คำว่า เดช

 
papon
วันที่  29 ก.ย. 2556
หมายเลข  23729
อ่าน  1,683

ฟังพระธรรมจากการถ่ายทอดสดวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กย. ๕๖ อยากทราบความหมายคำว่า เดช ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เดช หรือ เตโช เป็นสภาพธรรมที่เผา เผาสภาพธรรมที่เกิดขึ้นที่ตรงกันข้ามกับตนเอง เดช มี ๕ อย่างดังนี้ ครับ

จรณเดช คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ที่เป็น ศีล ย่อมละความเป็นผู้ที่มีกายวาจาไม่ดีให้สิ้นไป ด้วย เดช คือ ศีลที่เป็น จรณะ

คุณเดช คุณธรรม ความดี ย่อม ละ ความไม่ดี ที่ไม่ใช่คุณ ละได้ไป คุณเดช คุณธรรม จึงเผา ละ อกุศลธรรมที่ไม่ใช่คุณ ที่เป็น ฌานจิต ที่เผา นิวรณ์ อกุศลธรรมไม่ให้เกิดในขณะนั้น ครับ

ปัญญาเดช ปัญญา ที่เป็นความเห็นถูก ที่มีกำลัง ย่อม เผากิเลส โดยเฉพาะ คืออวิชชา ความไม่รู้ และ ความเห็นผิด และ ละกิเลสประการต่างๆ ปัญญา จึงเป็นเดชเผา ละ กิเลสทั้งหลาย

บุญญเดช คือ สภาพธรรมที่เป็นบุญ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผา อกุศลธรรม เผาสภาพธรรมที่เป็นบาป ละ อกุศลต่างๆ ได้ ครับ ซึ่ง ก็ต้องตั้งแต่เบื้องต้น ที่เป็นกุศล ที่เป็น การให้ทาน ย่อม ละ เผา ความตระหนึี่ จนถึง สูงสุด ที่เป็น อริยมรรค มรรคจิต ที่เป็นบุญที่ระดับสูงสุด ละ และ เผากิเลสได้จนหมดสิ้น ครับ

ธรรมเดช คือ พระพุทธพจน์ทั้งหมดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสัจจะความจริง ส่วนสิ่งที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ที่เป็นคำสอนของลัทธิอื่น รวมทั้งคำสอนใดที่สอนไม่ตรงตามพระธรรมของพระพุทธเจ้าทรงแสดงไม่ใช่ธรรมเดช แต่เป็นอธรรมเดช ธรรมเดชที่เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดง ย่อมเผา ทำลาย สิ่งที่เป็นคำสอนที่ผิด คำสอนที่ผิด และ สัจจะ ความจริง ย่อม เผา ทำลาย ละได้ ซึ่ง สิ่งที่ไม่ใช่สัจจะ ความจริง และ ธรรมที่เป็นคำสนอของพระพุทธเจ้า ย่อมละ ธรรมที่เป็นกิเลสอวิชชา ทั้งสิ้นทั้งหมด ธรรมเดช ที่เป็น พุทธวจนเดช เป็นเดชที่เผา ทำลาย ทุกอย่างที่ไม่ดี และ เป็นหลักของเดชทั้งหลาย ทั้ง ๔ ปรการที่เหลือ ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ หน้าที่ ๙๑๑ บทว่า ธมฺนเตโช - ธรรมเดช คือ พุทธวจนเดช อันเป็นหลักแห่งเดช ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ หน้าที่ ๙๑๒

บทว่า อธมฺมเตช - เดชมิใช่ธรรม ได้แก่ เดช อันเป็นถ้อยคำแสดงลัทธิของพวกเดียรถีย์ต่างๆ

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ หน้าที่ ๙๐๖

[๒๓๕] คำว่า เตโช เดช ความว่า เดชมี ๕ คือ จรณเดช คุณเดช ปัญญาเดช บุญญเดช ธรรมเดช บุคคลผู้มีจิตอันกล้าแข็ง ย่อมยังเดช คือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นรูปด้วยเดชคือ ศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมยังเดชมิใช่คุณให้สิ้นไปด้วยเดชคือ คุณ ย่อมยังเดชคือ ความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือ ปัญญาย่อมยังเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือ บุญ ย่อมยังเดชมิใช่ธรรมให้สิ้นไปด้วยเดชอันเป็นธรรม

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

@เดช เป็นธรรมที่เผาผลาญธรรมที่ตรงกันข้าม ดังนี้

จรณเดช คือ ศีล ซึ่งเป็นความประพฤติเป็นไปที่ดี เป็นเดชที่เผาผลาญความเป็นผู้ทุศีล คุณเดช (ความสงบแห่งจิต) เป็นเดชที่เผาผลาญความฟุ้งซ่านความไม่สงบแห่งจิต ปัญญาเดช เป็นเดชที่เผาผลาญอวิชชา (ความไม่รู้) ปุญญเดช (อริยมรรค) เป็นเดชที่เผาผลาญกิเลสอกุศลธรรมทั้งหลาย และที่สำคัญ ธรรมเดช ได้แก่ พระพุทธพจน์พระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นเดชที่เผาผลาญความเห็นที่ผิด เผาผลาญลัทธิความเชื่อถือต่างๆ ธรรมเดช เป็นเดชที่สำคัญ เป็นหลักแห่งเดช ๔ ข้างต้น เกื้อกูลให้เดช ๔ อย่าง ข้างต้นเจริญยิ่งขึ้น ครับ

อ้างอิงจาก ...ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ครั้งที่ ๑๑๐

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เดช คือ กำลังของกุศลที่เผาอกุศล เผาธรรมตรงกันข้าม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
j.jim
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paew_int
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

อธิบายได้กระจ่างดีจัง เป็นคำที่อยากรู้

ขอบคุณท่านผู้กรุณาถามด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สิริพรรณ
วันที่ 24 ธ.ค. 2564

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านทุกประการค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ