ท่าน ว.วชิรเมธี พูดว่า อร่อยจนลืมกลับวัด
ผิดด้วยเหรอครับ เห็นมีคนเอาไปวิจารณ์กันว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นพระสงฆ์ คือมีเจ้าของร้านอาหารนิมนต์ท่าน ว.ไปฉันที่ร้าน แล้วก็มีการถ่ายรูปท่าน ว.ขณะทานอาหาร แล้วท่าน ว.ก็เขียนใต้รูปถ่ายตัวท่านว่า อร่อย จนลืมกลับวัด
.25 ธ.ค. ที่ผ่านมา พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้ให้สัมภาษณ์กับทางวอยซ์ทีวี ถึงกรณีนี้ว่า เรื่องที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องอย่างยิ่ง เพราะว่า
ประการที่หนึ่ง ไม่ผิดพระวินัย ญาติโยมทำบุญนิมนต์พระไปฉัน แล้วเขาอยากให้เขียนข้อความอะไรเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ในฐานะเป็นลูกศิษย์ลูกหาก็เขียนให้กำลังใจ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อะไรมากไปกว่านั้น ฉะนั้นอย่าตีความให้มันเลยเถิดเลอะเทอะ
ประเด็นที่สองเป็นการเขียนทีเล่นทีจริงประสาครูบาอาจารย์ ลูกศิษย์ที่สนิทสนม ไม่ใช่การการันตีเหมือนรายการเชลล์ชวนชิม ถ้าเข้าใจว่านี่ไม่ใช่การการันตีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ก็จะไม่มีปัญหาอะไร เอาเวลาไปทำอะไรที่มีสาระประโยชน์มากกว่านี้ดีกว่า
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำหรับเพศบรรพชิต เป็นเพศที่สละอาคารบ้านเรือน ต่างกับเพศคฤหัสถ์ ราวฟ้ากับดิน เพราะฉะนั้น การกระทำอะไรก็ตามที่ไม่มีโทษกับคฤหัสถ์ แต่กับมีโทษได้กับเพศบรรพชิต เพราะความหมายของคำว่า บรรพชิต คือ การเว้นทั่ว เว้นทั่วจากอกุศล ทางกาย วาจาที่ไม่ดี แม้เพียงเล็กน้อย และจุดประสงค์ของการบวช คือ เป็นไปเพื่อถึงการดับกิเลสจนหมดสิ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง ตั้งแต่เพียงเล็กน้อย และตั้งแต่เบื้องต้น โดยพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท และข้อวัตรปฏิบัติอันดีงาม ที่เรียกว่า อาจารและโคจร ที่เหมาะสมทางกาย วาจา อันมีพื้นฐานจากการเคารพสิกขาบท เคารพพระธรรมเป็นสำคัญ
เพราะฉะนั้น กาย วาจาที่ไม่ดีเพียงเล็กน้อย เช่น การพูดเล่น หยอกล้อ ของเพศฆราวาส ย่อมดูไม่มีโทษเลย แต่สำหรับเพศบรรพชิต ที่ต่างจากเพศคฤหัสถ์สิ้นเชิง อันเป็นเพศที่ขัดเกลาย่อมมีโทษ เพราะเป็นการไม่สำรวมในเพศบรรพชิต ไม่เป็นผู้มีกายวาจาที่สมควรอันเหมาะกับเพศบรรพชิตในขณะนั้น สมดังในพระไตรปิฎกที่พระพุทธทรงแสดงพระสูตรที่แสดงให้เห็นความต่างกันของเพศบรรพชิตและคฤหัสถ์ว่าต่างกันสิ้นเชิง
เรื่องราวมีอยู่ว่า พระภิกษุรูปหนึ่งลงไปที่สระบัว และสูดดมดอกบัว เทวดาเห็นอยู่ จึงใคร่จะอนุ เคราะห์ จึงได้กล่าวกับภิกษุ ท่านสูดดอกไม้ที่อยู่น้ำ อันใครๆ ไม่ได้อนุญาต ท่านเป็นผู้ขโมย คือ ขโมยกลิ่น ภิกษุกล่าวว่า เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เราดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำห่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะเรียกว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่นด้วยเหตุดังรือ ส่วนบุคคลที่ขุดเง่าบัว หักดอกบัวบุณฑริก เป็นผู้มีการงานอันเกลื่อนกล่น อย่างนี้ ไฉนท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็นขโมย.
เทวดากล่าวว่า บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยราคาทิกิเลสเกินเหตุ เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน บาปประมาณเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏประดุจเท่าก่อนเมฆในนภากาศแก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลสดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหาไตรสิกขาอันสะอาดเป็นนิจ.
จะเห็นนะครับว่า ผู้ที่เป็นเพศคฤหัสถ์ มากไปด้วยกิเลส มีบาปกรรมมาก ย่อมไม่ได้รับคำเตือน เพราะไม่ได้เห็นประโยชน์ในคำเตือน และเพศคฤหัสถ์ การทำบาปอกุศลเพียงเล็กน้อย เช่น การสูดดมดอกบัว ก็ดูไม่เป็นความผิด เพราะไม่ได้ทำบาป ลักขโมยอะไร แต่เมื่อเป็นเพศบรรพชิต ก็แตกต่างจากคฤหัสถ์ บาปกรรมอกุศลจิตเพียงเล็กน้อย ที่ทำออกมาทางกาย วาจา ก็มีโทษมากกับเพศบรรพชิต เพราะอาศัยอกุศลเพียงเล็กน้อยนั่นเอง ย่อมทำให้อกุศลค่อยๆ เจริญมากขึ้นได้ครับ
เพราะฉะนั้น บาปกรรม อกุศลเพียงเล็กน้อย แม้เพียงการพูดล้อเล่น สำหรับเพศบรรพชิต ผู้มีปัญญาและเคารพพระธรรมวินัย ย่อมเห็นอกุศลเพียงเล็กน้อย ที่เล็กเท่าปลายขนทราย เป็นดั่งดุจเท่าก้อนเมฆใหญ่บนอากาศ นี่แสดงให้เห็นถึงผู้ที่จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต จะต้องเป็นผู้ตรงที่จะมุ่งขัดเกลากิเลสแม้เพียงเล็กน้อย แม้ว่าอกุศลจะห้ามไม่ได้ที่จะไม่ให้เกิด และมีกาย วาจาที่จะล่วงออกมาในทางที่ไม่ดี แต่ประโยชน์ คือ เมื่อรู้โดยความเป็นโทษแล้ว แสดงคืน คือ กระทำคืน ยอมรับในการกระทำนั้น ว่าไม่ดี และ มีจิตคิดที่จะตั้งใจสำรวมต่อไป จึงกล่าวได้ว่า การพูดเล่น ล้อเล่นของเพศบรรพชิต ย่อมไม่สมควรกับเพศบรรพชิต และ เราไม่สามารถจะเอาอกุศลของปุถุชนที่เป็นเพศคฤหัสถ์ไปเปรียบเทียบกับเพศบรรพชิตได้ เพราะคนละเพศกัน ข้อบัญญัติสิกขาบทก็แตกต่างกัน ครับ
พระพุทธเจ้าทรงแสดง บัญญัติสิกขาบท และการสำรวมกายวาจาของเพศบรรพชิตไว้ละเอียดยิ่ง ไม่ต้องกล่าวถึงการพูดล้อเล่น ซึ่งไม่สมควร แม้แต่ขณะที่ฉันอาหาร เคี้ยวเสียงดัง หรือ พูดไปฉันไป ก็ต้องอาบัติ และ แม้แต่การพูดประจบคฤหัสถ์ ก็เป็นการประทุษร้ายสกุลได้ เป็นการกระทำที่ไม่สมควร
ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม คือ เห็นโทษของกิเลสที่เกิดขึ้น เมื่อได้รับคำติเตียนจากใครก็ ตาม ไม่ควรจะปฏิเสธ หรือ ยอมรับ หรือ เกิดอกุศล ในเพียงคำติเตียนหรือคำเตือนนั้น แต่ประโยชน์ที่ได้จากการพูดความไม่ดีของตน คือ การพิจารณากิเลสของตนเองว่า เป็นไปตามนั้นหรือไม่ หากเป็นไปตามคำเตือน คำติเตียนนั้นจริง ก็เห็นโทษของกิเลส และ สำรวมระวังต่อไป ก็จะเป็นประโยชน์อันเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม และ ละอกุศลธรรมได้ แต่ถ้าไม่เป็นไปตามคำเตือน คำติเตียน ก็ไม่ประมาทที่จะอบรมปัญญา อบรมศึกษาพระธรรมต่อไป เพื่อละอกุศลที่เหลือ และไม่ประ มาทในกิเลสที่อาจเกิดขึ้นได้อีก ครับ
เมื่อเป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรมแล้ว ย่อมจะเป็นผู้ที่เคารพในพระธรรม ก็ย่อมเป็นผู้เห็นโทษของกิเลสมากขึ้น แม้อกุศลเพียงเล็กน้อย และ พิจารณาอกุศลของตนเอง และเมื่อเข้าใจถูกว่าไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่ธรรม และจุดประสงค์เพื่อขัดเกลากิเลส จึงพิจารณาด้วยปัญญาว่า ไม่มีใครเตือน ติเตียน มีแต่ธรรมที่เป็นไป น้อมเข้ามาที่จะรู้ว่ามีอกุศลตามคำเตือนหรือไม่ และก็ละอกุศลตามที่ตนมี เพราะผู้ที่ให้คำเตือน และทำให้ผู้ที่ได้รับคำเตือนละอกุศลนั้นได้ เห็นโทษของอกุศล เปรียบเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ ชี้ประโยชน์ให้ได้ทรัพย์ คือ กุศลธรรมประการต่างๆ อันจะทำให้ผู้นั้นถึงการดับกิเลสได้ในที่สุด และ ย่อมน้อมรับคำเตือน ยินดีในคำเตือนที่ติเตียน ที่จะทำให้เห็นอกุศลของตนเองตามความเป็นจริงครับ อกุศลยังมีได้เป็นธรรมดา ทางกาย วาจา แต่ประโยชน์ คือ เห็นโทษของกิเลสทีเกิดขึ้นแล้ว ยอมรับในกิเลสที่เกิดขึ้น กระทำคืนอันสมควร มีการเห็นโทษและปลงอาบัติ และไม่ประมาทในการ อบรมปัญญาต่อไปครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ -หน้า๒๕
“บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสม บาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น”
อกุศลแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นอกุศล สิ่งที่ไม่ดี แม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่ดี ไฟแม้เล็กน้อย ก็ร้อน เกลือแม้เล็กน้อย ก็เค็ม สิ่งที่ไม่สะอาด แม้เล็กน้อย ก็เป็นสิ่งที่ไม่สะอาด
อ้างอิงจาก ... ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๖๗
เพราะหตุใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงเรื่องของอกุศลธรรม เพราะเป็น สภาพธรรมที่มีจริง และถ้าไม่ทรงแสดง จะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละคนสะสมสิ่งที่ไม่ดีมา มากมายแค่ไหน
อ้างอิงจาก ...
ขอความอนุเคราะห์ช่วยประมวลธรรม
กิเลสอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดีงาม ให้ผลเป็นทุกข์ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น เป็นเครื่องเตือนพุทธบริษัทไม่ว่าจะอยู่ในเพศใดก็ตาม เพื่อให้เป็นผู้ไม่ประมาทกิเลสอกุศล แม้เพียงเล็กน้อย เพราะว่าสิ่งที่ไม่ดี แม้จะเล็กน้อย ก็เป็นโทษ
สำหรับบุคคลผู้ที่ไม่เห็นโทษของกิเลสอกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน อาจจะเข้าใจผิดว่า กิเลสเล็กๆ น้อยๆ ไม่เห็นจะเป็นโทษอะไร ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ พูดผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นความเข้าใจ ที่ไม่ถูกต้อง ความคิดและการกระทำอย่างนั้น ไม่ดีอย่าง แน่นอน เพราะขณะนั้นจิต เป็นอกุศล ไม่ใช่กุศล ย่อมเป็นการสะสมอกุศลให้มีมากขึ้น
การมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมเท่านั้น ที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจสภาพ ธรรมตามความเป็นจริง ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แล้วมีความละอายมีความเกรงกลัวที่จะละในสิ่งที่เป็น โทษ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ ขัดเกลากิเลสของตนเอง จนกว่าจะถึง ความเป็นผู้สิ้นกิเลสได้ในที่สุด ซึ่งกว่าจะดำเนินไปถึงตรงนั้นได้ ต้องอาศัยกาลเวลา อันยาวนานทีเดียวในการอบรมเจริญปัญญา ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
พระภิกษุ พูดล้อเล่น ไม่สมควร ต้องอาบัติได้ ค่ะ ผู้ที่ขัดเกลากิเลส ดังเช่น พระราหุล ท่านก็ไม่กล่าวเท็จแม้เหตุเพียงหัวเราะกันเล่น ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น เป็นเครื่องเตือนพุทธบริษัทไม่ว่าจะอยู่ในเพศใดก็ตาม เพื่อให้เป็นผู้ไม่ประมาทกิเลสอกุศล แม้เพียงเล็กน้อย เพราะว่าสิ่งที่ไม่ดี แม้จะเล็กน้อย ก็เป็นโทษครับ"
"เมื่อเป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรมแล้ว ย่อมจะเป็นผู้ที่เคารพในพระธรรม ก็ย่อมเป็นผู้เห็น โทษของกิเลสมากขึ้นไม่ประมาท แม้อกุศลเพียงเล็กน้อยและ พิจารณาอกุศลของตนเองเพื่อขัดเกลา"
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.ผเดิม อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ -หน้า๒๕
“บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสม บาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น”
เทวดากล่าวว่า "บุรุษผู้มีบาปหนาแปดเปื้อนด้วย ราคาทิกิเลสเกินเหตุ เราไม่พูด ถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน บาปประมาณ เท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏ ประดุจเท่าก่อนเมฆในนภากาศแก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลสดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหาไตรสิกขา อันสะอาดเป็นนิจ. (พระภิกษุ) "
อนุโมทนากับกุศลจิตของทุกท่านครับ