สงสัยมากๆครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผมขอเรียนในเรื่องศึกษาหรือสิกขา ให้เข้าใจกันก่อน ภาษาไทยเราเข้าใจคำว่าศึกษาหรือสิกขานี้แคบไป เข้าใจว่า ศึกษาคือการเรียน การอ่านในตำราเท่านั้น ที่เรารับรู้มาอย่างนั้น แต่จริงแล้ว คำว่า “ศึกษา” ที่มาจากภาษาบาลีว่า “สิกขา” “สิกขติ” ย่อมศึกษาอยู่ ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมากเลย ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ารวมไปถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม แทงตลอด ขณะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม อริยมัคคเกิดขึ้น ท่านใช้คำว่า ขณะที่แทงตลอดชื่อว่า ศึกษาอยู่ ขณะที่รู้แจ้งด้วยวิปัสสนา ก็ชื่อว่าศึกษาอยู่ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านพระสารีบุตรท่านได้ให้ความหมายขยายความคำว่า ศึกษา หรือสิกขานี้ตั้งร่วม ๑๐ บท อย่างที่เรียนแล้วว่า ขั้นสูงสุด แม้ขณะที่อริยมัคคเกิดขึ้น อันนั้นก็ย่อมชื่อว่า ย่อมศึกษาอยู่ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น สัมมัปปธานเกิดขึ้น อินทรีย, พละ, โพชฌงค์เกิดขึ้น ขณะนั้นก็ชื่อว่า ศึกษาอยู่ สิกขาอยู่
แม้แต่การบวช เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ก็ชือ่ว่า ประพฤติสิกขา คือ ไตรสิกขาที่ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และ อธิปะญญาสิกขา เพราะฉะนั้น การบอกคืนสิกขาก็คือ การสึกออกมาเป็นเพศคฤหัสถ์ โดยการบอกคืนกับคฤหัสถ์ว่า ขอสึก ขอคืนสิกขา คือ ไม่ประพฤติไตรสิกขา ในเพศบรรพชิตอีก ครับ ซึ่งสามารถบอกได้กับเพศคฤหัสถ์ หรือ พระภิกษุ แต่ สิกขาไม่เป็นอันบอกคืน คือ การกล่าวขอสึก ไม่สำเร็จเช่น กล่าวบอกสึก กับเทวดา หรือ พูดสึกไม่ถูกต้อง ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความเข้าใจเบื้องต้นที่พอจะเข้าใจได้ คือ สิกขา เป็นอันบอกคืน หมายถึง ลาสิกขาสำเร็จ จากเพศพระภิกษุ เมื่อประสงค์ที่จะไม่เป็นพระภิกษุอีกต่อไป ไม่ประสงค์ที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติหรือสิกขาบทต่างๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้อีกต่อไป ก็กล่าวคำที่แสดงความเป็นผู้ที่จะไม่เป็นพระภิกษุอีกต่อไป โดยกล่าวกับบุคคลผู้ที่ฟังรู้เรื่อง ว่าตนเองจะเป็นคฤหัสถ์ ไม่เป็นพระภิกษุอีกต่อไป ส่วนสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน คือ การบอกลาสิกขา ไม่สำเร็จ เช่น กล่าวคำลาสิกขา กับสัตว์ดิรัจฉาน กล่าวคำลาสิกขากับผู้ที่ฟังไม่รู้เรื่อง เป็นต้น ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...