ภัทราวุธปัญหา ... วันเสาร์ที่่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  29 ก.ย. 2556
หมายเลข  23725
อ่าน  1,732

 

 

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

 

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ภัทราวุธปัญหา ที่ ๑๒

จาก...


[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้า ๙๔๒


(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๙๔๒

ภัทราวุธปัญหาที่ ๑๒

(ว่าด้วยความติดข้องของสัตว์)

[๔๓๖] ภัทราวุธมาณพ ทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอนพระองค์ ผู้

ทรงละอาลัย ตัดตัณหาเสียได้ ไม่หวั่นไหว

ละความเพลิดเพลิน ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสได้

แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ละธรรมเครื่องให้ดำริ

มีพระปัญญาดี

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ชนใน

ชนบทต่างๆ ประสงค์จะฟังพระดำรัสของ

พระองค์ มาพร้อมกันแล้วจากชนบททั้ง

หลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้ประ-

เสริฐแล้ว จักกลับไปจากที่นี้ ขอพระองค์

จงตรัสพยากรณ์แก่ชนในชนบทต่างๆ เหล่า

นั้นให้สำเร็จประโยชน์เถิด เพราะธรรมนี้

พระองค์ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร ภัทราวุธะ

หมู่ชนควรจะนำออกเสียซึ่งตัณหา เป็น

เครื่องถือมั่นทั้งปวงในส่วนเบื้องบน เบื้อง

ต่ำ ในส่วนเบื้องขวางคือในท่ามกลางให้

สิ้นเชิง เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่น

สิ่งใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์ได้

เพราะสิ่งนั้นแหละ

เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ มา

เล็งเห็นหมู่สัตว์ ผู้ติดข้องอยู่แล้วในวัฏฏะ

อันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า เป็นหมู่สัตว์ติด

ข้องอยู่แล้วเพราะการถือมั่นดังนี้ พึงเป็นผู้

มีสติ ไม่ถือมั่นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง.

จบภัทราววุธมาณวกปัญหาที่ ๑๒

อรรถกถาภัทราวุธสูตรที่ ๑๒

ภัทราวุธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โอกญฺชหํ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านัน บทว่า โอกญฺชหํ คือผู้ละอาลัย. บทว่า ตณฺหจฺฉิทํ

ผู้ตัดตัณหาเสียได้ คือตัดหมู่ตัณหาทั้ง ๖. บทว่า อเนชํ ผู้ไม่หวั่นไหว คือไม่มี

ความทะเยอทะยานในโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า นนฺทิญฺชหํ ผู้ละความเพลิด

เพลิน คือละความปรารถนามีรูปในอนาคตเป็นต้น. จริงอยู่ภัทราวุธมาณพกล่าว

ถึงตัณหาอย่างเดียวเท่านั้นในที่นี้โดยประการต่างๆ เพื่อสรรเสริญพระผู้มีพระภาค

เจ้าเท่านั้น. บทว่า กปฺปญฺชหํ ผู้ละธรรมเครื่องให้ดำริคือละธรรมเครื่องให้ดำริ

สองอย่าง (ด้วยอำนาจแห่งตัณหา และ ทิฏฐิ) . บทว่า อภิยาเจ ข้าพระองค์

ขอทูลวิงวอนเป็นอย่างยิ่ง. บทว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต

ชนทั้ง หลายมาจากชนบทได้ฟังดำรัสของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้ว จักกลับไปจาก

ที่นี้ อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลายเป็นอันมากได้ฟังพระดำรัส

ของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้วจักกลับไปจากปาสาณกเจดีย์นี้. บทว่า ชนปเทหิสงฺค

ตา มาพร้อมกันแล้วจากชนบททั้งหลาย คือมาพร้อมกัน ณ ที่นี้จากชนบท

ทั้งหลายมีอังคะเป็นต้น. บทว่า วิยากโรหิ ขอจงทรงพยากรณ์ คือขอจงทรง

แสดงธรรม.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมโดยอนุโลมตาม

อัธยาศัยของภัทราวุธมาณพนั้น จึงได้ตรัสพระคาถาสองคาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทานตณฺหํ ตัณหาเป็นเครื่องยึดมั่น คือตัณหา

เป็นเครื่องยึดมั่นอารมณ์มีรูปเป็นต้น. อธิบายว่า ยึดมั่นตัณหา. บทว่ายํ ยญฺหิ

โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลก คือถือมั่น

สิ่งใดๆ ในประเภทมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า เตเนวมาโร อเนฺวติ

ชนฺตุ มารย่อมติดตามสัตว์ได้เพราะสิ่งนั้นแหละ. ความว่ามารคือขันธมารอันมีใน

ปฏิสนธิ ย่อมติดตามสัตว์นั้นไปด้วยอำนาจกรรมาภิสังขารที่เกิดขึ้นเพราะอุปาทาน

เป็นปัจจัยนั้นเอง. บทว่า ตสฺมา ปชานํ เหตุนั้นภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ คือ เมื่อรู้

โทษอย่างนี้ในสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า อาทานสตฺเต

อิติ เปกฺขมาโน ปชํ อิมํ มจฺจุเธยฺยวิสตฺตํ ภิกษุเล็งเห็นสัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้ว

ในวัฏฏะ อันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วเพราะการยึดมั่น

ดังนี้ ความว่า ภิกษุเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้วในบ่วงแห่งมารในโลกทั้งปวง

ว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วในรูปเป็นต้น อันเป็นเครื่องยึดถือ เพราะอรรถว่า

พึงยึดมั่น. หรือ ภิกษุ เล็งเห็นอยู่ซึ่งบุคคลทั้งหลาย ผู้ติดข้องอยู่ด้วยความยึดมั่น

จมลงแล้วด้วยความยึดมั่น ว่า หมู่สัตว์นี้ ถือเอาด้วยความยึดมั่น ติดข้องอยู่ในบ่วง

แห่งมาร เป็นผู้ไม่สามารถจะข้ามพ้นจากบ่วงมารนี้ได้ ดังนี้แล้ว จึงไม่ถือมั่น

เครื่องกังวลในโลกทั้งปวง. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล ด้วยประการ-

ฉะนี้. อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับพระสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาภัทราวุธสูตรที่ ๑๒.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ภัทราวุธปัญหา

(ว่าด้วยความติดข้องของสัตว์)

ภัทราวุธมาณพ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลให้พระองค์ตรัสบอกธรรม

แก่หมู่ประชาชน ซึ่งเมื่อได้ฟังแล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า หมู่ชนควรนำออกเสียซึ่งตัณหาความติดข้องต้องการ

เป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น เพราะตราบใดที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ก็ยังไม่พ้น

จากทุกข์ในวัฏฏะ ยังมีการเวียนว่ายตายเกิด มีขันธ์เกิดขึ้นเป็นไป ไม่พ้นจากทุกข์

ภิกษุ ผู้เล็งเห็นว่า หมู่สัตว์ ผู้ยังมีความติดข้องต้องการ ยังมีความยึดมั่นถือมั่น

ก็ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ในวัฏฏะ ดังนี้แล้ว ก็พึงเป็นผู้มีสติ ไม่มีความยึดมั่นใน

โลกทั้งปวง

ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ภัทราวุธมาณพ ได้เบรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกับ

อันเตวาสิก ๑,๐๐๐ ส่วนชนอีกหลายพันได้เกิดดวงตาเห็นธรรม.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ศึกษาธรรมเพื่อละอาลัย

อาลัย

กิเลสตัณหา

มาร ๕ [ขันธมาร...ตอนที่ ๓]

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ขอให้อธิบาย

ดวงตาเห็นธรรม

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanakase
วันที่ 3 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 4 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natural
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Jans
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ