์ นอนข้างถนนก็เคย มันช่างมีความสุขขนาดนี้เลยเหรอ รู้ซึ้งถึงความสุขที่แท้จริงขณะที่เราไม่มีตัวตนจะให้ยึดถือ ไม่เหมือนตอนขี่เบนซ์ ตัวมันพองอย่างไรไม่ถูก เลยรู้ซึ้งถึงสัจจธรรม ความจนกับความรวยมันไม่มีความหมายเสียแล้ว ความดีต่างหากที่มีความหมาย อะไรมันเกิดกับชีวิต นี่หรือเราเกิดมาเพื่อตรงนี้ ครั้งหนึ่งเคยไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ รู้สึกไม่เสียค่าที่เกิดมาเป็นชาวพุทธที่เข้าใกล้ทางกายได้มากที่สุด
ผมเองผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แวะมาแชร์ประสบการณ์แก่เพื่อนร่วมทุกข์ เผื่อมีประโยชน์ มิได้มาเพื่อประสงค์อื่น
sareeตัวตนก็ไม่มี มีแค่ตัวหนังสือสื่อความหมาย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การฟังพระธรรม เป็นเหตุให้ปัญญาเจริญขึ้น บุคคลผู้เป็นสาวกต้องเป็นผู้ได้ฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง และจะต้องเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงด้วย ไม่ใช่ว่าไม่ได้ฟังพระธรรมเลย แล้วปัญญาจะเกิดขึ้น และจะไปคิดธรรมเอาเองได้
เพราะเหตุว่า พระธรรม เป็นธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เพียงพอแก่ความเข้าใจของผู้ที่สะสมเหตุที่ดีมา เห็นประโยชน์ของความเข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริงที่จะได้ฟัง ได้ศึกษา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกยิ่งขึ้น
จึงควรอย่างยิ่ง ที่จะเห็นประโยชน์สูงสุดของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ด้วยความละเอียด รอบคอบ จริงๆ ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยวิธีอื่น นอกจากการเข้าใจธรรม"
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณsareeและทุกๆ ท่านครับ
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ Saree และกัลยาณมิตรในธรรมะทุกท่านที่ได้สนทนาเพื่อความเข้าใจธรรมะ และเกื้อกูลกันและกัน เพื่อให้ละคลายอกุศลยิ่งๆ ขึ้น
ในกระทู้เก่าๆ ผมพบว่ามีการสนทนาในเรื่องเกี่ยวกับการทดสอบธรรมะด้วยนะครับ
เป็นเรื่องที่ทำให้มีความมั่นคงว่า การศึกษาธรรมะและที่เข้าใจว่าเห็นผลที่เกิดขึ้นนั้น ตรงหรือไม่ตรง มีอกุศลใดแทรกหรือไม่ ความเข้าใจตามที่คิดนั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะ กิเลส อกุศล นั้นไม่ธรรมดาทีเดียว สามารถลวงหลอกได้แนบเนียนที่สุด หากเราไม่มีเครื่องมือตรวจสอบและเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ย่อมเสียทีแก่กิเลสอกุศลได้ทันที และหากรู้ตัวเมื่อสายไปแล้ว ย่อมทำให้หนทางเนิ่นช้าลงไปอีก
กระทู้นี้น่าสนใจมากครับ ลองอ่านและพิจารณาดูนะครับ
ขออนุโมทนาครับ