ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๐๙๓
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้
[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๙๓]
สัจจะ (ความจริงใจ) ที่ถูก ต้องเป็นไปในการเจริญกุศล เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถ้ามีสัจจะในอกุศล จะรักษาสัจจะนั้นต่อไปหรือไม่? นี้เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณา เพราะถ้าออกจากอกุศลเร็วเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น ต้องกล้าที่จะออกจากอกุศลอย่างเร็วที่สุดด้วยความไม่ประมาท เพราะถ้าช้า จะทำให้ออกจากอกุศล นั้น ยากขึ้น จนในที่สุดก็สายเกินไปที่จะออกจากอกุศลนั้นได้ และ
อาจจะยากอย่างนี้ไปทุกๆ ชาติ
สิ่งที่คนไทย ขาด คือ คุณความดี
ต่อให้คนทั้งโลกเป็นอกุศล เราก็ควรที่จะมีความมั่นคงในการที่จะไม่เป็นอกุศล
ตามเขา
ถ้าหากขาดการฟังพระธรรม ก็คือ ขาดความเข้าใจถูกเห็นถูก
การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ต้องไม่ลืมว่าเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก
พระธรรมแต่ละพระสูตร นับคำไม่ถ้วน จึงไม่ควรประมาทในการฟัง ในการศึกษา
อย่างไม่ผิวเผิน
ประโยชน์ที่ยกพระสูตรขึ้นมา เพื่อประโยชน์ในการสนทนาว่ายังมีส่วนไหนที่ยัง
ไม่เข้าใจบ้าง ก็จะได้เข้าใจ
ฟังพระธรรมให้เข้าใจว่า เห็น ขณะนี้ เกิดแล้วดับไป ไม่มีความเพียรใดๆ เกิด
ร่วมด้วยเลย
คิด ต้องอาศัยวิริยะ (ความเพียร)
ริเริ่ม ได้แก่ วิริยเจตสิก แล้วตอนไหนจึงจะเป็นการริเริ่ม ไม่ใช่ในขณะที่เห็น
ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ไม่ใช่ในขณะที่เป็นวิบาก แต่เป็นใน
ขณะที่เป็นกุศล กับ อกุศล และในชีวิตประจำวันมีความริเริ่มที่เป็นไปกับอกุศลมาก
ทีเดียว
ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ก็คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน
คิดตรง หรือ ไม่ตรง ตราบใดที่ยังไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
เมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว มีใครไปทำความเพียรหรือเปล่า ก็ไม่มี มีแต่
ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน
วิริยะ เป็นวิริยะ โลภะ เป็น โลภะ วิริยะเกิดตามลำพังไม่ได้ โลภะเกิดตาม
ลำพังไม่ได้
จากที่ได้ฟังพระธรรมในวันนี้ วิริยะ (ความเพียร) ก็มีกิจแล้ว คือค้ำจุนสหชาตธรรม
ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น
ปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ประโยชน์ของกุศลธรรม
ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ก็เริ่มสละคืนความไม่รู้และความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพ
ธรรมว่าเป็นตัวตน สัตว์บุคคล ไปทีละเล็กทีละน้อย
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปัญญาไม่ถือเอาอย่างแน่นอน
ถ้าวันนี้หรือพรุ่งนี้จะจากโลกนี้ไป ยังจะโกรธคนอื่นอยู่หรือไม่? เป็นโทษสำหรับ
ใครในขณะที่โกรธ?
จะห้ามไม่ให้โกรธ ก็ไม่ได้ จะห้ามไม่ให้อกุศลเกิด ก็ไม่ได้ แต่มีน้ำคือ พระธรรม
ที่จะคอยชำระจิตให้สะอาด ปราศจากอกุศล
ปัญญา ทำให้เกิดทุกข์ไม่ได้ แต่ปัญญาทำให้พ้นจากทุกข์
ชีวิตประจำวัน คำพูดมีมาก ซึ่งต้องมาจากจิต ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นจิตประเภทใด
กุศลจิตหรืออกุศลจิต
ก่อนฟังพระธรรม ไม่รู้อะไรเลย จึงทำให้มีการพูดคำที่ไม่รู้จักมากมายทีเดียว
ตอบแทนบุญคุณ ก็ต้องด้วยการทำความดีตอบแทน ไม่ใช่การทำในสิ่งที่ไม่ดี
ตอบแทน
ขณะนี้ มีปรมัตถสัจจะ คือ สิ่งที่มีจริงๆ แม้จะไม่เรียกชื่อ สิ่งนั้นก็มีจริงๆ เช่น
เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น แข็ง โกรธ เมตตา เป็นต้น ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้
การฟังพระธรรมเท่านั้น ที่จะเป็นเหตุให้เข้าใจปรมัตถสัจจะ ได้
ความจริง เปลี่ยนให้เป็นเท็จ ก็ไม่ได้ ความจริง จึงมีหนึ่ง เปลี่ยนให้เป็นอย่าง
อื่น ไม่ได้ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริง อย่างนั้น เป็นจริงแต่ละหนึ่ง ซึ่งแสดงถึง
ความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถสัจจะ
ความไม่รู้ ปิดบังสนิท ไม่ให้รู้สภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ตามความเป็นจริง
การอบรมเจริญปัญญา ต้องอาศัยการฟังพระธรรม มีการพิจารณาไตร่ตรองในสิ่ง
ที่ได้ยินได้ฟัง
สงบ คือ กุศล ขณะใดก็ตาม ที่กุศลเกิด ขณะนั้น สงบ แล้ววันนี้ สงบมาก
น้อยแค่ไหน? สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ ความสำคัญตน ความริษยา ความตระหนี่
เป็นต้น
ถ้าไม่มีความจริงใจในการเจริญกุศลและการอบรมเจริญปัญญา ย่อมดับกิเลส
ไม่ได้
ถ้ามีปัญญาแล้ว จะทำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ได้เลย ปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้
มีความมั่นคงในคุณความดีต่อไป.
ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ ๙๒ ได้ที่นี่ครับ
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๙๒...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่งและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตร่วมปันธรรม ด้วยครับ
- เมื่อศึกษาจนเกิดความเข้าใจขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย จะเป็นผู้ที่ละเอียด ตรง มั่นคง
ศึกษาไปเรื่อยๆ จนจรดเยื่อในกระดูก และสามารถลด ละ มานะ ของตนเองลง
เปรียบเหมือนผ้าเช็ดธุลี อย่ามัวแต่ห่วงอกุศลของคนอื่น จนลืม อกุศลของตนเอง
- การที่ค่อยๆ เข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นๆ นั้นดีกว่าที่จะไม่มีหนทางเลย ถ้าจะเปรียบเทียบ
ให้เห็นอย่างชัดเจน ก็จะเปรียบเทียบได้ว่า ขณะที่เรายังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ นั้น
การที่เราไม่มีหนทาง ก็เหมือนกันการที่เราตกไปในเหวลึกที่ไม่มีทางขึ้นและมืดสนิทเมื่อเราตกไปในเหวลึกแล้ว เราไม่ควรที่จะอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไรเลย เราควรที่
จะค่อยๆ ไต่ขึ้นมาทีละนิดทีละหน่อย ซึ่งก็เหมือนกับการที่เราเริ่มเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น
ทีละเล็กทีละน้อยนั่นเอง เพราะเราไม่สามารถที่จะทราบได้ว่า โอกาสที่เราจะเข้าใจ
ธรรม จะเหลืออีกเท่าใด เพราะฉะนั้นแล้ว เวลาที่เหลืออยู่นี้จึงเป็นเวลาที่มีค่าที่สุดใน
การที่จะให้ตนเองมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปเพื่อการ
ดับกิเลสได้ ในที่สุด ครับ
- ที่จะรู้ว่า ความจริงไม่ใช่เรา เป็นธรรมะ กำลังเสียใจ น้อยใจโกรธ ขุ่นใจ เป็น
ธรรมะหรือเปล่าคะ ขณะนั้นไม่อยากขุ่นใจ ไม่อยากเสียใจเลย พยายามหาทางที่
จะไม่เสียใจขุ่นใจ กับการรู้ความจริงในขณะนั้น เป็นธรรมะเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว
บังคับบัญชาไม่ได้ อะไรจะเป็นประโยชน์กว่ากัน นี่คือความหมายของอาจหาญ
ร่าเริง ที่จะรู้ความจริง
- เนื่องจากว่า ชีวิตนี้ สั้นยิ่งนัก ถ้าเป็นผู้อาศัยความประมาทเพียงนิดเดียวในชีวิต
ก็อาจจะนำพาเราไปเกิดในอบายภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่ปราศจากความเจริญ ได้ ถ้าไปเกิด
ในอบายภูมิแล้ว โอกาสที่จะได้กลับมาเกิดในภูมิที่ดี อย่างเช่นมนุษย์ภูมิ นี้อีก จึงเป็น
เรื่องที่ยากมาก เพราะฉะนั้นแล้ว พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ จึงเป็น-
เครื่องอุปการะเกื้อกูลให้เราได้ดำเนินชีวิตเป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงามยิ่งขึ้น
- พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็นเครื่องอุปการะ
เกื้อกูลให้พุทธบริษัทดำเนินชีวิตในทางที่ดีงาม นอกจากจะเว้นในสิ่งที่ควรเว้น เพราะ
เห็นว่าเป็นโทษทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น แล้ว ความดีประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ก็ควรที่จะอบรมเจริญให้มีขึ้น ซึ่งรวมถึงการศึกษาธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญ
ปัญญาเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ด้วย
- ถ้าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เข้าใจตามความเป็น
จริงแล้ว ไม่ว่าใครจะประพฤติตนไม่ดีต่อเราอย่างไร เราก็ไม่โกรธ เพราะเป็นผู้ที่เห็น
โทษของอกุศล เห็นโทษของความโกรธ แล้วก็เกิดเมตตา มีความหวังดี ปรารถนาดี
พร้อมทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลนั้นได้ทุกเมื่อ
- บุญ คือสภาพจิตที่ดีงาม ไม่มีโทษ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้น เป็นบุญ ครับ
โอกาสของการเจริญกุศล เป็นโอกาสที่หายากในชีวิต จะเสียดายมาก ถ้าหากว่ามี
โอกาสที่จะได้เจริญกุศลแล้ว ไม่ได้เจริญ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นวันพระหรือไม่ใช่วันพระ
ก็สามารถที่จะเจริญกุศลได้ทั้งนั้น เพราะถ้าไม่ได้เจริญกุศล อกุศลก็จะมีแต่จะหนาขึ้น
เรื่อยๆ
ขออนุโมทนา
เมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว มีใครไปทำความเพียรหรือเปล่า ก็ไม่มี มีแต่
ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน
ถ้าไม่มีความจริงใจในการเจริญกุศลและการอบรมเจริญปัญญา ย่อมดับกิเลส
ไม่ได้
- พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็นเครื่องอุปการะ
เกื้อกูลให้พุทธบริษัทดำเนินชีวิตในทางที่ดีงาม นอกจากจะเว้นในสิ่งที่ควรเว้น เพราะ
เห็นว่าเป็นโทษทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น แล้ว ความดีประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ก็ควรที่จะอบรมเจริญให้มีขึ้น ซึ่งรวมถึงการศึกษาธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญ
ปัญญาเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ด้วย
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.คำปั่น และ อ.เผดิม ด้วยค่ะ...
ขออนุญาตปันธรรม ที่มีความประทับใจ ประโยคหนึ่งนะครับ
"...ถ้าไม่มีจิต ก็ไม่ "คิด" หรอก ใช่ไหม?
ไม่มีจิตเห็น ไม่มีจิตคิด เห็นแล้วคิด
ทุกสิ่งทุกอย่าง สำคัญที่ "คิด"
เพราะฉะนั้น ฟังธรรมะแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราดีขึ้นหรือเปล่า?
ถ้าเรา "คิดดีขึ้น"
ชัดเจน
ไม่ต้องไปถึงไหน
ถ้าเราคิดดี ก็เป็นผลมาจาก การฟังธรรมะเข้าใจ..."
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่นและทุกๆ ท่านครับ
ขอร่วมแบ่งปันธรรม...
ฟังพระธรรมเพื่อละความไม่รู้ เพื่อละอกุศล วันๆ มีแค่อกุศลจิต กาย วาจาจึง
ทุจริต แล้วจะมาฟังธรรมหรือ ความไม่รู้ปิดบังความจริง อกุศลปิดบังไม่ให้รู้ความ
จริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่มีทางที่จะรู้ความจริงได้เลย ถ้าไปตามอกุศลก็ไม่
มาฟังธรรม แต่ขณะนี้เรามาฟังธรรมเพราะไม่ไปตามอกุศล ความเข้าใจคือปัญญา
นำมาซึ่งความดีทั้งปวง และถ้าไม่มีความดีเลยอกุศลจะหมดไปได้อย่างไร
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ...
"จะห้ามไม่ให้โกรธ ก็ไม่ได้ จะห้ามไม่ให้อกุศลเกิด ก็ไม่ได้
แต่มีน้ำคือ พระธรรม ที่จะคอยชำระจิตให้สะอาด ปราศจากอกุศล"
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
"ที่จะรู้ว่า ความจริงไม่ใช่เรา เป็นธรรมะ กำลังเสียใจ น้อยใจ โกรธ ขุ่นใจ เป็นธรรมะหรือเปล่าคะ
ขณะนั้นไม่อยากขุ่นใจ ไม่อยากเสียใจเลยพยายามหาทางที่จะไม่เสียใจ ขุ่นใจ
กับการรู้ความจริงในขณะนั้น เป็นธรรมะเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว บังคับบัญชาไม่ได้
อะไรจะเป็นประโยชน์กว่ากัน
นี่คือความหมายของอาจหาญร่าเริง ที่จะรู้ความจริง"
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ