ขึ้นเคียด ในสมบัติของผู้อื่น

 
นิรมิต
วันที่  3 มิ.ย. 2556
หมายเลข  22998
อ่าน  1,030

กราบสวัสดีท่านวิทยากรและมิตรธรรมที่เคารพทุกท่าน

อยากจะขอกราบอนุญาตเรียนปรึกษาปัญหาส่วนตัว เกี่ยวกับอกุศลธรรมของตนเองครับ

กระผมค่อนข้างเป็นผู้มีความความติดข้องในรูปทางตามาก และก็ปรารถนาอัตภาพอย่างนั้นๆ อยากจะมีรูปร่างมีอัตภาพอย่างนั้นๆ ที่ตนเองปรารถนาติดข้องไว้

ก็เมื่อใดเห็นบุคคลอื่นที่มีรูปร่างหน้าตา มีวรรณะ มีอัตภาพอย่างนั้นๆ ที่ตนเองชอบใจ

ติดข้องปรารถนาจะได้แบบนั้นๆ แล้ว ก็อดไม่ได้จริงๆ ที่จะขึ้นเคียด อิจฉา มีอาการไม่

ปรารถนาจะเจอ ไม่ปรารถนาจะเห็น

แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดดับสลับกับโลภะติดข้อง พอใจ ปรารถนาจะเห็นบ่อยๆ

ปรารถนาจะพิจารณาดูอัตภาพนั้นบ่อยๆ เพราะเป็นรูปที่ตนปรารถนาอยากจะมีอัตภาพ

อย่างนั้นๆ บ้าง

แล้วก็เมื่อพิจารณาอัตภาพตน ก็เห็นว่าให้ได้เห็นปานนั้นไม่ใช่ฐานะในชาตินี้ ก็รันทดใจ ทุกข์ใจ เกิดโทมนัส จนบางครั้งก็เป็นอันทำอะไรไม่ได้ มีการถอนหายใจ เป็นทุกข์อยู่บ่อยๆ

ภายหลังเมื่อค่อยๆ ฟังพระธรรม ก็พอจะบรรเทาความติดข้องไปได้บ้าง ด้วยความ

เข้าใจ ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน รูปก็เป็นธรรมะอย่างนั้นๆ เกิดดับ ไม่ยั่งยืน ผู้นั้นๆ

ได้อัตภาพนั้นๆ มาก็ตามกรรมของตนๆ สิ้นกรรมสิ้นบุญเห็นปานนั้นก็ไปสู่อัตภาพอื่น

ต่อไป อัตภาพนั้นๆ ก็ไม่ใช่ของใครเลยจริงๆ และแม้อัตภาพที่ยิ่งกว่านี้ ก็มีมากมาย

บนสวรรค์ จะมายินดีอะไรในอัตภาพอันเป็นของมนุษย์

แต่แม้กระนั้น ที่เมื่อเห็นรูปนั้นๆ ที่พอใจอยากจะได้ ก็ยังอดไม่ได้ที่จะมองด้วยโลภะ

ปรารถนาใคร่จะได้ สลับกับโทสะอันประกอบด้วยอิสสา และก็เป็นโทมนัส


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 3 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมสนทนา ครับ

ก็เป็นปกติธรรมดาของบุคคลผู้ที่ยังมีกิลเสสอยู่ ยังไม่สามารถดับกิเลสอะไรๆ ได้

เลย เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย กิเลสประเภทนั้นๆ ก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น

ความติดข้องยินดีพอใจ หรือแม้กระทั่ง ความริษยา ทนไม่ได้ที่ผู้อื่นได้หรือมีสิ่งที่น่า

ปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ จะห้าม หรือบังคับบัญชาไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นก็ไม่ได้

เพราะเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้นั้น เป็นผู้สนใจหรือไม่สนใจในการศึกษาพระธรรม ถ้าไม่สนใจ

ศึกษาพระธรรม ย่อมจะไม่มีทางรู้เลยว่าตนเองมากไปด้วยกิเลสเพียงใด เมื่อไม่รู้ การที่

จะขัดเกลาก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา เห็น

ประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน

เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ก็จะทำให้จากที่เคยเป็นผู้มีมากไปด้วยกุศลเสียเป็น

ส่วนใหญ่ ก็จะค่อยๆ น้อมไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น เห็นประโยชน์ของกุศลธรรม

มากยิ่งขึ้น ขัดเกลากิเลสมากขึ้นได้ ที่สำคัญ ขณะที่จิตเป็นกุศล อกุศลประเภทใดๆ

ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นการสงบจากอกุศล ชั่วขณะที่กุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป

ดังนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ค่อยๆ สะสม

ปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ

ก็ขออนุโมทนาในกุศจิตของคุณนิรมิต ด้วยครับ ที่เป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระ

ธรรมเพราะทุกคนที่ยังมีกิเลสอยู่ ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจของกิเลส ก็ย่อม

มีด้วยกันทั้งนั้น มากบ้างน้อยบ้าง ตามการสะสมของแต่ละบุคคล แต่สิ่งที่จะขัดเกลา

กิเลสได้ ก็ต้องเป็นความเข้าใจพระธรรม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ละเอียดลึกซึ้ง โดยเฉพาะ หนทางการอบรม

ปัญญา ที่เป็นไปเพื่อการดับกิเลส ยิ่งละเอียดลึกซึ้งสุดประมาณ เปรียบได้ ดั่งเช่น

เอาจงอยปากยุง เพื่อจะวัดความลึกมหาสมุทร หรือเปรียบเหมือนเอามือของมนุษย์

เหยียดมือออกไปเพื่อจะไปถึงพรหมโลก หรือ เปรียบเหมือน การเอาเท้าให้ต่ำลง

ไป เพื่อที่จะให้ถึงอเวจีมหานรกให้ได้ ซึ่ง ทุกอย่างที่กล่าวมา เป็นเรื่องที่ยากมากๆ

หนทางการอบรมปัญญาก็เช่นกัน เมื่อครั้งที่พระุพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์

ไม่ทรงน้อมพระทัยที่จะแสดงพระธรรม เพราะด้วยเหตุผล 2 ประการ

คือ 1.พระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ละเอียดลึกซึ้งอย่างมาก สัตว์โลกรู้ตามได้ยาก

2.สัตว์โลกมากด้วยอวิชชา ความไม่รู้ และ กิเลส ยากที่จะรู้ตาม ด้วยเหตุผล 2

ประการนี้ ทำให้พระองค์ไม่น้อมพระทัยที่จะแสดงพระธรรม แสดงถึงความละเอียด

ลึกซึ้งของพระธรรม

จากที่กล่าวมา เพื่อแสดงให้เห็นว่า ปุถุชน ที่ยังมากด้วยอวิชชา แม้ว่าได้ศึกษา

พระธรรมแล้วแต่เป็นเพียงขั้นการฟัง และ เพราะยังมีกิเลสมาก แม้จะได้ศึกษาใน

หนทางที่ถูกต้องบ้างแต่ยังไม่มั่นคง ย่อมสำคัญทางการอบรมปัญญาไปในทางที่

ผิดได้เป็นธรรมดา เพราะโดยมาก เมื่อศึกษาธรรม ก็รู้ว่ากิเลสไม่ดี ก็จะพยายาม

ไม่ให้กิเลสเกิด หรือ พยายามด้วยความเป็นตัวตนที่จะให้กิเลสเกิดน้อยลง ด้วย

ความเป็นเรา แต่ไม่ใช่ด้วยปัญญา เมื่อไม่เข้าใจความเป็นธรรมดา และ หนทาง

การดับกิเลส สิ่งที่ตามมา คือ การเดือดร้อนกับกิเลสที่เ่กิดขึ้น เพราะ รู้ว่ากิเลสไม่ดี

พอเกิดกิเลส ก็จะหาทาง หรือ จะเดือดร้อนที่จะละกิเลส แต่ ลืมไปว่า ความเป็นเรา

ความอยาก ไม่ใช่หนทางการละกิเลส แต่ ปัญญาที่รู้ความจริงในขณะนั้นว่าคืออะไร

เป็นหนทางการละกิเลสที่ถูกต้อง ครับ

หนทางการละกิเลส ที่เป็นกิเลสที่จะต้องละเป็นอันดับแรก คือ การยึดถือว่าเป็น

เรา เป็นสัตว์บุคคล เพราะฉะนั้น อกุศลเกิดขึ้น เป็นเรา หรือเป็นธรรม เป็นธรรมและ

เป็นอนัตตา ห้ามไม่ได้ แม้ความริษยา ก็เกิดเป็นธรรมดา แต่เพราะความยึดถือ ก็

เดือดร้อนด้วยความเป็นเรา เป็นเราที่ริษยา จึงเดือดร้อน เมื่อเข้าใจถูกว่าเป็นแต่

เพียงธรรม ไม่ใช่คุณนิรมิต ริษยา ไม่ใช่คุณนิรมิตเกิดอกุศล ก็ไม่เดือดร้อน เพราะ

เข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมในขณะนั้น นี่คือหนทางการดับกิเลส คือ เข้าใจความจริง

ที่เ่กิดแล้วว่าเป็นธรรมดา เป็นธรรมดา เพราะว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ครับ

ดังนั้น ศึกษาธรรมด้วยความเบาสบาย เพราะความเข้าใจพระธรรมที่เป็นอนัตตา

และเป็นธรรมดา และ ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมที่ไม่ใช่คุณนิรมิต มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น

การเจริญอบรมปัญญาไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการเกิดอกุศลไปเรื่อยๆ เป็นของคู่กัน

อยู่แล้ว แต่ ให้เข้าใจครับว่า ปัญญาที่เกิดขึ้นทีะละน้อย จะค่อยๆ เข้าใจถูก และ มี

กำลังมากขึ้น จนวันหนึ่งในอนาคต ก็สามารถฆ่ากิเลสได้จนหมดสิ้น โดยเริ่มจาก

ความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์บุคคลก่อน ครับ ดังนั้น หน้าที่ คือ ฟังพระธรรมต่อไป

สังขารขันธ์ ซึ่งไม่ใช่เราอีกเช่นกัน ที่เป็นโสภณธรรม มี ศรัทธา ปัญญา เป็นต้น

จะปรุงแต่ง สะสมไป จนดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 3 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นิรมิต
วันที่ 4 มิ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

อยากจะขอรบกวนท่านวิทยากรอีกสักนิดครับ คือผมเคยได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์บรรยาย

เรื่องที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโทษของมหาภูตรูป ด้วยความเป็นอสรพิษบ้าง ที่ทรงกล่าว

ถึงรูปด้วยความมีสันฐานเป็นของปฏิกูลต่างๆ บ้าง หรือที่ทรงกล่าวติโทษและแสดงโทษโดย

นัยอื่นๆ ของรูป จึงใคร่อยากจะขอพระสูตรดังกล่าว หรือพระสูตรอื่นๆ ที่กล่าวโทษของรูป

เป็นพระสูตรเต็มๆ ครับ

กราบขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 4 มิ.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

สามารถคลิกอ่าน ในเรื่องความปฏิกูลของ ผม ขน เล็บ เป็นต้น ในลิ้งนี้ ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 54

ส่วน อสรพิษ 4 อ่านได้ที่ลิ้งนี้ ครับ

อาสีวิสสูตร .. อสรพิษ ๔ จำพวก

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 7 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ