สหชาตาธิปติปจจย

 
ดวงทิพย์
วันที่  12 ก.ย. 2556
หมายเลข  23583
อ่าน  1,241

อธิปติปัจจัย (ซึ่งเป็น ปจจยที่ ๓ ใน ๒๔ ปจจย) ... แบ่งเป็น ๒ ประเภท

คือ ๑. สหชาตาทิปติ ....ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา (ปัญญา)

รบกวนถามคะขอคำอธิบายความหมายของคำ "สหชาตาธิปติ"

๒. ฉันทะ วิริยะ ที่เป็นใหญ่ในการเกิดของจิต เจตสิก.....

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ แต่ในส่วนของจิตตะ และวิมังสา ที่เป็นอธิบดี นั้นเป็นอย่างไรคะ ขอคำอธิบายเพิ่ม และขอตัวอย่างในชีวิตประจำวันเพื่อประกอบความเข้าใจด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขอคำอธิบายความหมายของคำ "สหชาตาธิปติ"

อธิปติ หมายความถึงธรรมที่เป็นหัวหน้า เป็นธรรมที่ชักจูงให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น และเป็นไปตามกำลังของตน.

ส่วนคำว่า สหชาตาธิปติ หมายถึง ธรรมที่เป็นหัวหน้า ที่ชักจูงให้สภาพธรรมที่เกิด ร่วมกันเป็นไปตามกำลังของตน

๒. ฉันทะ วิริยะ ที่เป็นใหญ่ในการเกิดของจิต เจตสิก ... ..พอจะเข้าใจแล้วค่ะ แต่ในส่วนของ จิตตะ และวิมังสา ที่เป็นอธิบดี นั้นเป็นอย่างไรคะ ขอคำอธิบายเพิ่ม และขอตัวอย่างในชีวิตประจำวันเพื่อประกอบความเข้าใจด้วยค่ะ

จิตตะ ใน สหชาตธิปติปัจจัย ตามที่ได้ฟังคำบรรยายจากท่านอาจารย์สุจินตต์ อธิบายว่า เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิตที่มีกำลังในความมั่นคงในการเจริญกุศล ซึ่ง เป็นตัวอย่างในชีวิตประจำวัน บางคราวมีความตั้งใจ ด้วยจิตที่ตั้งใจที่จะทำดีใน ขณะนั้น โดยไม่ได้มีลักษณะของฉันทะ วิริยะ และ ปัญญาที่มีกำลัง ครับ

เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ได้ในเรื่องนี้ ครับ

จิตตะ กับ สหชาตาปธิปติปัจจัย - บ้านธัมมะ

ส่วน วิมังสา ที่หมายถึง ปัญญา ที่เป็น สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ชักจูงสภาพธรรมที่ เกิดร่วมกันในขณะนั้น ที่เป็น สหชาตาธิปติปัจจัย ซึ่ง กุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ที่มีกำลัง เช่น ขณะที่สติปัฏฐานเกิด วิปัสสนาญาณเกิด ฌานจิตเกิด เป็น วิมังสา ที่ เป็นอธิปติปัจจัยในขณะนั้น ที่เป็น สหชาตาธิปติปัจจัย ครับ

เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ได้ในเรื่องนี้ ครับ

วิมังสา หรือ ญานสัมปยุต

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 12 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โดยความหมายของสหาชาตาธิปติ คือ สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในหมู่ของสหชาตธรรม ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกัน สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในขณะนั้น จะต้องเป็นสภาพธรรม หนึ่งสภาพธรรมใด ในสหชาตาธิปติปัจจัย ๔ คือ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (จิตที่มีกำลัง ประกอบด้วยเหตุ ๒ ขึ้นไป) และ วิมังสา คือ ปัญญา ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่โลภมูลจิตเกิดขึ้นนั้น เป็นอกุศลจิต ขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้น ไม่มีปัญญาอย่างแน่นอน ก็ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้น จะมีฉันทะ เป็นใหญ่ หรือ มีวิริยะ เป็นใหญ่ หรือ มี จิตตะ เป็นใหญ่

จิตตะ เป็นจิตที่มีกำลัง เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศล ก็ได้ แต่ถ้าเป็นวิมังสา (ปัญญา) แล้ว เป็นโสภณธรรม เท่านั้น จะไม่เกิดกับจิตชาติอกุศลเลย ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ ฯ ได้ที่นี่ครับ

สหชาตาธิปติปัจจัยกับกิจการงานในชีวิต

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ..

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 12 ก.ย. 2556

เป็นความเป็นใหญ่ของสภาพธรรมนั้น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 13 ก.ย. 2556

เริ่มเข้าใจเพิ่มขึ้นแล้วคะ

ขอบพระคุณคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 13 ก.ย. 2556

คลิกฟังตามที่ลิ้งให้แล้วมีคำถามคะ...ที่ท่านอาจารย์บอกว่า โมหะสองดวงและจิตยิ้มของพระอรหันต์นั้นไม่มีอธิปติปัจจัย....เพราะอะไรคะ

ขอบพระคุณคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

โมหะ สองดวงไม่เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยเพราะ ประกอบด้วยเหตุ เดียวจึงไม่มีกำลัง คือ ประกอบด้วยโมหเจตสิกเท่านั้น ไม่เป็นใหญ่ พอที่จะชักจูงสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย ส่วน หสิตุปาทจิตของพระอรหันต์เกิดที่ชวนจิต แต่เป็นจิตที่ เป็นอเหตุก ไม่ประกอบด้วยเหตุ จึงไม่เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยเพราะ จะเป็นได้จิตนั้นต้องประกอบก้วยเหตุอย่่างน้อย สองเหตุ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 13 ก.ย. 2556

ขออนุญาติถามต่อนะคะ

โมหะสองดวงนั้น คือ อะไรบ้างคะ

ฉันทะเป็นสหชาตปัจจัยนั้น ประกอบด้วยเหตุสอง...คืออย่างไรคะที่ว่าเหตุสองจึงจะมีกำลังพอที่จะทำให้ฉันทะเป็น สหชาตทิปติปัจจัย...มีอะไรบ้างคะที่ว่าสอง

อีกคำถามค่ะ

ไม่เข้าใจที่ว่า "ฉันทะ เป็นสหชาตปัจจัยของ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา...จิต"

ไม่เข้าใจตรงทีว่าฉันทะเป็นสหชาตปัจจัยของวิบากจิตได้อย่างไรคะ เพราะวิบากจิตนั้นเป็นผล คือ จิตที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย....แล้วจะมีฉันทะเป็นหัวหน้าได้อย่างไรคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ