จิตว่าง จิตประภัสสร

 
เด่น
วันที่  3 ก.ค. 2556
หมายเลข  23121
อ่าน  4,825

จิตว่าง จิตประภัสสร เป็นอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศึกษาธรรมทีละคำ ครับ

จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธาน

ในการรู้แจ้งอารมณ์

ใจ ก็หมายถึง จิตนั่นเองเป็นความหมายเดียวกัน จิต จึงสามารถใช้ได้หลายคำ ทั้ง

มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ

วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ก็มุ่งหมายถึง จิต ใจ ที่เป็นสภาพรู้ คือ เป็นใหญ่

ในการรู้

จิตว่าง

จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริง จิตเป็นสภาพรู้ ดังนั้นเมื่อจิตเกิดขึ้น ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่า อารมณ์ ดังนั้น จิตจึงไม่มีว่าง คือ ไม่มีว่างจากอารมณ์ จิตเมื่อใดเกิดขึ้น ก็ต้องมี

สิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่าอารมณ์เสมอ ครับ เช่น จิตเห็น เมื่อเกิดขึ้น ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น คือ

สี ดังนั้นจิตจึงไม่ว่างจากอารมณ์เลย แต่ความหมายของ คำว่า ว่างจริงๆ หมายถึง

การว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ สูญจากการมีสัตว์ บุคคล ตัวตน เพรา

มีแต่ธรรม ไม่มีเราไม่มีสัตว์ บุคคลเลย ครับ ดังนั้น คำว่าว่าง จึงไม่ใช่จิตว่าง ครับ

จิตมีอารมณ์ ไม่มีว่างจากอารมณ์ แต่สภาพธรรม มี จิต เจตสิก รูป ตา หู จมูก ลิ้น

กายและใจ รวมทั้งนิพพาน ว่างจากการมีสัตว์ บุคคล ตัวตน ครับ

จึงกลับมาที่คำถามที่ว่า

ในใจมีจิต ใจจิตมีความว่าง ประภัสสร ใช่เปล่าครับ

ตามที่กล่าวแล้ว ใจกับจิต ก็คือ สภาพธรรมอย่างเดียวกัน คือ เป็นใหญ่ในการรู้

เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในใจ ก็ไม่่ได้มีจิต ในจิตก็ไม่ได้ใมีใจ

เพราะ ใจก็คือ จิต เพราะ จิตก็คือใจ ครับ

ใจจิตมีความว่าง

ใจและจิต ไม่ได้เป็นสถานที่ ที่จะมีความว่างดั่งอากาศ แต่ ใจ และ จิืิต มีความ

ว่าง ที่ไมไ่้ด้หมายถึง ไม่มีอะไรเลย แต่ ใจ กับจิต ก็มีอยู่ แต่ ใจและ จิต มีความว่าง

ในตัวของมันเอง คือ ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล คือ ไม่มีเรา ที่เป็นจิต แต่เป็นเพียง

สภาพธรรมที่เป็นจิต คือ เป็นเพียงธรรมไม่ใช่เรา ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

จิตเป็นประภัสสร ก็ต้องเข้าใจว่า ประภัสสร คือ อะไร

ประภัสสร หมายถึง ผ่องใส คือ ขณะที่เป็นกุศลจิต และ ขณะที่เป็นภวังคจิต ซึ่ง

จิตจะผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อเป็นกุศลจิต เพราะประกอบด้วยโสภณเจตสิก (เจตสิกฝ่ายดี)

มี ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ เป็นต้นเกิดร่วมด้วย จึงผ่องใส และอีก

ประการหนึ่ง ขณะที่เป็นภวังคจิต ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้อยู่ อารมณ์ของ

โลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

เพียงชั่วขณะที่จิต ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนั้น

ไม่มีกิเลสประการต่างๆ เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ดังนั้น ขณะที่เป็นภวังคจิต จึงกล่าวว่า

เป็นจิตประภัสสร ด้วย

เชิญคลิกอ่านที่นี่..... เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง [ธรรมสังคณี]

ดังนั้น จิตไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นประภัสสร ผ่องใส ด้วยไม่มีกิเลลส แต่ เฉพาะ

กุศลจิต และ ภวังคจิต เป็นประภัสสร ส่วนอกุศลจิต ที่เป็นจิตประเภทหนึ่ง ไม่ใช่

ประภัสสร เพราะ มีกิเลสมาเกิดร่วมด้วย ครับ

และ ขอเพิ่มเติม ถ้าหากกล่าวเฉพาะสภาพธรรมที่เป็นจิต โดยที่ไม่ได้กล่าวถึง

จตสิกที่เกิดร่วมด้วยนั้น จิตทุกประเภท เป็นปัณฑระ คือ ขาวแม้แต่อกุศลจิต ก็เป็น

ปัณฑระ ตามข้อความที่ว่า "เพราะจิตมีลักษณะรู้อารมณ์ จึงไม่เป็นกิเลสด้วยความ

เศร้าหมอง โดยสภาวะเป็นจิตบริสุทธิ์ทีเดียว แต่เมื่อประกอบด้วยอุปกิเลส จิตจึง

เศร้าหมอง ครับ

การศึกษาเรื่องจิต ประโยชน์ไม่ไ้ด้อยู่ที่การจำชื่อว่ามีจิตเท่าไหร่ แต่ ประโยชน์

คือ การรู้ความจริงของชีวิต ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ชีวิตจริงๆ ก็คือ การ

เกิดขึ้นของจิต ของธรรม ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล แต่ เป็นจิตเกิดขึ้นทีละขณะ

ทำหน้าที่ การเข้าใจเช่นนี้ ย่อมไถ่ถอนความเห็นผิด และ ละกิเลสได้เป็นลำดับได้

ในที่สุด อันมีการศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องเป็นสำคัญ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 4 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นปรมัตถธรรม ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะเป็นอย่างอื่นเป็น

จริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ซึ่งเมื่อกล่าวโดยประเภทแล้ว ได้แก่ จิตเจตสิก รูป

และนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด

ในประเด็นคำถาม กล่าวถึง จิต ซึ่งก่อนการศึกษาพระธรรม ก็มีการพูดถึงคำว่าจิตแต่ก็ย่อมไม่ตรงตามความเป็นจริง จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ว่า จิตเป็นธรรมไม่ใช่เรา และ มีคำหลายคำที่ใช้แทนคำว่า จิต รวมถึง คำว่า ใจ ซึ่งมาจากภาษาบาลีว่ามโน หรือ มน (มะ - นะ) หมายถึง สภาพที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ นั้นเอง

จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ทุกขณะไม่

เคยขาดจิตเลย มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย จิตขณะหนึ่งดับไป เป็นปัจจัย

ให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันที จิตมีหลากหลายมาก หลากหลายโดยอารมณ์ หลาก

หลายโดยภูมิซึ่งเป็นระดับขั้นของจิต หลากหลายโดยเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย และ

จิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้น ต้องเป็นชาติหนึ่งชาติใดใน ๔ ชาติ โดยไม่ปะปนกัน คือ จิต

เกิดขึ้นเป็นกุศล จิตเกิดขึ้นเป็นอกุศล จิตเกิดขึ้นเป็นวิบาก จิตเกิดขึ้นเป็นกิริยา

ตามความเป็นจริงของจิตประเภทนั้น และที่จะเป็นจิตประภัสสร เป็นจิตที่ผ่องใส ก็ต้องเป็นขณะที่เป็นภวังคจิต ทำกิจดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้ และ ในขณะที่เป็นกุศล

เพราะขณะนั้นผ่องใสปราศจากอกุศล อกุศลเกิดไม่ได้แน่นอนในขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น

เป็นไป และ เมื่อจิตเกิดขึ้น ก็ไม่ว่างเว้นจากอารมณ์ เพราะจิตจะต้องรู้อารมณ์ ตามควรแก่

จิตประเภทนั้นๆ เช่นจิตเห็น ก็รู้สี จิตได้ยินก็รู้เสียง จิตได้กลิ่น ก็รู้กลิ่น เป็นต้น

ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม ไม่ว่าจะฟังเรื่องอะไร ก็เพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่

มีจริงๆ ในขณะนี้ ว่าเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา ซึ่งจะเป็นไป

เพื่อการขัดเกลาความไม่รู้และละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็น

บุคคลได้ในที่สุด ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

จิต คือ อะไร

จิตว่างคือ?

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 4 ก.ค. 2556

จิตไม่ว่าง เพราะจิตเิกิดดับสืบต่ออยู่ทุกขณะ ไม่ขาดสาย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
daris
วันที่ 4 ก.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เด่น
วันที่ 6 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chutinun2253
วันที่ 22 พ.ค. 2562

สาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ