ดารานักแสดงตายแล้วจะไปเกิดในสุคติหรือทุคติ

 
siwa
วันที่  3 ม.ค. 2550
หมายเลข  2583
อ่าน  7,535

ดิฉันเคยอ่าน แต่จำไม่ได้ว่าชื่อพระสูตรอะไร เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้หัวหน้านักแสดงถามคำถามเกี่ยวกับคติตอนตายถึง ๓ ครั้ง แต่ก็ยังคะยั้นคะยอจะเอาคำตอบให้ได้ ดิฉันมีความสงสัยว่า ดารานักแสดง (ซึ่งจัดว่าเป็นอาชีพสุจริต) ที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อื่น ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติหรือทุคติ เพราะเหตุใด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 3 ม.ค. 2550

สำหรับปุถุชนผู้มีคติไม่แน่นอน ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร ย่อมมีโอกาสเกิดในสุคติภูมิ หรือทุคติภูมิก็ย่อมได้ แล้วแต่กรรมใดจะให้ผลในเวลาใกล้ตาย ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงบุคคลในสมัยครั้งพุทธกาลทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทุกสาขาอาชีพ บางท่านเมื่อตายแล้ว เกิดในอบายภูมิก็มี บางท่านเมื่อตายแล้วเกิดในสุคติภูมิก็มี บางท่านจุติแล้วไม่เกิดอีกเลยก็มี

สำหรับพระสูตรบางสูตร เช่น ตาลปุตตสูตร เป็นต้น กล่าวถึงนักแสดงถามปัญหา เรื่องความเชื่อที่ผิดของนักแสดงว่า เมื่อแสดงทำให้คนดูมีความสนุกสนานจะได้บุญทำให้เกิดบนสวรรค์ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น รายละเอียดโปรดอ่านข้อความจากพระไตรปิฎก สรุปคือผู้ที่เกิดในสุคติภูมิเพราะกรรมดี ผู้ที่เกิดในทุคติภูมิเพราะกรรมชั่ว ผู้ที่ไม่ต้องเกิดอีกเพราะละกรรมดีและกรรมชั่วได้แล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 3 ม.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
medulla
วันที่ 3 ม.ค. 2550
ปหาสะ นี่เป็นนรกอยู่ชั้นไหนคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
bongbaew
วันที่ 3 ม.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้าแล้ว

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การแสดงควรมีคติสอนใจ ในช่วงเวลาที่ควรสอน และควรมีคำบรรยายออกมาในช่วงเวลาที่ควรบรรยาย และถ้าจะให้มีผลในการจรรโลงใจ การแสดงนั้นควรมีจุดประสงค์หลักให้อยู่ในศีลในธรรม ส่วนผู้ชมเอง ก็ควรพิจารณาและ ใช้ปัญญาในการชมการแสดงนั้นๆ ด้วยเช่นกันครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คนรักหนัง
วันที่ 3 ม.ค. 2550

เพราะฉะนั้น ผมมีความเห็นว่า ไม่เฉพาะ ดารานักแสดง ที่มีความเห็นผิดอย่างใน ตาลปุตตสูตรเท่านั้น ผู้ดูและผู้ชมการแสดงที่มีความเห็นผิดแบบนี้ แล้วประกอบอกุศลกรรม ตายแล้ว คงไป ปหาสะนรก เหมือนกันแน่ ก็ยังใจชื้น ขึ้นมาหน่อยหนึ่งที่ผมไม่ได้มีความเห็นผิดแบบนี้ (ในชาตินี้) เพราะพระธรรม โดยแท้ที่ช่วยให้ผู้ฟังมีความเข้าใจในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
supakorn
วันที่ 3 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 3 ม.ค. 2550

พระอริยบุคคลไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ 6

1. ดื่มสุรา

2. เที่ยวในตรอก เที่ยวกลางคืน

3. เป็นคนเกียจคร้าน

4. เที่ยวดูหนัง

5. เล่นการพนัน

6. คบคนชั่วเป็นมิตร

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
devout
วันที่ 3 ม.ค. 2550

แต่ขณะที่ดูหนังก็เจริญสติได้ไม่ใช่หรือคะ เป็นชีวิตปกติของฆราวาสที่ยังยินดีพอใจในกามคุณ ๕ ดีกว่าไปฝืนอัธยาศัย จิตใจย่อมไม่ผ่องใสเป็นอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 4 ม.ค. 2550

การที่นักแสดงจากสูตรที่กล่าวก็น่าพิจารณา การที่นักแสดงนั้นจะตกนรก ก็ต้องมั่นคงในเรื่องของ กรรมบถ คือนักแสดงนั้นก็ต้องพูดเท็จ หรือแม้พูดจริง แต่เจตนาเป็นอย่างไร พูดจริงประกอบด้วยโทสมูลจิตก็ได้ ล่วงออกมาเป็นผรุสวาจา หรือเป็นการพูดเพ้อเจ้อก็ได้ ซึ่งเป็นการหักรานประโยชน์ผู้อื่น หักรานประโยชน์อย่างไรคือแทนที่เขาจะได้ไปฟังธัมมะ หรือประกอบอาชีพ เขาก็เสียประโยชน์เพราะเหตุต้องมาดูการละเล่นของนักแสดง ซึ่งเป็นการครบองค์ของกรรมบถ ย่อมทำให้ไปนรกหรืออบายได้ครับ

ดังนั้น ที่สำคัญต้องพิจารณาที่เจตนาเป็นสำคัญ แม้ไม่ใช่นักแสดง ชีวิตประจำวันทั่วไป เราพูด หรือกระทำทางกายอย่างไร ขึ้นอยู่กับเจตนา เช่นกัน ว่าเป็นไปในทางกุศลหรืออกุศล เจตนาเป็นสำคัญครับ

แต่จากสูตรที่คุณกล่าวถึงเป็นการทำอกุศลกรรม ที่เป็นไปทางกาย และวาจา ทั้งยังทำให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ด้วยการเพิ่มอกุศลของเขาด้วย จึงครบกรรมบถ ดังที่ได้กล่าวมาในข้อ การพูดเพ้อเจ้อครับ

ขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎกให้พิจารณา ว่าเจตนาเป็นสำคัญ แม้จะทำให้ผู้อื่นหัวเราะก็ตาม ลองพิจารณาดูนะ

เชิญคลิกอ่านที่นี่....

โสณนันทชาดก [ขุททกนิกาย]

ซึ่งจากตัวอย่างที่ยกมา ที่ทำให้บิดา มารดา หัวเราะ แจ่มใส ดูคล้ายๆ กับนักแสดงที่ทำให้คนดู หัวเราะเหมือนกัน แต่ที่สำคัญต่างกันที่เจตนา และจิตของผู้พูด ซึ่งมีกำกับไว้ แล้วว่าเป็น ปิยวาจา (วาจาอ่อนหวาน) เป็นกุศล เพราะเจตนาเป็นกุศล มีความหวังดีในมารดา บิดา ดังนั้น เจตนา จึงเป็นสิ่งสำคัญครับ ว่าเป็นไปทางกุศลหรืออกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornchai.s
วันที่ 5 ม.ค. 2550

สำคัญที่เจตนาเจตสิก จริงๆ ครับ เพราะถ้าเจตนาประกอบอกุศล ที่มีความเห็นผิดร่วมด้วย ย่อมเป็นบาป หนักกว่าที่ไม่มีความเห็นผิดร่วมด้วย เพราะความเห็นผิดนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต (ทิฏฐิเจตสิก ไม่เกิดร่วมกับ โทสะ หรือ โมหะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
suwit02
วันที่ 16 ธ.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 3 โดย medullaปหาสะ นี่เป็นนรกอยู่ชั้นไหนคะ

อรรถกถาของพระสูตรนี้ (บางส่วน)

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

บทว่า ปหาโส นามนิรโย ความว่า ธรรมดานรกที่ชื่อว่า ปหาสะ มิได้มีเป็นนรกหนึ่งต่างหาก แต่เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีนั่นเองที่พวกสัตว์แต่งตัวเป็นนักฟ้อนรำ ทำเป็นฟ้อนรำและขับร้องพากันหมกไหม้อยู่ ท่านกล่าวหมายเอานรกนั้น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คนรักหนัง
วันที่ 18 ธ.ค. 2551

อนูโมทนา กับ คุณ suwit02 เป็นอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pornpaon
วันที่ 4 ม.ค. 2552

ยังเป็นผู้ที่ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือหรือนิตยสารทั่วไปอยู่อย่างปกติ แต่มีสิ่งที่เพิ่มขึ้นเองจนเริ่มสังเกตเห็นได้บ่อยขึ้น คือ ดูหนังและละครน้อยลง หรือในระหว่างที่ดูอยู่ก็มักมีความคิดนึกไปในเรื่องสภาพธรรม หรือ เรื่องผลของกรรมต่างๆ เกิดขึ้นเองเป็นระยะๆ เห็นด้วยกับคุณ devout ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรฝืนอัธยาศัย แต่ค่อยๆ ขัดเกลาได้

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Thirachat.P
วันที่ 29 เม.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
win@wavf
วันที่ 30 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มี.ค. 2564

ขอเชิญรับฟังเพิ่มเติม ....

ชุด แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 0331

นาทีที่ 19.17 - 23.23

ข้อความบางตอน...

สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ตาลปุตตสูตร มีข้อความว่า

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถานใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตร เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใด ทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร

ชุด แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 0332

นาทีที่ 00.00 - 07.10

ข้อความบางตอน...

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร นายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้แก่เราเลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน

ดูกร นายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ