รบกวนสอบถามเกี่ยวกับลักษณะตึง/ไหว

 
thilda
วันที่  5 ก.ค. 2556
หมายเลข  23132
อ่าน  1,499

(พอดีไปเขียนถามไว้ที่กระทู้ปี 2551 แล้ว แต่คำถามมันไม่แสดงขึ้นมาถ้าไม่ล็อกอิน เลยมาตั้งหัวข้อใหม่ที่นี่ค่ะ ถ้าทำอะไรผิดพลาด ขออภัยด้วยนะคะ)

เพิ่งศึกษาพระอภิธรรมได้ไม่นานจากหนังสือของที่บ้านธัมมะนี้ คำสอนของท่านอาจารย์สุจินต์ และพระอาจารย์อีกท่านหนึ่งค่ะ รู้สึกเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติมากขึ้นมากๆ เลยค่ะหลังจากที่ปฏิบัติมาหลายปีแล้ว ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ แต่ตอนนี้สงสัยว่าลักษณะตึง/ไหวนี้เกิดขึ้นกับร่างกายตลอดเวลาใช่ไหมคะ ซึ่งที่จริงแล้วไหวก็คือตึงน้อย ตึงก็คือไหวน้อยใช่ไหมคะ เช่นเดียวกับเย็น/ร้อน (ร้อน=เย็นน้อย) , อ่อน/แข็ง (อ่อน=แข็งน้อย) หรือเปล่า ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นตลอดเวลากับร่างกายส่วนใดก็ตามแล้วแต่ว่าเราจะไปรู้สึกที่ส่วนไหน

ดังนั้นในขณะที่เรารู้สึกที่กายจุดหนึ่ง เราจะพบความรู้สึกทั้ง ตึง/ไหว เย็น/ร้อน อ่อน/แข็ง ซึ่งแล้วแต่ว่าในขณะจิตนั้นเราจะไปรู้สึก ตึง/ไหว หรือ เย็น/ร้อน หรือ อ่อน/แข็ง ใช่ไหมคะ

เช่นเราสังเกตขณะที่พิมพ์อยู่นี้ ขณะที่พิมพ์เราก็รู้สึกถึงความเย็น (จากแอร์) ที่นิ้วของเรา อีกขณะจิตหนึ่งเรารู้สึกถึงความแข็งของแป้นคีย์บอร์ด และอีกขณะจิตหนึ่งเราก็รู้สึกถึงการไหวของนิ้วเรา

ขอบพระคุณมากค่ะ และขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
thilda
วันที่ 5 ก.ค. 2556

อีกคำถามหนึ่ง คือลักษณะตึง/ไหวนี้ ต่างจากร้อน/เย็น อ่อน/แข็ง อย่างหนึ่ง ตรงที่จะรู้สึกได้จากร่างกายของเราเองเท่านั้นใช่ไหมคะ แต่อย่างอื่นนี้รู้จากภายนอกได้ด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่เป็นสิ่งที่มีจริง มี 2 อย่าง คือ นามธรรม และ รูปธรรม นามธรรม นามธรรมได้แก่จิต เจตสิก ที่เป็นสภาพรู้ ส่วน รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ซึ่ง การรับรู้ทางกาย เป็นกิจหน้าที่ของจิต ที่เรียกว่า กายวิญญาณจิต ซึ่งการรับรู้ทางกายนั้น มีอารมณ์ได้ ทั้งสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม ที่เป็นลักษณะของธาตุดิน คือ แข็ง อ่อน ธาตุไฟ คือ เย็น ร้อน และ ลักษณะของธาตุลม คือ ตึง หรือ ไหว ซึ่งลักษณะ ตึงไหว เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ที่แสดงลักษณะของธาตุลม ที่สามารถเกิดมีได้ในชีวิตประจำวัน ที่เป็นการรับรู้ทางกาย ซึ่งการขยับร่างกาย เคลื่อนไหว ในอิริยาบถต่างๆ ก็อาจปรากฏลักษณะของสภาพธรรมที่ ตึง หรือ ขณะใดที่เคลื่อนไหว แขน ขา ก็สามารถปรากฏลักษณะที่ไหวไป ซึ่งเป็นลักษณะของธาตุลม

สามารถอ่านกระทู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ

ลักษณะ ตึง ไหว

เชิญฟังธรรมได้ที่นี่ ครับ

รูปที่จะไหวได้ คือ ธาตุลม

กายปสาทรูป กับ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว

ซึ่งลักษณะของตึงและไหวที่เป็นธาตุลม ก็มีลักษณะตึงมาก ตึงน้อย ไหวมาก ไหวน้อย เช่นเดียว กับรูปอื่นๆ ที่เป็น ธาตุไฟ เป็นต้น ที่เย็นมาก เย็นน้อย เป็นต้น ครับ

ส่วนคำถามที่ว่า

อีกคำถามหนึ่ง คือลักษณะตึง/ไหวนี้ ต่างจากร้อน/เย็น อ่อน/แข็ง อย่างหนึ่ง ตรงที่จะรู้สึกได้จากร่างกายของเราเองเท่านั้นใช่ไหมคะ แต่อย่างอื่นนี้รู้จากภายนอกได้ด้วย

- ไม่ว่าจะเป็นลักษณะตึงไหว เย็น ร้อน อ่อนแข็ง ก็ต้องรู้ลักษณะที่กายของตนเอง และ กายของคนอื่นด้วย ครับ หากไม่มีสภาพรู้ แม้ มีอยู่ ก็ไม่มีใครรู้สภาพธรรมนั้น ดังนั้น ก็ต้องรู้ลักษณะตึงไหว ที่กาย ที่เป็นกายปสาทรูป ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 6 ก.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แสดงถึงความเป็นจริงของสถาพธรรมซึ่งเป็นจริงแต่ละอย่างโดยไม่ปะปนกัน รูปธรรมเป็นรูปธรรม นามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมมีจริงๆ ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่ธาตุรู้ ส่วนนามธรรมที่เป็นจิตกับเจตสิกนั้น เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ เป็นสภาพรู้เป็นธาตุรู้ ซึ่งจะแตกต่างกับรูปธรรมอย่างสิ้นเชิง สำหรับสภาพธรรมที่เป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว นั้น เป็นสภาพธรรมที่กระทบกายปสาทะ เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เพราะมีกายปสาทะ และมีรูปที่กระทบกับกายปสาทะ จึงเป็นเหตุให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ดังกล่าวนั้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นเลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ค. 2556

ตึง ไหวรู้ได้ทางกาย เป็นธาตุลม ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิดก็เป็นเรา รู้ว่าสติปัฏฐานเกิด ก็รู้ว่าเป็นธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natural
วันที่ 6 ก.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
thilda
วันที่ 7 ก.ค. 2556

พยายามอ่านกลับไปกล้บมาหลายครั้ง พอเข้าใจที่ทุกท่านกรุณาตอบแล้วค่ะ การรู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวเรารู้ แต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้ สำหรับคำถามที่ว่า

"ลักษณะตึง/ไหวนี้ ต่างจากร้อน/เย็น อ่อน/แข็ง อย่างหนึ่ง ตรงที่จะรู้สึกได้จากร่างกายของเราเองเท่านั้นใช่ไหมคะ แต่อย่างอื่่นนี้รู้จากภายนอกได้ด้วย"


หมายถึง สำหรับเย็นร้อน อ่อนแข็ง สามารถรู้ได้จากภายนอกคือมีรูปจากภายนอกร่างกายมากระทบ และรู้ได้จากภายในซึ่งหมายถึงร่างกาย เช่นเอามือแตะที่แขน รู้สึกถึงความอุ่น ส่วนตึงไหวนั้นรู้จากภายในร่างกายเท่านั้น เช่น รู้สึกถึงแขนว่าตึง จะไม่สามารถรู้สึกจากรูปภายนอกร่างกาย เช่น เห็นก้อนหิน แล้วรู้สึกไม่ได้ว่าก้อนหินตึง อย่างนี้ใช่ไหมคะ


รบกวนถามเพิ่มเติม นอกเหนือจากการฟังธรรมเป็นประจำเพื่อความเข้าใจและสะสมเหตุปัจจัยให้เกิดสติระลึกรู้ในขณะที่สภาพธรรมเกิดขึ้นแล้ว สามารถใช้การระลึกความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับร่างกายคือ ตึงไหว เย็นร้อน อ่อนแข็ง ในชีวิตประจำวัน เพื่อฝึกการเจริญสติปัฏฐานได้ด้วยใช่ไหมคะ ซึ่งในที่สุด (ซึ่งคงกำหนดเวลาไม่ได้ เพียงแต่สะสมเหตุปัจจัย) จะสามารถเห็นรอยต่อระหว่างจิตที่เกิดดับได้ (ซึ่งก็คือการบรรลุธรรมใช่ไหมคะ) แบบนี้เข้าใจถูกไหมคะ ขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนาทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
thilda
วันที่ 3 ธ.ค. 2559

ได้กลับมาอ่านกระทู้เกี่ยวกับตึง-ไหวหลายครั้งในช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดความสงสัยและตั้งกระทู้นี้ ผ่านไป 3 ปีกว่าแล้ว ก็คิดว่าเข้าใจบ้าง แต่ว่าก็ยังไม่เข้าใจอย่างแท้จริง อาจเป็นเพราะไม่ละเอียดเองและจับประเด็นไม่ได้ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้อ่านกระทู้ด้านล่างนี้ ซึ่งมีผู้กราบเรียนถามท่านพระธัมมโร (Alan Driver) ทำให้รู้สึกกระจ่างใจขึ้นมา คิดว่าใช่แล้ว คือความรู้สึกแบบนี้แหละ จึงขออนุญาตนำข้อความมาลง เผื่อว่าท่านที่รู้สึกสงสัยคล้ายๆ กันจะเข้าใจมากขึ้นได้ด้วยข้อความเดียวกันนี้ค่ะ กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านพระธัมมโรค่ะ (ท่านเสียชีวิตแล้ว) และกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่กาญจนา เชื้อทอง ที่กรุณานำมาลงไว้ค่ะ

ธรรมจากท่านพระธัมมโร (Alan Driver) เรื่องการเจริญสติปัฏฐาน

ถ. สภาพตึงไม่ค่อยปรากฏ ยกตัวอย่างสภาพเคร่งตึง

ธัม. ยกขึ้นมาแสดงอย่างไร ไม่ใช่เย็น ไม่ใช่ร้อน ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน แต่ปรากฏทางกาย ยังไม่ปรากฏ ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ใช่เย็นร้อน ไม่ใช่อ่อนแข็ง แล้วปรากฏทางกาย คือไม่ใช่ทางตา ไม่ใช่ทางลิ้น ไม่ใช่ทางจมูก ไม่ใช่ทางหู แล้วจะเป็นอะไร คิดว่าพอแล้ว คิดว่าคงจะใกล้เวลา

...........................

(หมายเหตุ: ความรู้สึกทางกายมีเย็น/ร้อน อ่อน/แข็ง ตึง/ไหว ดังนั้นถ้าความรู้สึกนั้นไม่ใช่เย็น/ร้อน อ่อน/แข็ง ความรู้สึกนั้นก็คือตึง/ไหว)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ