กิเลส ๑๐ อย่าง

 
nano16233
วันที่  3 ก.ย. 2555
หมายเลข  21662
อ่าน  30,910

กิเลส ๑๐ อย่าง คือ อะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้า ครับ

กิเลส เป็นสภาพธรรมที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต เมื่อกิเลสเกิดขึ้น ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิก

กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ

๐๑. ทิฏฐิกิเลส อันได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิด ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๒. วิจิกิจฉากิเลส อันได้แก่ ความสงสัย ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๓. โทสะกิเลส อันได้แก่ ความโกรธความขุ่นมัวใจ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๔. โลภะกิเลส อันได้แก่ ความติดข้อง ต้องการ ที่ทำให้ใจเศร้าหมอง

๐๕. โมหะกิเลส อันได้แก่ ความหลงลืมไม่รู้ความจริง เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๖. ถีนะกิเลส อันได้แก่ ความหดหู่ ท้อถอย ซึมเซา เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๗. อุทธัจจะกิเลส อันได้แก่ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๘. อหิริกะกิเลส อันได้แก่ ความไม่ละอายต่อบาป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๙. มานะกิเลส อันได้แก่ ความสำคัญตน การเปรียบเทียบ ทำให้ใจเศร้าหมอง

๑๐. อโนตตัปปะกิเลส อันได้แก่ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ทำให้ใจเศร้าหมอง

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

กิเลสหมายถึงอะไร

กิเลสมีกี่ชนิด

กิเลสเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมอง

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 4 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ

กิเลส เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นกุศลธรรม เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต พระอริยบุคคลเท่านั้นที่จะดับกิเลสได้ตามลำดับมรรค เมื่อว่าโดยจำนวนแล้ว กิเลสไม่พ้นจากกุศลธรรม ๑๐ ประการ คือ

โลภะ (ความติดข้องยินดีพอใจ)

โทสะ (ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ)

โมหะ (ความหลง ความไม่รู้)

มานะ (ความสำคัญตน)

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม)

อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อกุศลธรรม)

อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่อกุศลธรรม)

อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) และ

ถีนะ (ความท้อแท้ ท้อถอย หดหู่)

พระโสดาบัน ดับ ความเห็นผิด และ ความลังเลสงสัยได้อย่างเด็ดขาด

พระอนาคามี ดับ โทสะ ได้อย่างเด็ดขาด

พระอรหันต์ ดับ โลภะ โมหะ มานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ และ ถีนะได้อย่างเด็ดขาด เมื่อกล่าวโดยสูงสุดแล้ว พระอรหันต์ เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง

ประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรมในเรื่องของกิเลส ซึ่งเป็นกุศลธรรมนั้น ไม่ใช่ให้ไปติดที่จำนวน แต่เพื่อให้เข้าใจว่า กิเลสไม่ได้อยู่ในตำรา แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง จึงเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษา ได้พิจารณาขัดเกลากิเลสของตนเองได้อย่างละเอียด เพราะเหตุว่า ทรงชี้ให้เห็นกิเลสและโทษของกิเลสตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่จะเห็นได้

ถ้าไม่มีการฟัง การศึกษาเลย ความรู้ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น การฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตอย่างแท้จริง เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูก ไปตามลำดับ และปัญญานี้เอง ที่ค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ เมื่อเจริญสมบูรณ์พร้อมก็จะสามารถดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 4 ก.ย. 2555

ขณะที่กิเลสเกิด ขณะนั้นไม่มีปัญญา ขณะนั้นมืด ขณะนั้นไม่มีความสุข เพราะ กำจัดความดี และ เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nano16233
วันที่ 5 ก.ย. 2555

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aurasa
วันที่ 8 ก.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 17 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ขอบคุณนะ
วันที่ 3 ม.ค. 2562

คนรู้ธรรมชอบเอาชนะผู้อื่น

คนปฏิบัติธรรมชอบเอาชนะตนเอง

ขออนุโมทนาบุญครับอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 4 ธ.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Tathata
วันที่ 12 มี.ค. 2563

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ