ขอความรู้ค่ะ
1."สังขาร" ในขันธ์ 5 คืออะไรในปรมัตถธรรม 4 คะ ขอคำอธิบายค่ะ
2."นิพพาน"เป็นสภาพธรรมที่มีอยู่แล้ว แต่เรามองไม่เห็นเนื่องจากถูกอวิชชาปิดบัง
เอาไว้ หรือเป็นสภาพธรรมที่จะบังเกิดขึ้นเมื่อหมดอวิชชาคะ
ขอบพระคุณในความเมตตาอธิบายค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สังขาร มีหลายความหมาย และ หลากหลายนัย ครับ
สังขาร หมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นและดับไป ชื่อว่า
สังขาร และ สังขาร ยังหมายถึงนัยอื่นอีก คือ สภาพธรรมที่ปรุงแต่ง ก็ชื่อ สังขาร
แต่จะปรุงแต่งอะไรนั้นก็แล้วแต่ว่า จะใช้กับในส่วนใด ก็มุ่งหมายถึงในส่วนนั้น เพราะ
ฉะนั้น ถ้ากล่าวถึง คำว่า สังขาร หรือ สังขารธรรม จะกินความหมายกว้าง หมายถึง
สภาพธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นและดับไป มีการปรุงแต่ง สังขารธรรม จึงรวมทั้ง จิต
เจตสิก และรูป
ส่วน สังขารขันธ์ คือ กองสังขาร , กองแห่งธรรมที่มีสภาพปรุงแต่ง หมายถึง
เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นเวทนาเจตสิกและสัญญาเจตสิก) ซึ่งมีสภาพปรุงแต่งทำให้
จิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในชาติกุศล อกุศล วิบาก หรือชาติกิริยาเพราะฉะนั้น สังขารขันธ์
จึงมุ่งหมายถึง เจตสิกปรมัตถ ที่เป็นเจตสิก 50 ดวงเท่านั้น ครับ
-------------------------------------
2."นิพพาน"เป็นสภาพธรรมที่มีอยู่แล้ว แต่เรามองไม่เห็นเนื่องจากถูกอวิชชาปิดบัง
เอาไว้ หรือเป็นสภาพธรรมที่จะบังเกิดขึ้นเมื่อหมดอวิชชาคะ
นิพพาน รวมทั้งสภาพธรรมอื่นๆ ทั้ง จิต เจตสิก รูป ไม่ได้มีอยู่แล้ว รอที่จะไปรู้
แต่ สภาพธรรมเหล่านี้ มีเหตุปัจจัย จึงจะรู้ได้ เช่น พระนิพพาน ก็เป็นสภาพธรรมที่
มีจริง ที่ไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป ไม่มีจิต เจตสิก รูป อยู่ในนั้น เที่ยง หากแต่ว่า จะ
รู้พระนิพพาน ก็ต่อเมื่อ มีปัญญาขั้นสูง ที่เป็นระดับโลกุตตรธรรม เช่น มรรคจิต 4
ผลจิต 4 เกิดขึ้น ขณะนั้น ก็มีนิพพานให้รู้ในขณะนั้น หากไม่มีการเกิดขึ้นของจิตที่
เป็นระดับโลกุตตระ ก็ไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ครับ
ส่วนอวิชชา เป็นสภาพธรรมที่ปกปิด ไม่ให้รู้ความจริง เมื่อมีอวิชชา ย่อมไม่เห็น
นิพพาน ไม่เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงทั้งหลาย แต่เมื่อปัญญาเกิด ย่อมเห็น
สภาพธรรมตามความเป็นจริง และเมื่อเกิดปัญญาระดับโลกุตตระ ย่อมเห็นพระนิพพาน
ตามความเป็นจริง ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
-ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องมันคงแล้ว ก็จะไม่สับสนกับคำที่ได้ยินได้ฟัง แม้คำว่า
สังขาร เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว สังขาร ได้แก่ สภาพธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยปรุงแต่ง
ครอบคลุมธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด ที่เป็นจิต เจตสิก รูป หรือประมวลรวม
เรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ปรมัตถธรรม ๓ (จิต เจตสิก รูป) บางนัย มุ่งหมายถึง เจตนา
เจตสิก ที่เป็นตัวกรรม ปรุงแต่งอย่างยิ่ง และบางนัย มุ่งหมายถึง สังขารขันธ์ ได้แก่
เจตสิก ๕๐ ซึ่งไม่พ้นไปจากขันธ์เลย เพราะเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับ
ไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ๕๐ ประเภท ที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิต ธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายแต่
มีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่มีจริงแต่ละหนึ่ง
โดยไม่ปะปนกัน ตัวอย่างของสังขารขันธ์ เช่น โลภะ ความติดข้องต้องการ เมื่อเกิด
ขึ้นก็ปรุงแต่งจิตเป็นอกุศลให้ติดข้องต้องการ โทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ
ปรุงแต่งจิตให้เป็นอกุศล ทำให้ไม่พอใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าเป็นสังขารขันธ์ฝ่ายดี
เช่น ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น ก็ปรุงแต่งให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดีงาม เป็นกุศล น้อม
ไปในทางที่ถูกที่ควร ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจ
บังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น
-พระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง แสดงถึงความเป็นจริงทั้งหมด เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม และ รูปธรรม, สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่นามธรรม ก็เป็นรูปธรรมทั้งหมด นามธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ นามธรรมที่รู้อารมณ์ได้แก่ จิต และ เจตสิก และนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ได้แก่ พระนิพพาน ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ แต่มีจริง พระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เท่านั้นที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพานได้ ซึ่งถ้าไม่ได้อบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับ
ตามหนทางที่ประเสริฐคืออริยมรรคแล้ว ไม่มีทางที่จะรู้แจ้งพระนิพพานได้เลย ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
"พระนิพพาน ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่ไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป ไม่มีจิต เจตสิก
รูป อยู่ในนั้น หากแต่ว่า จะรู้พระนิพพาน ก็ต่อเมื่อ มีปัญญาขั้นสูง ที่เป็นระดับโลกุตตร
ธรรม"
หากตีความตามนี้ นิพพานก็เป็นสภาพธรรมที่มีอยู่แล้วจริง แต่จะรู้ได้ ก็ต่อเมื่อมีปัญญา
ขั้นสูงถึงระดับโลกุตรธรรม...ถูกไหมคะ
ดิฉันขอเรียนถามอีกเรื่องค่ะ
จิต เจตสิก เกิดดับต่อเนื่องตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ แม้ในเวลาหลับ ตามที่มีผู้เมตตาให้
ความรู้ไว้ก่อนหน้านี้ ดิฉันพิจารณาเห็นจริงดังนั้นแน่นอน ดิฉันอยากทราบว่าคนที่นั่ง
สมาธิจนจิตนิ่งนั้น นิ่งอย่างไร การเกิดดับที่เกิดต่อเนื่องนั้นมีแต่จิตกับอุเบกขาเจตสิก
อย่างเดียวเกิดต่อเนื่อง อย่างนั้นหรือคะ กรุณาให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้วยค่ะ สำหรับคน
ที่จับจิตให้นิ่งเฉยๆ ไม่ได้อย่างดิฉัน
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะที่เมตตา
การอบรมปัญญา ไม่ใช่ด้วยการทำจิตให้นิ่ง เพราะการรู้ความจริง ด้วย
ปัญญาไม่ใช่ด้วยการนั่งสมาธิ ครับ ดังนั้น ขอให้เริ่มจากการฟังให้เข้าใจ
โดยเฉพาะในหนทางการอบรม ปัญญา ครับ
เชิญกอ่านที่นี่ครับ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงในเมตตาที่ทุกท่านมีให้ด้วยการอธิบายและแนะนำเพิ่มเติม
เข้าใจแล้วค่ะ และคิดว่าดิฉันน่าจะเดินไปในแนวทางนี้ได้ คือ คิด ไตร่ตรอง พิจารณา
ธรรมะไว้เสมอ ดิฉันไม่เหมาะกับการนั่งนิ่งๆ ด้วยค่ะ จิตไวเป็นลิง เลยหันมาพิจารณา
แทน วันนี้ทราบว่าไม่ผิด เป็นแนวทางที่ถูกแล้ว ก็จะเดินต่อไป เพราะเหมาะกับตนเอง
ด้วยค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิต เมตตาจิตของทุกท่านนะคะ
มีอีกคำถามค่ะ ของท่านความเห็นที่2
สังขาร..."บางนัย มุ่งหมายถึง เจตนาเจตสิก ที่เป็นตัวกรรม ปรุงแต่งอย่างยิ่ง"
...
ดิฉัน สนใจเรื่อง"กรรม"ค่ะ
บางครั้งแม้เราคิดดี และเข้าใจว่าทำดี ก็ก่อกรรมได้ หรือแม้พระพุทธเจ้า ในอดีตชาติ
ที่เป็นนายช่างทอง ไปซื้อทองตัดหน้าพระเทวทัตในอดีตชาติ ก็ก่อกรรมทำให้
พระเทวทัตจองเวรข้ามภพข้ามชาติ
ขอรบกวนท่านเมตตาอธิบายเพิ่มเติมประเด็นนี้ด้วยค่ะ
เรียนความเห็นที่ 6 ครับ
ขณะที่เป็นกรรม คือ ขณะที่ทำกุศลกรรม อกุศลกรรม มีการทำ บุญกิริยาวัตถุ 10
หรือฝ่ายอกุศล คือ การล่วงศีล 5 ก็จะเป็นกรรมที่ทำให้เกิดวิบาก คือ ผลของกรรมได้
หากแต่ว่า ในเรื่องของพระเทวทัต ที่พระโพธิสัตว์ ไปซื้อถาดทองมานั้น พระเทวทัต
ผูกโกรธ เป็นอกุศลจิตของพระเทวทัต ส่วนการจะได้รับกรรมดี ไม่ดีของพระโพธิสัตว์
ก็ไม่ได้อยู่ที่การผูกโกรธของพระเทวทัต แต่ขึ้นอยู่กับ กรรมของพระโพธิสัตว์เองว่า
ทำกรรม ดี หรือ ไม่ดี ครับ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน ขออนุโมทนา ครับ
น่าสนใจ แต่ยังไม่เข้าใจชัดเจนค่ะ
"พระเทวทัตผูกโกรธ เป็นอกุศลจิตของพระเทวทัต ส่วนการจะได้รับกรรมดี ไม่ดี
ของพระโพธิสัตว์ ก็ไม่ได้อยู่ที่การผูกโกรธของพระเทวทัต แต่ขึ้นอยู่กับกรรมของพระ
โพธิสัตว์เองว่าทำกรรม ดี หรือ ไม่ดี ครับ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน"
..."การจะได้รับกรรมดี ไม่ดีของพระโพธิสัตว์ ก็ไม่ได้อยู่ที่การผูกโกรธของพระ
เทวทัต" ...จุดนี้ ไม่เข้าใจค่ะ ก็พระเทวทัต เป็นผู้กระทำต่อพระพุทธเจ้า...
แม้พระพุทธเจ้าอาจมีกรรมไม่ดีเองที่ติดมาจากอดีตชาติ ประเด็นนี้ สามารถเข้าใจได้
แต่ประเด็นที่ (ดิฉันแปลความได้ว่า) "ไม่เกี่ยวเนื่องกับที่ทำให้พระเทวทัตผูก
พยาบาท"..จุดนี้ ไม่เข้าใจค่ะ
รบกวนเมตตาขยายความด้วยนะคะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนความเห็นที่ 8 ครับ
ควรเข้าใจครับว่า สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของๆ ตน กรรมของใคร จะมาให้เกิด
ของใครไม่ได้ ดังนั้น ความผูกโกรธ เป็นอกุศลจิตของพระเทวทัต แต่การที่พระโพธิ
สัตว์ ได้รับสิ่งที่ไม่ดี จากการสมมติว่า พระเทวทัตทำ ไม่ใช่ผลจากการผูกโกรธของ
พระเทวทัต แต่เพราะ อกุศลกรรมที่พระโพธิสัตว์ได้ทำมา กรรมใดกรรมหนึ่ง ที่เป็น
อกุศลกรรมของท่านเอง
หากว่า พระโพธิสัตว์ไม่มีอกุศลกรรมให้ผล พระเทวทัตจะปองร้าย หรือ ผูกโกรธ
อย่างไรก็ทำไม่ได้ อย่างเช่น เมื่อพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เอาช้าง มาจะทำร้าย
เอานายขมังธนู หากอกุศลกรรมไม่ให้ผล ก็ทำร้ายพระพุทธเจ้าไม่ได้ แต่พระเทวทัต
กลิ้งหิน สะเก็ดหินถูกพระองค์ ไม่ใช่เพราะความผูกโกรธของพระเทววัต ทำให้
พระพุทธเจ้า โดนสะเก็ดหิน เพราะอกุศลจิตของใครก็ของคนนั้นแต่ เพราะกรรมที่เป็น
อกุศลกรรมของพะพุทธเจ้า ที่ฆ่าพี่น้องชายตนเองด้วยหิน เป็นต้น ให้ผล ทำให้ตนเอง
โดนสะเก็ดหิน ครับ เพราะ อกุศลกรรมของตนเอง ให้ผล ไม่เกี่ยวกับความผูกโกรธ ที่
เป็นอกุศลจิตของใครมาให้ผล ครับ
ขออนุโมทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ 465
ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่-น้อง ชายต่างมารดากัน เพราะเหตุแห่งทรัพย์ จับโยนลง ในซอกเขาแล้วเอาหินทับถม ด้วยวิบากกรรมนั้น พระเทวทัตจึงกลิ้งหิน สะเก็ดหินจึงกลิ้งมากระทบ นิ้วหัวแม่เท้าเรา
สาธุ สาธุ..นี่เป็นคำตอบที่ทำให้ดิฉันรู้สึกโล่งใจขึ้น
ดิฉันรู้น้อย อ่านน้อย เข้าใจน้อย จับแพะชนแกะ แล้วก็สงสัยไปหมด ขัดข้องไปหมด
คำตอบนี้ อย่างน้อยก็ทำให้ดิฉันหมดความสับสนเรื่องผลของกรรมดี ไม่ดี และเรื่อง
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน
ขอบพระคุณอย่างสูงที่เมตตาอธิบายค่ะ
มีคำถามเพิ่มค่ะ เรื่องจิตและเจตสิก
'เจตสิกเกิดที่เดียวกับจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมกับจิต'
ดิฉันสงสัยว่าเจตสิกจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิต คือ แต่ละประเภทของเจตสิกก็คือประเภทของจิตนั่นแหละ (ดิฉันทราบว่ามีการแบ่งจิตเป็นกี่ประเภท เช่น จิตได้ยิน จิตรู้เสียงฯ) หรือพูดได้ว่า (ดิฉันพูด) เจตสิดก็คือลักษณะหรือคุณสมบัติของจิตนั่นเอง เช่น จิตวิตก จิตคิด ซึ่้งจิตหนึ่งดวงมีหลายคุณสมบัติได้พร้อมๆ กัน คือจิต 1 ดวง อาจเกิดเจตสิกมากกว่า1 อย่างก็ได้
หากไม่ใช่อย่างที่ดิฉันคิดนึกสรุปเอาเอง จะมีวิธีพิจารณาอย่างไร จึงจะเห็นได้ว่าจิตเป็นสิ่งหนึ่ง เจตสิกเป็นอีกสิ่งหนึ่งคะ
เรียนความเห็นที่ 12 ครับ
จิต เป็นใหญ่ในการรู้เท่านั้น ทำหน้าที่รู้ แต่ ในชีวิตประจำวัน รู้อย่างเดียวไม่ได้
จึงมีสภาพธรรมอย่างอื่น ทำให้เป็นไปในลักษณะต่างๆ เช่น โกรธ ก็เป้นเจตสิก
ที่เป็นโทสเจตสิก เกิดร่วมกับ จิต จึงเรียกว่า โทสะมุลจิต แต่ จิตที่เป็นโทสะ
ทำหน้าที่รู้เท่านั้น แต่ หน้าที่โกรธ คือ เจตสิก ที่เป็นโทสเจตสิก เช่นเดียวกับ
ความคิดที่ถุกต้อง ปัญญา ก็เป็นเจตสิก ปัญญาเจตสิกเกิดขึ้น ทำหน้าที่รู้ตาม
ควาเมป็นจริง แต่ ต้องอาศัยจิตจึงเกิดได้ ครับ จิต กับ เจตสิก จึงเป็นสภาพ
ธรรมคนละอย่างกัน ครับ ขออนุโมทนา