กุศลทำให้เกิดอกุศล .. ไปทำสังฆทาน

 
korn
วันที่  26 ธ.ค. 2549
หมายเลข  2538
อ่าน  3,828

ในวันหนึ่ง ดิฉันได้ไปทำสังฆทานที่วัดซึ่งมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง และได้จัดเตรียมของที่จะถวายอย่างดีเป็นของที่บางครั้งดิฉันเองยังไม่กล้าใช้เนื่องจากมีราคาสูง เมื่อได้ไปถึงวัดแล้ว ได้ขอนิมนต์พระรูปหนึ่งมาเป็นตัวแทนสงฆ์ ท่านได้กล่าวว่าให้ทำเร็วๆ เข้า รีบๆ หน่อยและเร่งให้กล่าวคำถวายสังฆทาน ด้วยวาจาที่ไม่เป็นปิยวาจานัก และได้ให้พรอย่างเร่งรีบ จากนั้น ดิฉันได้กล่าวถามว่า เหตุใดจึงไม่ให้กล่าวคำอาราธนาศีลก่อน ท่านได้กล่าวว่าก็เห็นว่าดิฉันกล่าวคำถวายสังฆทานเลย เลยไม่ได้อาราธานาศีล จึงไม่ได้ทักท้วง จากนั้น ท่านยังแสดงกริยาเร่งรีบและวาจาฟังแล้วไม่เป็นปิยวาจาต่อไป

ดิฉันทราบว่า การที่ท่านเร่งรีบและหงุดหงิดเป็นเรื่องของท่าน หากใจของดิฉันเป็นกุศล แต่ใจของดิฉันไม่เป็นกุศลเลย จึงเป็นกุศลที่ทำให้เกิดอกุศล และดิฉันมีกุศลเพียงเล็กน้อยในการทำสังฆทานคราวนี้ แต่เกิดอกุศลมากจากกิริยาของท่านที่คล้ายไม่ต้องการให้ดิฉันทำสังฆทาน และจากวาจาที่ไม่เป็นปิยวาจาของท่านจากนั้นเมื่อเกิดอกุศล จึงคิดไปหาทางทำให้เกิดกุศลต่อไป การทำให้เกิดกุศลจึงเป็นเรื่องยากและดิฉันต้องฝึกอบรมต่อไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 26 ธ.ค. 2549

สภาพของนามธรรมคือจิตเจตสิกเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็วมาก แม้การให้ทาน แต่ละครั้งที่ไม่มีอุปสรรคใดๆ จิตที่เป็นกุศลก็น้อยกว่าอกุศล ไม่ต้องพูดถึงเมื่อมี อุปสรรค ถ้าสังเกตสภาพจิตที่เป็นไปในวันหนึ่งๆ จะเห็นความจริงเช่นนั้นคือ เต็มไป ด้วยอกุศลมากมาย สภาพของกุศลจะเกิดขึ้นสลับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ฉะนั้น ควรเจริญกุศลทุกๆ ประการ โดยเฉพาะกุศลขั้นภาวนา การฟังพระธรรม การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ การอบรมเจริญสติปัฏฐานเพื่อการรู้สิ่งทีกำลังปรากฏตามความเป็นจริง เพื่อการดับอกุศลทั้งหมด เพื่อไม่ต้องกลับมาหงุดหงิดอีกต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 26 ธ.ค. 2549

จิตเป็นอกุศลก็รู้ว่า จิตเป็นอกุศล ประเสริฐกว่าจิตเป็นกุศล ก็ไม่รู้ว่าจิตเป็นกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 26 ธ.ค. 2549

การทำสังฆทานเป็นเรื่องยาก เพราะต้องมีปัญญา และเข้าใจธัมมะ จึงจะเข้าใจคำว่าสงฆ์ และความยำเกรงในสงฆ์ ขอยกต้วอย่าง ในพระไตรปิฎก 2 เรื่องครับ

ข้อความบางตอนจาก ..

ทักขิณาวิภังคสูตร

ข้อความบางตอนจาก ..

ทุติยอุคคสูตร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
korn
วันที่ 27 ธ.ค. 2549

ในขณะที่ตั้งใจจะถวายสังฆทานนั้น ได้ตั้งใจที่จะถวายแด่สงฆ์ ให้เป็นของสงฆ์ และระลึกถึงพระอริยสงฆ์ แต่เมื่อพบกับท่านผู้มาเป็นตัวแทนสงฆ์แล้ว ต้องยอมรับว่าทำใจรำลึกยากมาก แม้จะคิดว่าของนี้เราถวายเป็นของสงฆ์ ไม่ได้ถวายแด่ท่าน แต่โทสะก็เกิดขึ้นมาก่อนที่จะเกิดกุศลแล้ว แม้จะกลับมาและรำลึกว่าของนี้เราถวายแด่สงฆ์ ระลึกถึงคุณของพระเถระ แต่โทสะก็ยังนำมาก่อนจนรำลึกไม่ได้ ทั้งที่ตั้งใจจะถวายให้เป็นสังฆทานแด่สงฆ์ ไม่ได้ให้วัดหรือให้พระรูปใดรูปหนึ่ง สุดท้าย ดิฉันจึงได้ไปสมทบทุนก่อสร้างอาคารแทน ซึ่งในขณะนั้นได้คิดว่าอาคารนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้วจักตกเป็นของสงฆ์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วไง
วันที่ 27 ธ.ค. 2549

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
devout
วันที่ 28 ธ.ค. 2549

บุญ คือ สภาพจิตที่ดีงาม เกิดได้ทุกขณะไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ทำบุญเพื่อหวังผล หรือ เพื่อขัดเกลากิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
korn
วันที่ 1 ม.ค. 2550

สิ่งที่ยกให้เห็น เป็นการแสดงตัวอย่างว่า แม้จะตั้งใจไปดีแล้ว แต่มีเหตุเพียงเล็กน้อยก็ยังเกิดอกุศลขึ้น กลายเป็นเหตุให้รำลึกมากกว่ากุศลที่ตั้งใจกระทำไปได้ พิธีกรรมไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่เหตุเกิดจากการที่ดิฉันเห็นว่าท่านรีบร้อนมาก โทสะซึ่งเป็นสภาวะที่เศร้าหมองจึงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการโกรธว่า เหตุใดจึงรีบเร่งหรือรู้สึกเศร้าหมองที่คิด (โดยจิตของดิฉันคิดเอาเองไม่ใช่ความจริง แต่สั่งให้หยุดคิดไม่ได้) ว่าท่านไม่อนุโมทนาเนื่องจากเห็นว่าเป็นสังฆทาน มิใช่ทานที่จะให้ท่าน แม้ตั้งใจจะไปทำกุศลแต่ก็เกิดอกุศลขึ้นได้จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีใครบังคับบัญชาได้ จะสั่งไม่ให้โลภก็ไม่ได้ จะไปสั่งไม่ให้โกรธก็ไม่ได้ การตั้งใจเจริญกุศลจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะสั่งจิตไม่ให้เป็นอกุศลไม่ได้ เมื่อทราบว่าปุถุชนมีอกุศลได้โดยง่าย และไม่อาจบังคับบัญชาจิตได้สั่งไม่ให้โกรธไม่ได้ สั่งไม่ให้เศร้าก็ไม่ได้ จึงต้องพยายามทำจิตให้มีเมตตามากขึ้นเนื่องจากเมตตาเป็นข้าศึกโดยตรงต่อโทสะ และตั้งใจศึกษาต่อไป เพื่อให้ละคลายความโกรธ สรุปแล้ว จะเห็นได้ ว่า แม้ตั้งใจจะทำกุศล แต่จิตก็บังคับบัญชาไม่ได้ อกุศลจึงเกิดขึ้นทั้งที่ตั้งใจจะทำกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 9 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ