มุนิสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  27 ม.ค. 2556
หมายเลข  22404
อ่าน  1,416

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาัพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

มุนิสูตร

(ว่าด้วยคนที่เป็นมุนี)

จาก...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕- หน้าที่ ๕๐๑

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๕)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

และ คณะวิทยากรมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕- หน้าที่ ๕๐๑

มุนิสูตร

(ว่าด้วยคนที่เป็นมุนี)

[๓๑๓] ภัยเกิดแต่ความเชยชม ธุลี

คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ย่อมเกิดแต่ที่อยู่

ที่อันมิใช่ที่อยู่ และความไม่เชยชมนี้แล พระ-

พุทธเจ้า ผู้เป็นมุนีทรงเห็น (คือ เป็นความเห็น

ของมุนี)

ผู้ใด ตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ไม่พึงปลูก

ให้เกิดขึ้นอีก เมื่อกิเลสนั้นเกิดอยู่ ก็ไม่พึง

ให้หลั่งไหลเข้าไป บัณฑิตทั้งหลาย เรียก

ผู้นั้นว่าเป็นมุนีเอก เที่ยวไปอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้

แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้เห็นสันติบท

ผู้ใด กำหนดรู้ที่ตั้งแห่งกิเลส ฆ่าพืช

ไม่ทำยางแห่งพืชให้หลั่งไหลเข้าไป ผู้นั้นแล

เป็นมุนี มีปกติเห็นที่สุดแห่งความสิ้นไป

แห่งชาติ ละอกุศลวิตกเสียแล้ว ไม่เข้าถึง

การนับว่าเป็นเทวดาและมนุษย์

ผู้ใด รู้ชัดภพ อันเป็นที่อาศัยอยู่ทั้งปวง

ไม่ปรารถนาภพอันเป็นที่อาศัยอยู่เหล่านั้นแม้

ภพหนึ่ง ผู้นั้นแล เป็นมุนี ปราศจากกำหนัด

ไม่ยินดีแล้ว ไม่ก่อกรรม เป็นผู้ถึงฝั่งโน้นแล้ว

อนึ่ง ผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้

แจ้งธรรมทุกอย่าง มีปัญญาดี ไม่เข้าไปติด

(ไม่เกี่ยวเกาะ) ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้

ทั้งหมด น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

นักปราชญ์ ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี

อนึ่ง ผู้มีกำลังคือปัญญา ประกอบ

ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน

มีสติ หลุดพ้นจากเครื่องข้อง ไม่มีกิเลสดุจ

หลักตอ ไม่มีอาสวะ นักปราชญ์ย่อมประกาศ

ว่าเป็นมุนี

ผู้เป็นมุนี (มีปัญญา) ไม่ประมาท

เที่ยวไปผู้เดียว ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและ

สรรเสริญ ไม่หวาดสะดุ้งเพราะโลกธรรม

เหมือนราชสีห์ ไม่หวาดสะดุ้งเพราะเสียง

ไม่ข้องอยู่ในตัณหาและทิฏฐิ เหมือนลมไม่

ข้องอยู่ในตาข่าย ไม่ติดอยู่กับโลก เหมือน

ดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ เป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้ที่

ใครๆ อื่นจะพึงนำไปได้ นักปราชญ์ย่อม

ประกาศว่าเป็นมุนี

แม้ผู้ใด ไม่ถึงความยินดีหรือยิน-

ร้าย ในเรื่องที่ผู้อื่นกล่าววาจา ด้วยอำนาจ

การชมหรือการติ เหมือนเสามีอยู่ที่ท่าเป็นที่

ลงอาบน้ำ ผู้นั้นปราศจากราคะ มีอินทรีย์

ตั้งมั่นดีแล้ว นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็น

มุนี

แม้ผู้ใดแล ดำรงตนไว้ซื่อตรง

ดุจกระสวย เกลียดชังแต่กรรมที่เป็นบาป

พิจารณาเห็นกรรมทั้งที่ไม่เสมอ และที่เสมอ

(ทั้งผิดทั้งชอบ) ผู้นั้น นักปราชญ์ ย่อม

ประกาศว่าเป็นมุนี

แม้ผู้ใด ยังหนุ่มแน่น หรือปานกลาง

สำรวมตน ไม่ทำบาป เป็นมุนี มีจิตห่างจาก

บาป ไม่โกรธง่าย ไม่ว่าร้ายใครๆ ผู้นั้น

นักปราชญ์ ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี

แม้ผู้ใด อาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้

เป็นอยู่ ได้ก้อนข้าวแต่ส่วนที่ดี ส่วนปาน-

กลาง หรือส่วนที่เหลือ ไม่อาจจะกล่าวชม

ทั้งไม่กล่าวทับถมให้ทายกตกต่ำ ผู้นั้น

นักปราชญ์ ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี

แม้ผู้ใด ไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่ง

หญิงอะไรๆ ที่กำลังเป็นสาว เป็นผู้รู้เที่ยวไป

อยู่ ปราศจากความยินดีในเมถุน ไม่กำหนัด

หลุดพ้นแล้วจากความมัวเมาประมาท ผู้นั้น

นักปราชญ์ ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี

แม้ผู้รู้จักโลก เห็นปรมัตถประโยชน์ ข้ามพ้น

โอฆะและสมุทร เป็นผู้คงที่ ตัดกิเลสเครื่องร้อยรัด

ได้ขาดแล้ว อันทิฏฐิหรือตัณหาอาศัยไม่ได้แล้ว

ไม่มีอาสวะ ผู้นั้น นักปราชญ์ย่อมประกาศว่า

เป็นมุนี

คนทั้งสอง ไม่เสมอกัน มีที่อยู่และความเป็นอยู่

ไกลกัน คือ คฤหัสถ์เลี้ยงบุตรภรรยา ส่วนภิกษุไม่ยึด

ถือว่าเป็นของเรา มีวัตรอันงาม คฤหัสถ์ไม่สำรวม

เพราะบั่นรอนสัตว์อื่น ภิกษุเป็นมุนี สำรวมเป็นนิตย์

รักษาสัตว์มีชีวิตไว้

นกยูงมีสร้อยคอเขียว บินไปในอากาศ ยังสู้

ความเร็วของ หงส์ไม่ได้ ในกาลไหนๆ ฉันใด

คฤหัสถ์ทำตามภิกษุผู้เป็นมุนี สงัดเงียบ เพ่งอยู่ในป่า

ไม่ได้ ฉันนั้น.

จบมุนิสูตรที่ ๑๒.

ข้อความจากอรรถกถาขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่

อรรถกถามุนิสูตร [ขุททกนิกาย สุตตนิบาต]

...ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกท่าน...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 27 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

มุนิสูตร

(ว่าด้วยคนที่เป็นมุนี)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงคุณลักษณะของผู้ที่เป็นมุนี (ผู้รู้) ได้แก่ ความเป็นผู้

ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ปราศจากตัณหา ทิฏฐิ เป็นผู้ละกิเลสได้อย่างหมดสิ้น

ไม่มีอาสวะ ละอกุศลวิตก ไม่มีการเกิดในภพต่างๆ ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ไม่ก่อกรรม

ใหม่ รู้แจ้งธรรม ทุกอย่างตามความเป็นจริง เป็นต้น ตามที่ปรากฏในพระสูตร.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

กิเลสตัณหา

อนุสัย และ อาสวะ ต่างกันอย่างไร

โลภะ โทสะ โมหะ

ขณะนี้ข้ามโอฆะแล้วหรือไม่? [จวมานสูตร]

กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก [สังคีติสูตร]

มีใครรู้ได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ ..เป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นศึกษาพระธรรม

เป็นผู้ไม่ประมาท ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบุคคลเอก

ฆราวาส - บรรพชิต

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 27 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 28 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 28 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natural
วันที่ 28 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tusaneenui
วันที่ 29 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เข้าใจ
วันที่ 1 ก.พ. 2556

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nong
วันที่ 2 ก.พ. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ