ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๐๕๗
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้
[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๕๗]
๐ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ผู้ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะตรัสรู้ความ จริงของสิ่งที่ทุกคนมีตั้งแต่เกิดจนตายแต่ไม่รู้ ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง ละความไม่รู้ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอกุศลต่างๆ มากมายมหาศาล เพราะว่าเพิ่มขึ้นแต่ ละวันที่ไม่รู้
๐ กิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีของตนเอง ใครๆ ก็กำจัดหรือละคลายให้ไม่ได้ ต้องเป็น สภาพธรรมฝ่ายดี (ของตนเอง) เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้นที่จะละคลายขัดเกลากิเลสได้
๐ ที่จะเป็นผู้งอกงามในพระสัทธรรมได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่ฟังพระธรรมเพื่อขัดเกลา กิเลสและเพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง
๐ กว่าจะถึงวิชชาได้จริงๆ จนหมดกิเลส ต้องรู้ว่า กิเลสมากมายมหาศาลแค่ไหน ลึกเหนียวแน่นแค่ไหน และถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจ ไม่มีทางจะดับกิเลสเลย คนไม่รู้ ก็ไปนั่งปฏิบัติ ทำอะไรต่างๆ มากมาย หวังว่าจะรู้แล้วจะหมดกิเลส แต่ถ้าไม่ใช่ความ เข้าใจสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ ไม่ใช่ปัญญาเลย ไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่การดับกิเลส
๐ คำสอนใดก็ตามที่นำไปสู่ความอยาก หรือความต้องการ นั่นไม่ใช่คำสอนของ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่คำสอนใดแม้เพียงคำเดียวที่จะทำให้เข้าใจถูกต้อง ในสิ่งที่มีในขณะนี้ได้ แม้เพียงเล็กน้อยในขั้นต้น คำนั้นก็มีประโยชน์มาก เพราะเหตุว่า เป็นวจีสัจจะ เป็นความจริงที่จะทำให้ความเข้าใจสิ่งที่มีและไม่เคยรู้เลย
๐ พุทธะ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พ้นจากกิเลส เพราะตรัสรู้ความจริงซึ่งถึง ที่สุด ไม่มีการเปลี่ยนอีกเลย เพราะฉะนั้น คำพูดจากปัญญาอย่างนั้น จะผิดไหม และผู้ที่ฟังก็จะต้องอบรมความเข้าใจถูก ความเห็นถูกให้ตรงตามคำที่ได้ยินได้ฟังด้วย จึงจะเป็นประโยชน์
๐ ถ้าผู้ใดจะไม่ศึกษาธรรม ไม่ฟังธรรมแต่คิดว่าเข้าใจธรรมแล้ว ก็ย่อมจะเป็นผู้ที่ ประมาท เพราะย่อมมีความเข้าใจผิดได้ แต่ว่าถ้าศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อยู่เสมอ ก็ย่อมมีความรู้ในสภาพธรรมที่ปรากฏเพิ่มขึ้น และธรรมที่ได้ยินได้ฟังนี้ ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของผู้ที่ได้รับฟังได้
๐ ถ้าไม่จริงใจต่อการที่จะเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ย่อมมีความพอใจในลาภ บ้าง ในยศบ้าง ในชื่อเสียงบ้าง ชักชวนให้ไปสู่ข้อปฏิบัติที่ไม่ทำให้ละกิเลส ถ้ามีผู้บอกว่า ปฏิบัติเลย ไม่ต้องศึกษา ไม่ต้องเข้าใจอะไรเลย กับมีผู้ที่บอกว่า ให้ศึกษาให้เข้าใจก่อน แล้วก็ควรพิจารณาว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลที่ถูกต้อง จะยอม เชื่อใคร
๐ ถ้าทราบว่าเป็นผู้มีโมหะมากที่จะต้องขัดเกลา ก็จะทำให้ไม่ละเลยการฟังพระธรรมและไม่ละเลยการเจริญกุศลประการต่างๆ ด้วย
๐ ไม่มีประโยชน์ที่จะหอบเอาความโกรธติดตามไปด้วย ควรที่จะได้ละความโกรธ ความผูกโกรธ รวมไปถึงกิเลสทั้งหลายด้วย
๐ พระธรรมเปลี่ยนจากอกุศลซึ่งเคยมีมาก ให้ลดน้อยลง แล้วก็เพิ่มพูนทางฝ่าย กุศลขึ้น
๐ เรื่องภาวนา เป็นเรื่องของการอบรม ก็จะเห็นได้ว่า ขาดการฟังไม่ได้เลย และ เมื่อฟังแล้วก็ต้องอาศัยการพิจารณาโดยละเอียดจริงๆ เพราะว่าพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ เกื้อกูลต่อการที่จะละคลายกิเลส ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษาพระ ธรรมจริงๆ ก็ย่อมได้ประโยชน์ คือ เป็นผู้ที่รู้จักสภาพธรรม ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน แล้วก็ละคลายการยึดถือสภาพธรรมนั้น พร้อมทั้งการละคลายกิเลสอื่นๆ ด้วย แต่ ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็พิจารณาพระธรรม ไม่ว่าจะเป็นข้อความใด ก็เป็นประโยชน์ ทั้งนั้น
๐ เมื่อฟังพระธรรมแล้วประโยชน์คือเริ่มเข้าใจสิ่งซึ่งไม่เคยเข้าใจมาก่อน ยิ่งฟังมาก ก็ยิ่งเข้าใจได้ถูกต้องขึ้น ละเอียดขึ้น
๐ ปุถุชนมักจะตกไปจากกุศลขณะใดที่กุศลจิตไม่เกิด ขณะนั้นกิเลสระดับขั้นต่างๆ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ขณะที่จิตเป็นกุศลเท่านั้น ซึ่งคั่นกิเลสในชีวิตประจำวัน ชั่วครั้งชั่วขณะ กล่าวคือ ขณะที่เป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในความสงบ ของจิต หรือ เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญาซึ่งเกิดน้อยมากในชีวิตประจำวัน
๐ เมื่อมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญา ก็ย่อมถูก เพราะไม่คล้อยไปตามความคิดเห็นของบุคคลซึ่งคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของ พระธรรม
๐ ขณะใดที่ไม่ได้เป็นไปในทาน ไม่ได้เป็นไปในศีล ไม่ได้เป็นไปในความสงบจาก โลภะ จากโทสะ จากโมหะ ไม่ได้เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา ขณะนั้นก็เป็น อกุศลทั้งหมด
๐ การพูดเป็นปกติชีวิตประจำวัน บางคนพิจารณาถึงคำพูดของบุคคลอื่น แต่ไม่ได้ พิจารณาถึงคำพูดของตนเอง พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีประโยชน์สำหรับผู้ฟังที่จะได้พิจารณา และน้อมประพฤติปฏิบัติตามธรรม ขัดเกลา ตนเองยิ่งขึ้น
๐ ปล่อยชีวิตให้เป็นไปกับด้วยอกุศล นี้แหละ คือ ประมาท
ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ ๕๖ ได้ที่นี่ครับ
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๕๖
...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตร่วมปันธรรม ด้วยครับ
- บัณฑิตนั้นคำนึงถึงชาติต่อไปและโลกหน้าด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะชาตินี้ เช่น โลภมูลจิตที่ติดในลาภ สรรเสริญ ยศ สักการะ ผู้ที่เป็นบัณฑิตก็จะคิดว่า ถ้าไม่ รีบละเสียตั้งแต่ในชาตินี้ ชาติต่อไปจะละยากสักแค่ไหน แต่ถ้าเป็นคนพาลได้ ลาภเท่าไหร่ก็ไม่พอ ต้องทำทุจริตกรรมเพื่อให้ได้ลาภเพิ่มขึ้นอีก แต่ว่าสำหรับ บุคคลที่เป็นบัณฑิต ก็ย่อมเห็นว่าอกุศลแต่ละขณะที่เกิดขึ้น จะสะสมสืบต่อไป ถึงชาติต่อๆ ไปด้วย
- แม้แต่การที่จะเตือน หรือการที่กล่าวเนี่ยนะคะ ถ้าพูดมากกว่าที่ควรจะพูดก็อาจ จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ คือไม่ได้เข้าใจเจตนาจริงๆ ของผู้พูดนะคะ เพราะเหตุ ว่า ในขณะที่กำลังเป็นอกุศลเนี่ยค่ะ ก็ย่อมไม่เห็นว่า สิ่งใดถูกและสิ่งใดผิด สิ่งใดควร และสิ่งใดไม่ควร เพราะฉะนั้น ผู้ที่ท่านรู้สภาพธรรมะแล้ว (พระโสธนเถระซึ่งท่านเป็น พระอรหันต์แล้วในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ) ท่านจึงกล่าวว่า "ผู้อนุเคราะห์จะพึงพูดคำหนึ่งหรือสองคำ ไม่พึงพูดให้มากไปกว่านั้น" นี่ก็เป็นเรื่อง ความละเอียดของจิต ซึ่งก็จะต้องระวังว่า สำหรับผู้ฟังเนี่ยค่ะถ้าฟังแล้วก็เกิด อกุศลไปใหญ่โต เพราะฉะนั้น ผู้พูดก็ยุติเสีย เพื่อที่จะไม่ให้ผู้ฟังเกิดอกุศลมากไปอีก
- เราเกิดมาจากไหน พอจะได้คำตอบหรือยังคะ เราเกิดมาจากความไม่รู้ ถ้ารู้จริงๆ จะไม่เกิด เพราะฉะนั้น แต่ละคนที่เกิดมา ต้องมาจากความไม่รู้ แม้แต่ผู้ที่ จะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระชาติสุดท้าย เมื่อเกิดขณะแรกก็ยัง คงมีความไม่รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อได้เกิดมาแล้ว จากการที่ได้สะสมความเข้าใจที่ได้ บำเพ็ญมา จึงสามารถที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและทรงตรัสรู้ความจริง ทั้งหมด เช่นขณะนี้หละ คนที่ไม่ได้ฟังพระธรรมเลย ก็จะคิดว่าชีวิตนั้นคือ เรา แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว ถ้าไม่มีธรรมะ คือ ไม่มีเห็นเลย ไม่มีได้ยิน ไม่มีได้กลิ่น ไม่มีลิ้มรส ไม่มีการรู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส ไม่มีการคิดนึกใดๆ จะมีเราหรือว่าจะมีชีวิตมั้ย เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ชีวิตก็คือในขณะนี้เอง ตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าสติสัมปชัญญะเกิดในขณะนั้น
- การเห็นโทษของความโกรธ ไม่ใช่ไปพรรณนาโทษของความโกรธเวลาอื่น แต่ เวลาที่ความโกรธเกิดขึ้น ไม่เห็นเลยว่าเป็นโทษถ้าเป็นโดยลักษณะอย่างนั้นแล้วละก็ เมตตาก็เจริญไม่ได้แต่เวลาที่ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว สติสัมปชัญญะเห็นความโกรธ นั้นว่า เป็นอกุศลที่ควรละด้วยเมตตา เมตตาจึงจะเจริญขึ้นได้
- ความหมายของคำว่า “คับแคบ” ไม่ได้หมายความถึง สถานที่ หรือ เพศ แต่ว่าหมายความถึงอกุศล ผู้ที่จิตใจกลุ้มรุมด้วยอกุศล แม้จะอยู่ในที่กว้าง ในป่าใน เขา แต่เพราะใจนี้ถูกบีบคั้นด้วยอกุศลธรรม ทำให้สภาพของจิตนั้น เป็นสภาพจิตที่ คับแคบ ไม่สามารถที่จะปลอดโปร่งได้เพราะฉะนั้น ความหมายของคำว่า คับแคบนั้น หมายความถึงอกุศลธรรมกลุ้มรุมจนกระทั่งเต็มหัวใจเลยคับแคบ ไม่ใช่ว่าว่าง หรือ ปลอดโปร่ง ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะอยู่ในที่กว้าง มีบ้านเรือนที่ใหญ่โต มโหฬารสักเท่าไร แต่เมื่อถูกกลุ้มรุมด้วยอกุศลธรรมแล้ว ก็เป็นสภาพของจิตที่คับแค้น หรือ คับแคบมาก
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์คำปันอาจารย์ผเดิม และทุกๆ ท่านครับ
กว่าจะถึงวิชชาได้จริงๆ จนหมดกิเลส ต้องรู้ว่า กิเลสมากมายมหาศาลแค่ไหน ลึกเหนียวแน่นแค่ไหน และถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจ ไม่มีทางจะดับกิเลสเลย คนไม่รู้ ก็ไปนั่งปฏิบัติ ทำอะไรต่างๆ มากมาย หวังว่าจะรู้แล้วจะหมดกิเลส แต่ถ้าไม่ใช่ ความเข้าใจสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ ไม่ใช่ปัญญาเลย ไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่การดับ กิเลส
- ปล่อยชีวิตให้เป็นไปกับด้วยอกุศล นี้แหละ คือ ประมาท
- บัณฑิตนั้นคำนึงถึงชาติต่อไปและโลกหน้าด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะชาตินี้ เช่น โลภมูลจิตที่ติดในลาภสรรเสริญ ยศ สักการะ ผู้ที่เป็นบัณฑิตก็จะคิดว่า ถ้าไม่ รีบละเสียตั้งแต่ในชาตินี้ ชาติต่อไปจะละยากสักแค่ไหน แต่ถ้าเป็นคนพาล ได้ ลาภเท่าไหร่ก็ไม่พอ ต้องทำทุจริตกรรมเพื่อให้ได้ลาภเพิ่มขึ้นอีก แต่ว่าสำหรับบุคคลที่เป็นบัณฑิต ก็ย่อมเห็นว่าอกุศลแต่ละขณะที่เกิดขึ้น จะสะสมสืบต่อไป ถึงชาติต่อๆ ไปด้วย
ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.คำปัน อ.ผเดิม และทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ
ถ้าผู้ใดจะไม่ศึกษาธรรม ไม่ฟังธรรมแต่คิดว่าเข้าใจธรรมแล้ว ก็ย่อมจะเป็นผู้ที่ ประมาท เพราะย่อมมีความเข้าใจผิดได้ แต่ว่าถ้าศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมอยู่เสมอ ก็ย่อมมีความรู้ในสภาพธรรมที่ปรากฏเพิ่มขึ้น และธรรมที่ได้ยินได้ฟังนี้ ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของผู้ที่ได้รับฟังได้ น้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ