ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๓๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้
[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๓๑]
* ผู้ที่เห็นว่าถ้าขณะใดจิตไม่เป็นกุศล ก็ย่อมจะเป็นอกุศลแต่ละประเภทที่ ละเอียดมาก บางครั้งไม่เป็นเหตุให้กระทำกาย วาจา แต่จิตใจในขณะนั้นก็เป็น อกุศล เมื่อเห็นความละเอียดของอกุศลอย่างนี้ จึงไม่รั้งรอที่จะกระทำความดี เท่าที่สามารถจะกระทำได้ เพราะเหตุว่าแม้ว่าจะกระทำความดีสักเท่าไรก็ยังไม่ พออยู่นั่นเอง ตราบใดที่เมื่อไม่กระทำความดี จิตก็ต้องเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะเจริญกุศลทุกประการ ด้วยการที่จะอบรมตนเองให้เป็นผู้ที่มีความอดทน แล้วก็คิดถึงคนอื่น แทนที่จะคิดถึงตนเองเสมอๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ ก็มีโอกาสที่ กุศลจิตจะเกิดมากกว่าอกุศล
* โกรธนาน เกิดดับก็จริง แต่ก็เกิดอีกบ่อยๆ เป็นความผูกโกรธ ไม่ลืมเลย อาจจะผูกไว้เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี แล้วถ้าผูกไว้มากๆ ก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้ เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์
* จะต้องระวังความเห็น ไม่ให้คล้อยไปในทางที่ผิด เพราะเหตุว่าถ้าสะสม ปัจจัยที่จะให้เกิดความเห็นผิดคลาดเคลื่อน ถึงแม้ว่าเป็นพระธรรมที่แจ่มแจ้ง ชัดเจน ก็ไม่ได้เข้าใจถูกตามควรแก่เหตุผล เพราะเหตุว่าสะสมความเห็นผิดมา ที่จะเห็นผิดคลาดเคลื่อน
* ธรรมทั้งหมดสำหรับแต่ละท่านเอง ที่จะพิจารณาตัวเองจริงๆ แม้ในเรื่องของอหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป) และอโนตตัปปะ (ความไม่เกรง กลัวต่อบาป) ด้วย ขณะนี้มีไหม ข้อสำคัญที่สุด ขณะที่เป็นกุศล ไม่มี แต่ขณะใดที่เป็นอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ก็มี อย่าประมาทต่ออหิริกะ และอโนตตัปปะ เพราะเหตุว่าถ้ามีแล้วไม่เห็นว่าเป็นอกุศล อหิริกะ และอโนตตัปปะก็จะเพิ่มกำลังขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะกระทำทุจริตกรรมได้
* โมหะ เป็นสภาพธรรมที่มืดบอด ไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
* อหิริกะก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่ละอาย ไม่รังเกียจอกุศลธรรมอโนตตัปปะก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่หวั่นเกรง ไม่พรั่นพรึงต่ออกุศลธรรม
* อย่าลืมว่า ที่เคยพอใจป่าเขาลำเนาไพร หรือที่เงียบๆ ขณะนั้นเมื่อเป็น อกุศลจิตแล้ว ไม่สงบ เพราะเหตุว่ายังมีความติดข้องในอารมณ์ที่ปรากฏ จะชื่อว่า สงบ ไม่ได้ ไม่ใช่การสละ
* กุศลธรรม เป็น กุศลธรรม อกุศลธรรม เป็น อกุศลธรรม
* ในชาตินี้ แม้ไม่ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ได้อาศัยพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง คบกับพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง
* ไม่ใช่ไปรังเกียจคนนั้นคนนี้ซึ่งไม่ดี แต่ควรรังเกียจอกุศลธรรมที่มีในตนเอง
* ไม่มีใครอยากจะไม่ดี แต่เมื่อไม่รู้ว่าอะไรไม่ดี แล้วจะดีได้อย่างไร เพราะขาดปัญญา จึงทำให้มีความไม่ดีอย่างมากมาย
* การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เป็นสิ่งที่ดี เมื่อเราได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น
* การตอบแทนก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องด้วยการทำความดีเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเขาให้ทำชั่ว แล้วเราจะไปทำชั่วตอบแทนเขา ตามที่เขาบอก
* เวลาพบคนไม่ดี จิตของเราเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี?
* มีคนดี คนไม่ดี ก็เพราะมีธรรมเกิดขึ้นเป็นไป คือ กุศลธรรม กับ อกุศลธรรม
* ใครเขาไม่ดี ก็เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่ว่าเราจะไปไม่ดีตามเขา
* มีไหม ที่เมตตาจะเป็นโทษกับใครๆ? ไม่มีเลย เมตตา เป็นความดีที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง
* ถ้าเรามีเมตตาต่อคนไม่ดี แล้วคนไม่ดีมาทำร้ายเรา ก็เป็นอกุศลกรรมของเขา ไม่ใช่ของเรา
* น่าสงสารมากสำหรับคนทำไม่ดี เพราะเขาสร้างเหตุที่ไม่ดี ผลที่ไม่ดี ก็ต้องเกิดกับเขา เช่น ตกนรก และอาจจะนานด้วย
* ถ้ามีโอกาสที่จะให้คนอื่นได้เป็นคนดีขึ้น แม้จะเพียงเล็กน้อย ควรไหมที่จะเกื้อกูลผู้นั้น
* กัลยาณมิตร ไม่ใช่คนที่มีความเห็นผิด ไม่ใช่คนที่ให้ความเห็นผิด
* ความดี หายาก โอกาสใดควรที่จะทำความดีได้ ควรไหมที่จะทำ
* เมื่อเห็นประโยชน์ของคุณความดีแล้ว ก็ต้องสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย
* สิ่งที่ไม่ดี เราก็ไม่ต้องไปคบกับสิ่งนั้น จะไปคบกับสิ่งที่ไม่ดีทำไม เพราะสิ่งที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลก็มีเฉพาะกุศลธรรมเท่านั้น ไม่ใช่อกุศลธรรม
* ชื่นชมในคุณความดี จิตของเราก็จะผ่องใสในคุณความดี
* เคยคิดไหมว่า วันทั้งวัน ประโยชน์อยู่ตรงไหน?
* ถ้าเราเป็นคนไม่ดี แล้วคนอื่นยังจะคิดที่จะคบกับเราอยู่หรือไม่?
* สิ่งที่ดีงามทุกอย่าง สามารถน้อมประพฤติปฏิบัติตามได้ในชีวิตประจำวัน
* ทุกพระสูตรที่ได้ฟังได้ศึกษา ก็เพื่อประโยชน์คือ อบรมเจริญปัญญา ขัดเกลาละคลายอกุศล จนกว่าจะสามารถดับได้จนหมดสิ้น
* สิ่งที่เกิดแล้วดับไป เราไม่สามารถย้อนกลับไปได้อีก จะย้อนกลับไปเมื่อวานก็ไม่ได้
* พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นประโยชน์โดยตลอด ทำให้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ไม่มีแม้บทเดียว ที่จะไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นความจริง จากการตรัสรู้ของพระองค์ เป็นเรื่องของการขัดเกลาทั้งนั้น จึงจะเป็นพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
* สำคัญที่สุดคือเข้าใจความจริง ความเข้าใจความจริง เป็นประโยชน์ทุกเมื่อ เพราะเมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ปัญญาจะน้อมไปในอกุศลได้อย่างไร
* ความอยากได้ รู้สึกว่าจะมีอยู่ประจำใจเลยทีเดียว เดี๋ยวอยากได้โน่น เดี๋ยวอยากได้นี่
* จิตเกิดดับนับไม่ถ้วน ไม่ใช่มีจิตประเภทเดียว เพราะจิตเกิดดับสืบต่อ กันอย่างรวดเร็ว แล้วเราอยู่ตรงไหน? ไม่มีเราเลย มีแต่ธรรม
* ขณะที่คิด มีวิริยะ (ความเพียร) เกิดร่วมด้วย จึงมีความเพียรที่จะคิด ในเรื่องนั้นๆ
* ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพื่อเข้าใจความจริง ต้องการผลเมื่อใด หวังผลเมื่อใด นั่นผิดแล้ว
* วันหนึ่งๆ มีเวลาที่จะคิดในเรื่องอื่นๆ มากมาย แล้วมีเวลาที่จะคิด ไตร่ตรองพิจารณาในพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง บ้างไหม?
ขอเชิญผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกัน (สหายธรรม) ร่วมแบ่งปันธรรมด้วยครับ
ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ผ่านมาได้ที่นี่ครับ
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๓๐
...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
- บางอย่างได้มาก็หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเหลือ ควรที่จะอยากจะได้มาอีกหรือไม่
- ความอยากได้ ยินดีติดข้อง เพราะ มีธาตุรู้ มีการเห็น การได้ยิน ก็จึงติดข้อง และ ทุกเรื่อง ก็ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลตลอด กว่าจะเห็นภัยของการเห็น ของการเกิดของสภาพธรรม น่าเหน็ดเหนื่อยไหม สังสารวัฏฏ์ก็ไม่สิ้นสุด ถ้าไม่มี ปัญญา ที่รู้ความจริงของสภาพธรรม
- เริ่มแรกต้องรู้ว่าปัญญารู้อะไร
- ถ้ามีความมั่นคงว่าไม่มีเรา ย่อมไม่หวั่นไหว
- ความเข้าใจธรรมประเสริฐที่สุด
- ก็ปกติธรรมขณะนี้ ก็คือ ข้อความในพระไตรปิฎกที่สนทนากัน แม้จะพูดข้อความใน พระไตรปิฎกอย่างไร ก็เพียงพูดจำได้ แต่สิ่งที่สำคัญ คือ เข้าใจสภาพธรรมในขณะนี้
- ได้ยินคำว่าธรรม เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่มีจริงใช่ไหม แต่ละหนึ่งเกิดขึ้นและดับไป ไม่มีอำนาจบังคับบัญชา แม้แต่ จิต ก็เป็นจิตจริงๆ ไม่ใช่เรา โดยจิตเป็นลักษณะที่ รู้แจ้งที่กำลังปรากฎ แม้ขณะนี้ก็มีจิตที่กำลังรู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฎ รู้แจ้งเสียง ฟังอย่างนี้แล้ว ก็ค่อยๆ รู้แจ้งว่า ไม่ใช่เรา แม้แต่วิริยะก็ไม่ใช่เรา ถ้าเข้าใจว่ามีเรา ที่ จะเพียร ก็เข้าใจผิดอีก
- ต้องมีความมั่นคงที่จะรู้ว่าเป็นธรรม
- ถ้าเราไม่รู้จัก วิริยะแล้ว เราจะรู้จักอินทรีย์ได้อย่างไร
- เห็นเป็นเห็น เห็นจะเป็นเราไม่ได้ต้องเป็นผู้ตรง และเห็นเกิดด้วย ถ้าไม่เกิด จะเห็นได้อย่างไร และเห็นต้องดับไปด้วย เหมือนเห็นตลอดเวลา แต่เห็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และเห็นก็ไม่ใช่คิด และ เห็นยังต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิด อาศัย ตา ถ้าไม่มีตา ก็ไม่เห็น และ เห็นก็ไม่ใช่ ตา และ ตามี ตาเกิดมาได้อย่างไร คนบางคน ทำไมมีตา บางคนก็ไม่มีตา แล้วแต่กรรม เพราะฉะนั้น กรรมทำให้เกิดตา
- การเรียนวิชาการทางโลก และ การสอนวิชาการทางโลกของพระภิกษุ ต้องอาบัติ ทุกกฎ
- คฤหัสถ์ที่ดี ไม่ควรส่งเสริมให้พระภิกษุ เล่าเรียนวิชาการทางโลก เพราะ ทำให้ท่าน ต้องอาบัติ และ ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ในการดับกิเลส
- พระภิกษุที่บวชมา จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุด คือ เป็นไปเพื่อการละกิเลส ดับทุกข์ จนหมดสิ้น
- พระภิกษุเรียนเดรัจฉานวิชา เช่น โหราศาสตร์ และ ดูดวง ต้องอาบัติ
ขออนุโมทนา