การให้ (ทาน) [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
(ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)
สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ ตอนที่ ๔ : การให้ (ทาน)
ถ : ถ้าจะเปรียบเทียบบุคคล ๒ ประเภท บุคคลหนึ่งให้และไม่เสียดายภายหลัง และอีกบุคคลหนึ่งให้แล้วเสียดายภายหลัง จริงหรือไม่ ที่การให้ในกรณีแรกจะเป็น ประโยชน์มากกว่า
ต : ประโยชน์ หรือ ผลของทานที่ให้ จะมีมากยิ่งขึ้น ถ้าเจตนาของการให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ เจตนาขณะที่ตัดสินใจที่จะให้ ขณะที่กำลังให้ และหลังจากที่การให้สำเร็จแล้ว
เหตุผล ก็คือว่า มีกุศลจิตที่เกิดขึ้นมากกว่า และเพราะกุศลจิตนั้น บริสุทธิ์กว่า อย่างไรก็ตาม ทางที่ประเสริฐที่สุดของการให้ทานนั้น คือ การให้โดยไม่หวังผล ไม่คาดหวังสิ่งตอบแทนเพื่อตนเอง เช่น ลาภ ทรัพย์สมบัติ ยศ คำสรรเสริญที่คนเชื่อ เนื่องจากตน ควรที่จะให้ เพราะรู้ว่า การให้เป็นประโยชน์ เพราะเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพราะไม่มีโลภ คือ ความติดข้อง ไม่มีความคาดหวัง ในผลที่จะได้รับสิ่งใดเพื่อตนเอง (เช่น ผลของกรรมดี เป็นต้น)
เชิญอ่าน สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ ตอนอื่นๆ ได้ ในลิงก์ข้างล่าง
สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ ตอนที่ ๓ ... สภาพธรรมปรากฏที่นี่และเดี๋ยวนี้
Act of Giving (Dana)
Q : If we compare the two kinds of persons, the one who gives and has no regret afterwards and the one who gives and has regret afterwards, is it not true that the giving in the first case is more beneficial?
A : The benefit or result of generosity is greater if the intention to give is pure at three periods of time, namely : when one makes the decision to give, at the moment of giving and after one has given. The reason is that there are more kusala cittas arising and the kusala citta is purer.
However, the best way of giving is giving without expectation of any result, no expectation to acquire anything for oneself, such as possessions, honour or praise one believes is due to oneself. If someone gives because he knows that giving is beneficial, something that ought to be done, there is no lobha, attachment, no expectation of result in the form of acquiring things for oneself.