เรียนถามเรื่อง ... ความไม่มีเรา ...

 
tanapat
วันที่  30 ก.ค. 2556
หมายเลข  23269
อ่าน  978

ระหว่างการคิดเอา โดยการย้ำคิดเรื่อยๆ ว่า ตัวเราไม่มี ทุกอย่างเป็นธรรมะ จน วันหนึ่งจิตเกิดยอมรับและเชื่อสนิทใจว่าไม่มีเรา ... กับการอบรมเจริญปัญญา ด้วย การฟังธรรมและสะสมความรู้ความเข้าใจในสภาพธรรม จนจิตยอมรับและละคลาย ตัวตน ละสักกายะทิฐฐิได้ ...

ทั้งสองแบบ ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การคิดเอาโดยย้ำคิดเรื่อยๆ ว่า ตัวเราไม่มี ทุกอย่างเป็นธรรม ก็เป็นเพียงความคิด ไม่ใช่ขณะที่สติปัญญา รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา กล่าวคือสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมนั่นเอง ซึ่งจะต้องอาศัยการอบรม เจริญปัญญา ด้วยการฟังธรรมสะสมความเข้าใจในสภาพธรรมที่มีจริง และเพราะมี การฟัง มีการศึกษาก็ย่อมจะเป็นเหตุให้มีการคิดพิจารณาไตร่ตรองในสิ่่งที่ได้ยินได้ฟัง ได้ โดยไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่

ไม่มีเรา แต่มีธรรม มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป เพราะยังไม่มีความเข้าใจถูก เห็นถูกตั้งแต่ต้น จึงยังไม่สามารถขัดเกลา ละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ได้เลย แต่เมื่ออาศัยการฟัง การศึกษาการพิจารณาไตร่ตรองตามพระธรรมที่ได้ยินได้ ฟังว่า แต่ละขณะๆ นั้น มีแต่ธรรมเท่านั้นจริงๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไปไม่มีเราแทรกอยู่ในธรรม เหล่านั้นเลย ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม จะไม่มีทางเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริง ตามความเป็นจริงได้เลย

ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขณะว่าเป็นสิ่งที่มี จริง ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ดีใจ เสียใจ ติดข้องยินดี พอใจ หงุดหงิดโกรธขุ่นเคือง ไม่พอใจ เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด เกิดแล้วดับแล้ว จะเป็นเรา หรือ เป็นของของเราได้อย่างไร และที่น่าพิจารณา คือ ธรรม ไม่ได้หมายถึงเพียงสภาพธรรมฝ่ายดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายรวมถึง สิ่งที่มีจริงทั้งหมด ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปนั้นไม่พ้นไปจากธรรมเลย ทุกขณะ เป็นธรรม มีจิต เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และรูป เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอด เวลา จิต เจตสิก รูปนั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ที่ไม่ เที่ยงนั้นเพราะเกิดแล้วดับไป สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไปนั้นเป็นทุกข์ เป็นทุกข์ เพราะเหตุว่าตั้งอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา และเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ปัญญาเท่านั้น ที่จะทำกิจหน้าที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ การศึกษา ธรรม เป็นการศึกษาถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพื่อเข้าใจ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เนื่องจากคุ้นเคยกับความเป็นตัวตน คุ้นเคยกับความ เป็นเรา พร้อมทั้งได้สะสมความไม่รู้มาอย่างเนิ่นนาน จึงหลงยึดถือสภาพธรรมที่กำลัง ปรากฏว่าเป็นต้วตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา

ดังนั้น ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น จึงควรที่จะศึกษา เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อ ละคลายความไม่รู้ ละความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ได้ในที่สุด โดยเริ่มต้นสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ในขณะนี้ เมื่อไม่ขาดการฟัง การศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวันแล้ว ความเข้าใจถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

การศึกษาธรรมะต้องไม่มีตัวเรา ของเรา ใช่ไหม

กว่าที่จะไม่มีเรา

ฟังเพื่อเข้าใจถูกว่า ไม่ใช่เรา

ไม่มีเรา

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความแตกต่างย่อมมีเพราะ เป็นความแตกต่างระหว่างระดับปัญญาที่แตกต่างกัน และ แตกต่างกัน ระหว่าง กิเลสที่ยังมี กับ กิเลสที่ไม่มีแล้ว ที่เป็นความเห็นผิด ครับ ซึ่งการคิดว่าไม่มีเรา ไม่มีสัตว์บุคคล เป็นแต่เพียงธรรม เป็นการคิดถูก ที่เป็นปัญญา ระดับคิดนึก แต่ ปัญญาระดับนี้ ไม่สามารถละกิเลส คือ สักกายทิฏฐิ ความยึดถือว่า เป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลได้

เพราะฉะนั้นดังนั้นที่กล่าวว่า ทำให้จิตยอมรับและเชื่อสนิท ใจว่า ไม่มีสัตว์ บุคคลจริงๆ ในความเป็นจริงด้วยปัญญที่คิดนึกอย่างนี้คงไม่สามารถ ทำให้จิตยอมรับ เชื่อว่า ไม่มีสัตว์ บุคคลจริงๆ เพราะเหตุว่าการเชื่อยอมรับ จะต้องเป็น ปัญญาระดับสูง ที่ประจักษ์สภาพธรรมที่ไม่ใช่การคิดนึก และถึงปัญญาที่เป็นระดับ มรรคจิต ผลจิต จนสามารถละกิเลสที่เป็นความเห็นผิดได้หมดสิ้น เมื่อละกิเลสที่เป็น ความเห็นผิด ที่เป็นพระโสดาบันอย่างนี้จริงๆ จิตยอมรับในความหมายที่ว่า ย่อมไม่เกิด ความยึดถือว่ามีสัตว์ บุคคลอีก ไม่มีการเกิดขึ้นของจิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิดครับ นี่ชื่อว่า เป็นการยอมรับด้วยปัญญา เพราะดับกิเลสที่เป็นควาเมห็นผิด

เพราะฉะนั้น ปัญญาที่คิดนึก ที่ควรพิจารณา คือ ขณะที่คิดนึกถึงสภาพธรรม ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่เป็นการแสดงถึงความเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคลจริงๆ ก็ยังมีตัว เราที่คิดนึกอยู่อีกนั่นเอง เพราะไม่ได้ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมทีละขณะ ที่ เป็นการเจริญหนทางที่ถูกต้องคือ การเจริญสติปัฏฐานที่ไม่ใช่การคิดนึก ครับ ส่วนการฟังพระธรรมให้เข้าใจ จนละสักกายทิฏฐิได้นั้น ก่อนจะถึงการละ ความ ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ขณะนั้นเป็น สุตมยปัญญา เป็น ปัญญาที่สำเร็จจากการฟัง และ เมื่อฟังเข้าใจแล้ว ก็มีการคิดนึกถึงเรื่องสภาพธรรม คิดถูก ตามที่ประเด็นแรกได้กล่าวไว้ คือ คิดถูกว่าขณะนี้เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งเป็นจินตามยปัญญา และ เมื่อสะสมปัญญาความเข้าใจมากขึ้น ก็ย่อมถึงปัญญาที่ เป็นภาวนามยปัญญา ที่เป็นขณะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มี ในขณะนี้ว่าเป็นแต่ เพียงธรรมไม่ใช่เรา ที่เป็นสติปัฏฐานเกิดขึ้นนั่นเอง ครับ

อันมีการฟัง สุตมยปัญญา การคิดถูก และ จินตามยปัญญาเป็นรากฐานให้เกิดสติปัฏฐาน รู้ความจริงของสภาพ ธรรมที่มีในขณะนี้ครับ และเมื่อเจริญสติปัฏฐาน อบรมมากขึ้น ย่อมถึงวิปัสสนาญาณ ตามลำดับขั้น จนถึงมรรคจิต ที่สามารถละกิเลส ละความเห็นผิดได้ ในขณะนั้นย่อมไม่ เกิด ความเห็นผิดเกิดขึ้นอีกเลย อันเป็นการยอมรับ คือ ไม่มีการยึดถือว่ามีสัตว์ บุคคล โดยสิ้นเชิงครับ เพราะฉะนั้น ทั้งสองอย่าง ทั้งการคิดถูกว่าไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล กับ การละความเห็นผิดได้จริงๆ นั้น ก็เกี่ยวเนื่องกัน เพราะอาศัยการฟัง ย่อมคิดถูก เพราะคิดถูก ทำให้เกิดสติปัฏฐาน และ ทำให้ถึงการละความเห็นผิดได้ ครับ

ดังนั้น การเจริญอบรมปัญญาในพระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่เรื่องของความรู้สึก แต่เป็นเรื่อง ของความรู้ ที่เป็นปัญญาเป็นสำคัญ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 30 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 31 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ