ขอความรู้ค่ะ จิตเกิดดับรวดเร็ว และ ความต้องการนิพพาน

 
ckannikar
วันที่  30 ก.ย. 2556
หมายเลข  23736
อ่าน  986

1. จิตที่ว่าเกิดดับรวดเร็วนั้น เร็วขนาดไหนคะ และ มีโอกาสที่เราจะจับความรู้สึก ขณะที่ เกิดดับได้หรือไม่

2. คนที่ยอมรับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นธรรมดาของชีวิต และ ไม่ได้ทุกข์ร้อนกับมัน ปัญหาใดๆ ก็เป็นธรรมชาติของมัน เมื่อไม่ทุกข์ นิพพานก็ไม่เป็นสิ่งที่ไขว่คว้า ต้องการ อย่างนี้ควรหรือไม่ หรือผิดหรือไม่ และการพยายามสร้างความต้องการนิพพาน จะเป็น การสร้างกิเลสหรือไม่คะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ประโยชน์ คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูก ในสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ตามความเป็นจริง ธรรมไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน เพราะเป็นสิ่งที่ มีจริงๆ ในขีวิตประจำวัน ทุกขณะ ไม่เคยขาดธรรมเลย มีธรรมเกิดขึ้น เป็นไป อยู่ตลอด เห็น มีจริง เป็นธรรม ได้ยิน มีจริง เป็นธรรม ความรู้สึกดีใจบ้าง เสียใจบ้างเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์บ้าง ก็มีจริง เป็นธรรม โกรธ มีจริง เป็นธรรม ความเป็นมิตร เป็นเพื่อน มีจริงๆ เป็นธรรม สี มีจริง เป็นธรรม เสียง มีจริง เป็นธรรม เป็นต้น ทั้งหมด ล้วนเป็นธรรม ที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน

เมื่อกล่าวถึงจิตแล้ว เกิดดับรวดเร็วมาก จิตขณะหนึ่งเกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้ จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ ซึ่งเป็นปกติอย่างนี้ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความจริงเป็นอย่างนี้ และเป็นอย่างนี้มานานแล้วในสังสารวัฏฏ์ ผ่านไปแล้ว ชาติแล้วชาติเล่า

จิต จะไม่เกิดพร้อมกัน ๒ - ๓ ขณะ แต่เกิดทีละขณะ เป็นไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งข้อความที่แสดงไว้ชัดเจน คือ ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว (เอานิ้ว ๒ นิ้วมารวมกัน และ ก็ดีดแยกออก เหมือนการดีดนิ้ว) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ สั้นแสนสั้น แม้ช่วงเวลาลัดนิ้ว มือเดียว นี้ จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) เกิดดับไปแล้วนับแสนโกฏิครั้ง นี้คือ ความ เป็นจริงของธรรม และ ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้นนั้น จะไม่ปราศจากเวทนา คือ ความรู้สึกเลย ความรู้สึกเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ ตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ เช่น ถ้าเกิดกับจิตเห็น ก็ เป็นความรู้สึกเฉยๆ ถ้าเกิดร่วมกับโลภะ ก็อาจจะเป็นเฉยๆ บ้าง หรือ โสมนัส บ้าง แต่ ถ้าเกิดร่วมกับจิตประเภทที่มีโทสะเกิดร่วมด้วยแล้ว จะต้องเป็นโทมนัสเวทนา เท่านั้น เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ ไม่ใช่ตัวตนที่จะไปจับเวทนา เพราะเวทนา เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัย ปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นเท่านั้น ที่จะเข้าใจถูกเห็นถูก ตามความ เป็นจริงว่า เวทนา เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

-ผู้ไม่ได้ฟังพระธรรมไม่ได้ศึกษาพระธรรม ก็ไม่สามารถที่จะ เข้าใจถูก เห็นถูก ใน สภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้เลย เกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ถ้ายังไม่เห็นประโยชน์ ของพระธรรม ก็ไม่ฟัง ไม่ศึกษา เมื่อไม่ฟัง ไม่ศึกษา ก็ไม่มีปัญญา เมื่อไม่มีปัญญา ความคิดเห็น ก็เป็นความคิดเห็นของผู้ไม่มีปัญญา ไม่ตรงตามความเป็นจริงของธรรม เกิดมาแล้วตายไป เป็นอย่างนี้ทุกภพทุกชาติ ก็มากไปด้วยความไม่รู้ พอกพูนความไม่รู้ ยิ่งขึ้น มีสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ คือ สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไปอยู่ตลอด ก็ไม่รู้ว่า เป็น ทุกข์ และมากไปด้วยกิเลสประการต่างๆ จะบอกว่าไม่มีทุกข์ไม่ได้ เพราะ มีสภาพธรรม เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอด เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ จึงบอกว่าไม่มีทุกข์ และ ยังตีความหมาย ว่าเหมือนกับพระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพธรรม ที่ดับทุกข์ดับกิเลส ซึ่งไม่ตรงตามความ เป็นจริง เพราะเหตุว่า สภาพธรรมที่เป็นพระนิพพาน นั้นมีจริงๆ เป็นสภาพธรรม ที่ดับ ทุกข์ ดับกิเลส เป็นสภาพธรรม ที่ตรงกันข้ามกับสังขารธรรม หรือสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ อย่างสิ้นเชิง

แล้วถ้ายังไม่ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่เกิดดับ ซึ่งเป็นทุกข์ในขณะนี้ แล้วจะไปถึง ซึ่งความสงบจากทุกข์ คือ พระนิพพาน ได้อย่างไร ขณะที่อยากถึงนิพพาน โดยที่ไม่รู้ว่า นิพพาน คือ อะไร ก็เพิ่มพูนความอยากความต้องการ ซึ่งเป็นกิเลส ให้มากขึ้น เพราะฉะนั้นแล้ว ก็จะต้องกลับมาที่การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ตั้งแต่ ในขณะนี้ เพราะความเข้าใจถูก เห็นถูก จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริง ทำให้รู้ได้ว่า อะไรถูก อะไร ผิด เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ตกไปในหนทางที่ผิด เพราะหนทางที่จะทำให้หลงผิด นั้น มีมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพระธรรมคำสอน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยการฟัง ด้วยการศึกษา อย่างละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาทว่าพระธรรม ง่าย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียน อ.คำปั่น ครับ

การเกิดดับของสภาพธรรมเป็นทุกข์อย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียนร่วมสทนาในความเห็นที่ 3 ครับ

การเกิดขึ้นและดับไป เป็นลักษณะของความไม่เที่ยง ที่เป็นอนิจจัง ซึ่งเพราะความที่ สภาพธรรมที่ไม่เที่ยงนั่นเอง ก็เป็นการแสดงลักษณะ อีกอย่าง คือ ทนอยู่ไม่ได้ ที่ เป็นลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นทุกขลักษณะ ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้เลย นี่ก็เป็น คนละลักษณะ ของความไม่เที่ยง การเกิดขึ้นและดับไป เป็นอนิจจลักษณะ แต่การ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เป็นทุกขลักษณะ และ เพราะทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ เพราะ สภาพธรรมที่เป็นสุขจริงๆ ที่เราคิดเอง คือ ความไม่แปรปรวน อยู่กับเราไปตลอด แต่เพราะทนอยู่ในสภาพธรรมเดิมไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ ไม่ควรแก่การยินดี เพลิดเพลิน ครับ

สามารถอ่านคำบรรยายเพิ่มเติม โดยท่านอาจารย์สุจินต์ได้ในประเด็นนี้ ครับ

ท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวว่า

เพราะฉะนั้น อรรถ หรือ ความหมาย อีกอย่างหนึ่งของสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ ก็คือ ตรงกันข้ามกับเป็นสุข เพราะว่าถ้าสภาพธรรมใดเป็นสุข ก็เป็นที่ยินดีพอใจ แต่ทำ อย่างไร จึงจะคลายความเพลิดเพลินยินดีได้ ถ้ายังคงเห็นลักษณะนั้น น่าพอใจ ถ้า ยังคงเป็นลักษณะที่น่าพอใจอยู่ ก็จะติดและจะเพลินอยู่เรื่อยๆ จนกว่าจะเห็นว่า ลักษณะนั้นไม่น่าพอใจเลย ไม่ควรจะเป็นที่ติด ที่ยินดี เพราะฉะนั้น ลักษณะนั้นตรง กันข้ามกับสุข

นี่คือความหมายของคำว่า "ทุกข์" ไม่ใช่ ให้เจ็บปวด ให้ทรมาน หรือ ไม่ใช่ให้ เศร้าโศกเสียใจ แต่เห็นว่าไม่ใช่สภาพธรรมที่ควรติด หรือว่า ควรยินดี ควรเพลิด เพลินอีกต่อไป ทั้งๆ ที่สภาพธรรมในขณะนี้ ทุกคนก็เห็นว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้ว ดับไปจริงๆ อย่างเสียง เป็นต้น ปรากฏนิดเดียวชั่วขณะหนึ่งแล้วก็หมดไป แล้ว ทำไมไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ ยังไม่ยอมเห็นว่าเป็นสภาพที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าจะติด ไม่น่าที่จะยินดีเพลิดเพลิน ต้องการ

เพราะฉะนั้น ลักษณะที่เป็น "ทุกขลักษณะ" ซึ่งเป็นไตรลักษณ์ เป็นสภาพที่เห็นยาก ไม่ใช่ว่าจะเห็นง่าย เพราะว่า จะต้องประจักษ์ถึงความเกิดขึ้นและดับไป จึงสามารถจะเห็นว่าลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ เป็นทุกข์ เพราะไม่ควรพลิดเพลิน ยินดีทั้งนั้น ถ้ายังไม่ประจักษ์ ก็ยังคงพอใจอยู่แน่นอน เพราะว่าสภาพธรรมใดดับไป แล้ว สภาพธรรมอื่นก็เกิดสืบต่อทันที ทำให้ไม่ประจักษ์ ในการดับไปของสภาพธรรม ก่อน เพราะว่ามีสภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น สืบเนื่องทันที ดูไม่น่าประหวั่นพรั่นพรึงเลย ใช่ไหมคะ เพราะว่า ไม่น่าประจักษ์การขาดตอนของของการดับไป และ การเกิดขึ้น ของสภาพธรรมแต่ละขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

เพียงไม่น่าติดข้อง แต่ปุถุชนในโลกนี้ กระผมเชื่อว่า มีน้อยคนมากที่จะเห็นว่าความติด ข้องเพลิดเพลินเป็นทุกข์หรือว่าผลของการติดข้องจะนำมาซึ่งทุกขเวทนาในอบายภูมิครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

สัตว์โลก โดยมากก็สะสมกิเลส อวิชชาโดยมาก สะสม ปัญญา ความห็นถูกมาน้อย เพราะฉะนั้น จึงเป็นธรรมดา ที่จะไม่เห็นโทษของกิเลส แต่ ชื่นชมในกิเลส จึงไม่ แสวงหาปัญญา ไม่สนใจศึกษาธรรมกัน แต่ที่สำคัญ โทษที่น่ากลัว ไม่ใช่ความติด ข้อง แต่เป็นความไม่รู้ ที่เป็นอวิชชา ที่ทำให้เกิดกิเลส เกิดความติดข้อง ดังนั้น แม้ จะเห็นโทษของความติดข้อง ก็เห็นโทษโดยชื่อ เพราะ ไม่ได้ประจักษ์ตัวธรรม ที่ เป็นโลภะ ความติดข้อง เพราะ ถูกความไม่รู้ปิดบังความจริงเอาไว้ ครับ ดังนั้น หนทางการดับกิเลส จึงต้องเริ่มจากความเห็น ตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียง ธรรม ไม่ใช่เรา แม้อกุศลจิต แม้กิเลสที่เกิดขึ้น ละความเห็นผิดก่อน ไม่ใช่ละความ ติดข้องก่อนครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

ความเห็นผิดที่เป็นมูลเหตุของความติดข้องยิ่งมองเห็นได้ยากมาก ถ้ากระผมจำไม่ผิด อ.คำปั่น เคยบรรยายเกี่ยวกับพระสูตรไหนหรือไม่กระผมจำไม่ได้ว่าความเห็นผิดเห็นยาก เหมือนเมล็ดผักที่ถูกบังด้วยภูเขา ไม่ทราบถูกหรือไม่ครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

สภาพธรรมทั้งหลาย ที่กำลังปรากฎ ไม่ใช่เฉพาะ ความเห็นผิด ไม่ใช่เฉพาะ โลภะ แต่ สภาพธรรมทั้งหลาย เห็นได้ยาก ตามความเป็นจริง เพราะต้องเห็น ด้วยปัญญา เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ที่เล็กน้อย ปิดบังด้วยภูเขาใหญ่ มี ภูเขา สิเนรุ เป็นต้น เพราะ อวิชชา ที่เป็นสภาพธรรม ที่ปิดบัง ไม่ให้รู้ความจริง อวิชชา จึงเป็น ภูเขาใหญ่ ไม่ให้เห็น ความเห็นผิด ว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ให้เห็นว่า สภาพธรรมที่ปรากฎ ว่า เป็นสัตว์ บุคคล แท้ที่จริง ก็เป็นแต่เพียงธรรมที่ปรากฎ เป็นไป เท่านั้น ครับ

พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ได้ บัณฑิตเท่านั้น ที่จะ รู้ได้ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใหม่ๆ และ ไม่น้อมพระทัย ที่จะแสดงพระธรรม เพราะ พระองค์ได้เกิดพระปริวิตก ว่าธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้นั้น ลึกซึ้ง ยากที่ใคร ที่จะรู้ได้ พระองค์ทรงอุปมาประการต่างๆ ดังอุปมาที่ว่า พระธรรมที่พระองค์ ทรง ตรัสรู้ เห็นได้ยาก เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ถูกภูเขาบังไว้ ซึ่งดังเช่น ที่ท่าน อาจารย์สุจินต์ได้กล่าวไว้ว่า เปรียบดังภูเขาบังเส้นผม ขณะนี้มีสภาพธรรม ที่เปรียบ เหมือนเส้นผม ที่มีเป็นปรกติในชีวิตประจำวัน แต่ถูกภูเขา คือ อวิชชา ปกปิดไว้ไม่ให้ รู้ความจริงในขณะนี้ อวิชชา เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ หากไม่ใช่ปัญญาแล้ว ก็ไม่มี ทางรู้ความจริงในขณะนี้ ที่เป็นเพียงเส้นผม ที่มีปกติในชีวิตประจำวันเลย เมล็ดพันธุ์ ผักกาด ถูกภูเขาบังไว้ เมล็ดพันธุ์ผักกาด คือ สัจจธรรม ความจริง ที่พระองค์ ทรง ตรัสรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่ถูก ภูเขา คือ อวิชชา ปิดบังไว้ ไม่ให้รู้ความจริง จึงยากที่จะรู้ความจริง จริงๆ ได้ เพราะ อวิชชา ปิดบังไว้

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

พึงทราบว่า ทรงน้อมพระทัยไปอย่างนั้น แม้ด้วยอานุภาพ การพิจารณาความ ที่ธรรม ลึกซึ้งว่า ธรรมนี้ลึกซึ้ง เหมือนลำน้ำรองแผ่นดิน เห็นได้ยาก เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดถูกภูเขาบังไว้ แทงตลอดได้ยาก เหมือนเอาปลายต่อปลายแห่งขนทรายที่แยกออก ๗ ส่วน

เชิญคลิกอ่านที่นี่....

ว่าด้วยอุปมาอวิชชาดุจภูเขาใหญ่ [ทันตภูมิสูตร]

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

ดังนั้นผู้ที่ไม่ฟังพระธรรมและศึกษาพระธรรม ก็ไม่มีโอกาสที่จะพ้นจากสังสารวัฏฏ์เลย หรือครับ หรือผู้ที่ศึกษาแต่ไม่เข้าใจ ก็เหมือนกันหรือครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

ถูกต้องครับ เพราะ การจะพ้นจากสังสารวัฏฏ์ คอื การละกิเลสจนมหดสิ้น ซึ่งก็ด้วย ปัญญา และ และปัญญาก็เิกดจากการฟํงพระะรรม ศึกษาพระธรรม แต่ เมื่อ่ศึกษา พระธรรม ก้ไม่มีปัญญา เมื่่อีปัญญา ก็ไม่สามารถละกิเลส แต่เป็นไปกับกิเลส และ เพิ่มกิเลสมากขึ้น ก็ไม่พ้นจากสังสารวัฏฏ์ ครับ และ แม้่แต่ ศึกษาด้วยความเข้าใจ ที่ผิด เมื่อผิดจะเป็นถูกไปไม่ได้ และ จะเกดิปัญญาก็ไมไ่ด้ เมอื่ไม่เกิดปัญญา แต่ เกิดความเข้าใจผิด เกิดอวิชชา ก็ละกิเลสไม่ได้ ก้ไม่พ้นจากสังสารวัฏฏ์เช่นกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ความเข้าใจถูกเห็นถูก ก็ไม่เกิดขึ้น ไม่มีทางที่จะพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้เลย ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ ซึ่งสิ่งที่มีจริงนี้ ก็กำลังมีในขณะนี้ แต่ก็ไม่รู้เลยว่าเป็นธรรม มีแต่เป็นเราที่เห็น เป็นเราที่ได้ยิน เป็นเราที่ได้กลิ่น.. เป็นเราที่คิดนึก เป็นเราที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง จึงจะค่อยๆ รู้ขึ้นมาบ้างว่าเป็นธรรม ทำให้เห็นถึงความหนาแน่นของอวิชชา (ความไม่รู้) ที่ได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ที่ปกคลุมปิดบังไม่ให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ถึงแม้จะมีอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติอยู่ตลอดเวลาก็ตาม ธรรมจึงเป็นเรื่องที่ยาก ละเอียด ลึกซึ้ง เป็นอย่างยิ่ง ทั้งหมดนั้นเป็นพระปัญญาตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ผู้ที่เป็นบัณฑิตมีปัญญาเท่านั้นถึงจะรู้ตามความเป็นจริงได้ และประการที่สำคัญ เมื่อเป็นธรรม ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด และไม่ต้องแสวงหาธรรมที่ไหนเลย เพราะมีอยู่ทุกขณะ หนทางเดียวที่จะค่อยๆ ละคลายอวิชชาให้เบาบางลงได้ คือ การศึกษาพระธรรมฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สะสมปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ไม่ละทิ้งโอกาสสำคัญในชีวิต นั่นก็คือ การฟังพระธรรม ขณะที่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นก็จะค่อยๆ ละคลายอวิชชาไปตามลำดับ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียน สนทนาในหัวข้อที่ถาม ครับ

1. จิตที่ว่าเกิดดับรวดเร็วนั้น เร็วขนาดไหนคะ และมีโอกาสที่เราจะจับความรู้สึกขณะ ที่เกิดดับได้หรือไม่

จิตเกิดับรวดเร็วมาก เร็วจนเห็นเหมือนว่า ไม่เกิดดับเลย เพราะฉะนั้น การจะรู้ การเกิดดับจะต้องเป้นปัญญาระดับสูง ถึงระดับ วิปัสสนาญาณ จึงจะรู้ได้ ครับ

2. คนที่ยอมรับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นธรรมดาของชีวิต และไม่ได้ทุกข์ร้อน กับมัน ปัญหาใดๆ ก็เป็นธรรมชาติของมัน เมื่อไม่ทุกข์ นิพพานก็ไม่เป็นสิ่งที่ไคว่ขว้า ต้องการ อย่างนี้ควรหรือไม่ หรือผิดหรือไม่ และการพยายามสร้างความต้องการ นิพพนาน จะเป็นการสร้างกิเลสหรือไม่คะ

มี่ใคร ไม่ทุกข์ ตราบใดที่ยังมีกิเลส และ ไม่มีปัญญา การยอมรับ จึงเป็นเพียงการ ยอมรับชั่วคราว แต่ไม่รู้เลยว่า ขณะจิต แต่ละขณะทีเกิดขึ้นเป็นทุกข์แล้ว และ เกิด กิเลส ก็ไม่รู้ว่ามีกิเลส และ มีทุกข์ด้วย ดังนั้น ผู้ที่ไม่แสวงหาทางพ้นทุกข์ เพราะ เข้าใจผิดว่าตนเองไม่ทุกข์ จึงไม่ต้องไปแสวงหา ดังนั้น ก็ไม่มีทงพ้นทุกข์ ผุ้ที่ แสวงหาทางพ้นทุกข์ แสวงหาพระนิพพานก็ด้วยเพราะมีปัญญาทีเห้นโทษของ การเกิด ที่นำมาซึ่งทุกข์กาย และ ทุกข์ใจเป็นสำคัญ จึงอบรมปัญญา ศึกษาพระธรรม อันเป็นหตุที่จะละกิเลส ที่เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ckannikar
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ให้ความกรุณาอธิบายอย่างละเอียดละออด้วยเมตตา รวมทั้งคำถามเพิ่มเติมที่ช่วยประเทืองปัญญา แม้กระนั้น คนไม่มีปัญญาอย่างดิฉันก็ยังไม่สามารถทำความเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งได้

ดิฉันสรุปได้ว่า ต้องศึกษาธรรมต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดปัญญาเห็นว่าสิ่งที่เราเคยเห็นว่าไม่ใช่ทุกข์นั้นแหละคือทุกข์และศึกษาต่อไปจนกว่าจะเกิดปัญญาอันยิ่งใหญ่จนบรรลุนิพพาน

ฟังดูเหมือนกับว่าคนที่ไม่ศึกษาไม่มีโอกาสบรรลุนิพพาน

ดิฉันไม่ได้ขัดหรือแย้งข้อสรุปหรือความเห็นนี้นะคะ เนื่องจากยังไม่มีปัญญาพอ จึงไม่ทราบว่าจะแย้งอะไร แต่ที่มีประสบการณ์มาก็คือ ดิฉันเห็นชาวพุทธมากมายที่ท่องศิล5คล่องแคล่ว แต่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตโดยไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจอะไร ในขณะที่ชาวต่างชาติบางคนที่ไม่รู้จักศิล 5 บอกว่าเขาไม่มีศาสนา แต่กลับไม่ยอมกินเนื้อสัตว์ แม้แต่สัตว์ที่ตัวไม่ได้เป็นคนฆ่า เขาก็ยังไม่ยอมกิน เป็นตัวอย่างที่ทำให้ดิฉันไม่แน่ใจว่าคนที่มีปัญญานั้นต้องเกิดจากการศึกษาหรือไม่

ขอความเมตตาด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 15 ครับ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของปัญญาของปัญญา เป็นสำคัญ ดังนั้น การจะเป็น ชาวพุทธ ไม่ได้เพียงการกล่าวว่า เป็นชาวพุทธ หรือ ท่องศีล 5 ได้ แต่จะต้องศึกษา พระธรรม และ เป็นพระธรรมที่ถูกต้องเป็นสำคัญ ย่อมจะทำให้เกิดปัญา และ เมื่อ ปัญญาเกิด ขณะนั้น ก็ชือ่ว่า มีศาสนาพุทธ ในจิตใจ เพราะ ศาสนาพุทธ ไม่ได้อยู่ ที่ไหน อยู่ที่ใจที่มีความเข้าใจพระธรรมถูกต้องเป็นสำคัญ ครับ

ดังนั้น ศาสนาพุทธ ไม่ใช่เพียงแค่ศีล แต่ เป้นเรื่องของปัญญาเ และ การไม่ฆ่าสัตว์ หรือ ฆ่าสัตว์ ไม่ได้เครื่องวัดว่า เป็นผู้ดำเนินหนทางที่ถูก เพราะ ตราบใดที่ยังใีกิเลส แม้จะไม่ฆ่าสัตว์ในตอนนี้ แต่เมอืเ่หตุปัจจัยพร้อม ก็สามารถฆ่าได้ สมดังที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดง โทษของปุถุชน คือ ผู้ที่หนาด้วยกิเลส ซึ่งไม่ได้จำกัดเลยว่าชนชาติใด ใครก็ตามที่ยังไม่ใช่พระอริยเจ้า ยังไม่้ได้ดับกิเลส ก็หนาด้วยกิเลส ยอ่มมีเหตุ ทำ บาป ล่วงศีล 5 ได้เป็นธรรมดา เมื่อเหตปัจจัยพร้อม แม้แต่พระโพธิสัตว์ของเราเอง ก่อนจะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ล่วงศีลมาแล้ว เป็นธรรมดา เคยฆ่าน้องชายตัวเอง อันเป็นเหตุให้เมอื่เป็นพระพุทธเจ้า ถูกหินกระทบพระบาท จากพระเทวทัต เคย ผิดศีลข้อสาม ล่วงภรรยาผู้อื่นได้เป้นธรรมดา นี่แสดงถึงความเป็นปุถุชน ของผุ้ที่ ยังมีกิเลสมาก แต่ ปัญญาท่านก็ไม่ได้หายไปไหน ที่เคยสะสมมา ในตอนที่เป็น พระโพธิสัตว์ เมื่อพะพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อ ถึงเวลาที่ ปัญญาเกิด ก็สามารถละกิเลสได้ เป็นธรรมดา ซึ่ง ด้วยการฟัง ศึกษาพระธรรมเป็น สำคัญ ครับ

การมีปัญญา ก็ต้องเป็นไปตามลำดับ ไมไ่ด้หมายความว่า เมื่อเริ่มศึกษา กิเลส จะหายไปทันที จะไม่ทำบาปเลย แต่ เมื่อปัญญาขั้นการฟัง ยังทำอะไรกิเลสไม่ได้ เมื่อมีเหตุัปจจัยก็ล่วงศีลได้เป็นธรรมดา และ แม้ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาอะไรเลย แม้ จะไม่ล่วงศีลตอนนี้ แต่ตอนอื่นก็ต้องมีการล่วงแน่นอน และ เคยล่วงมาแล้วในอดีต ชาติ เพราะ มีกิเลสมากมาย แต่ ข้อที่แตกต่าง คือ ผู้ที่ศึกษาพระธรรม แม้จะทำบาป บ้าง แต่กำลังอบรมหนทางเพื่อละกิเลส ละบาป ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลายาวนาน นับชาติไม่ถ้วน ก็จะสามารถละกิเลสได้ หมดในอนาคต ไม่เกิดอีก แตกต่างจาก ผู้ที่ ไม่ศึกษาธรรม ก็จะต้องทำบาปต่อไป ไม่คราวใดก็คราวหนึ่ง และ เมื่อไม่ ศึกษาธรรม อบรมปัญญา ก็ไม่มีปัญญา ดับกิเลสได้ ก็ไม่พ้นจากทุกข์ จากสังสารวัฏฏ์ และ เป็นทุกข์ร่ำไป นี่คือ ความแตกต่าง ไม่ใช่เพียง ดูเพียงชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น นายเขมกะ ก่อนบรรลุก็ล่วงศีลแต่ได้สะสมปัญญามา เมื่อได้ฟังพระธรรม ก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 205

๔. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ [๒๒๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุตรเศรษฐี ชื่อเขมกะ ซึ่งเป็นหลานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "จตฺตาริ านานิ" เป็นต้น

เขมกะเป็นนักเลงเจ้าชู้ ถูกจับถึง ๓ ครั้ง

ดังได้สดับมา นายเขมกะนั้นเป็นผู้มีรูปสวย. โดยมากหญิงทั้งหลาย เห็นเขาแล้ว ถูกราคะครอบงำ ไม่สามารถจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้. แม้เขาก็ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในปรทารกรรม (กรรมคือการคบหาซึ่งภรรยาของผู้อื่น) เหมือนกัน.

ต่อมาในเวลากลางคืน พวกราชบุรุษจับเขานำไปแสดงแด่พระราชา. พระราชามิได้ตรัสอะไรกะเขา ด้วยทรงดำริว่า "เราละอายต่อมหาเศรษฐี" แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป. ฝ่ายนายเขมกะนั้นก็มิได้งดเว้นเลย. ต่อมา (อีก) พวกราชบุรุษก็จับเขาแล้วแสดงแต่พระราชาถึงครั้งที่ ๒ ที่ ๓. พระราชา ก็รับสั่งให้ปล่อยเช่นเคย. มหาเศรษฐีทราบเรื่องนั้นแล้ว พาเขาไปสำนัก พระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแล้วทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้"

พระศาสดาทรงแสดงโทษแห่งปรทารกรรม

พระศาสดาตรัสสังเวคกถาแก่เขาแล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในการ เสพภรรยาของคนอื่น ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

"นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของคนอื่น ย่อม ถึงฐานะ ๔ อย่าง คือ การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็นที่ ๑ การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ ๒ การ นินทา เป็นที่ ๓ นรก เป็นที่ ๔ การได้สิ่งมิใช่บุญ อย่างหนึ่ง คติลามกอย่างหนึ่ง ความยินดีของบุรุษผู้ กลัวกับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อยอย่างหนึ่ง พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น"

ในกาลจบเทศนา นายเขมกะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว

ตั้งแต่นั้นมา มหาชนยังกาลให้ผ่านไปอย่างสบาย


อีกเรื่อง นายพรานกุกกุฏมิตร เป็นนายพราน ฆ่าสัตว์เป็นประจำ เมื่อได้ฟังธรรม ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

เรื่องนายพรานกุกกุฏมิตร [คาถาธรรมบท]


จะเห็นนะครับว่า สำหรับชีวิตของคฤหัสถ์ ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชน ก็ยังล่วงศีลได้ เป็นธรรมดา แม้แต่พระโพธิสัตว์ก็ล่วงศีลได้ แม้ศีลข้อ 3 ในพระชาติที่เป็นหาริตดาบส นี่แสดงถึงความหนา ความหยาบของกิเลส แม้เป็นพระโพธิสัตว์ก็ยังล่วงศีลได้เป็น ธรรมดา

ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้า เมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ก็ยังหนาด้วยกิเลสแต่ปัญญาที่ สะสมอบรมมาไม่ได้หายไปไหน เมื่อปัญญาถึงพร้อมก็สามารถบรรลุธรรมได้ แม้ชาติ นั้นจะเป็นผู้ที่ล่วงศีลก็ตาม เพราะ โทษของความเป็นปุถุชน ดังนั้น อกุศลธรรมที่เป็น เครื่องกั้นต่อการบรรลุธรรมของเพศคฤหัสถ์ คือ อนันตริยกรรม ดังเช่น พระเจ้าอชาต ศัตรูฆ่าบิดา เป็นต้น เพราะฉะนั้น ไม่หลงลืมว่า ไม่ว่าจะอบรมปัญญามามากเท่าใด แต่ เมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ยังเป็นผู้หยาบ หนาด้วยกิเลส เพราะเต็มไปด้วยอนุสัยที่มีครบ และ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ปุถุฃนก็พร้อมล่วงศีลได้ทุกคน แต่ในทางกลับกันเมื่อปัญญาถึง พร้อม ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แม้ในอดีตเคยล่วงศีล แต่ ต้องพิจารณาว่า มีปัญญา มากพอหรือยัง ดังนั้น อกุศลมีการล่วงศีล เป็นต้น มี ข้อ 3 ที่เป็ฯหกิเลสหยาบ ไม่ได้ เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุธรรม ตามข้อความในพระไตรปิฎกที่เป็นคำสอนของพระ พุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ครับ

ดังนั้นการอบรมปัญญา ก็เป็นผู็มีปกติเจริญสติปัฏฐาน แม้จะเห็นโทษของกิเลส ก็ ยังเป็นธรรมดาที่ล่วงศีลได้ และไม่มีใครสามารถบังคับไม่ให้ล่วงศีล เพราะ เป็นธรรม และเป็นอนัตตา ของปุถุชน แต่ การอบรมปัญญา ก็ค่อยๆ รู้ความจริงว่าไม่พ้นจากธรรม และ ขณะที่รู้ความจริงในสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ในขณะนั้น ก็มีศีล ที่เป็นอธิศีล เพราะประกอบด้วยปัญญา และมีสมาธิ และปัญญาในขณะนั้น เมื่อปัญญามากขึ้น ก็ ขัดเกลากิเลสมากขึ้น เห็นโทษของการล่วงศีลมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ ล่วงศีล เพราะยังเป็นปุถุชน แต่ก็สามารถอบรมปัญญาบรรลุธรรมได้ หากปัญญาถึง พร้อมจริงๆ ครับ ดังตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
papon
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
nopwong
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
ckannikar
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่กรุณาอธิบายและยกตัวอย่างชาดกประกอบ ความจริงดิฉันชอบอ่านชาดก เนื่องจากได้เห็นความสัมพันธ์ของเรื่องราวที่เชื่อมโยงข้ามชาติภพ แม้ว่าเรื่องนายพรานกุกกุฎมิตร ในส่วนของการกลับมาเกิดเป็นนายพรานหลังจากเสวยบุญในสวรรค์จะยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากปัจจัยใด (อาจเป็นผลกรรมจากอดีตชาติอันไกลโพ้นหรือไม่)

ดิฉันสนใจธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่พอสมควรทีเดียว (อาจเป็นกุศลวิบากจากอดีตชาติ-ไม่ทราบใช้คำถูกต้องหรือไม่) แต่ก็ชอบคิดอะไรแบบเป็นเหตุเป็นผล (แบบของตัวเอง) ทำให้เมื่อเจออะไรที่ติดข้องไม่เข้าด้วยเหตุด้วยผล (แบบของตัวเอง) ก็มักชะงักสงสัย ความจริงก็เพราะปัญญายังไม่ถึงนั่นเอง ต้องขอแสดงความขอบพระคุณอย่างแท้จริงในเมตตาของทุกท่านค่ะ

ก็คงต้องพยายามคิด-อ่าน-ฟัง-ทบทวนให้มากต่อไป

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ