จิตและวิบากจิต

 
papon
วันที่  2 ต.ค. 2556
หมายเลข  23752
อ่าน  1,752

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

เมื่อมีกุศลจิตและอกุศลจิตย่อมมีวิบากจิตตามมาในกาลต่อไป ทุกครั้งที่เกิดกุศลและอกุศลจิตต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนั้นวิบากจิตจะต้องมีวิบากเจตสิกตามมาด้วยหรือไม่ครับ (กระผมไม่ทราบคิดถูกหรือไม่) ขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ช่วยกรุณาให้ปัญญา

ด้วยครับ ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อกล่าวถึง สภาพธรรมที่เป็น วิบาก ที่เป็นผลของกรรม ไม่ได้หมายเฉพาะ จิตเท่านั้น ดังนั้น วิบาก มุ่งหมายถึง นามธรรม ที่เป็น จิต และ เจตสิกด้วย ซึ่ง เจตสิก หากเกิดกับจิตประเทอไร ก็เป็นชาติ ประเภทตามนั้น เช่น ผัสสเจตสิก ทีเ่กิดกับ ปฏิสนธิจิตที่เป็น วิบากจิต ผัสสเจตสิกทีเ่กิดร่วมด้วยนั้น ก็เป็น วิบาก เจตสิก เป็นเจตสิกที่เป็นผลของกรรมที่เป็นชาติวิบากด้วย ครับ เพราะฉะนั้น ผู้ถาม มีความเข้าใจถูกต้องแล้ว ที่ เข้าใจถูกว่า เมื่อเป็นวิบาก มุ่งหมายถึง จิต และ เจตสิก ด้วย เจตสิกทีเ่กิดร่วมกับจิตชาติวิบาก เจตสิกนั้นก็เป็น วิบากเจตสิก เจตสิกทีเ่ป็น ชาติวิบาก ซึ่ง ขอยกคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ ดังนี้ ครับ

กรรมทำให้วิบากจิตและเจตสิกเกิด

กรรมซึ่งเป็นนามธรรม เป็นเจตนาเจตสิกเป็นปัจจัย ทำให้ปัจจยุปบัน คือ วิบาก จิตและรูปเกิดขึ้น

โดยมากทุกท่านมักจะเห็นผลของกรรมเฉพาะแต่รูป ไม่ได้ทราบว่า แท้ที่จริง แล้วสภาพธรรมซึ่งเป็นนามธรรม ซึ่งรับผลของกรรม ซึ่งเป็นวิบากนั้น มี แต่เวลาที่ท่าน ผู้ฟังมักจะพูดกันว่า นี่เป็นผลของกรรม หรือนั่นเป็นผลของกรรม ท่านก็จะนึกถึงในด้าน ของวัตถุ เช่นในเรื่องของรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ โภคสมบัติ ถ้าเป็นผลของกุศล กรรม หรือถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม ก็มักจะคิดถึงในเรื่องของรูปธรรมเท่านั้น คือ ใน เรื่องของรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ หรือว่าความวิบัติของโภคทรัพย์ต่างๆ แต่ให้ทราบ ว่าสภาพธรรมที่เป็นปัจจยุปบัน เป็นผลของกรรม เป็นนามธรรมด้วย คือ จิตและเจตสิก ซึ่งเป็นวิบากจิต

เชิญคลิกที่นี่ ครับ

วิบากเป็นจิตและเจตสิกที่เกิด เพราะกรรมเป็นปัจจัย

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
natural
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ เรียนถามอ.เพิ่มเติมนะคะ

จากที่ฟังตามลิงค์ด้านบน ...จิตที่เกิดพร้อมกับเจตสิกเป็นวิปากปัจจัยของเจตสิก เจตสิกที่เกิดพร้อมจิตเป็นวิปากปัจจัยของจิต ทั้งจิตและเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นวิบากทั้งสองอย่างและเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน โดยต่างก็เป็นวิปากปัจจัยแก่กันและกัน

จากความหมายปัจจัย คือ อาศัยเป็นไป ไม่เข้าใจว่าจิต เจตสิก รูป อาศัยเป็นไปตามประเภทของปัจจัยในวิถีจิตอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

วิปากปัจจัย คือ สภาพเป็นที่อาศัยเป็นไปโดยความเป็นวิบาก หมายถึง วิบากจิต และเจตสิกที่ประกอบ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปที่เกิด จากวิบากจิต รวมทั้งปฎิสนธิกัมมชรูปด้วย

ถ้ากล่าวถึง ในขณะที่เป็นวิถีจิต ก็ต้องเป็นขณะที่เป็นจิตที่เป็นชาติวิบาก คือ วิบากจิตเท่านั้น ที่เกิดขึ้น จึงจะเป็น วิปากปัจจัย เช่น ขณะที่เห็น จักขุวิญญาณจิต เกิด ใน จักขุทวารวิถี ก็เป้น วิปากปัจจัยให้เกิด เจตสิกทีเ่กิดร่ววมด้วยในขณะนั้น ก็เป็นการอาศัยซึ่งกันและกัน ทั้ง จิต เจตสิก ที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้น ที่เป้น จักขุวิญญาณจิต แต่ ในขณะที่วิถีจิตเกิด ไม่ได้มีเฉพาะ วิบากจิต มี กุศลจิต อกุศลจิตได้ ทางชวนจิต ขณะนั้น ไม่เป็น วิปากปัจจัย เพราะ ไม่ใช่ ชาติวิบาก แต่ เป้น ชาติ กุศล และ อกุศล ครับ

ส่วน วืปากปัจจัย ก็เป็นปัจจัยให้กับรูปได้ เช่น เกิด กัมมชรูป ยกตัวอย่างเช่น ปฏิสนธิจิตที่เป็น จิตชาติวิบาก เป็นปัจจัยโดย วิปากปัจจัย กับ สภาพธรรมทีเ่กิด พร้อมกัน คือ เจตสิกทีเ่กดิร่วมด้วย รวมทั้ง รูปทีเ่กิดร่วมด้วย คือ กัมมชรูป ครับ รวมทั้ง เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิด เจตสิกชาติวิบากนั้น ก็ เป้นปัจจัย โดย วิปากปัจจัย กับ ปฏิสนธิจิต ด้วยครับ นี่คือ เป้นวิปากปัจจัยที่ อาศัยกันและกัน ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 3 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน จากข้อความในความเห็นที่๓ กระผมยังไม่เข้าใจ ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยยกตัวอย่างด้วยครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 3 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

ขออนุญาตยกตัวอย่าง เช่น ขณะนี้เกิดจิตเห้นเกิดขึ้น จิตเห้น เป้นชาติวิบาก คือ จักขุวิญญาณจิต เมื่อจิตเกิดขึ้น ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนั้น จิต ทีเ่ป็นจักขุ วิญญาณ ทีเ่ป็นวิบากจิตนั้น ตัวจิตที่เป็นวิบาก ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้น เอง จึงเป็นปัจจัย โดยวิปากปัจจัยให้ เกิด เจตสิกทีเ่กิดร่วมด้วยในขณะนั้น ที่เป็น เจตสิก 7 ประเภท มี ผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย และ เจตสิกทีเ่กิดร่วมด้วย มีผัสสะ เจตสิก เป็นต้น ทีเ่กิดกับ จักขุวิญญาณจิต ผัสสเจตสิกนั้น ก็เป็นวิปากปัจจัย กับ จิต ทีเ่ป็นจักขุวิญญาณจิตด้วย ครับ โดยการเกิดพร้อมกันนั่นเอง นี่คือ ตัวอย่างหนึ่ง

และอีกตัวอย่างหนึ่งที่กล่าวไปแล้ว ใน เรื่องปฏิสนธิจิต คือ ปฏิสนธิจิตที่เป็น จิตชาติวิบาก เป็นปัจจัยโดย วิปากปัจจัย กับ สภาพธรรมทีเ่กิด พร้อมกัน คือ เจตสิกทีเ่กดิร่วมด้วย รวมทั้ง รูปทีเ่กิดร่วมด้วย คือ กัมมชรูป ครับ รวมทั้ง เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิด เจตสิกชาติวิบากนั้น ก็ เป้นปัจจัย โดย วิปากปัจจัย กับ ปฏิสนธิจิต ด้วยครับ นี่คือ เป้นวิปากปัจจัยที่ อาศัยกันและกัน

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 3 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นความละเอียดของพระธรรมที่จะต้องค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สะสมความเข้าใจ ถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย เป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ ชีวิตประจำวันของแต่ละคนนั้นก็ไม่พ้นไปจากขณะที่เป็นการได้รับผลของกรรม กับ ขณะที่เป็นการสะสมเหตุ ที่เป็นกุศล บ้าง เป็นอกุศล บ้าง ตามการสะสมของ แต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแต่ละหนึ่ง ไม่เหมือนกันเลย ขณะที่เป็นกุศล เช่น ให้ทาน รักษาศีล ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เป็นต้น นี้ คือ การสะสม เหตุที่ดี และ ยังเป็นเหตุให้เกิดผลที่ดีในภายหน้าด้วย แต่เราก็ไม่สามารถจะรู้ได้วา ผลหรือวิบากจะเกิดขึ้นเมื่อใด ในทางตรงกันข้าม อกุศลจิตเกิดขึ้นเป็นไปมากใน ชีวิตประจำวัน ทั้งความติดข้องยินดีพอใจ ทั้งความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ เป็นต้น

ถ้ายังไม่มีกำลังถึงขั้นประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่น ก็ยังไม่เป็นเหตุให้เกิดผลในภาย หน้า แต่ถ้ามีกำลังล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เมื่อใด ก็ย่อมจะเป็น เหตุให้เกิดผลที่ไม่ดีในภายหน้าได้ อกุศลทั้งหมด เป็นสิ่งที่ไม่ควรประมาทเลย เพราะมีแต่โทษเท่านั้น ที่ควรจะเข้าใจคือ เราไม่สามารถจะรู้ได้ว่า กรรมใด จะให้ผลเมื่อใด เพราะเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ

สำหรับ วิบาก ก็ได้แก่ ขณะทีเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรม รู้สิ่งที่กระทำสัมผัสทาง กาย ตลอดจนถึงขณะที่หลับสนิท กล่าวว่าเป็นวิบาก ซึ่่งก็คือ จิต และเจตสิกธรรม เกิดขึ้นเป็นการรับผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว นั่นเอง วิบากทั้งหมด ต้องมาจาก เหตุ คือ กรรมที่กระทำแล้ว ทั้งหมด ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 3 ต.ค. 2556

จิตเห็นเป็นวิบาก เจตสิกที่เกิดร่วมก็ต้องเป็นวิบากด้วย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
papon
วันที่ 3 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

กระผมขอถามต่อดังนี้ครับ

๑ ถ้าจิตเป็นอกุศลและเกิดเจตสิกที่เป็นอกุศล เช่นเวลา เห็นสิ่งใดที่ไม่ชอบแล้วโกรธและคิดไม่ดี อกุศลวิบากก็จะทำให้ได้รับทั้งวิบากจิตและเจตสิกอย่างนี้ไปเป็นวัฏฏะเรื่อยไปไม่มีที่สิ้น สุดหรือครับ และในวิถีจิตที่ตรงไหนครับจะตัดวัฎฎะนี้ได้

๒ ในชาติอื่นๆ เป็นอย่างนี้หือไม่อย่างไรครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
natural
วันที่ 3 ต.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 4 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

ข้อที่ 1 ก็ต้องพิจารณาว่า อกุศลที่เกิดขึ้น ถึงกรรมบถ ล่วงศีล ที่จะทำให้เกิดวิบาก หรือไม่ ถ้าไม่ถึง เพียงโกรธในใจ ก็ไม่เกิดวิบากจิต และ วิบากเจตสิก ครับ และ การ จะตัดการเกิดวิบาก คือ การไม่เกิดอีก ถึงความเป็นพระอรหันต์ และ ปรินิพพาน ครับ

ข้อ 2 ในจิตชาตอื่นๆ มี กุศล เป็นต้น ทำนองเดียวกับข้อ หนึ่งที่ได้อธิบายไป แต่ ถ้า เป็นจิต ชาติกริยา และ วิบาก ไม่เกิดวิบากจิต และ วิบากเจตสิก ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ