ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๑๐
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรม จากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้
[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ครั้งที่ ๑๑๐]
[1] ถ้าท่านคบหาสมาคมกับคนดี ท่านก็ย่อมมีผู้ที่ชักนำ ชักจูง ให้ประพฤติปฏิบัติใน สิ่งที่ดี แต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่คบหาสมาคมกับผู้ที่มีความประพฤติชั่ว ท่านก็ย่อมจะถูก ชักจูง โน้มเอียงไปในทางชั่ว ทีละเล็กทีละน้อย ฉันใด แม้ความเห็นที่จะถูกหรือจะ ผิด ก็ขึ้นอยู่กับการคบหาสมาคม เช่นเดียวกัน ถ้าท่านคบหาสมาคมกับคนเห็นผิด โน้มเอียงไปในทางความเห็นผิด ขาดการพิจารณา ไตร่ตรองโดยแยบคาย ท่านก็ ย่อมจะคล้อยตามโน้มเอียงไปในความเห็นผิดนั้น แต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่คบหาสมาคม กับผู้ที่มีความเห็นถูก ท่านก็จะได้รับการชักจูงโน้มเอียงไปในการที่จะเป็นผู้ละเอียด และเป็นผู้ที่พิจารณาคล้อยตามคลองของธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นความเห็น ถูกด้วย
[2] สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นความเห็นถูกนั้น ย่อมต้องอาศัยปัจจัย คือ ความได้สดับแต่ บุคคลอื่นด้วย แล้วก็การพิจารณาโดยแยบคายของตนเองด้วย
[3] การที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท (ถอนขึ้นได้อย่างเด็ดขาด) ถ้าไม่อบรมเจริญ ปัญญาจริงๆ จะมีหนทางอื่นไหมที่จะดับ? เป็นไปไม่ได้เลย นอกจากจะ เข้าใจผิด แต่ถ้าตราบใดที่ปัญญายังไม่รู้จริงในลักษณะของนามธรรมและรูป ธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้
[4] ขณะที่กำลังหลับ ไม่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ แต่จะไม่เป็นประโยชน์ เท่ากับการตื่นขึ้นสติเกิดรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็ขอให้เทียบดูว่า หลับแล้วไม่เกิดอกุศล แต่ถ้ามีการตื่นขึ้น แล้วไม่เจริญสติ ก็พอกพูนโลภะ โทสะ โมหะเพิ่มขึ้น มากขึ้น
[5] ควรใส่ใจสนใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้เข้าใจขึ้น
[6] ทุกคน ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าตนเองจะละจากโลกนี้ไปในลักษณะใด ขณะไหน
[7] ตอนนี้เกิดเป็นคน และก็กำลังฟังพระธรรมด้วย เพราะฉะนั้นก็จะต้อง สะสมต่อไปเท่าที่จะมากได้ ไม่ต้องกังวลว่าชาติที่แล้วเกิดเป็นอะไร และชาติ ต่อไปจะเกิดเป็นอะไร เพราะจะเป็นอะไรก็เป็นอย่างนั้นตามเหตุปัจจัย
[8] ถ้าไม่มีจิต กายและวาจาก็เป็นไปไม่ได้
[9] เกษม คือ ปลอดโปร่ง สงบจากอกุศล ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้วจะถึง ความปลอดโปร่งไม่ได้เลย
[10] ศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจว่า ธรรมขณะนี้ คืออะไร ต้องรู้จุดประสงค์จริงๆ ของการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมว่า เพื่อเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่กำลังฟัง
[11] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้กล้าตรัสรู้ความจริง สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ฟัง พระธรรมศึกษาพระธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดง จะเข้าใจถูกเห็นถูกในทันทีทันใด ไม่ได้ ก็ต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กที ละน้อย
[12] กว่าจะเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ก็จะต้องอาศัยความอดทนและมีความเพียรเป็นอย่างยิ่ง
[13] ถ้าความไม่ดีเกิดขึ้น ก็เผาผลาญความดีไม่ให้เกิดขึ้นในขณะนั้น
[14] ไม่จริง กับ จริง กล้าพูดคำไหน?
[15] โลภะ ไม่สามารถเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงได้ แต่ปัญญาสามารถรู้ได้ว่าเป็นโลภะ โลภะเกิดเพราะเหตุปัจจัย
[16] กิเลส แม้จะมีมาก แต่ปัญญาซึ่งเป็นกำลังทางฝ่ายดีก็สามารถดับได้จนหมดสิ้นได้
[17] โมหะ ก็มีเดช คือ ทำให้ไม่รู้เรื่อง ทำให้ไม่เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้
[18] ธรรมฝ่ายดี มีเดชมาก เพราะสามารถจะดับธรรมฝ่ายที่ไม่ดีได้จนหมดสิ้น เห็นโทษเห็นภัยของอกุศล ไม่กระทำทุจริตกรรม นั่นก็เป็นเพราะเดชที่เป็น จรณเดช (ศีล) เกิดขึ้นเป็นไป
[19] เมื่อวานกิเลสเท่าไร วันนี้กิเลสเท่าไร และพรุ่งนี้อีกล่ะจะอีกเท่าไร แล้วจะยากมากสักเพียงใดกับการที่จะดับกิเลส
[20] ไม่มีเราเลย ไม่ใช่เราเลย มีแต่ธรรม คือ จิต และเจตสิก เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้นจริงๆ
[21] สัจจญาณ เป็นปัญญาที่เข้าใจความจริงอย่างมั่นคงจริงๆ จึงจะเป็นเหตุให้เกิดการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้
[22] วัชพืช (สิ่งที่เป็นโทษ คือ กิเลส) เกิดขึ้นเป็นไปมาก สะสมอยู่ในจิต ต้องอาศัย แสงสว่างคือพระธรรม จึงจะเป็นเหตุให้พืชที่มีค่าคือปัญญา ค่อยๆ เจริญขึ้น ขัดเกลาทำลายวัชพืชไปตามลำดับ
[23] เดช เป็นธรรมที่เผาผลาญธรรมที่ตรงกันข้าม ดังนี้ .- จรณเดช คือ ศีล ซึ่งเป็นความประพฤติเป็นไปที่ดี เป็นเดชที่เผาผลาญความเป็นผู้ทุศีล คุณเดช (ความสงบแห่งจิต) เป็นเดชที่เผาผลาญความฟุ้งซ่านความไม่สงบแห่งจิต ปัญญาเดช เป็นเดชที่เผาผลาญอวิชชา (ความไม่รู้) ปุญญเดช (อริยมรรค) เป็นเดชที่เผาผลาญกิเลสอกุศลธรรมทั้งหลาย และที่สำคัญ ธรรมเดช ได้แก่ พระพุทธพจน์
[24] พระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นเดชที่เผาผลาญความ เห็นที่ผิด เผาผลาญลัทธิความเชื่อถือต่างๆ ธรรมเดช เป็นเดชที่สำคัญ เป็นหลักแห่งเดช ๔ ข้างต้น เกื้อกูลให้เดช ๔ อย่างข้างต้นเจริญยิ่งขึ้น
[25] มี อุปนิสัยการฟังพระธรรม กับ อุปนิสัยการไม่ฟังพระธรรม ควรที่จะสะสมอย่างไหน?
[26] ถ้าไม่เริ่มฟังพระธรรมก็จะไม่มีอุปนิสัยในการฟัง เมื่อไม่ฟังพระธรรม ตายไปก็ยังคงไม่รู้อยู่นั่นเอง
[27] มีพระธรรมเป็นที่พี่งจริงๆ ต้องถึงการดับกิเลสจนหมดสิ้นไม่เกิดอีกเลย ไม่ใช่เพียงแค่กุศลเกิดแล้วอกุศลไม่เกิด เท่านั้น
[28] อีกไกลไหม กว่าจะเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ ว่า เป็นแต่เพียงธรรมแต่ละหนึ่งจริงๆ
[29] รู้ เพื่อละความไม่รู้ ขณะที่มีความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั่น ก็เป็นเครื่องกั้นแล้วเป็นอกุศล
[30] กุศลที่ประเสริฐจริงๆ คือ ดับความติดข้อง ไม่มีความติดข้องเกิดขึ้นเป็นไปอีกเลย
[31] ทางที่จะให้หลง นั้น มีมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดโดยประการทั้งปวงเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เมื่อเข้าใจถูกแล้วก็จะไม่ไปในทางผิด
[32] กล่าวได้ว่าขณะนี้กำลังหลงไหลในสิ่งที่ไม่มีแล้วเข้าใจว่ายังมีอยู่ยังไม่หมดไป เพราะเหตุว่า ธรรมเกิดแล้วดับแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ
[33] ฟังอย่างอื่นแล้ว ก็ต้องฟังพระธรรม บ้าง ส่วนใหญ่แล้วฟังแต่อย่างอื่น แต่ไม่ฟังพระธรรม
(ขอเชิญผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกันทุกท่าน ร่วมแบ่งปันข้อความธรรม ด้วยนะครับ)
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความย้อนหลังครั้งที่ ๑๐๙ ได้ที่นี่ครับ
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๐๙
... กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[1] กิเลสเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนด้วย จึง ควรจะต้องขจัดขัดเกลาให้เบาบางและให้หมดสิ้นไป ความสุขที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติหรือลาภ ยศ สรรเสริญ แต่อยู่ที่การไม่มีกิเลสเท่านั้น คน ที่มีทรัพย์มากและมีกิเลสมาก กับคนที่มีทรัพย์น้อยและมีกิเลสน้อย ใครจะมีความ สุขมากกว่ากัน
[2] ธรรมะไม่ได้อยู่ในหนังสือหรือตำรา ต้องรู้ว่า ทุกขณะ เดี๋ยวนี้ เป็นธรรมทั้งหมด ศึกษาธรรมะ คือ สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ข้อนี้ลืมไม่ได้เลย
[3] กุศลจิต กับอกุศลจิต แตกต่างกันมาก แต่เมื่อไม่แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา ก็ไม่รู้ว่า กุศลจิตกับอกุศลจิตที่ยังไม่มีกำลังแรงกล้านั้นต่างกัน แต่เมื่อใดที่อกุศล จิตมีกำลัง และแสดงออกมาทางกายทางวาจา จึงจะรู้ได้
[4] บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ ส่งถึงฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับมารับคนฝั่ง โน้นพามาส่งถึงฝั่งนี้ฉันใด ชราและพยาธิก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์ทั้งหลายไปสู่อำนาจ แห่งมัจจุราช อยู่เนืองๆ ฉันนั้น
[5] ปัญญาเป็นทรัพย์อันประเสริฐ ยิ่งกว่าทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่า เราจะมี ความยุ่งยากในชีวิตหน้าที่การงานแต่ก็ยังมีปัญญาที่จะเข้าใจชีวิตได้ดีขึ้น ธรรมะ คือชีวิต ชีวิตก็คือธรรมะ การเห็น การได้ยิน ความนึกคิด ความรู้สึก และความ ผูกพัน เป็นสภาพธรรมที่มีจริงซึ่งปรากฏในขณะนี้ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม สภาพธรรมต่างๆ เหล่านี้ ก็มีพร้อมที่จะให้เราเข้าใจ พร้อมที่จะให้รู้ชัด พร้อมที่จะให้ประจักษ์แจ้ง
[6] บุตร ก็ช่วยไม่ได้ บิดาก็ช่วยไม่ได้ พวกพ้องก็ช่วยไม่ได้ เมื่อบุคคลถูกความ ตายครอบงำแล้ว หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้เลย บัณฑิตรู้ความจริงข้อนี้แล้ว พึงเป็นผู้ สำรวมในศีลแล้วรีบเร่งชำระหนทางไปสู่พระนิพพานทีเดียว (ฟังพระธรรมนะ)
[7] คำว่า “ตนเป็นที่พึ่งของตน” หมายความว่า ไม่มีใครสามารถจะทำบุญกรรมแทนกันได้ แม้การอบรมเจริญปัญญา ก็ต้องอบรมด้วยตนเอง แต่ในขณะนี้ผู้ที่ยังไม่ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่ตัวตน ก็ยังคงยึดถือว่า มีตัวตนอยู่
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตแบ่งปันข้อความเตือนใจสั้นๆ ที่ได้รับฟังในเช้าวันนี้ ดังนี้ครับ
"...แม้แต่ฟัง ก็ยาก ที่จะได้ฟัง...
...แม้จะได้ฟังแล้ว ก็ยาก ที่จะเข้าใจ..."
กราบท่านอาจารย์
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณคำปั่นและทุกๆ ท่าน ครับ