ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๐๙

 
khampan.a
วันที่  22 ก.ย. 2556
หมายเลข  23672
อ่าน  1,606

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรม จากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้

[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๐๙]

[1] การถือเอาของบุคคลที่ไม่ได้ให้มาเป็นของตน เพราะความปรารถนา ความต้อง การเพียงชั่วครู่ ชั่วยาม ที่คิดว่าจะได้รับความสุขความพอใจเพราะวัตถุทรัพย์สมบัติ เหล่านั้น แต่เจตนาที่เป็นอกุศลที่ทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน จะให้ผลคือทำให้ตนเอง ได้รับความทุกข์เดือดร้อน ทรมานอย่างสาหัสในภูมินรก ซึ่งก็ไม่ใช่บุคคลอื่นทำให้ แต่อกุศลกรรมของตนเองนำมาซึ่งวิบากนั้น

[2] พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ และทรงแสดงเป็นขณะ และเป็นสมัยที่ยาก ที่จะมีได้ ถ้าหากบุคคลหนึ่ง บุคคลใดเกิดในนรก เป็นเปรต เป็นสัตว์ดิรัจฉานใน อบายภูมิที่ไม่สามารถที่จะฟังเข้าใจในอรรถ ในธรรม ไม่สามารถที่จะอบรมเจริญ ปัญญา ให้รู้ชัดในสภาพธรรมความเป็นจริงได้ ขณะนั้นก็เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ใช่ ขณะ ไม่ใช่สมัยในการที่จะได้อบรมธรรมซึ่งการที่จะรู้ธรรม ก็เป็นเรื่องที่ยากและ ละเอียดจริงๆ

[3] การที่จะให้มีความเข้าใจธรรมละเอียดชัดเจนนั้น ก็ต้องอาศัยการเสพให้ คุ้น คือ ฟังบ่อยๆ

[4] เพียงแต่ฟังก็ไม่พอ ถ้าจะมีอะไรที่ข้องใจสงสัย ก็ควรที่จะได้ถามเพื่อให้หาย ความสงสัย ให้หายความข้องใจ เพื่อที่จะได้รู้ชัดในความละเอียดแยบคายของ ธรรมยิ่งขึ้นด้วย

[5] อะไรจะดับกิเลสได้ ถ้าไม่ใช่ปัญญาที่รู้สภาพธรรมที่ถูกต้องตรงตามความจริง

[6] การที่ท่านจะได้รับประโยชน์จากธรรมจริงๆ ต้องเกิดจากการเข้าใจธรรมที่ได้ยิน ได้ฟัง ถ้าท่านเห็นว่าธรรมมีประโยชน์แน่ ทำให้ท่านสามารถจะเข้าใจในเรื่องของ ธรรม ในเรื่องของชีวิต ในเรื่องของตัวท่านถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เมื่อปัญญา เกิดขึ้นแล้ว กิเลสก็ย่อมจะละคลายเบาบางลงไป แต่ถ้าปัญญาไม่เกิด จะไม่มีธรรม ข้อใดที่สามารถจะรักษาโรคกิเลสต่างๆ ได้

[7] บุญ หมายความถึง กุศลธรรม เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป อย่างที่ท่านทำบุญ เมื่อวานนี้ ก็เป็นเมื่อวานนี้ ทำไปแล้ว เสร็จไปแล้ว จิตที่ทำบุญเป็นกุศลจิตก็ดับ ไปแล้ว แล้วจิตอื่นก็เกิดสืบต่อมากมาย แต่ว่าจิตที่เป็นเหตุที่เป็นเจตนาที่จะสละ วัตถุให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น เป็นกุศลเจตนา เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ก็เป็นปัจจัย ทำให้จิตภายหลังเกิดต่อ เป็นจิตที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้รู้โผฏฐัพพะ ต่างๆ ที่ดี

[8] อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) เป็นลักษณะ ๓ ที่ทั่วไปแก่สภาพธรรมที่เกิดดับทั้งหมด ที่ว่าเป็นทุกข์นั้น หมายความถึงสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตนที่เกิดขึ้นและดับไป ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไปจึงเป็นทุกข์ เพราะเหตุว่า ทุกขลักษณะนั้นไม่ได้หมายความเฉพาะทุกขเวทนา ความรู้สึกเจ็บปวดเท่านั้น แต่ หมายความถึงแม้สุขเวทนา แม้อุเบกขาเวทนา แม้ได้เห็น แม้ได้ยิน แม้สี แม้เสียง แม้กลิ่น แม้รส แม้โผฏฐัพพะ แม้นามรูปใดๆ ทั้งปวงที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ เพราะไม่ เที่ยง ดับไป แล้วก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะเหตุว่า เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยเท่านั้น แล้วก็ดับไป

[9] สำหรับเรื่องของธรรมเป็นเรื่องที่ตรงตามสภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง เมื่อเป็นอกุศลก็ต้องเป็นอกุศล ถ้าธรรมนั้นเป็นอกุศล จะเปลี่ยนสภาพธรรมนั้นให้ เป็นกุศลไม่ได้ ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงแสดงความละเอียดของอกุศล ธรรมซึ่งจะต้องละให้หมดสิ้นไป เพราะเหตุว่าถ้าไม่แสดงโดยละเอียด ผู้ฟังก็จะไม่ ทราบว่าอกุศลธรรมนั้นมีความละเอียดมากเพียงไร และเรื่องของการละก็ต้องเป็น เรื่องของการละโดยละเอียด จะต้องเป็นเรื่องของการดับกิเลสเป็นสมุจเฉท (ถอนขึ้น ได้อย่างเด็ดขาด) จริงๆ

[10] ทำอกุศลกรรมอะไรบ้างใน ๑๐ ประการนี้ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ที่ทำ แล้วเป็นปัจจัยที่จะให้เป็นผู้ทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ หรือว่ากำลังกระทำอยู่ หรือจะกระทำต่อไป ก็จะต้องถูกทอดทิ้งไว้ในนรกเหมือนสิ่ง ของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้

[11] ความตายใกล้ที่สุด อาจจะเกิดขึ้นขณะหนึ่งขณะใดได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเป็น ผู้ที่ประมาทมัวเมา ไม่คิดถึงว่า จะต้องเป็นผู้ที่จะต้องถึงแก่ความตาย จะเร็วหรือ ช้าก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ถ้าไม่ระลึกอย่างนี้บ้างเลย วันหนึ่งๆ ก็ผ่านไปโดยการที่ ท่านไม่ได้อบรมเจริญกุศลให้ยิ่งขึ้น เพราะเหตุว่าเรื่องของอกุศลจิตนี้มีปัจจัย พร้อมที่จะเกิดอยู่เสมอ แต่เรื่องของกุศล นานๆ ก็จะมีโอกาสมีปัจจัยที่จะเกิดขึ้น

[12] เมื่อมีการได้ยิน ได้ยินอะไรจึงจะเป็นสิ่งสำคัญ? ได้ยินได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมที่ได้ยินได้ฟังทั้งหมด ทำให้ได้สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกใน สภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้

[13] ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ย่อมไม่มีทางที่จะพ้นไป จากทุกข์ได้เลย การที่พ้นจากทุกข์ได้นั้น ก็จะต้องเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูก ของแต่ละคนอย่างแท้จริง

[14] ขณะที่กำลังเห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส เป็นต้น ที่พึ่งอยู่ที่ไหน? ที่พึ่ง อยู่ที่ การเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏซึ่งไม่เคยมีก่อนการฟังพระธรรม

[15] การมีที่พึ่ง คือ รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เมื่อมีที่พึ่งแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีที่พึ่ง เพราะมีปัญญาที่เข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง

[16] เห็น ตายไหม? เห็น ตาย เพราะเห็น เกิด ถ้าเห็น ไม่เกิด เห็นก็ไม่ตาย (แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่เกิดดับทุกๆ ขณะ คือ เป็น ขณิกมรณะ)

[17] ธรรมฝ่ายดี ก็ทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ธรรมฝ่ายชั่ว ก็ทำในสิ่งผิดๆ สิ่งที่ควรเกิด ควรเจริญ คือ กุศล หรือ อกุศล? ก็ต้องเป็นกุศล ไม่ใช่อกุศล อกุศล นำมาซึ่งผลที่ไม่ดีเท่านั้น และ กุศล ก็นำมาซึ่งผลที่ดีเท่านั้น อกุศล เป็นที่พึ่งไม่ได้ ส่วน กุศล พึ่งได้

[18] กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต เป็นความสกปรกของจิต

[19] เมื่อไหร่จะเข้าใจธรรมเสียที นั่นแหละ คือ ความกังวลเกิดขึ้นเป็นไปแล้วในขณะนั้น

[20] ความติดข้องเกิดขึ้นเป็นไปมากในชีวิตประจำวัน มากกว่าความโกรธความขุ่นเคืองใจ

[21] สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นจริง เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ยกตัวอย่างแข็งที่ตัว ก็เป็นแข็ง เป็นธาตุอย่างหนึ่ง แล้วจะบอกว่าเป็นเราได้อย่างไร ในเมื่อแข็งเป็นแข็ง แข็งจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย

[22] ผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ปลื้มปีติที่ได้เข้าใจพระธรรม

[23] เริ่มต้นที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง

[24] เครื่องผูกที่มั่นคง ได้แก่ กิเลสทั้งหลายทั้งปวง มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ไม่เว้นแม้แต่ประเภทเดียว ผูกไว้ไม่ให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ซึ่งพาให้ตกต่ำเพียง อย่างเดียว ไม่นำประโยชน์ใดๆ มาให้เลยแม้แต่น้อย

[25] ไม่รู้ตลอดไปแน่ๆ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม

[26] ควรอยู่อย่างคนดี ไม่ใช่อยู่อย่างคนไม่ดี.

(ขอเชิญผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกันทุกท่าน ร่วมแบ่งปันข้อความธรรม ด้วยนะครับ)

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความย้อนหลังครั้งที่ ๑๐๘ ได้ที่นี่ครับ

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๐๘

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 22 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมปันธรรมด้วย ครับ

[1] ความโกรธจะบรรเทาลงได้ด้วยธรรมะที่ตรงกันข้ามกับโทสะ คือ เมตตา เมตตา คือ ความเป็นเพื่อนหรือความเป็นมิตร ไม่หวังร้าย

[2] การที่ปัญญาจะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้นั้น ก็ต้อง เข้าใจถูกตั้งแต่เบื้องต้นว่าสภาพธรรมที่ปัญญาจะประจักษ์แจ้งตามความเป็นจริงได้ นั้น คืออะไร คือ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของจริงที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะนี้เอง

[3] ถ้ารู้ความจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา “ธรรมดาคือธรรมดา” เกิดก็ธรรมดา แก่ก็ธรรมดา เจ็บก็ธรรมดา ได้ลาภก็ธรรมดา เสื่อมลาภก็ธรรมดา ได้ชื่อเสียงหรือ เสื่อมชื่อเสียง ก็เป็นธรรมดา มีใครบ้าง ไม่ถูกนินทา หรือว่ามีใครบ้าง ที่จะมีแต่คน เคารพนับถือตลอดเวลา

[4] สาเหตุที่แท้จริงของความขุ่นเคืองใจ หรือความโกรธ ไม่ใช่เหตุการณ์ ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นการสะสมโทสะของเราเอง โทสะไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะ ปัจจัย ดังนั้น เราจะเห็นว่าการคิดถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้น ไม่ทำให้เรารู้จักโทสะดี ขึ้น เราสะสมมาที่จะคิดมากมาย เมื่อคิดเรื่องโทสะ ก็ระลึกรู้ได้ว่าคิดก็เป็นนามธรรม ไม่ใช่ตัวตน

[5] การที่เรารู้ว่าตัวเองเป็นคนไม่ดี มีความไม่รู้มากย่อมเป็นความเข้าใจถูกระดับหนึ่ง แต่เมื่อรู้อย่างนั้นแล้วจึงควรเห็นประโยชน์ว่า เมื่อเป็นคนไม่ดี สิ่งที่ทำให้ดีขึ้นคืออะไร นั่นคือการได้เข้าใจถูกในพระธรรมในแนวทางถูกต้อง โดยการเข้าไปหา ไปใกล้เสพ คุ้นกับความเห็นถูกโดยนัยตรงกันข้ามถ้าเราเป็นคนไม่ดี มีความไม่รู้มาก แต่เราเสพคุ้น กับความเห็นผิดหรือในแนวทางที่ไม่ถูกต้องแล้วย่อมทำให้เป็นคนไม่ดีมากขึ้น สะสม ความไม่รู้มากขึ้นจึงควรพิจาณาด้วยปัญญาว่าเมื่อเป็นคนไม่ดี มีความไม่รู้ควรทำ อย่างไรจึงจะควรเพราะย่อมนำไปสู่การบรรลุมรรคผลและไม่บรรลุมรรคผลหรือสวรรค์ และอบายภูมิครับ

[6] “เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พรุ่งนี้ หรือแม้แต่ขณะต่อไป” ถ้าเรารู้ว่า แต่ละขณะเกิด ขึ้นเพราะปัจจัยหลายอย่างต่างๆ กัน และทุกขณะต่างกันอย่างสิ้นเชิง จากขณะ ก่อนๆ และขณะหลัง ก็จะทำให้เราไม่รีรอ ที่จะศึกษาสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ยิ่งขึ้น

[7] เมื่อเริ่มรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เราก็จะกังวลถึงอดีตน้อยลง อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้เราจะไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ สิ่งที่สามารถจะกระทำได้เดี๋ยวนี้ คือ อบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ (ไม่มีตัวตนที่จะไปกระทำ แต่เป็นลักษณะของสภาพธรรมเกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่)

[8] คำพูดที่จริง แต่ไม่เป็นประโยชน์ บัณฑิตก็ไม่พูดกัน

[9] พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุปการะไม่ให้ประมาทแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ

[10] ความสุข ความเจริญ ไม่ได้อยู่ที่การติด แต่เป็นการละ

[11] เคารพในกุศลจิตของบุคคลอื่น การเคารพซึ่งกันและกันก็เป็นการขัดเกลากิเลส

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 22 ก.ย. 2556

ขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองมากครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปวีร์
วันที่ 23 ก.ย. 2556

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 23 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 23 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 23 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 23 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การมีที่พึ่ง คือ รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง เมื่อมีที่พึ่งแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีที่พึ่ง เพราะ มีปัญญาที่เข้าใจถูกเห็นถูก ในสภาพธรรมตามความเป็นจริง

กราบท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่นและทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.ย. 2556

- คำพูดที่จริง แต่ไม่เป็นประโยชน์ บัณฑิตก็ไม่พูดกัน

ขออนุโมทนา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
kinder
วันที่ 23 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 29 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สิริพรรณ
วันที่ 27 ส.ค. 2564

กราบขอบพระคุณในกุศลทุกประการค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Jarunee.A
วันที่ 7 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ