ยังข้องใจเพียงหนึ่งคำตอบเท่านั้น

 
neo
วันที่  10 ธ.ค. 2549
หมายเลข  2448
อ่าน  1,724

การดับขันธ์ เข้าสู่นิพพานนั้น คือ ขันธ์ทั้ง ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ดับหมด คือสูญสิ้น ไม่มีเกิดดับอีกแล้ว คือ การไม่ก่อให้เกิด มหาภูตรูปทั้ง ๔ อีก ใช่หรือไม่ ส่วนข้อที่ผมสงสัยก็คือ แล้วจิตทั้งหมด ๘๙ ดวง ต้องดับหมดด้วยหรือไม่เมื่อเข้าสู่นิพพาน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 ธ.ค. 2549

ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ดับกิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดภพใหม่ เมื่อหมดอายุแล้ว เป็นผู้ดับขันธปรินิพพาน คือ ดับโดยรอบไม่มีอะไรเหลืออีกเลย

คลิกอ่านเพิ่มเติม ..

ปฐมนิพพานสูตร ว่าด้วยอายตนะ คือ นิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 11 ธ.ค. 2549

คลิกอ่านเพิ่มเติม..

ตติยนิพพานสูตรที่ ๓ ธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เบน
วันที่ 11 ธ.ค. 2549

อายตนะคือนิพพาน หมายความว่าอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
medulla
วันที่ 13 ธ.ค. 2549

อนุโมทนาค่ะ สาธุ พระสูตรเหล่านี้กำลังหาอยู่พอดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

จบ ปฐมนิพพานสูตรที่ ๑

มีหลายสำนักตีความเรื่องอายตนะคำนี้ ว่า "มีอยู่" บอกว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเมือง มีสภาพรื่นรมย์ คือ พยายามคงไว้ซึ่งการรับรู้ เพราะรับไม่ได้ที่อารมณ์ทุกอย่างจะหายไปเลย และแม้แต่อารมณ์นิ่งๆ ดิ่งๆ ว่างๆ (เหมือนกับว่าไร้อารมณ์) ก็ไม่ใช่ว่าจะหลุดพ้น เพราะกดกิเลสไว้ แล้วอ้างพุทธพจน์ว่า "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" เอามาอ้างประกอบแดนนิพพาน หรือ จิตเดิม ของเขา พอเห็นในพระสูตรว่ามีกล่าวไว้จริงว่า

"เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะ นั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"

ก็กระจ่างขึ้นทันที

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ย่อมมีกิเลสจรเข้ามาพระพุทธองค์ทรงตรัสชัดเจนว่า "หาอารมณ์มิได้" และ "สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิด"

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 14 ธ.ค. 2549

ตอบความเห็นที่ 3

พระนิพพานเป็นอารมณ์ของโลกุตตรจิต ขณะที่จิตรู้นิพพาน ขณะนั้นนิพพานเป็นธัมมายตนะ ฉะนั้น พระนิพพานจึงเป็นอายตนะ คือ ที่ประชุม ที่ต่อ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chackapong
วันที่ 15 ม.ค. 2550
ความดับสิ้นเหล่านี้คือไม่มีอะไรเหลืออยู่อีกเลยใช่ไหมครับแต่ธรรมมะก็ยังคงอยู่ ใช่หรือไม่
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 15 ม.ค. 2550

ความดับสิ้นในที่นี้หมายถึงดับสิ้นอุปธิ สภาพที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ คือ สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์หลังท่านดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่มีขันธ์อะไรเหลืออีกเลย แต่สภาพธรรมะคือพระนิพพาน เป็นสิ่งที่มีจริงย่อมมีเป็นอารมณ์ของผู้ที่บรรลุเป็นพระอริยบุคคล

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
neo
วันที่ 17 ม.ค. 2550

ขอประทานโทษนะครับ ขอถามเพื่อให้คลายสงสัยอีกนิดนึง พอดีเปิดกลับมาเจอพอดีตามความคิดเห็นที่ 8 ที่ตอบว่าแต่สภาพธรรมะ คือ พระนิพพานเป็นสิ่งที่มีจริงย่อมมีเป็นอารมณ์ของผู้ที่บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ถ้าเป็นดั่งนี้แล้ว พระนิพพานตกลงเป็นอัตตา หรือ อนัตตา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 ม.ค. 2550

นั้นขอถามนะครับ เมื่อจิตเกิด ย่อมมีอารมณ์ถูกไหม และอารมณ์ของจิต ก็มีหลายอย่างสิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของจิตได้ไม่มีเลย แม้แต่บัญญติ นั้นถามว่า จิต มี รูปเป็นอารมณ์ได้ไหม เช่น มี เสียงเป็นอารมณ์ (โสตวิญญาณ) ก็ตอบว่าได้ แล้ว สิ่งที่จิตรู้ (โสตวิญญาณ) คือเสียง เสียงเป็นอัตตา หรือ อนัตตา จักขุวิญญาณ (จิตเห็น) มีสีเป็นอารมณ์ สีเป็นธัมมะหรือเป็นเรา สีเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา ดังนั้น สิ่งที่มีจริง เป็นอารมณ์ของจิต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เป็นอารมณ์ของจิตแล้วจะเป็นอัตตา แม้พระนิพพานก็เป็นอารมณ์ของจิตได้ และเป็นอนัตตาด้วย เหมือนสภาพธัมมะต่างๆ ที่เป็นอารมณ์ของจิต ดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น แต่เมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานแล้ว ก็ไม่มีขันธ์ ก็ไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะไม่มีจิต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นอารมณ์แล้วจะไปสู่นิพพาน เพราะไม่ใช่สถานที่ครับ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
neo
วันที่ 18 ม.ค. 2550

ขออนุโมทนา ในกุศลครั้งนี้ครับ สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติในส่วนนี้เข้าใจครับว่า นิพพาน ไม่ใช่ดินแดน ไม่ใช่สถานที่ เหมือนที่บางสำนักเข้าใจกัน แต่อันนี้คือสุดท้ายจริงๆ ครับ ช่วยตอบให้หายสงสัยอีกคำตอบเดียวเท่านั้นครับในลัทธิมหายานนิกาย ทำไมจึงเปรียบว่านิพพาน คือ สุญญตา (คือว่างเปล่า) คือ เมื่อดับทั้งขันธ์และจิต แล้วไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็คือ ดับสูญแต่ทางเถรวาทของเรากล่าวว่า นิพพาน ไม่ใช่ สุญญตาในเมื่อนิพพาน ไม่เกิดดับ จะเปรียบได้ว่าเป็นการสูญสิ้นได้ไหมครับ

ขอขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
study
วันที่ 19 ม.ค. 2550

ในอรรถกถามีกล่าวถึงพระนิพพาน เป็นสูญญตาเช่นกัน บางนัยเป็นชื่อของโลกุตรมรรค

คลิกอ่าน..

นิพพานที่ชื่อว่าสูญ ก็เพราะสูญจากราคะ

สุญญตา เป็นชื่อของโลกุตรมรรค

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
neo
วันที่ 19 ม.ค. 2550

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ช่วยให้ความกระจ่างในการไขข้อข้องใจในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง กราบอนุโมทนาในกุศลทานในครั้งนี้

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ