ลักขณสูตร และ จินตสูตร ... วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
ลักขณสูตร และ จินตสูตร
จาก
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้า ๕ , ๗
(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)
...นำสนทนาโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ ๕
ลักขณสูตร
(ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต)
[๔๔๑] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย คนพาล มีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิต
ก็มีกรรมเป็นลักษณะ มีปัญญาปรากฏในอปทาน (ความประพฤติ) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓
ประการคืออะไรบ้าง? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นคนพาล
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่า
เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง? คือ กายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาในข้อนี้ อย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลายจักละเสียซึ่ง
ธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้
ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือเอาธรรม ๓ ประการนั้นประพฤติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบลักขณสูตรที่ ๒.
อรรถกถาลักขณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในลักขณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
กรรมที่เป็นไปทางกายทวาร เป็นต้น เป็นลักษณะ คือ เป็นเหตุให้หมาย
รู้บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า มีกรรมเป็นลักษณะ.
ปัญญาที่งามด้วยความประพฤติ (จริต) ชื่อว่า อปทานโสภนีปัญญา.
อธิบายว่า พาลและบัณฑิต ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่ตนประพฤติมาแล้ว นั่นแล.
จริงอยู่ ทางที่คนพาลไปแล้ว ย่อมเป็นเหมือนทางไปของไฟป่าซึ่งลาม
ไปเผาไหม้ต้นไม้ กอไม้ คามนิคมเป็นต้น ฉะนั้น ปรากฏเหลือก็แต่เพียงสถาน
ที่ที่ปลูกบ้านเท่านั้น ซึ่งเต็มไปด้วยถ่าน เขม่า และเถ้า. ส่วน ทางที่บัณฑิตไป
เหมือนทางที่เมฆฝน ซึ่งตั้งเค้าขึ้นทั้ง ๔ ทิศ แล้วตกลงมา เต็มหลุมและบ่อ
เป็นต้น นำความงอกงามของรวงข้าวกล้าชนิดต่างๆ มาให้ฉะนั้น. สถานที่ที่
มีน้ำเต็ม และมีผลาผลของข้าวกล้าชนิดต่างๆ งอกงาม ปรากฏอยู่ในทาง
ที่เมฆฝนซึ่งตั้งเค้าขึ้น ฉันใด ในทางที่บัณฑิตดำเนินไป ก็มีสมบัติอย่างเดียว
เท่านั้น ไม่มีวิบัติเลย ฉันนั้น. บทที่เหลือในพระสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น
จบอรรถกถาลักขณสูตร.
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗
จินตสูตร
(ว่าด้วยลักษณะแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับคนพาล)
[๔๔๒] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทาน (ความประพฤติ)
ของคนพาล มี ๓ อย่าง ๓ อย่างคืออะไรบ้าง? คือ คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็น
ผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติ ก็ถ้าคน
พาลจักไม่เป็นผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่ว
โดยปกติแล้วไซร้ คนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาได้อย่างไรว่า อสัตบุรุษผู้
นี้เป็นคนพาล ก็เพราะเหตุที่คนพาลย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำ
ชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกตินั่นแล คนฉลาดทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า
อสัตบุรุษผู้นี้ เป็นคนพาล นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ นิมิต อปทาน
๓ อย่างของคนพาล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทาน ของบัณฑิต มี ๓ อย่าง
๓ อย่าง คืออะไรบ้าง? คือ บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดยปกติ
พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติ ก็ถ้าบัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดอารมณ์ดี
โดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติแล้วไซร้ คนฉลาดทั้งหลาย
จะพึงรู้จักเขาได้อย่างไรว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตย่อม
เป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกตินั่นแล
คนฉลาดทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต นี่แล ภิกษุทั้งหลาย
ลักษณะ นิมิต อปทาน ๓ อย่างของบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงศึกษาในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
จักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด
พึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือเอาธรรม ๓ ประการนั้นประพฤติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบจินตสูตรที่ ๓.
อรรถกถาจินตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจินตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า พาลลกฺขณานิ ได้แก่ ที่ชื่อว่า พาลลักษณะ (ลักษณะ
ของคนพาล) เพราะเป็นเครื่องให้คนทั้งหลายกำหนด คือ รู้ได้ว่าผู้นี้เป็นคนพาล.
ลักษณะเหล่านั้นแล เป็นเหตุให้หมายรู้คนพาลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
เครื่องหมายของคนพาล. บทว่า พาลาปทานานิ ได้แก่ ความประพฤติของ
คนพาล. บทว่า ทฺจฺจินฺติตจินฺตี ความว่า คนพาล เมื่อคิด ย่อมคิดแต่เรื่อง
ที่ไม่ดี ด้วยอำนาจอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า ทุพฺภาสิตภาสี
ความว่า คนพาลแม้เมื่อจะพูด ก็ย่อมพูดแต่คำพูดที่ไม่ดี แยกประเภทเป็น
มุสาวาทเป็นต้น. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมารี ความว่า คนพาลแม้เมื่อทำ ย่อม
ทำแต่สิ่งที่ไม่ดี ด้วยอำนาจปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า ปณฺฑิตลกฺขณานิ
เป็นต้น พึงทราบตามทำนองลักษณะที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ส่วนบททั้งหลายมีบทว่า สุจินฺติตจินฺตี เป็นต้น ในพระสูตรนี้
พึงประกอบด้วยอำนาจแห่งสุจริตทั้งหลาย มี มโนสุจริต เป็นต้น.
จบอรรถกถาจินตสูตรที่ ๓.
...ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกท่าน...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
⌂ข้อความโดยสรุป⌂
ลักขณสูตร
(ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงลักษณะของคนพาล และบัณฑิต ว่า คนพาล
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ส่วนบัณฑิต ประกอบด้วย-
กายสุจริต วจีสุจริต และ มโนสุจริต
จินตสูตร
(ว่าด้วยลักษณะแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับคนพาล)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความแตกต่างระหว่างบัณฑิต กับ คนพาล ว่า
คนพาล มักคิดชั่ว พูดชั่ว และ ทำชั่ว ส่วนบัณฑิต มักคิดดี พูดดี และทำดี.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...