ชื่อว่า จิต เพราะคิดซึ่งอารมณ์
คำอธิบายที่ชื่อว่า "จิต" เพราะคิด คือรู้แจ้งอารมณ์
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228
อธิบายคำว่า จิต พึงทราบวินิจฉัยใน
บทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าย่อมคิด คือ ว่าย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศลฝ่ายโลกีย์ อกุศล และ มหากิริยาจิต จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติอันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิตเพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร พึงทราบเนื้อความ ในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ชื่อว่า "จิต" เพราะคิดซึ่งอารมณ์ คือ คิดไปในอารมณ์ที่ได้รับมาจากจิตดวง ก่อน หรือ เป็นธรรมชาติที่คิดไปเรื่อยๆ แม้ไม่ได้กระทบอารมณ์มาก่อนก็ได้ แล้วความ คิดนั้นก็เป็นอารมณ์ของจิตเองโดยปริยาย กล่าวคือ เหมือนสร้างอารมณ์เอง หรือ อย่างไรครับ
ที่ว่า จิตคิด คือ รู้แจ้งอารมณ์ ไม่ใช่คิดอย่างวิตก คือ มีอะไรมากระทบก็รู้สิ่งนั้น
ความคิดเป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้วความคิดเป็นธรรมอันใดครับ อย่างไรจึงเรียกว่า คิด ของ "วิตก" ครับ ผมไม่รู้จักลักษณะของ วิตก ครับ แล้ว วิจารเป็นอย่างไรครับ