ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๐๖๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้
[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๖๕]
ความคิดวิจิตรพิสดารมาก ถ้าจะเอาความคิดของทุกท่านมาเปิดเผย มาศึกษา
แต่ละขณะจิต จะเห็นได้ว่า ช่างวิจิตรจริงๆ ทำไมบางคนถึงคิดในทางที่ไม่ดีได้ถึงอย่าง
นั้น ก็เป็นไปได้ตามการสะสม ซึ่งไม่น่าจะคิดได้อย่างนั้นเลย
ขณะใดที่ท่านมีจิตที่สามารถจะกระทำทุจริต ถือเอาของคนอื่นมาเป็นของท่านได้
บุคคลนั้นต้องเป็นผู้ที่ท่านไม่มีเมตตารักใคร่ต่อเขา ศีลจึงจะล่วงไปได้ เพราะฉะนั้น ก็
จะเห็นได้ว่า ทุจริตต่างๆ นี้ ถ้ายังคงกระทำอยู่สม่ำเสมอ ก็แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่น
การติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
โลภะ ความอยากได้มีเป็นปกติ แต่ไม่ถึงกับกระทำทุจริตกรรมที่เป็นการล่วงศีลได้
เพียงกำลังของโลภะอย่างเดียว อยากได้ อาจจะขอ แต่ไม่ถึงกระทำทุุจริต แต่เวลา
ที่ ลืมที่จะคิดถึงจิตใจ ของผู้เป็นเจ้าของสิ่งของ ที่จะเกิดความเสียดาย ที่จะเกิดความ
ทุกข์ความเดือดร้อน ในขณะนั้นก็จะต้องขาดความเมตตาต่อผู้นั้น
ถึงแม้ว่าจะมี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่ถ้าปราศจากปัญญา ก็ย่อมเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดเห็นคุณค่าของปัญญาจริงๆ ก็ย่อมจะไม่ปรารถนารูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ เมื่อเจริญกุศล แต่ปรารถนาจะเจริญปัญญา ให้ถึงความสมบูรณ์ที่สามารถ
จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท (ถอนขึ้นได้อย่างเด็ดขาด)
ความเพียร ก็ควรจะเป็น เพียรในกุศลจริงๆ ไม่ใช่เพียรในอกุศล เพราะขณะใดที่
อกุศลจิตเกิด วิริยเจตสิกก็เกิด แต่เป็นไปในอกุศล แต่ขณะใดที่กุศลจิตเกิด วิริย-
เจตสิกก็เกิดด้วย แต่ว่ากระทำกิจของกุศล ไม่ใช่กระทำกิจของอกุศล ที่จะเป็นวิริย-
บารมี ก็คือเพียรในกุศล
ตรงต่อสภาพธรรม สภาพธรรมที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล ไม่ว่าอกุศลของใคร ของ
ท่านเอง ของญาติพี่น้อง ของเพื่อนฝูง ของใครก็ตาม, กุศลธรรมก็เป็นกุศลธรรม ไม่ว่า
จะเป็นของบุคคลที่ท่านรัก หรือว่าคนที่เป็นศัตรูก็ตาม กุศลธรรมของบุคคลนั้น ก็เป็น
กุศลธรรม เป็นผู้ที่จริง เป็นผู้ที่ตรง ถ้าท่านพูดเท็จ ขณะนั้นเป็นผู้ที่บำเพ็ญสัจจบารมี
หรือเปล่า? และบางครั้งเมื่อพูดเท็จไปแล้ว ก็ยังไม่เป็นผู้ที่มีสัจจะ (จริงใจ) พอที่จะรับว่า
ท่านพูดเท็จ แต่ก็ยังพูดเท็จต่อไปอีก เพื่อที่จะแก้เรื่องที่พูดเท็จไว้ อย่างนี้ไม่ใช่สัจจ
บารมี
ถ้าท่านมัวเมา หลงติด ปรารถนาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้มาแล้วก็ยัง
ติด ที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผลของกุศล วันไหนได้ลาภ ติดไหม วันไหนได้ยศ ติดไหม
วันไหนได้สุข ติดไหม วันไหนได้สรรเสริญ ติดไหม แล้วยังปรารถนาอีกต่อไปเรื่อยๆ
เพื่อจะให้ได้สิ่งที่ติดอยู่แล้วอย่างมากๆ ติดต่อไปอีกมากๆ ปรารถนาต่อไปอีกๆ เพราะ
ฉะนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ละกิเลสได้เป็นสมุจเฉท
ชีวิตของคฤหัสถ์ที่จะเริ่มรู้จักพอ รู้จักพอในวัตถุต่างๆ ท่านก็เห็นว่า วัตถุสิ่งต่างๆ
ที่ท่านมีมากมายเหลือเฟือเกินไป ซึ่งตามปกติท่านก็คงจะไม่คิดที่จะสละให้กับบุคคล
อื่น แต่ว่าเมื่อเห็นโทษของการติดใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้นแล้ว
ท่านก็เริ่มคิดที่จะรู้จักพอใจสิ่งที่พอสมควร พอประมาณ และสามารถสละให้เพื่อ
ประโยชน์สุขแก่คนอื่น
ทุกคนย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ถ้ามีเมตตา ก็น่าสงสาร คนที่ทำอกุศลกรรม
เพราะเขาย่อมได้รับผลของอกุศลกรรมนั้น แล้วท่านก็จะไม่เดือดร้อนใจ ไม่ใช้วาจาที่
ไม่สมควรหรือวาจาที่รุนแรงแก่บุคคลนั้น เพราะขณะนั้นมีเมตตา รู้ว่าบุคคลนั้นย่อมได้
รับผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น ก็อาจจะเกิดกุศลจิตที่เป็นเมตตาต่อบุคคลนั้นก็ได้
หรือว่าอุเบกขาต่อบุคคลนั้นก็ได้
ในชีวิตประจำวันอย่าเห็นอกุศลเป็นกุศล อย่าเข้าใจว่าอกุศลธรรมนั้นดีจะต้องใช้
คำที่รุนแรงกับผู้ที่ประกอบอกุศลกรรม เพราะว่าไม่มีความจำเป็นเลยที่จิตจะหวั่นไหวไป
อย่างนั้น เพราะจิตที่หวั่นไหวไปนั้นเป็นอกุศลแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าอบรมเจริญปัญญา
สามารถที่จะรู้ลักษณะของความคงที่ของจิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยความรักความชัง ก็ย่อม
เจริญกุศลที่เป็นอุเบกขาบารมีได้มากขึ้น
ถึงแม้ว่าท่านจะอยู่ในเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ตาม พระธรรมย่อมจะสามารถ
อนุเคราะห์เกื้อกูลให้กุศลจิตเกิดได้ ถ้าท่านจะนึกถึงพระธรรมเนืองๆ
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แสดงถึงชีวิตจริงๆ ตามความเป็นจริงของ
แต่ละท่านในแต่ละภพแต่ละชาติ ในสังสารวัฏฏ์
เริ่มต้นด้วยความไม่รู้ ผล คือ ไม่รู้
ติดข้องต้องการเมื่อไหร่ ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้าแล้ว
สิ่งที่จะต้องศึกษา นั้น ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้
ขณะที่ปัญญาเกิด จะไม่มีทุกข์ด้วยกิเลสใดๆ เลย
ถ้าไม่ฟังพระธรรม แล้วอะไรปฏิบัติ? (โลภะกับอวิชชา)
ไม่ควรตั้งต้นด้วยการปฏิบัติ แต่ควรตั้งต้นด้วยปัญญาตามลำดับขั้น
ผู้ดี คือ จิต เจตสิก ดี โสภณธรรม (ธรรมที่ดีงาม) เกิดขึ้นเป็นไป
ถ้าไม่อดทน โลภะ ก็จะนำพาเราไปสู่ทางที่ไม่ใช่ปัญญา
ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ไม่ใช่ฟังไป หวังไป, ฟังไป หวังไป แล้วจะได้
อะไร นอกจากเครื่องกั้น
ดีเท่าไหร่ ก็ยังไม่พอ เพราะยังไม่ได้ละอกุศล
ฟังพระธรรมมาหลายปี เจริญขึ้นบ้างไหม?
ยังไม่รู้อะไรเลย แล้วจะเบื่อหน่าย ละคลายได้อย่างไร
เห็น มี แต่ยังไม่รู้ว่า เห็นเป็นธรรม
พระธรรมแต่ละคำ เตือนให้ได้เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ
ขณะที่ประเสริฐ คือ ขณะที่ได้ฟังพระธรรม
ถ้าเบื่อการอบรมเจริญปัญญา ก็ต้องอยู่ต่อไปในสังสารวัฏฏ์
ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ ๖๔ ได้ที่นี่ครับ
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๖๔
...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่งและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตร่วมปันธรรม ด้วยครับ
- ขณะนี้มีอะไร หรือไม่มีอะไรเลย? มี แล้วสิ่งที่มีนั้นเป็นอะไรควรรู้ ควรเข้าใจให้ถูกต้อง
หรือว่าควรจะผ่านไป มี ก็มีไปตั้งแต่เกิดจนตาย ก็มีไปเรื่อยๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ว่า
ถ้าจะเป็นความรู้ เราควรจะรู้อะไร ควรรู้สิ่งที่มีกำลังปรากฎให้รู้ หรือว่าไปรู้อย่างอื่นแล้ว
ก็ไม่รู้สิ่งที่ปรากฎ
- ปัญญาต้องเจริญขึ้นนะคะ ปลูกพืชสักอย่างหนึ่ง จะให้เจริญเติบโต แล้วมีลูก มี
ผลทันที นี้เป็นไปไม่ได้ ปัญญาก็เช่นเดียวกันค่ะ จากการฟัง จากการที่ไม่เคยได้ฟัง
เลย ไม่รู้อะไรเลย ได้ยินคำว่าธรรม ก็ใช้คำนี้มาโดยตลอด แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร จนกระ
ทั่งพอเริ่มฟังนิดหน่อย ก็ค่อยๆ เข้าใจ ว่า นี่คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้และทรง
แสดง จะไม่ทรงแสดงสิ่งที่ไม่ปรากฏให้รู้ แต่ต้องเป็นสิ่งที่สามารถปรากฎให้รู้ได้ และ
สิ่งนี้ก็มี แต่เพราะคนไม่รู้ ไม่เข้าใจ
- การเข้าใจธรรมไม่ใช่เพียงเข้าใจเล็กน้อย แล้วอยากดับกิเลส เป็นไปได้อย่างไร
คะ ต้องเป็นปัญญา ที่ละเอียดและรู้จริง การอบรมเจริญอริยมัคค มีองค์ 8 สามารถที่
จะ รู้ยิ่งในสภาพธรรมที่ปรากฎทั้งหมด ว่าเป็นธรรมตามความเป็นจริง จึงจะดับอนุสัย
กิเลส ที่เกิดยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เพราะ ความจริงไม่ใช่สิ่งหนึ่ง
สิ่งใดเลยค่ะ เพียงแค่ปรากฎก็หมดแล้ว
- เป็นผู้ที่ไม่มีทุกข์ เพราะว่าความเข้าใจธรรม ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แล้วแต่ เหตุที่
ได้กระทำแล้ว ไม่ได้หมายความว่าทุกคน คนนี้มีความสุขเพราะมีทรัพย์ คนที่ไม่มี
ทรัพย์มีความสุขไหมค่ะ พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้ามีบาตร มีจีวร ประทับที่ยอดเขา
คิชกูฎคิดดูนะคะ ยอดเขาคิชกูฎจะมีอะไร? แต่ไม่มีทุกข์เลย เพราะมีปัญญา
- เมื่อมีความเป็น เรา เป็นเขา...ก็เป็นทุกข์ ที่จริงคือความนึกคิดของตัวเองทั้งหมด
ค่ะ เราอยู่ในโลกของความคิดนึกเท่านั้นจริงๆ เพราะสิ่งที่ปรากฏหมดแล้วยังคิดอีก วิธี
ที่จะรู้ได้นะคะว่า เราคิด เราไม่รู้ แล้วเราติดในสิ่งที่เราไม่รู้ แค่ไหน คือ เวลาที่ฝัน
ที่จะรู้ว่า ความจริงไม่ใช่เรา เป็นธรรมะ กำลังเสียใจ น้อยใจ โกรธ ขุ่นใจ เป็นธรรมะ
หรือเปล่าคะ ขณะนั้นไม่อยากขุ่นใจ ไม่อยากเสียใจเลย พยายามหาทางที่จะไม่เสีย
ใจ ขุ่นใจ กับการรู้ความจริงในขณะนั้น เป็นธรรมะเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว บังคับบัญชา
ไม่ได้ อะไรจะเป็นประโยชน์กว่ากัน นี่คือความหมายของ อาจหาญ ร่าเริง ที่จะรู้
ความจริง ถ้าไม่มีเรานี้ เบาสบายไหมคะ
- แม้แต่เพียงการเริ่มต้น ของความเข้าใจ นั่นก็คือ ลาภอย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใด
เพราะว่าพอเริ่มมีความเข้าใจแล้ว ก็จะเข้าใจขึ้นๆ แต่ถ้าไม่มีการเริ่มเข้าใจ แล้ว จะ
เป็นลาภ ที่จะทำให้เข้าใจขึ้นได้อย่างไร ดังนั้น แม้แต่ ลาภ กำลังได้ลาภหรือเปล่า
กำลังเป็นลาภ ที่ประเสริฐหรือเปล่า ก็ต้องรู้นะคะว่า ลาภยิ่งกว่าอาหารอร่อยๆ ตอน
กลางวัน ลาภ คือ สิ่งที่พอใจ หรือไม่พอใจ ค่ะ ที่บอกว่า ได้ลาภ เป็นสิ่งที่พอใจหรือ
ไม่พอใจ ถ้าได้สิ่งที่ไม่พอใจ บอกว่าได้ลาภหรือเปล่า กำลังฟังธรรมนี้ ลาภ หรือไม่
ใช่ลาภ เมื่อพอใจที่เข้าใจ ถ้าเกิดไม่เข้าใจ น่าเบื่อ เป็นลาภหรือเปล่าที่ได้ฟัง
ขออนุโมทนา