จิต กับ วิญญาณ

 
ckannikar
วันที่  7 ต.ค. 2557
หมายเลข  25611
อ่าน  27,808

เรียน ท่านผู้รู้

ดิฉันสับสนในความแตกต่างระหว่าง จิต กับ วิญญาณ รบกวนท่านผู้รู้เมตตาอธิบายขยายความโดยละเอียด พร้อมทั้งแนะนำวิธีการสังเกตให้เห็นความแตกต่างนี้ด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 7 ต.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ก็เป็นการพูดคำที่ไม่รู้จัก จิตก็พูด วิญญาณก็พูด ไม่มีทางเข้าใจอย่างแน่นอน ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

จิต เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งเป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ มีพยัญชนะหลายประการที่หมายถึงจิต เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะของจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่แต่ละบุคคลมีด้วยกันทั้งนั้น (ในชีวิต ไม่ปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว) หนึ่งในนั้นคือวิญญาณ ดังนั้นจิตกับวิญญาณจึงเป็นธรรมอย่างเดียวกัน วิญญาณไม่มีการล่องลอย ไม่มีรูปร่าง วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะมีอยู่ทุกขณะ แม้แต่ขณะนี้ที่เห็น ก็เป็นวิญญาณ คือจักขุวิญญาณ ขณะที่ได้ยิน ก็เป็นวิญญาณ คือโสตวิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ที่สำคัญคือ จะขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้เลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ckannikar
วันที่ 8 ต.ค. 2557

สรุป คือ จิตกับวิญญาณ เป็นสิ่งเดียวกัน ยังงงๆ อยู่เล็กน้อยค่ะ

แต่ก็กราบขอบพระคุณที่กรุณาอธิบายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
thilda
วันที่ 9 ต.ค. 2557

ตามที่เข้าใจ ชีวิตก็ประกอบด้วยขันธ์ 5 ในขันธ์ 5 นี้ ก็ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ "รูป" คือส่วนที่เป็นรูปธรรม อีก 4 ขันธ์ที่เหลือเป็นนามธรรม ซึ่งประกอบด้วย "จิต" และ "เจตสิก" ซึ่งเป็นสภาพรู้ทั้งคู่ ไม่มีตัวตน เวทนาเป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง สัญญาเป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง เจตสิกที่เหลือทั้งหมดรวมอยู่ในสังขาร ส่วน "วิญญาณ" ก็คือจิตนั่นเอง จิตและเจตสิกเป็นสภาพรู้ที่เกิดดับร่วมกันเสมอ แต่จิตเป็นสภาพรู้ที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ (จิตมีหลายประเภท เจตสิกก็มีหลายประเภท จิตแต่ละประเภทก็ประกอบด้วยเจตสิกต่างประเภท) พอเข้าใจอย่างนี้จึงไม่สงสัยเกี่ยวกับจิตและวิญญาณค่ะ ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ามีวิญญาณหรือพลังงานที่ล่องลอยไปมาหลังจากคนตายลง เพราะยังไม่ไปเกิด ฯลฯ ก็เป็นการเข้าใจผิด และเป็นการใช้คำว่า วิญญาณ ในความหมายที่ไม่ตรงกับในพระพุทธศาสนา รบกวนท่านอาจารย์ตรวจสอบอีกทีด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ckannikar
วันที่ 10 ต.ค. 2557

ดิฉันเป็นผู้รู้น้อย ปัญญาน้อย จำได้ว่าเคยพูดเรื่องสงสัยว่าจิตและเจตสิกจะเป็นสิ่งเดียวกัน คือมีจิตหลายๆ ประเภทตามชนิดของเจตสิกนั่นเอง แต่เมื่อพยายามทำความเข้าใจตามที่ได้รับความเมตตาชี้แจงซ้ำๆ จากท่านผู้รู้หลายๆ รอบ ก็เริ่มจะยอมรับได้ระดับหนึ่งว่าการทำงานของจิตและเจตสิกไม่เหมือนกัน จึงเป็นสาเหตุให้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ตอนนี้ก็ยังสงสัยเรื่องความแตกต่างระหว่างจิตกับวิญญาณ เนื่องจากสังเกตเห็นว่ามีการใช้คำว่าจิตกับวิญญาณอย่างเจาะจงแตกต่างกันในต่างวาระกัน ก็คงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจซ้ำๆ ต่อไปอีกสักระยะ ส่วนวิญญาณที่ชาวบ้านพูดกัน ดิฉันเชื่อว่ามีจริง เป็นพลังงานแบบหนึ่ง เป็นจิตที่มีรูปละเอียดกว่ารูปกายเนื้ออย่างพวกเรา ดิฉันไม่ได้งมงาย แต่เชื่อว่าตนเองสัมผัสพลังงานรูปแบบพิเศษนี้ได้ในบางครั้งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
thilda
วันที่ 12 ต.ค. 2557

เรียน ค.ห. ที่ 5 ค่ะ เกี่ยวกับที่ว่าสัมผัสได้นั้น ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้เรียกสิ่งนั้นว่า จิต หรือ วิญญาณ ค่ะ แต่เป็นผู้ที่ปฏิสนธิแล้วในภพภูมิอื่นค่ะ

ขอเชิญอ่านที่นี่ค่ะ ...

ผี? ตามทัศนะทางพุทธศาสนาคืออะไร?

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ckannikar
วันที่ 17 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ ที่เมตตาแนะนำ ดิฉันเข้าใจแล้วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
thilda
วันที่ 19 ต.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 2 ก.พ. 2558

สาธุ อนุโมทนา และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 29 มิ.ย. 2564

สิ่งที่มีจริง คือ จิต หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์

พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติชื่อของจิตไว้หลายชื่อ เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะของจิตโดยพยัญชนะและอรรถต่างๆ คือ มานัส (สภาพที่ยินดีในอารมณ์) หทัย (สภาพที่อยู่ภายใน) ปัณฑระ (สภาพที่ผ่องใส) มนะ (ใจ เพราะกำหนดรู้อารมณ์) มนินทรีย์ (ความเป็นใหญ่คือใจ) มนายตนะ (บ่อเกิดคือใจ) วิญญาณ (สภาพที่รู้แจ้ง) วิญญาณขันธ์ (ขันธ์ซึ่งเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์) มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุที่เป็นสภาพรู้แจ้งทางใจ)

ที่มา...

จิตปรมัตถ์

ปรมัตถธรรมสังเขป

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ส.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
กำปั่นธรรม
วันที่ 20 พ.ย. 2567

ผมเข้าใจว่า วิญญานคือจิตและเจตสิกที่เกิดคู่กันครับรวมเรียกว่าวิญญาณถ้าแยกให้ละเอียดจิตคือประธานเป็นหลักรู้แต่เมื่อรู้สึกคือเจตสิกพอรวมกันคือวิญญานไม่ทราบถูกมั๊ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 21 พ.ย. 2567

ถ้าพูดถึงเรื่องของวิญญาณ ก็คือเรื่องของจิตใจ

ใช้คำว่า จิต ก็ได้ หรือที่ภาษาไทยเราใช้คำว่า ใจ หรือบางท่านก็ใช้คำว่า วิญญาณ แต่ท่านที่ไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาจะเข้าใจคำว่า วิญญาณ ผิด คือ คิดว่าวิญญาณมีหลังจากที่ ตายแล้วเท่านั้น โดยไม่รู้ว่า คำว่า วิญญาณ ก็ดี หรือคำว่า จิต ก็ดี มีความหมายเหมือนกัน คือ เป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ

ขอเชิญรับฟัง

ธาตุ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 21 พ.ย. 2567

เจตสิกปรมัตถ์

เจตสิก (ประกอบกับจิต) + ปรมตฺถ (เนื้อความอย่างยิ่ง สิ่งที่มีจริง)

สิ่งที่มีจริง คือ เจตสิก หมายถึง สภาพธรรมที่ประกอบกับจิต คือ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน เกิดที่เดียวกัน และรู้อารมณ์เดียวกันกับจิต จึงเป็นสัมปยุตตธรรมซึ่งกันและกัน เพราะเป็นนามธรรมที่สามารถกลมกลืนกันได้อย่างสนิท

อ่านเพิ่มเติม

เจตสิกปรมัตถ์

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 21 พ.ย. 2567

ปรมัตถ์ธรรมมี ๔ ประเภท

จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการรู้สิ่งที่ปรากฏ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น จิตทั้งหมดมี ๘๙ ประเภท หรือ ๑๒๑ ประเภทโดยพิเศษ

เจตสิก เป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมจิต และเกิดที่เดียวกับจิต เจตสิกแต่ละเจตสิก มีลักษณะและกิจต่างกัน ตามประเภทของเจตสิกนั้นๆ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒

รูป เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้น รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป

นิพพาน เป็นธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ นิพพาน ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น นิพพานจึงไม่เกิดดับ

จากหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
chatchai.k
วันที่ 21 พ.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ