ผมเป็นพระบวชใหม่ ทำผิด สังฆาทิเสสข้อ 1 จะแก้ยังไงได้ครับ

 
Slip
วันที่  24 เม.ย. 2557
หมายเลข  24763
อ่าน  13,980

ผมเป็นพระบวชใหม่ ทำผิด สังฆาทิเสสข้อ 1 จะแก้ยังไงได้ครับ ตอนนี้ยังบวชอยู่ครับ อยากทราบว่าต้องทำยังไงบ้างครับ ไม่อยาก มีกรรมติดตัว สำนึกผิดแล้วจริงๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Slip
วันที่ 24 เม.ย. 2557

อีกเรื่องนึงนะครับ อ่านๆ ดู พอสึกไปแล้วเค้าบอกว่าจะทำให้ทำอะไรติดขัดๆ กังวลมากครับ กลัว ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 24 เม.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาบัติสังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนัก แต่แก้ไขได้โดยสงฆ์ คือ จะปลงอาบัติกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติ เพื่อการออกจากอาบัตินั้น เช่น การให้ปริวาส ให้มานัตต์ ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป

ในกรณีที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ไม่ได้อยู่ปริวาสกรรม ลาสิกขาออกไปเป็นคฤหัสถ์ ย่อมไม่มีอาบัติติดตัวแต่อย่างใด และ ไม่เกี่ยวกับการจะทำอะไรให้ติดขัดครับ แต่เมื่อกลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติทั้งหมดที่ต้องแล้ว ไม่ได้ทำการแก้ไข เมื่อบวชครั้งก่อน ก็จะมีเหมือนอย่างเดิมต้องทำการแก้ไขด้วยการออกจากอาบัตินั้นๆ ตามสมควรแก่อาบัติชนิดนั้นๆ ที่ตนได้ล่วง กล่าวคือ ถ้าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ปกปิดไว้นานเท่าใด ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวันที่ตนเองต้อง ถึงจะออกจากอาบัตินั้นได้

แต่เมื่อยังเป็นพระภิกษุอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่ปริวาส แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปอยู่ในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง เพื่ออยู่ปริวาสกรรม ครับ แม้แต่อยู่ในวัดของตนเอง ก็สามารถประพฤติอยู่ปริวาสกรรมได้ เพื่อแก้อาบัตินั้น ซึ่งสามารถแก้อาบัติสังฆาทิเสสได้ หากทำถูกวิธี และไม่ต้องไปสถานที่อื่น ครับ แต่หากไปสถานที่อื่น ไม่รู้การแก้อาบัติ สังฆาทิเสส ก็ไม่สามารถแก้ได้ ครับ

การอยู่ปริวาสก็คือ การอยู่วัตร ประพฤติให้สมควร อยู่ในวัดตนเอง การอยู่ปริวาส ก็เหมือนกับการติดคุก จำกัดบริเวณที่อยู่ ถูกลดฐานะ เช่น เคยมีสารเณรคอยรับใช้ก็ไม่มี เวลาเจอพระภิกษุต้องไหว้ก่อน แล้วก็บอกว่าเราทำผิดพระวินัยอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งสามารถอ่านวัตร ข้อปฏิบัติในการพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้ดังนี้

เชิญคลิก

ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ .. ข้อวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส

ทุกอย่างแก้ไขได้ หากไม่ถึงการต้องอาบัติปาราชิก การเห็นโทษ และ กระทำคืน ย่อมเป็นการประพฤติที่ถูกต้อง เหมาะสมตามพระธรรมวินัย เพราะไม่มีผู้ใดที่ไม่เคยทำผิด แต่ผิดแล้ว สำนึก แก้ไขถูกต้อง ย่อมเป็นบัณฑิตได้ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Slip
วันที่ 24 เม.ย. 2557
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 24763 ความคิดเห็นที่ 3 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาบัติสังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนัก แต่แก้ไขได้โดยสงฆ์ คือ จะปลงอาบัติกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติ เพื่อการออกจากอาบัตินั้น เช่น การให้ปริวาส ให้มานัตต์ ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป

ในกรณีที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ไม่ได้อยู่ปริวาสกรรม ลาสิกขาออกไปเป็นคฤหัสถ์ ย่อมไม่มีอาบัติติดตัวแต่อย่างใด และ ไม่เกี่ยวกับการจะทำอะไรให้ติดขัดครับ แต่เมื่อกลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติทั้งหมดที่ต้องแล้ว ไม่ได้ทำการแก้ไข เมื่อบวชครั้งก่อน ก็จะมีเหมือนอย่างเดิมต้องทำการแก้ไขด้วยการออกจากอาบัตินั้นๆ ตามสมควรแก่อาบัติชนิดนั้นๆ ที่ตนได้ล่วง กล่าวคือ ถ้าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ปกปิดไว้นานเท่าใด ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวันที่ตนเองต้อง ถึงจะออกจากอาบัตินั้นได้

แต่เมื่อยังเป็นพระภิกษุอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่ปริวาส แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปอยู่ในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง เพื่ออยู่ปริวาสกรรม ครับ แม้แต่อยู่ในวัดของตนเอง ก็สามารถประพฤติอยู่ปริวาสกรรมได้ เพื่อแก้อาบัตินั้น ซึ่งสามารถแก้อาบัติสังฆาทิเสสได้ หากทำถูกวิธี และไม่ต้องไปสถานที่อื่น ครับ แต่หากไปสถานที่อื่น ไม่รู้การแก้อาบัติ สังฆาทิเสส ก็ไม่สามารถแก้ได้ ครับ

การอยู่ปริวาสก็คือ การอยู่วัตร ประพฤติให้สมควร อยู่ในวัดตนเอง การอยู่ปริวาส ก็เหมือนกับการติดคุก จำกัดบริเวณที่อยู่ ถูกลดฐานะ เช่น เคยมีสารเณรคอยรับใช้ก็ไม่มี เวลาเจอพระภิกษุต้องไหว้ก่อน แล้วก็บอกว่าเราทำผิดพระวินัยอะไรบ้างเป็นต้น ซึ่งสามารถอ่านวัตร ข้อปฏิบัติในการพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้ดังนี้

เชิญคลิก

ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ .. ข้อวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส

ทุกอย่างแก้ไขได้ หากไม่ถึงการต้องอาบัติปาราชิก การเห็นโทษ และ กระทำคืน ย่อมเป็นการประพฤติที่ถูกต้อง เหมาะสมตามพระธรรมวินัย เพราะไม่มีผู้ใดที่ไม่เคยทำผิด แต่ผิดแล้ว สำนึก แก้ไขถูกต้อง ย่อมเป็นบัณฑิตได้ ครับ ขออนุโมทนา

แล้วผมไปบิณฑบาต ขึ้นร่วมที่เค้าทำพิธีอุปสมบท และ พวกกิจนิมนต์ ได้หรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 24 เม.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิตที่สละอาคารบ้านเรือน สละ กองโภคสมบัติ ตลอดจนถึงวงศาคณาญาติ เพื่อเข้าสู่เพศที่สูงยิ่งเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ตราบใดที่ยังปฏิญาณตนว่าเป็นพระภิกษุอยู่ ยังไม่ได้ลาสิกขา ในเมื่อต้องอาบัติ ไม่ใช่เฉพาะอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น แต่หมายรวมถึงอาบัติกองอื่นๆ ด้วยก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามพระวินัย เพราะเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเราจะมรณภาพเมื่อใด เพราะถ้ามรณภาพขณะที่มีอาบัติอยู่ ก็มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น น่ากลัวเป็นอย่างมาก และจะเห็นได้ว่าการต้องอาบัติเป็นเหตุให้เดือดร้อนใจจริงๆ จากเหตุการณ์ดังกล่าวก็คงจะเป็นเครื่องเตือนให้กับตนเองว่า ไม่ควรสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองอีกต่อไป ควรอย่างยิ่งที่จะได้ศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจ น้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 24 เม.ย. 2557

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

หากว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ ยังไม่ได้ปลงอาบัติ สามารถไปบิณฑบาตได้ แต่ต้องไปกับเพื่อนพระภิกษุ ไปคนเดียวไม่ได้ ส่วนทำพิธีอุปสมบทได้ แต่ห้ามเป็นพระอุปัชฌาย์ รับกิจนิมนต์ได้ แต่ต้องไปกับพระหลายรูป ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Chayanun
วันที่ 12 มิ.ย. 2567

อยากทราบ การปลงอาบัติ 4 รูป

ต้องปลงพร้อมกันหรือว่าทีละรูปได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ธีรพันธ์
วันที่ 15 มิ.ย. 2567

สังฆาทิเสส เป็นอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์เพื่อจะออกจากอาบัติโดยการอยู่กรรม มีปริวาส เป็นต้น การอยู่ต้องอยู่ตามจำนวนวันที่ปกปิด เเต่ถ้าไม่ปกปิดไม่ต้องอยู่ปริวาส เเต่อยู่ประพฤติมานัต ๖ ราตรี ทั้งหมดต้องเป็นไปตามพระวินัย จนกว่าจะมีการอัพภานกรรมเรียกเข้าหมู่เพื่อพ้นเป็นภิกษุบริสุทธิ์ได้

การอยู่ปริวาส เป็นการประพฤติรับโทษที่เพื่อเเก้ไขตามข้อบัญญัติตามพระวินัยเป็นจำนวนมากหลายข้อต่างจากปกติ เช่น เคยนั่งตามอันดับก็จะให้ถูกนั่งท้ายสุด เป็นต้น

การบวชเป็นภิกษุของยาก การบวชเป็นการเว้นทั่วจากบาปอกุศลความไม่ดีประการต่างๆ ต้องศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจอย่างถ่องเเท้ เเละต้องเห็นโทษเเม้มีประมาณน้อย

การอบรมเจริญปัญญาในเพศคฤหัสถ์สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องบวชและไม่มีอาบัติ (โทษของการล่วงละเมิดพระวินัย) ติดตัว

การล่วงหรือการต้องอาบัติที่ยังไม่ได้เเสดงคืนตามพระวินัยให้ถูกต้องในระหว่างเป็นภิกษุ ถ้ามรณภาพเกิดขึ้นในระหว่างนั้น ซึ่งไม่ทราบเลยว่าความตายจะเกิดขึ้นขณะไหน ก็จะเป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิ

การลาสิกขากลับคืนมาเป็นคฤหัสถ์เป็นการพ้นจากโทษไม่มีอาบัติติดตัว กระทำได้โดยเพียงกล่าวลาด้วยวาจาให้มนุษย์ผู้รู้เนื้อความทราบ

การลาสิกขาเป็นการออกจากเพศบรรพชิตมาสู่เพศคฤหัสถ์ ไม่เกี่ยวกับการทำอะไรที่จะต้องติดขัดเลยเป็นเรื่องการสะสมมาของเเต่ละบุคคล เเต่หากกลับจะเป็นการเเสดงความตรงต่อตนเองมีความมั่นใจที่เมื่อไม่สามารถประพฤติตนในเพศบรรพชิตที่เป็นของยากได้ ก็กลับมาสู่เพศคฤหัสถ์ดำเนินชีวิตศึกษาพระธรรมคำสอนเพื่ออบรมเจริญปัญญาสั่งสมต่อไปได้

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 16 มิ.ย. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ