คิด ต่างจาก พิจารณา

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  12 ก.ย. 2557
หมายเลข  25518
อ่าน  877

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

กราบเท้า บูชา พระคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับกุศลทุกประการของทุกๆ ท่านค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง จาก ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี (ใหญ่ราชบุรี)

ขอเชิญรับฟัง...

คิดต่างจากพิจารณา

ท่านอาจารย์สุจินต์ สติ ไม่เกิด อะไรเกิด ต้องเป็น โลภะ โมหะ แต่ ไม่รู้ ลักษณะของ โลภะ โมหะ ในขณะที่”เห็น”เกิดขึ้น ใช่ไหมคะ บางคน ก็เข้าใจว่า ไม่เป็นโลภะเลย เพราะไม่ปรากฏอาการที่พอใจ เพราะความไม่รู้ แต่ เวลาที่ ”สติ-เกิด” นี่ต่างกัน กำลัง “พิจารณา” ลักษณะ-สภาพ ของ รูป ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะนั้น ต้อง ไม่ใช่ โลภะ โมหะ

ผู้ร่วมสนทนา ขณะนั้น กำลังคิด ไม่ใช่หรือครับ ขณะที่ กำลังพิจารณา ครับ

ท่านอาจารย์สุจินต์ พิจารณา โดยไม่คิด มีไหมคะ ถ้า-ยัง-ไม่มี ก็ยัง-ไม่ใช่-สติปัฏฐาน

ผู้ร่วมสนทนา พิจารณา ยังไงครับ โดยไม่คิด

ท่านอาจารย์สุจินต์ น้อม-ไป-ที่-จะ-รู้ เพราะฉะนั้น ก่อน จะถึง ขั้นสติปัฏฐาน มีปัญญา ขั้นฟัง มีปัญญา ขั้นตรึก เรื่อง-ที่ได้ยินได้ฟัง แต่ว่า จะรู้ ความต่างกัน ว่า ขณะใด ที่ สติ ระลึก ตรง ลักษณะ ไม่ได้ หมายความว่า “คิด” เกิดขึ้น ทุกครั้ง เพราะเหตุว่า “จิต-ที่คิด ก็ดับใคร จะ ”คิด” ได้ ตลอดเวลา ที่จะ ”เป็นคำ” ไม่ได้คิด เป็นเรื่อง เป็นคำ อยู่ตลอดเวลา ลองกระทบสัมผัสสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขณะนี้ ว่า มีการคิดเป็นคำ หรือเปล่า ในขณะที่ ลักษณะ แข็ง-กำลัง-ปรากฏ ยังไม่ได้คิด “เป็นคำ” ว่า ”แข็งยังไม่ได้คิด “เป็นคำ” ว่า ”แข็ง” เป็น “รูปยังไม่ได้คิดว่า ที่กำลังรู้ว่า ”แข็ง” สภาพที่รู้ ในลักษณะที่แข็งนั้น เป็น “นาม” ไม่ต้องคิด แต่ นามธรรม กำลังรู้ “แข็ง” เป็นธาตุรู้

แข็ง” กำลังเป็น สภาพธรรมะที่ปรากฏ เมื่อ เป็นเพียง ลักษณะ “แข็ง” ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น เป็นแต่เพียง สภาพธรรมะชนิดหนึ่ง ซึ่งแข็ง แล้วเป็นของจริง ซึ่งกำลังปรากฏ ในขณะนั้น สภาพรู้ กำลัง-รู้-แข็ง โดยไม่ต้อง “คิด – เป็นคำ”

เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน คือ “น้อมไป-ที่จะ-รู้ ”ในลักษณะที่รู้ ซึ่ง เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ และ บางครั้ง สติปัฏฐาน ก็น้อมไป ที่จะ ไม่ยึดถือ “แข็ง” ว่า เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ หรือ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนกว่า จะรู้ว่า เป็นเพียง สภาพธรรมะ ชนิดหนึ่ง ไม่ว่า จะกระทบแข็ง ที่นี่ หรือว่า จะไปกระทบหญ้า ที่ พระวิหารเขตวัน ไม่ว่า จะกระทบ ที่ไหน ลักษณะ ของ สิ่งที่ปรากฏทางกาย ก็”แข็ง” เป็นแต่เพียง “ธาตุแข็ง” เท่านั้น จึงจะ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด ได้ แต่ “การยึดถือ” สภาพธรรมะ ว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล มีมา แสนโกฏิกัปป์ ก็ยังน้อยไป

เพราะฉะนั้น เวลาที่ สติ-เกิด-ระลึก-ที่-ลักษณะ-ที่ ”แข็ง อย่าลืม “ความเป็นตัวตน” ซึ่งเคยสะสมมา เนิ่นนาน ยิ่งกว่า แสนโกฏิกัปป์ ทำให้ มีความรู้สึก เหมือนว่า เรากำลังนั่ง แล้วก็กระทบแข็ง ความเป็นเรา ไม่ได้ออก มีความรู้สึก ว่า เป็นตัวตน ซึ่ง กำลังนั่งอยู่ หรือ จะยืนอยู่ ก็ตาม แล้ว-กำลัง-กระทบ-แข็ง-ด้วย

เพราะฉะนั้น การที่จะ ละคลาย การยึดถือ สภาพธรรมะ ว่า เป็นตัวตน ก็คือ ในขณะที่ กำลัง กระทบ-แข็ง แล้ว “ความทรงจำ” ในความเป็นตัวตน ที่จะนั่งอยู่ หรือยืนอยู่ หรือเดินอยู่ แล้วก็ กระทบ ลักษณะที่แข็ง “ต้องหมดสิ้น“ เหลือแต่เพียง อาการแข็ง และ ธาตุที่กำลังรู้แข็ง ในขณะนั้น เท่านั้น ชั่วขณะนั้น จึง “ไม่ใช่ -- ตัวตน หรือ สัตว์ บุคคล หรือเรา“ อีกต่อไป

เพราะเหตุว่า มี เพียง สภาพที่ กำลังรู้ สิ่งเดียว คือ “แข็ง” ไม่ใช่ว่า ไปจำเอาไว้หมด ทรงจำไว้ ว่า ที่แท้ ก็ เป็นเรา ซึ่ง กำลังยืนอยู่ หรือ นั่งอยู่ แล้วรู้-แข็ง ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วล่ะก็ ไม่สามารถ ที่จะ ละ การยึดถือสภาพธรรมะว่าเป็นตัวตน ได้ แต่ทุกท่านที่ เริ่ม เจริญสติปัฏฐาน มี ความรู้สึก ว่า ตัวตน ยังไม่หมด แม้ว่า แข็ง-ปรากฏ ถูกไหมคะ มี-ความเป็นเรา ที่ กำลังนั่ง กระทบแข็ง แต่ ความเป็นเรา ที่ กำลังนั่ง กระทบแข็ง ”ต้องหมด” สภาพธรรมะ จึงจะ ปรากฏ ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

เพราะฉะนั้น ในขณะที่-กำลัง-กระทบ-แข็ง "ไม่ได้นึก” ใช่ไหมคะ “ไม่ต้องนึก” เพราะฉะนั้น เวลาใช้ คำว่า “คิด” หมายความถึง “นึกถึง เรื่องของ สิ่งที่ปรากฏ” แต่ ตามความเป็นจริง “ขณะที่-กระทบ-แข็ง ไม่ได้-นึกถึง-คำ-อะไร-เลยไม่ได้ หมายความว่า ให้ คิดว่า แข็งเป็นรูป นี่ต่างกัน ไม่ใช่ ให้คิดว่า แข็งเป็นรูป แต่ ในขณะที่ “แข็ง” ปรากฏ “น้อมไป ที่จะ ศึกษา ในขณะนั้น”

“เพื่อรู้ว่า” ลักษณะ ที่รู้ เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ ซึ่ง กำลัง รู้ “แข็ง” ที่กำลังปรากฏ “ไม่ใช่ คิด” ใช่ไหมคะ

ถอดคำบรรยายธรรม โดย ใหญ่ราชบุรี – ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ประสาน
วันที่ 13 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kullawat
วันที่ 13 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 13 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 14 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
raynu.p
วันที่ 15 ก.ย. 2557

กราบอนุโมทนาค่ะ ได้มีโอกาสทบทวนตามที่ท่าน อ.กล่าวไว้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
thilda
วันที่ 6 ธ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ