ขัอธรรมที่ยังไม่เข้าใจ

 
ผู้มีกิเลส
วันที่  15 ก.ค. 2556
หมายเลข  23181
อ่าน  3,205

ขอคำอธิบายเกี่ยวกับ อายตนะมีเท่าไหร่ ธาตุมีเท่าไหร่ อย่างละเอียดด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นเมื่อกล่าวถึงอะไร ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า สิ่งนั้น คือ อะไร แม้แต่ใน

ประเด็นคำถาม คือ คำว่า อายตนะ อายตนะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพ

ธรรมที่ประชุมกัน มีอยู่ ในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว

ก็เป็นธรรมที่มีจริงแต่ละหนึ่งๆ

อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

๑. จักขวายตนะ (จักขปสาทรูป) ๒. รูปายตนะ (รูปสี) ๓. โสตายตนะ (โสตปสาทรูป) ๔. สัททายตนะ (รูปเสียง) ๕. ฆานายตนะ (ฆานปสาทรูป) ๖. คันธายนะ (รูปกลิ่น) ๗. ชิวหายตนะ (ชิวหาปสาทรูป) ๘. รสายตนะ (รูปรส) ๙. กายายตนะ (กายปสาทรูป) ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ (ดิน ไฟ ลม) ๑๑. มนายตนะ (จิต ๘๙) ๑๒. ธัมมายตนะ (สุขุมรูป ๑๖
เจตสิก ๕๒ นิพพาน)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ธาตุ คือ สภาพที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ๑๘ อย่าง หมายถึง สภาพนามธรรม

และ รูปธรรม คือปรมัตถธรรม ๔ ซึ่งจำแนกโดยนัยของธาตุ ๑๘ ได้แก่

ปสาทรูป ๕ เป็นรูปธาตุ ๕๑. จักขุธาตุ (จักขุปสาท) ๒. โสตธาตุ (โสตปสาท) ๓. ฆานธาตุ (ฆานปสาท) ๔. ชิวหาธาตุ (ชิวหาปสาท) ๕. กายธาตุ (กายปสาท)

วิสยรูป ๗ เป็นรูปธาตุ ๕๖. รูปธาตุ (สี) ๗. สัททธาตุ (เสียง) ๘. คันธธาตุ (กลิ่น) ๙. รสธาตุ (รส) ๑๐. โผฏฐัพพธาตุ (ดิน ไฟ ลม)

จิต ๘๙ เป้นวิญญาณธาตุ ๗

๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ (จักขุวิญญาณ ๒ ดวง) ๑๒. โสตวิญญาณธาตุ (โสตวิญญาณ ๒ ดวง) ๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ (ฆานวิญญาณ ๒ ดวง) ๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง) ๑๕. กายวิญญาณธาตุ (กายวิญญาณ ๒ ดวง) ๑๖. มโนธาตุ (สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑) ๑๗. มโนวิญญาณธาตุ (จิต ๗๖ ดวง)

ธัมมธาตุมีทั้งนามทั้งรูป๑๘. ธัมมธาตุ (เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ซึ่งสำหรับสภาพธรรมที่เป็นอายตนะ 12 และ ธาตุ 18 มีข้อธรรมที่ไม่แตกต่างกัน

เลย คือ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นปรมัตถธรรม 4 คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน

ซึ่ง ธาตุ 18 จะมีการแจกรายละเอียดโดยเฉพาะ นามธรรม มากกว่า โดยนัยของ

อายตนะ ครับ

หากแต่ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรม โดยโวหารเทศนา โดยนัยต่างๆ เพื่อ

ประโยชน์ให้สัตว์โลก ที่สะสมอุปนิสัยมาแตกต่างกัน ได้เข้าใจ เช่น ผู้ที่ฟังธรรมโดย

นัย อายตนะ12 เข้าใจพระองค์ก็ทรง แสดงอายตนะ ถ้าผู้ใดฟัง ธาตุ 18 เข้าใจ

พระองค์ก็ทรงแสดงโดยนัย ธาตุ 18

ซึ่งพระพุทะเจ้าทรงแสดงเหตุผลไว้ดังนี้ ในการแสดงสภาพธรรมที่เหมือนกัน แต่

แสดงโดยชื่อแตกต่างกัน คือ

หากได้ศึกษาพระธรรม ก็จะเห็นชือ่ต่างๆ มากมาย ทั้ง อายตนะ ขันธ์ 5 อินทรีย์

ธาตุ 18 ซึ่งเหตุผลที่พระพุทธทรงแสดงพระธรรมโดยนัยต่างๆ นั้น เพื่ออนุเคราะห์สัตว์

ครับ เพราะ สัตว์โลกสะสมอุปนิสัยมาแตกต่างกัน คือ พระุพุทธเจ้าทรงแสดง แบ่ง

เหล่าสัตว์ออกเป็น 3 จำพวกดังนี้ ครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า

แบ่งสัตว์โลกเป็น 3 จำพวกดังนี้

ด้วยอำนาจความหลงงมงายในนาม ๑

ด้วยอำนาจความหลงงมงายในรูป ๑

ด้วยอำนาจความหลงงมงายในนามและในรูปทั้งสองนั้น ๑

บรรดาสัตว์ ๓ จำพวก เหล่านั้นสัตว์ผู้งมงายในนามจะรู้ เข้าใจ ขันธ์ ได้ เพราะแจก

นามไว้ ๔ อย่างในขันธ์นั้นๆ สัตว์ผู้งมงายในรูป จะรู้ เข้าใจ อายตนะ ได้เพราะแจกรูป

ไว้ ๑๐ อย่าง กับอีกครึ่งอายตนะ ฯ (เพราะ ธัมมายตนะ มีทั้งนามธรรม และ รูปธรรม)

สัตว์ผู้งมงายในนามและรูปทั้งสอง จะรู้ เข้าใจ ธาตุ ได้เพราะแจกนามและรูป แม้ทั้ง

สองไว้ในจำพวก ธาตุ นั้น โดยละเอียด

ธรรมคือสิ่งที่มีจริง มีจริงเพราะมีลักษณะให้รู้ได้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็คือสภาพ

ธรรมที่มีจริง มีลักษณะให้รู้ ซึ่งก็ไม่พ้นจาก จิต เจตสิก รูป พระพุทธองค์ทรงแสดง

และจำแนกหลากหลายนัยทั้งที่เป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งๆ ที่ความจริงๆ แล้วก็คือ

สภาพธรรมนั่นเอง เหตุผลที่ทรงแสดงหลากหลายนัยเพราะว่าสัตว์โลกมีอัธยาศัยต่างๆ

กันไป บางคนสามารถเข้าใจธรรมด้วยนัยของขันธ์ 5 บางคนก็เข้าใจด้วยนัยที่เป็นธาตุ

หรือ อายตนะ

การอบรมปัญญาที่ถูกต้อง คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง โดยไม่ได้

เลือกว่าจะรู้ขันธ์ จะรู้อายตนะ จะรู้ธาตุเพราะขณะใดที่สติเกิดระลึกลักษณะของ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ขณะนั้นก็รู้ความเป็นขันธ์ ธาตุและอายตนะแล้ว ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

ความจริงแห่งชีวิต...ตอนที่ ๑๖๖ อายตนะ ๑๒. ธาตุ ๑๘ ฯ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้มีกิเลส
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ขอบคุณในความกระจ่างธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่การจำได้ว่าอายตนะมีเท่าไหร่ ธาตุมีเท่าไหร่ แต่ประโยชน์อยู่ที่

ความเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ถ้าไม่อาศัยพระธรรม

คำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจะไม่สามารถเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็น

จริงได้เลย แม้จะมีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลาก็ตามทั้งอายตนะ และ ธาตุ ต่างก็

แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมแต่ละอย่างโดยไม่ปะปนกัน เช่นขณะที่เห็นเพียง

แค่ขณะเดียวนี้ มีสภาพธรรมประชุมพร้อมกันมากมายทีเดียว ทั้งสีที่กำลังปรากฎ

จิตเห็นที่กำลังทำกิจเห็น เจตสิก ๗ ประเภท คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา

ชีวิตินทรีย์ มนสิการะ เกิดพร้อมกับจิตเห็นทำกิจหน้าที่ของตนๆ และจะต้องมีจักขุปสาท-

รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตเห็น นี้คือ แสดงโดยความเป็นอายตนะ คือสภาพธรรมที่ประชุม

พร้อมกันในขนะที่จิตกิดขึ้นรู้อารมณ์ และสภาพธรรมแต่ละอย่างก็เป็นธาตุด้วย คือ

เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์

เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นจริงแต่ละหนึ่ง โดยไม่ปะปนกัน กล่าวคือ จิตเห็น เป็นธาตุ

อย่างหนึ่ง สี เป็นธาตุอย่างหนึ่ง จักขุปสาทะ เป็นธาตุอย่างหนึ่ง เจตสิก ๗ ประเภท

ก็เป็นธาตุแตะละหนึ่ง ซึ่งไม่ปะปนกันเลย นี้ก็เป็นการศึกษาเรื่องอายตนะ เรื่องธาตุโดย

ไม่ไปติดที่จำนวน ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูก ขัดเกลาความไม่รู้ ละคลายความ

เห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 15 ก.ค. 2556

อายตนะ คือ บ่อเกิดของ ตา หู จมูก ลื้น กาย ใจ ธาตุ หมายถึงสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่ง

ลักษณะของตนเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 16 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 9 ก.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ