การตรงกันข้ามกัน - ตรงข้ามนิพพาน

 
เสือ
วันที่  8 พ.ค. 2556
หมายเลข  22875
อ่าน  1,436

สภาพธรรมใดที่ตรงกันข้ามกับนิพพาน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่เกิดและ ไม่ดับ ไม่มีอะไร ปรุงแต่ง และไม่มีการ เกิดขึ้นของรูป และนามที่เป็น จิต เจตสิก และรูป เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุง แต่ง คือ จิต เจตสิก รูป ที่มีการเกิดขึ้นและดับไป และ กิเลสประการต่างๆ ที่เป็นสภาพ ธรรมที่เร่าร้อน เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับพระนิพพาน ที่เที่ยง ไม่เกิดดับ ไม่มีการ เกิดขึ้นของสภาพธรรมใดๆ และเป็นสภพาธรรมที่เย็น สนิท ไม่เร่าร้อนด้วยกิเลส ครับ

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้ธรรมดาสุขก็ย่อมมีฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้ภาวะที่มิใช่ภพ บุคคลก็พึงปรารถนาฉันนั้น. เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นตรงกันข้ามก็มีอยู่ฉันใด เมื่อไฟ ๓ กองมีอยู่นิพพานเครื่องดับไฟบุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น. เมื่อความชั่วมีอยู่ แม้ความดีก็ย่อมมีฉันใด เมื่อชาติมีอยู่ แม้ที่มิใช่ชาติ บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต เป็นบัณฑิตผู้เพลินอยู่ด้วยกองคุณ ๑๐ ประการนั้น ก็อยู่ในที่ลับ ณ ปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิดำริว่า ขึ้นชื่อว่า การถือปฏิสนธิในภพหมู่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้ว เกิดเล่า ก็เหมือนกันคือเป็นทุกข์ ก็เรามีชาติ ชรา พยาธิ มรณะเป็นธรรมดา เราเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ควรแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีชาติ [ชรา] พยาธิ มรณะ เป็นที่จำเริญสุข อันจะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพ จะพึงมีได้ก็ ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ถึงพระนิพพานแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ในครั้งนั้น เรานั่งคิดอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าการเกิดใหม่และการแตกดับแห่งสรีระเป็นทุกข์. ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นธรรมดา จำเราจักแสวงหาพระนิพพาน ซึ่งไม่แก่ไม่ตาย แต่เกษม.

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

อายตนะ คือ นิพพาน [ปฐมนิพพานสูตร]

พระนิพพานมีความสงบ เป็นลักษณะ (สันติลักขะณัง)

ธรรมชาติพระนิพพาน [ตติยนิพพานสูตร]

นามรูปเป็นของเท็จ นิพพานเป็นของจริง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 9 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 9 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของสภาพธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ตามความ เป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เมื่อกล่าวแล้ว ธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น มี ๔ ประเภท ที่เรียกว่าปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และ พระนิพพาน, จิตเป็น สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เจตสิกก็เป็นสภาพธรรมที่ เกิดประกอบพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต รูป เป็นธรรมที่มีจริงแต่ไม่ใช่ สภาพรู้ ไม่ใช่ธาตุรู้ เกิดตามสมุฏฐานของตนๆ แล้วก็ดับไป ปรมัตถธรรม

ประการแรก เป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย และมีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เกิดแล้วดับ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ส่วนพระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ แต่มีจริงๆ มีลักษณะที่สงบ เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับสภาพธรรมที่เกิดดับ โดยประการทั้งปวง

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา นั้นเกื้อกูลแก่พุทธบริษัทผู้ที่มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาอย่างแท้จริง เป็นประโยชน์ทุกกาล ทุกสมัย ไม่ จำกัดเพศ ไม่จำกัดวัย การได้ฟังพระสัทธรรมหาได้ยาก เพราะเหตุว่าผู้ที่แสดงแต่ความจริงซึ่งเป็นสัจจธรรมนั้น หายาก และประการสำคัญไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้ฟังเหมือนกันหมด ถ้าไม่ได้สั่งสมเหตุปัจจัยที่ดีมา ย่อมไม่มีโอกาสได้ฟัง หรือ เมื่อได้ฟัง ก็ไม่เข้าใจ ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ฟังแล้ว ก็ควรที่จะได้ฟังต่อไป ไม่ควร ปล่อยโอกาสของการฟังพระธรรมให้หลุดลอยไป เพราะพระธรรมเป็นเรื่องที่เข้าใจ ยาก ต้องอาศัยกาลเวลา ในการอบรมเจริญไปเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 9 พ.ค. 2556

ธรรมที่ตรงข้ามกับพระนิพพาน คือ สังขารธรรม หรือ สังขตรรม ส่วน อสังขตธรรม ไม่มี ปัจจัยปรุงแต่ง คือ นิพพาน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เสือ
วันที่ 9 พ.ค. 2556

ละเอียดเหมือนกันนะ

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 10 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 11 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สุทธิ​ญ​า​โณ​
วันที่ 31 มี.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ