อภิสังขาร ในกระทู้ที่ 23416 หมายความว่าอย่างไร

 
papon
วันที่  25 ต.ค. 2556
หมายเลข  23915
อ่าน  1,115

เรียนถาม คำว่า "อภิสังขาร" จากในกระทู้ที่ 23416

หมายความว่าอย่างไรครับ

พัก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นและดับไป ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็น จิต เจตสิก รูป ซึ่งไม่ไกลตัวเลย คือ ขณะนี้ที่กำลังเกิด กำลังปรากฎ เช่น เห็น ได้ยิน คิดนึก เพราะ มีสภาพธรรมเหล่านี้ได้ เพราะ มีการเกิดขึ้นสิ่งใดเกิด สิ่งนั้นจะต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่ง ที่เรียกว่า สังขารธรรม เพราะ มีปัจจัยปรุงแต่ง อะไรที่ปรุงแต่ง คือ จิตเกิดขึ้น ก็จะต้องมีเจตสิกเกิดขึ้น เจตสิก ปรุงแต่งให้จิตเกิดขึ้น และ เจตสิกก็อาศัย จิต จึงเกิดขึ้น ส่วนรูป เช่น ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จะเกิดขึ้น ก็ตองอาศัยรูปอื่นๆ ปรุงแต่งให้เกิดขึ้น รูปจึงเป็นสังขารธรรม เช่นกัน

ส่วนอภิสังขารธรรม ละเอียดลงกว่านั้น อภิ แปลว่าอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นอภิสังขารธรรม หมายถึง สภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง ก็คือ เจตนาเจตสิก ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังขารธรรม อภิสังขารธรรม ที่เป็นเจตนาเจตสิก ปรุงแต่งอย่างยิ่ง คือ ปรุงแต่งให้เกิดภพ เกิดชาติ มีการเกิดร่ำไป ครับ อภิสังขาร คือ เจตนาเจตสิก ที่เป็นกรรมครับ ดังนั้น อภิสังขาร จึงเป็นกุศลเจตนา คือกุศลกรรมระดับต่างๆ และอภิสังขารยังหมายรวมถึง อกุศลเจตนา คือ อกุศลกรรมทั้งหมดด้วยครับ ดังนั้น สังขารที่เป็นอภิสังขารจึงเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งให้เกิดวิบากจึงมี ๓ ดังนี้ครับ

๑. เจตนาที่เป็นไปในกุศลขั้นกามาวจรและกุศลขั้นรูปาวจรกุศล

๒. เจตนาที่เป็นไปในอกุศลกรรม

๓. เจตนาที่เป็นในกุศลขั้นอรูปาวจรกุศล

เชิญอ่านข้อความจากพี่เมตตาในเรื่องนี้ ครับ

สังขารธรรมและอภิสังขารธรรม ไม่ใช่เพียงชื่อที่อยู่ในพระไตรปิฎก แต่คือความจริงขณะนี้ สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้เพราะมีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิด ได้แก่ จิตทั้งหมด เจตสิก ๕๒ และรูป ๒๘ จิตเห็น จิตได้ยิน.. .และจิตคิดนึก จิตเห็นเกิดขึ้นเองลอยๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัย เช่นจิตเห็นเกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย ๗ ประเภท ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ และมนสิการ เกิดพร้อม ดับพร้อม มีอารมณ์เดียวกัน และมีที่เกิดเดียวกัน เป็นปัจจัยโดยความเป็นสัมปยุตตปัจจัยซึ่งกันและกัน จิตเห็นเป็นวิปากจิตเป็นผลของกรรม เจตนาที่เกิดร่วมด้วยจึงเป็นสังขารขันธ์ ไม่ใช่อภิสังขาร เพราะว่าเจตนาที่เป็นอภิสังขารนั้นต้องเป็นเจตนาที่เกิดกับกุศล และอกุศลกรรมเท่านั้น ที่จะให้ผลนำเกิดในภพภูมิต่างๆ และเมื่อเกิดมาแล้วก็ยังต้องได้รับผลของกรรมอีก คือ ต้องเห็น ต้องได้ยิน...ต้องกระทบสัมผัสสิ่งที่น่าพอใจ หรือสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แล้วแต่ว่าเป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม

เจตนาที่เกิดขึ้น เมื่อยังไม่ใช่ขณะที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม ก็เป็นเพียงสังขารธรรม สำหรับเจตนาที่เกิดกับกุศลกรรมและอกุศลกรรมซึ่งปรุงแต่งอย่างยิ่งที่จะให้เกิดผลนำเกิดในภพต่างๆ เจตนานั้นจึงเป็นอภิสังขาร ทั้งสังขารและอภิสังขารก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แม้เจตนาเล็กๆ น้อยๆ ที่จะกระทำอกุศลก็ไม่ควรประมาท เมื่อสะสมทีละน้อยๆ สักวันหนึ่งย่อมกระทำอกุศลกรรมบถได้ที่จะให้ผลนำเกิดในอบายภูมิ

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่.....อภิสังขาร ๓ [สังคีติสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 26 ต.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 26 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม ละเอียดลึกซึ้งมาก จะประมาทในพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังแต่ละคำไม่ได้เลย เพราะแต่ละคำ เพื่อเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ทุกคำเพื่อเข้าใจสภาพธรรมมีมีจริงในขณะนี้จริงๆ แม้แต่ สังขาร กับ อภิสังขาร ก็แสดงให้เข้าใจถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ โดยที่สังขารกว้างมาก ครอบคลุมสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด แต่สภาพธรรมที่เป็นอภิสังขาร กล่าวคือ เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง ก็เฉพาะเจตนาทีทำสำเร็จเป็นกุศลกรรมบถ กับ อกุศลกรรมบถ เท่านั้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดวิบาก ในภายหน้า ตามความเป็นจริงแล้ว เจตนา เกิดกับจิตทุกขณะไม่มีเว้น ถ้ากล่าวโดยรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเจตนา ที่เกิดกับจิตประเภทใด มีกำลังสำเร็จเป็นกุศลกรรมบถหรืออกุศลกรรมบถ หรือไม่มีกำลังที่จะสำเร็จเป็นกุศลกรรมบถหรืออกุศลกรรมบถก็ตาม ก็ไม่พ้นไปจากความเป็นสังขาร (สังขารธรรม) เพราะเป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 26 ต.ค. 2556

อภิสังขาร มี 3 คือ

1. ปุญญาภิสังขาร

2. อปุญญาภิสังขาร

3. อเนญชาภิสังขาร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 26 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 7 พ.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ