ทำงานกับคนเจ้าอารมณ์

 
jinny01
วันที่  29 พ.ค. 2556
หมายเลข  22972
อ่าน  6,999

สวัสดีค่ะ มีเรื่องขอรบกวนปรึกษาค่ะ ทุกวันนี้ได้มาทำงานเป็นทีม ซึ่งแต่ก่อนทำงาน คนเดียว ลุยเดี่ยวมาตลอด แล้วปัจจุบันได้ร่วมงานเป็นทีม ได้พบเจอกับคนที่มีลักษณะ เจ้าอารมณ์ มีความเชื่อมั่นสูง ไม่ยอมรับความคิดเห็นคนอื่นมองแต่ความคิดเหตุผลของ ตัวเอง วันๆ หนึ่งจะต้องเจอะกับคนแบบนี้ทุกๆ วัน บางทีก็อดท้อใจ และเบื่อหน่ายชีวิต การทำงาน ว่าทำไมต้องมาทนรองรับอารมณ์ บางทีก็เลือกที่จะทำใจและวางใจเลือกที่ จะเก็บสิ่งดีดีที่เค้าคนนั้นเคยสอน งานให้เราได้มีงานทำและทำงานอย่างราบรื่น แต่ พอเราทำผิดเค้าก็จะอ้างตลอดว่าผิดที่เราฟังไม่เคลียร์จะเถียงตลอดไม่เคย

ยอมรับ ว่าตัวเองพลาดไปบอกเราไม่จบ ทำงานกับคนแบบนี้บ่อยๆ คือเริ่มสับสน การที่คนเรา เป็นคนมองโลกในแง่ดีเลือกที่จะใส่ใจกับสิ่งดีดีที่เค้าเคยให้กับ เราเช่นความรู้ บางที เค้าร้ายกับเรานิดนึง แต่เราก็กลับไปมองสิ่งดีดีที่เค้าเคยให้ แบบนี้ถือว่าเราเป็นคนที่ หลอกตัวเองหรือเปล่าคะ? แล้วทำงานกับคนเจ้าอารมณ์จะบอกเค้าอย่างไรดีหรือคะ เพราะเค้าไม่หยุดอารมณ์จะใช้ใจฟังเราบ้างเลย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การทำงานก็จะต้องมีการร่วมงาน ซึ่งในความเป็นจริง ก็เป็นการทำหน้าที่ของใจ แต่ละใจ ที่แตกต่างกันไป ตามการสะสม และ ตามวิบากที่จะต้องได้รับ เพราะ ใน ชีวิต มี สองส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นการสะสมมา ที่เป็นอุปนิสัยที่ทำให้เกิด กุศลจิต มี ความเมตตา เป็นต้น และ เกิดอกุศล มีความโกรธ เป็นต้น ที่สะสมมาแตกต่างกัน และ อีกส่วนหนึ่ง คือ วิบากที่เป็นผลของกรรม ที่เป็น ขณะที่ได้รับ วิบากที่ดี คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสที่ดี และวิบากที่ไมดี คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสที่ไม่ดี เป็นต้น ซึ่ง ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะร่วมงาน หรือ ไม่ร่วมงานกับใคร ก็ไม่พ้นความเป็นไปของการเกิดขึ้นของ จิต เจตสิก ที่เป็นส่วน เหตุ คือ กุศลจิต อกุศลจิต และ ส่วนผล คือ วิบากที่ได้รับ

ดังนั้น การที่ได้ยินเสียงที่ไม่ดี ที่สมมติว่าเป็นการว่ากล่าว ในขณะที่ร่วมงานก็ ต้องเป็นวิบาก เป็นส่วนของกรรมที่ได้รับ เพราะ เคยทำอกุศลกรรมที่ไมดี ตนจึง ต้องได้รับ หรือ ได้ยินเสียงที่ไมดี โทษใครไม่ได้เลย แม้แต่ตัวผู้พูด เพราะ เป็นผล ของกรรมที่เป็นอกุศลกรรมที่ตนเองทำไว้ประการหนึ่ง ส่วนอกุศลจิตของผู้อื่นที่ เกิดขึ้น ก็ห้ามไม่ได้อีกเช่นกัน ที่จะเป็นคนมักโกรธ มีมานะ ก็ต่างจิตต่างใจเป็น ธรรมดา แม้แต่อกุศลของตนเองก็ห้ามไม่ได้ มีเหตุปัจจัยก็เกิด โกรธเมื่อได้ยินคำ ที่ไมดี ไม่พอใจ เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ก็อยู่ด้วยกิเลสเป็นธรรมดา

การมองโลกในแง่ดี ก็ต้องพิจาณาคำนี้ให้ละเอียด มองโลกในแง่ดีที่ถูกต้อง คือ จะต้องมองโลกตามความเป็นจริง คือ มองถูกสัจจะ ด้วยกุศลจิต ทุกๆ คน ไม่มีใคร ดีสมบูรณ์แบบนอกเสียจากพระอรหันต์ ก็ยังมีดี และไม่ดีบ้าง แม้ไม่ดี ยังมีความดี บ้าง ไม่มากก็น้อย ควรที่จะพิจารณาในสิ่งทีดี่ เพื่อประโยชน์ คือ รักษาใจของตน นี่ คือ มองในแง่ดี ด้วยกุศลจิตที่เกิดขึ้น ส่วน ความไม่ดี ก็เป็น ความไม่ดีของคนอื่น ดังนั้น การร่วมงาน ประเด็นที่ความโกรธของนคนอื่น ยกไว้ แต่ก็มาพิจารณาเหตุผล ในการทำงานว่าเป็นอย่างไร ด้วยการอธบายเหตุผลที่ถูกต้อง หากผู้อื่นไม่ฟังก็ ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้ ถือได้ว่า ทำหน้าที่ของตนเองที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว ที่จะ รักษาหน้าที่และผลประโยชน์ของบริษัท ส่วนใครจะเชื่อ ไม่ทำตาย มีข้อโต้แย้งก็ ห้ามไม่ได้เป็นธรรมดา ครับ สำคัญที่ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ตามที่กล่าวมา เป็นสำคัญ

ซึ่ง อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาเจริญขึ้น ปัญญา ที่เจริญขึ้นนั้น จะเป็นธรรมที่เป็นเครื่องเตือน และเป็นเครื่องนำทาง ดั่งเข็มทิศที่จะ นำทางให้คิดถูก เมื่อพบเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมทีนี่ ครับ

การต้องสมาคมกับผู้ที่มีกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต - บ้านธัมมะ

เราจะรู้จักกันอีกไม่นาน การเห็นกันครั้งนี้อาจเป็นการเห็นครั้งสุดท้ายก็ได้ ควรทำดีต่อกันและให้อภัยกัน เพราะไม่มีความอดทน (ขันติ) ทำให้เดือดร้อนในโลกนี้และโลกหน้า ถ้าผู้มีคุณทำความเสียหายไม่ควรโกรธ แม้ผู้ไม่มีคุณทำผิดก็ยิ่งควรสงสารเป็นพิเศษ

ถ้าไม่มีผู้ทำให้เสียหาย ขันติสัมปทาของเราจะเกิดได้อย่างไร ทุกคนก็ยังมีกิเลส แม้คนที่ทำผิดและแม้ตัวเราเองก็ผิดพลาดเหมือนเขาได้ จะห่างไกลกันด้วยความเป็นมิตรหรือใกล้ชิดด้วยความเป็นศัตรู

เพราะเป็นธรรมฝ่ายดี (ขันติ) จึงไม่มีคำว่าสาย..เมื่อเห็นประโยชน์ที่จะอบรม ไม่ใช่ทุกคนจะมีแต่ความไม่ดี ใครไม่ชอบเรา กิเลสของเขา ส่วนเรามีความเป็นมิตรด้วยใจจริงได้ โกรธบุคคลอื่น ... .ใครทุกข์ ตัวเองหรือบุคคลอื่น ควรสงสารคนที่ทำผิดหรือทำความเสียหายให้เพราะเขากำลังสร้างเหตุที่ไม่ดี ถ้าสะสมความผูกโกรธ ความไม่เป็นมิตร ชาติหน้าก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีไม่ได้ ทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็ดับไปใน ขณะนั้นเอง. บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร. และใครผิดแก่ใครเพราะธรรมทั้ง ปวงเป็นอนัตตา

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
A1ONE
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ขอแสดงความเห็นส่วนตัวนะครับ ลองนึกถึงคนหมู่มาก นึกเมตตา ให้อภัย คนหมู่มาก ที่พอจะนึกออกได้ หรือนึกถึงคนไกล้ชิดเขาครอบครัวพ่อแม่พี่น้องเขาที่ เขาต้องดูแลครับ หรือนึกว่าจะมอบสิ่งของที่เป็นประโยชน์ให้แก่เขาบ้างแม้เล็กน้อย ผมเคยซื้อน้ำเลี้ยงเพื่อนร่วมงาน มันต่างจากแค่นึกเมตตา กรุณา ให้อภัย

เพราะบางทีเมตตา กรุณาไม่เกิดเลยขั้นคิดนึก พอซื้อน้ำเลี้ยงแค่ครั้งเดียวเองนะ ก็ ยังรู้สึกปลาบปลื้มใจ คือแบบว่ามีความทรงจำที่ดี ให้โดยไม่หวังผล เพื่อนร่วมงาน ก็ถามว่าวันนี้ทำไมถึงเลี้ยง ผมตอบว่า ก็แค่อยากเลี้ยงนิดๆ หน่อยๆ รู้สึกว่าเป็นสิ่ง ที่ดี ไม่เคยให้อะไรเลยรู้สึกอึดอัด เหมือนแบกภาระให้กับความคิดที่จะเมตตามาก ไป ติดในความคิด จนลืมการกระทำทางกาย จนต้องแสดงออกทางกายคือซื้อน้ำ เลี้ยง บางทีก็มีหวังผลเป็นเรื่องปกติ แล้วเรื่องเลี้ยงน้ำนี้แหละ ไม่น่าเชื่อว่า อกุศล ที่เคยเกิด หรือมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้น กลับบรรเทาลงไปได้ เหมือนเป็นประตูให้ กุศลอย่างอื่นเกิดขึ้นด้วยนะ (สำหรับผมนะครับ)

บางทีการกระทำทางกายเช่นให้ทานกับผู้ที่ไม่เคยให้ หรือกับผู้ที่เราเริ่ม เกิดอกุศลบ้างแล้ว หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดอกุศลมากต่อไป เช่นโกรธ อึดอัด ขุ่น เคืองใจเริ่มเกิดบ้างแล้ว หรือเกิดแล้วมีแนวโน้มจะรุนแรงต่อไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิด กุศลง่ายขึ้นได้ หรือลด บรรเทาอกุศลที่เกิดนะครับ

และในชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน หากมีสาเหตุให้เกิดอกุศล บ่อยๆ หรืออกุศลเกิดบ่อยๆ ก็มีโอกาสที่อกุศลจะเกิดในตอนทำงานอยู่แล้วครับ หากกุศลเกิดบ่อยๆ โอกาสที่กุศลจะเกิดในที่ทำงานก็มีมากกว่าอกุศล ไม่ใช่เลือก จะให้กุศลเกิดเฉพาะบางเวลา แต่ควรเจริญกุศลโดยไม่เลือกเวลา สะสมไปเรื่อยๆ ครับ คุณผู้หญิงเล่ามาเฉพาะตอนที่ทำงานเท่านั้นครับ ไม่ได้เล่าตอนที่ไม่ได้ ทำงานว่าอกุศล หรือกุศลเกิดหรือไม่อย่างไร (จากเหตุปัจจัยหลากหลาย) ครับ แต่ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม อุบายในการเจริญกุศลก็เกิดน้อย เกิดไม่บ่อย ควรฟังพระธรรม ไปเรื่อยๆ สอบถามผู้รู้เมื่อสงสัย อุบายในการเจริญกุศลก็ค่อยๆ เกิดขึ้น ในพระไตร ปิฎกมีตัวอย่างของการทำความดีมากมายทางกาย วาจา ใจ การเจริญกุศล หลากหลายครับ

การทำความดีการเจริญกุศลหลายอย่างไม่สามารถคิดเองได้เลย ถ้าไม่ ได้ฟังพระธรรมครับ แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร ต้องอดทนฟัง อ่าน ศึกษาพระธรรม สอบถามผู้รู้บ่อยๆ เนืองๆ นะครับ อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าใจความดีมากน้อยแค่ไหนครับ พระธรรมช่วยชี้ทางให้พ้นจากทุกข์ด้วยปัญญาที่เห็นทุกข์โทษ จนพ้นจาก ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันนำมาซึ่งทุกข์โทษครับ ...

ผิดพลาดประการใดก็ขออภัย ติชม แก้ไขได้เลยครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ทุกอย่างเป็นธรรมะการเห็น ได้ยิน ฯลฯ สิ่งดีหรือไม่ดีเป็นผลของกรรม..ปุถุชนทุกคนมีทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตมากน้อยตามการสะสม..การนึกถึงความดีของผู้อื่นเป็นกุศลจิต.คลายโทสะได้..คนเจ้าอารมณ์เป็นคนที่อกุศลจิตเกิดบ่อยๆ มีความทุกข์อยู่แล้ว..ควรโกรธหรือเมตตาผู้มีความทุกข์..?

ข้อความจากสุภาสิตชยสูตร ... กล่าวว่า

โกรธนั้น โทษอันลามกจึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคลผู้ไม่โกรธตอบ ผู้ที่โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของ ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ขอนบอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แต่ละบุคคลมีการสะสมมาที่แตกต่างกัน ความคิด การกระทำและคำพูด จึงแตกต่างกันออกไปตามการสะสม มีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ ว่าจะเป็นใครก็ตาม ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ไม่มีตัวตนสัตว์บุคคลเลย มีแต่ ความเป็นไปของสภาพธรรม กล่าวคือ นามธรรม กับ รูปธรรม เท่านั้น ที่สำคัญ เราไม่ได้อยู่ในโลกนี้เพียงคนเดียว อยู่รวมกันหลายคน

ทั้งเขาทั้งเราก็มีส่วนที่ไม่ดี ด้วยกันทั้งนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ถึงการดับกิเลสได้ทั้งหมด จึงควร อย่างยิ่งที่จะเห็นใจคนที่มีกิเลสด้วยกัน

ยิ่งถ้ามีการไตร่ตรองพิจารณา เข้าใจในเหตุ ในผลของธรรมจริงๆ ก็จะมีความเข้าใจ มีความเห็นใจแล้วมีเมตตาในบุคคลนั้นๆ ได้ แทนที่จะโกรธ แทนที่จะไม่พอใจ และควรที่จะพิจารณาว่า การที่บุคคล นั้นจะมีความเห็นและพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างนั้นได้ ต้องมีเหตุมีปัจจัยที่ทำให้เขา เป็นอย่างนั้น เมื่อเขาเป็นอย่างนั้นแล้วเราก็ควรที่จะเข้าใจเห็นใจ แล้วก็ช่วยแก้ไข เท่าที่สามารถจะช่วยได้ ตามกำลังปัญญาของตนเอง ย่อมจะเป็นประโยชน์กว่าความ โกรธ ความไม่พอใจ เพราะความโกรธ ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ก็ไม่นำมาซึ่ง ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ถ้าต้องทำงานกับคนเจ้าอารมณ์ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องเจริญเมตตา มีความอดทน อด กลั้น ที่จะไม่เป็นอกุศล ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natural
วันที่ 31 พ.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Thanapolb
วันที่ 7 มิ.ย. 2556

ขอนบอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เพราะยังมีอนุสัยกิเลศอยู่ ความโกรธย่อมเกิดได้ เมื่อไม่ประสบสิ่งที่พึงปราถนา ห้ามไม่ได้ มันรวดเร็วมาก เมื่อเกิด จะโกรธมาก โกรธน้อย ก็ให้รู้ว่าเรายังมีการสะสมไว้มากน้อยแค่ไหน

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Thanapolb
วันที่ 27 ก.ค. 2556

ขอนบอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณอ.เผดิม

"มองโลกในแง่ดีที่ถูกต้อง คือจะต้องมองโลกตามความเป็นจริง คือ มองถูกสัจจะ ด้วย กุศลจิต"

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Parinya
วันที่ 2 ส.ค. 2556

ผมเองก็เคยมีเพื่อนร่วมงานกับหัวหน้างานที่เป็นคนเจ้าอารมณ์ เขาเป็นหัวหน้าใหม่ หลังจากที่ผมได้พิจรณาว่าถ้าผมยังทำงานผิดพลาดอีก ผมก็อาจต้องถูกออกจากงาน แล้วทุกคนในครอบครัวจะได้ผลกระทบอย่างไร? ผมก็เริ่มศึกษาข้อผิดพลาดของงาน ที่ทำ แก้ไขและปรับปรุง ขยันหมั่นเพียรในการทำงานมากขึ้นให้ความเคารพกับหัว หน้างาน มีความอ่อนน้อมและเชื่อฟัง ไม่ใช้เวลาของที่ทำงานมาทำกิจการส่วนตัว หลายเดือนต่อมาผลของความขยันและอดทนก็ปรากฏ จากเคยที่เป็นคนที่ถูกพิจรณา ว่าทำงานไม่ได้มาตราฐาน ก็กลับกลายเป็นความชมเชย ความขยันและอดทนก็ทำให้ ผมได้เปลี่ยนนิสัยของนายผมจากเป็นคนที่เจ้าอารมณ์ก็เป็นคนที่น่าเคารพ และที่ สำคัญมากในต่างประเทศ การให้วัตถุทานเช่นพาหัวหน้าไปเลี้ยง ซื้อของปีใหม่ให้ นาย เขาไม่นิยมครับ วัตถุทานที่กล่าวมาไม่ประกอบด้วยปัญญาเลยทานที่ควรให้กับ คนในที่ทำงานก็คือความขยันหมั่นเพียร ความสามัคคี ความเป็นมิตรเป็นเพื่อน และ ขาดไม่ได้เลยครับคืออภัยทาน

ผมก็ขอนำ ทุติยอขันติสูตร ว่าด้วยโทษของอขันติ และ คุณของขันติ มาให้คุณ

พิจารณา

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

(216) . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน? คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก. ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ย่อมเป็นผู้โหด ร้าย. ย่อมเป็นผู้เดือดร้อนย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ. เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ดูก่อนภิษุทั้งหลายโทษของความไม่อดทน 5 ประการนี้แล ดูก่อนภิษุทั้งหลาย อานิสงค์ของความอดทน 5 ประการนี้ 5 ประการนี้เป็นไฉน? คือ. ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก. เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก. ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย. ย่อม ไม่เป็นผู้เดือดร้อนย่อมไม่หลงทำกาละ. เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ดู ก่อนภิษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทนนี้แล

จบทุติยอขันติสูตรที่6

กราบเท้าบูชาท่านอาจาสุจิตต์ บริหารวนเขตต์ ที่ท่านเมตตา ให้การอบรม และสอน ให้ทุกคนที่สนใจที่ศึกษาพระธรรมมีความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในธัมมะที่เกิดและ ปรากฏในขณะนี้

ขออนุโมทนา

ปริญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สิริพรรณ
วันที่ 2 ส.ค. 2556

ในประเด็นความโกรธนี้ จิตที่ประกอบด้วยโทสะ มีผลกับรูปที่เรียกว่า จิตตชรูป ใช่หรือไม่คะ เช่น ทำให้หน้าตาบึ้งตึง ไม่สวยงาม?.. โปรดอธิบายด้วย และกัมมชรูปคือรูปที่เกิดจากผล ของกรรม คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ใช่หรือไม่ แล้วต่างกับจิตตชรูปอย่างไร

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
homenumber5
วันที่ 3 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนากับเจ้าของกระทู้และทุกความเห็นค่ะขอเสนอความเห็นดังนี้ค่ะ

๑การอยู่ในหมู๋ชน สิ่งสำคัญคือมีวินัย วินัยของฆราวาส คือ ศีล ถามตนเองว่า เรามีศีลครบไหม ถ้าไม่ครบรีบแก้ไข (เช่นเคยไปพูดนินทาคนๆ นี้ไหมเป็นต้น)

๒ อยู่กับคน ต้องท่องไว้ มีเมตตา และพยายามมีปัญญา รู้ว่า คนๆ นี้ มีจริตอย่างไรถ้าเขาขี้โมโห ใช้อารมณ์ เลี่ยงได้เลี่ยง (เพราะเรายังมีธรรม ด้านความอดทนไม่พอ) คนกลุ่มนี้ เมื่อใช้อารมณ์ สมองด้านเหตุผล จะไม่ได้ใช้ ดังน้น เมื่อเขาไม่ได้พบหน้าเราไม่ได้ยินเสียงเรา เขาจะลืมเราไปเอง ไม่ควรไปชี้แจงโต้เถียงด้วยเหตุผล ธรรมใดๆ เพราะเขาใช้อารมณ์จนติดนิสัยไปแล้ว

ขออนุโมทนา

๓ ท้ายที่สุด คือคิดว่า เขาเป็นของเขาแบบนี้กับทุกๆ เรื่องคิดเสมือนว่า ดวงอาทิตย์เขาขึ้นทุกวัน คนจะโกรธ จะรัก จะเกลียด ฝนจะตกฟ้าจะร้องเป็นเรื่องปกติของ ธรรมชาติ ไม่ต้องใส่ใจ ไม่ต้องอารมณ์เสีย เพราะจะทำให้เราเกิดอกุศลเองค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ