ความสงสัยและความเพลิดเพลินในสภาพธรรมเหมือนกันหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรครับ

 
papon
วันที่  14 ก.พ. 2557
หมายเลข  24468
อ่าน  812

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

ความสงสัยและความเพลิดเพลินในสภาพธรรมเหมือนกันหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิจิกิจฉา มีลักษณะที่สงสัย ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรม มีความคิดเห็นเป็น ๒ อย่าง อุปมาเหมือนทาง ๒ แพร่ง เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีคุณจริงหรือไม่ นรก สวรรค์ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ บาปบุญมีจริงหรือไม่ และผลของบาปบุญให้ผลได้จริงหรือไม่ วิจิกิจฉาเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตประเภทโมหมูลจิตวิจิกิจฉาสัมปยุตต์เพียงดวงเดียวเท่านั้น

วิจิกิจฉา โดยทั่วไป จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัย ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ในสิกขา สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอนาคต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีตและอนาคต สงสัยในปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นจึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัยในเรื่องสภาพธรรมด้วยเป็นสำคัญ แต่ถ้าสงสัยในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เรื่องราวทางโลก ที่ไม่เกี่ยวกับสภาพธรรม เช่น สงสัยว่า 4 บวก 5 เป็นเท่าไหร่ ความสงสัยนี้ไม่ใช่วิจิกิจฉาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...วิจิกิจฉา ๘ อย่าง

ซึ่งผู้ที่จะละ ความลังเลสงสัยจนหมดสิ้น คือ พระโสดาบัน แต่ก่อนจะถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็อาศัย พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และปัญญาที่เจริญขึ้น ก็ค่อยๆ ละ ความลังเล สงสัยได้ ทีละเล็กละน้อย ส่วน ความเพลิดเพลิน ขณะนั้น เป็นโลภเจตสิก

โลภะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นกุศลธรรมประเภทหนึ่ง ที่ติดข้อง ต้องการ ยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏ มีตั้งแต่บางเบา จนกระทั่งถึงขั้นล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เพราะติดข้องเกินประมาณ นั่นเอง เพราะฉะนั้น เรื่องของโลภะ

ซึ่ง ขณะที่สงสัย ขณะนั้น ไม่ใช่ความติดข้อง แต่เกิดพร้อมกับ โลภมูลจิต เกิดพร้อมกับ โลภเจตสิก พราะฉะนั้น โลภะ และ ความสงสัยเป็นสภาพธรรมที่แตกต่างกัน แต่เกิดร่วมกันได้ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย ความเพลิดเพลินมีจริงๆ เป็นความติดข้องต้องการ ความสงสัย ก็มีจริง เป็นธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง และมีความแตกต่างกันอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ขณะที่ความเพลิดเพลิน ความติดข้อง (โลภะ) เกิดขึ้นเป็นไป ก็ผูกไว้ในสิ่งที่เพลิดเพลิน ไม่ปล่อย ไม่สละ ไม่ทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป

ชีวิตประจำวัน ก็ยากที่พ้นไปจากโลภะ แสดงให้เห็นว่า อกุศลในชีวิตประจำวันเกิดขึ้นเป็นไปมาก มากกว่ากุศลอย่างเทียบกันไม่ได้เลย อกุศลธรรม จะมากหรือน้อย ก็ไม่ดีทั้งนั้น

ความสงสัยเป็นสภาพที่ลังเลใจตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรม ตราบใดที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคล ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม ก็ยังมีอยู่ ความลังเลสงสัย เป็นกิเลสที่กางกั้นไม่ให้กุศลจิตเกิด เพราะในขณะที่กิเลสเกิดขึ้นนั้น กุศล เกิดไม่ได้เลย และหนทางที่จะเป็นไปเพื่อละคลายความสงสัยรวมไปถึงกิเลสอกุศลธรรมประการต่างๆ ด้วย นั้น คือ การอบรมเจริญปัญญา เพราะขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ขณะนั้น ก็ละคลายความสงสัย ละคลายความไม่รู้ แล้ว จนกว่าจะดับได้อย่างหมดสิ้น เมื่อถึงความเป็นพระอริยบุคคล การเป็นพระอริยบุคคลได้นั้น ก็ต้องดำเนินตามทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ คือ การอบรมเจริญปัญญา จะขาดปัญญา ไม่ได้เลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 14 ก.พ. 2557

ความสงสัย ไม่ใช่ความเพลิดเพลินติดข้อง เป็นสภาพธรรมคนละประเภท ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
mon-pat
วันที่ 15 ก.พ. 2557

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ