อริยบุคคลขั้นต้นอย่างโสดาบัน ท่านดับ อิสสา มัจฉริยะ ได้

 
tanaprasith
วันที่  1 ต.ค. 2556
หมายเลข  23741
อ่าน  2,371

หนังสือเรื่อง พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน ของคุณนีนา วัน กอร์คอม ที่แปลโดยคุณดวงเดือน บารมีธรรม พิมพ์ครั้งที่ 4 บทที่ 23 หน้าที่ 235

ที่พูดถึงว่า อริยบุคคลขั้นต้นอย่างโสดาบัน ท่านดับ อิสสา มัจฉริยะ ได้

ผมไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นยังมีความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อนหรือไม่ ผมเข้าใจว่า อริยบุคคลขั้นต้นอย่างโสดาบันนั้นละสังโยชน์ได้ 3 ประการ ความเข้าใจของตัวเองที่เกิดจากการอ่านตำรา ฟังมาตอนนี้เข้าใจว่า อิสสา มัจฉริยะนั้น น่าจะอยู่ในตระกูลโทสะจริต ผู้ซึ่งจะละได้เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ขาดสิ้น ต้องอยู่ในระดับพระอนาคามีขึ้นไปเท่านั้น

ไม่ทราบว่า ข้อเท็จจริงที่เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้ควรเป็นอย่างไรครับ

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ นั้น เป็นไปด้วยปัญญาที่

อบรมจนถึงความสมบูรณ์พร้อม และกิเลสที่ดับได้นั้น ก็ดับตามลำดับดับขั้น เริ่มตั้ง

แต่ขัั้นพระโสดาบัน จนถึง ความเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เท่านั้นที่จะเป็นผู้

สามารถดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกได้เลย สำหรับ

กิเลสที่จะต้องพิจารณา

ที่ท่านผู้ถามได้ยกมา มี ๓ ประเภท คือ อิสสา มัจฉริยะ และ โทสะ และ

สังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ด้วย

สังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็น

ตัวตนเป็นสัตว์บุคคล) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม) และสีลัพพต

ปรามาส (การลูบคำยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด)

ซึ่งเมื่อได้ศึกษาในส่วนอื่นๆ ด้วยก็จะเห็นว่า พระโสดาบันยังสามารถดับกิเลส

ประการอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ ความเห็นผิด กับ ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม

เท่านั้น ยังสามารถดับ ความตระหนี่ ดับความริษยา ดับกิเลสอย่างหยาบที่จะเป็น

เหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ทั้งหมด

อิสสา ถ้าเกิดก็เกิดร่วมกับจิตที่มีโทสะเป็นมูล มัจฉริยะ เวลาเกิดก็เกิดร่วมกับจิต

ที่มีโทสะเป็นมูล โทสะก็เกิดร่วมกับจิตประเภทที่มีโทสะเป็นมูลเท่านั้น ไม่เกิด

ร่วมกับจิตประเภทอื่น

ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

-โทสเจตสิก เป็นเจตสิกที่หยาบกระด้าง เป็นสภาพธรรมที่ประทุษร้ายเดือดร้อน

ขุ่นเคืองเกิดร่วมกับโทสมูลจิต ๒ ดวงโทสเจตสิกดับเป็นสมุจเฉทเมื่อรู้แจ้งอริยสัจจ

ธรรมขั้นพระอนาคามีบุคคล ฉะนั้น พระโสดาบันบุคคลจึงยังมีความเศร้าโศกเสียใจ

เพราะยังมีโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง

-อิสสาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ริษยาสมบัติของผู้อื่นทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ

คุณสมบัติอิสสาเจตสิกเกิดร่วมกับโทสมูลจิต โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้นบางวาระก็มี

อิสสาเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางวาระก็ไม่มีอิสสาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อิสสาเจตสิกดับ

เป็นสมุจเฉทเมื่อโสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้น รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ฉะนั้นพระอริยบุคคล

จึงไม่มีอิสสาเจตสิกอีกเลย

-มัจฉริยเจตสิก เป็นเจตสิกที่ตระหนี่สมบัติของตน ไม่ต้องการให้บุคคลอื่น มีส่วน

ร่วมใช้สอยได้รับประโยชน์ใดๆ จากสมบัติของตนมัจฉริยเจตสิกเกิดได้กับโทสมูล

จิต ๒ ดวง แต่ไม่เกิดกับโลภมูลจิตเลย เพราะขณะใดที่มัจฉริยเจตสิกเกิด ขณะนั้น

จิตเดือดร้อนไม่สบายใจ มัจฉริยเจตสิกจึงเกิดร่วมกับโลภ-มูลจิตไม่ได้ เพราะโลภ

มูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนาและโสมนัสเวทนาเท่านั้น แต่มัจฉริยเจตสิกต้อง

เกิดร่วมกับโทมนัสเวทนาทุกครั้ง โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้น บางวาระก็มีมัจฉริยเจตสิก

เกิดร่วมด้วย บางวาระก็ไม่มีมัจฉริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย มัจฉริยเจตสิกดับเป็นสมุจ

เฉทเมื่อโสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลไม่มี

มัจฉริยเจตสิกเกิดอีกเลย แต่ที่พระเสกขบุคคล (ผู้ยังต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับ

กิเลส ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์) ผู้เป็นคฤหัสถ์ยังไม่สละสมบัติ

ทั้งหลายก็เพราะยังมีโลภเจตสิก แต่เมื่อเป็นไปในทางที่ชอบที่ควรแล้ว พระเสกข

บุคคลคฤหัสถ์ผู้ปราศจากมัจฉริยะแล้วย่อมสละวัตถุนั้นเป็นทานได้ เพราะโสตา

ปัตติมัคคจิตดับมัจฉริยะเป็นสมุจเฉท

----------------------------

ตามที่เรียนแล้ว่า การดับกิเลส ดับเป็นขั้นๆ แม้ว่าอิสสา กับ มัจฉริยะ จะเป็น

กิเลสที่อยู่ในกลุ่มของโทสะ ก็ตาม เพราะเวลาเกิดก็เกิดร่วมกับโทสะ ในเมื่อดับ

กิเลสและมัจฉริยะได้แล้ว ก็ไม่มีกิจที่จะต้องดับอีก แต่ในเมื่อยังมีโทสะ อยู่ ก็จะถึง

การถูกดับด้วยอนาคามิมรรค

พระโสดาบันดับอิสสาได้ ดับมัจฉริยะได้ นั่นก็หมายความว่า กิเลสในฐานะเดียว

กันที่เกิดพร้อมกันกับอิสสา และ กิเลสที่อยู่ในฐานะเดียวกันกับมัจฉริยะ ก็เป็นอันถูก

ดับด้วย ไม่เกิดขึ้นอีกเลย จากความเข้าใจเบื้องต้นตรงนี้ ก็จะเข้าใจได้ว่า เ

มื่อพระโสดาบัน ไม่มีโทสมูลจิตที่มีอิสสาเกิดร่วมด้วย พระโสดาบันไม่มีโทสมูลจิต

ที่มีมัจฉริยะเกิดร่วมด้วย

ส่วนพระอนาคามี ท่านดับโทสะได้อย่างหมดสิ้น ไม่มีโทสมูลจิต (พร้อมกับเจตสิก

ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) เกิดขึ้นอีกเลย ประโยชน์จึงอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกเป็น

สำคัญ ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ธรรมที่พระโสดาบันละได้แล้ว [ปหีนสูตร]

โทจตุกเจตสิก

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง และ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงพระธรรมด้วยเหตุ

และผล แม้แต่การที่พระโสดาบัน สามารถละ อิสสา หรือ ความริษยา และ มัจฉริยะ

คือ ความตระหนี่ ก็ต้องมีเหตุผลตามความเป็นจริงด้วยครับว่าเพราะอะไร อันจะ

แสดงถึงความละเอียดของกิเลส และ ความละเอียดของปัญญาว่าสามารถละได้

เพราะอะไร ครับ

ลักษณะของความอิจฉาริษยา หรือ อิสสานั้น คือ ขณะนั้นย่อมไม่ชอบใจ ไม่พอใจ

ขุ่นใจ ในเมื่อบุคคลอื่นได้ลาภ ได้สักการะ ได้ความเคารพ ได้ความนับถือ ได้รับการ

ไหว้และบูชา กล่าวได้ว่าเห็นบุคคลอื่นได้ดีแล้ว ทนไม่ได้ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นได้ดี

นี้เป็นลักษณะของความริษยา (ธรรมที่ตรงกันข้ามกับความริษยา คือ มุทิตา ความ

พลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี เมื่อผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ดี) ความริษยา จึงมีความไม่พอใจ

ไม่อยากให้ผ็อื่นได้ในสิ่งที่ดี เป็นลักษณะของความริษยา ครับ

ซึ่งสามารถพิจารณาเหตุผลได้ครับว่า เหตุใด พระโสดาบันจึงละความอิสสา ริษยาได้

หมดสิ้นไม่เกิดอีกเลย

พระโสดาบัน มีปัญญา ประจักษ์พระนิพพาน และที่สำคัญที่สุด ท่านละความยึดถือ

ว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตนหมดสิ้นแล้ว เพราะ รู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งก่อนจะ

ถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็เจริญอบรมสติปัฏฐานระลึกรู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมในสภาพ

ธรรมแต่ละอย่าง อย่างคล่องคล่องชำนาญ ท่านจึงไม่สำคัญว่ามีสัตว์ บุคคล มีแต่เพียง

ธรรม ดังนั้น ความริษยา อิสสา คือ การไม่ยินดีในสิ่งที่ผู้อื่นได้ ในบุคคลที่ไม่ชอบได้

ดังนั้น เมื่อท่านประจักษ์ว่าเป็นแต่เพียงธรรม ท่านก็ย่อมไม่สำคัญผิดว่า มีเรา มีคนอื่น

ที่ได้ลาภ สักการะ ไม่สำคัญผิดว่า มีลาภ สักการะจริงๆ เพราะ มีแต่เพียง สิ่งที่ปรากฎ

ทางตาที่ดี เสียงที่ดี และ สักการะ ชื่อเสียงก็เป็นแต่เพียงความคิดนึก ซึ่งก็เป็นแต่เพียง

ธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เรา เมื่อถึงความเป็นพระโสดาบัน ท่านย่อมประจักษ์ความจริงจน

หมดสิ้นแล้ว ว่ามีแต่ธรรมไม่ใช่เรา ไม่มีสัตว์บุคคล ดังนั้น จะอิจฉาใคร ในเมื่อมีแต่ธรรม

จะไม่ยินดีในคนอื่นได้ลาภ สักการะได้อย่างไร เพราะ ลาภสักการะ ก็เป็นแต่เพียงธรรม

ที่ เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจที่เป็นแต่เพียงธรรมเท่านั้น

มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่ หมายถึง ความเหนียวแน่น ความหวงแหน ในสมบัติของ

ตน หรือ ปกปิดสมบัติของตนไม่ให้ผู้อื่นรู้ หรือ อยากให้สิ่งที่มีอยู่กับตน หรือ สิ่งที่ดีๆ

นั้นมีอยู่กับเราผู้เดียว ไม่อยากให้ผู้อื่นมี เป็นต้น นี่คือ ลักษณะของความตระหนี่ ครับ

พระโสดาบันท่านละความตระหนี่ได้ เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า เมื่อเราตระหนี่ก็

ตระหนี่ในสมบัติของตนเอง แล้วอะไรหละที่สำคัญว่า เป็นสมบัติ เป็นสิ่งของ เป็น

สิ่งต่างๆ ก็เพราะ อาศัยความยึดถือว่ามีสัตว์ บุคคล มีสิ่งต่างๆ ด้วยความเห็นผิด ที่

เป็นความเห็นผิด ดังนั้น พระโสดาบันละความเห็นผิดหมดสิ้น จึงไม่มีความตระหนี่

ในสมบัติของตน เพราะ สมบัติของท่านก็ไม่พ้นจากเพียงธรรมอย่างหนึ่ง ไม่มีใครเป็น

เจ้าของ ตัวท่่านก็ไม่เป็นเจ้าของธรรม ใครคนอื่นก็ไม่เ็ป็นเจ้าของธรรม ไม่เป็นเจ้าของ

ของทรัพย์สมบัติ จึงละความตระหนี่ได้หมดสิ้น ครับ

ทั้งความริษยา และ ความตระหนี่ ละได้ด้วยโสตาปัตติมรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒- หน้าที่ ๓๓๐

... ถามว่า สังโยชน์ ๑๐ นั้นไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุใด.

... ตอบว่า ก่อนอื่น สังโยชน์ ๕ คือทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อิสสา (ริษยา)

และ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ไม่เกิดต่อไป ด้วยโสดาปัตติมรรค.

สังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ ปฏิฆะ อย่างหยาบ ไม่เกิดต่อไปด้วยสกทาคามิมรรค.

สังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ ปฏิฆะ อย่างละเอียด ไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.

สังโยชน์ ๓ คือ มานะ ภวราคะ และ อวิชชา ไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตตมรรค

-----------------------------

การอบรมปัญญา โดยเฉพาะการเจริญสติปัฏฐานที่ค่อยๆ เข้าใจว่า ในแต่ละขณะเป็น

ธรรมไม่ใช่เรา จะเป็นหนทางที่ถูกต้องที่จะค่อยๆ ละความตระหนี่ และ ความริษยาได้

เพราะ ไม่มีทรัพย์สมบัติให้ิอิจฉา ริษยา และ ไม่มีทรัพย์สมบัติ ให้ตระหนี่ เพราะ มีแต่

ธรรมไม่ใช่เรา ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 4 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สิริพรรณ
วันที่ 21 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาขอบพระคุณ ด้วยความเคารพค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ