เวทนา

 
papon
วันที่  1 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25854
อ่าน  2,334

เรียน อาจารย์ครับ

"เวทนา" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับเวทนาและชาติของเวทนาด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เวทนา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรมที่รู้สึกในอารมณ์ เวทนาเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกขณะตามควรแก่จิตขณะนั้นๆ ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใด เวทนาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิตในขณะนั้นก็ทำกิจรู้สึกดีใจ (โสมนัส) บ้าง หรือเสียใจ (โทมนัส) บ้าง สุขทางกาย (สุขเวทนา) หรือทุกข์ทางกาย (ทุกขเวทนา) หรือเฉยๆ (อทุกขมสุขเวทนา) ในอารมณ์นั้น ตามควรแก่จิตขณะนั้นๆ (โดยไม่ปะปนกัน โดยไม่พร้อมกันทั้ง ๕ ความรู้สึก) เพราะเหตุว่าเวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท และต่างกันไปตามประเภทของจิตนั้นๆ เช่นโทมนัสเวทนาเกิดร่วมกับโทสมูลจิต อุเบกขาเวทนาเกิดร่วมกับจิตเห็น สุขเวทนาทางกายเกิดร่วมกับกายวิญญาณ กุศลวิบาก เป็นต้น เวทนาเกิดกับจิตชาติใดก็มีความเสมอกันกับจิตชาตินั้น กล่าวคือถ้าเวทนาเกิดร่วมกับกุศลจิตเวทนาก็เป็นชาติกุศล ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิต ก็เป็นอกุศลชาติ ถ้าเกิดร่วมกับวิบากจิตก็เป็นชาติวิบาก และถ้าเกิดกับกิริยาจิต ก็เป็นชาติกิริยา ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
tanrat
วันที่ 2 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ประสาน
วันที่ 2 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 2 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 2 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
harji
วันที่ 2 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kullawat
วันที่ 3 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 4 ธ.ค. 2557

เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ และ เวทนาเกิดเป็นชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก ชาติกิริยา แล้วแต่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 25 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ประพันธ์​prapun
วันที่ 11 ม.ค. 2567

ภาษาไทย​ เป็นอุปสรรคในการศึกษา​บัญญัติ​มาก​ เพราะความหมายไม่เหมือนกับภาษามคธ​ (ภาษาบาลี) ​

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ม.ค. 2567

เวทนาในภาษาบาลีหมายความถึงความรู้สึก เพราะฉะนั้นความรู้สึกมี ๕ อย่าง สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา

ต่อไปนี้เวลาใช้คำว่า “เวทนา” ไม่ได้หมายความถึงว่าน่าสงสารมาก เพราะว่าคนไทยเราใช้คำว่าน่าเวทนาเหลือเกิน แต่ความจริงเวทนาเป็นเจตสิกที่เป็นความรู้สึกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ เวลาที่จิตเกิดขึ้น เห็น ต้องมีเวทนาเกิดร่วมด้วย เวลาที่จิตได้ยินเกิดขึ้นก็มีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เวทนาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ และก็เป็นสภาพธรรมที่ทุกคนต้องการแต่สุขเวทนา หรือโสมนัสเวทนา เพราะฉะนั้นเวทนาก็เป็นขันธ์หนึ่ง

ที่มา ...

เวทนาในภาษาบาลีมี ๕ ประเภท

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ม.ค. 2567

ภาษาไทยใช้คำภาษาบาลีมาก ชื่อของเราก็มาจากภาษาบาลีกันทั้งนั้น หรือแม้แต่คำว่า “สติ” คำว่า “ปัญญา” พวกนี้ เป็นภาษาบาลีทั้งนั้น “มานะ” ก็เป็นภาษาบาลี แต่ว่าตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเป็นภาษาบาลี ท่านใช้คำเพื่อที่จะส่องถึงลักษณะของสภาพธรรม อย่างความสำคัญตน เหมือนลักษณะของธงเป็นสภาพที่สูงเด่น เพราะฉะนั้น แต่ละบุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์จะมีความสำคัญตน คือ เรา จะดีจะชั่ว จะต่ำจะสูง ก็คือเรา

นี่คือสภาพธรรมอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้ภาษาบาลีสำหรับเรียกสภาพธรรมนั้นว่า “มานะ” แต่คนไทยเราชื่อมานะ ดูเหมือนเป็นกุศล แต่ว่าเราก็ใช้ในความหมายของเรา คือ ไปเอาภาษาบาลีมาใช้แล้วก็เป็นภาษาไทยเราไปเลย

เพราะฉะนั้น เราก็ต้องรู้ว่าเรากำลังพูดถึงภาษาไทย ที่เขาใช้คำว่า “ปัญญา” หรือว่าเราพูดถึงสภาพของปัญญาในพระศาสนา ซึ่งหมายความถึง สภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งต่างจาก “มนสิการ” หรือการพิจารณา มีสภาพธรรมหลายอย่าง ลักษณะที่พิจารณาทั่วๆ ไป ไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แต่เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงใช้คำภาษาบาลีว่า “มนสิการ” การพิจารณาการไตร่ตรอง อันนี้ไม่ใช่ปัญญา

เพราะฉะนั้น เราก็ต้องแยกว่า ขณะนี้เรากำลังพูดภาษาไทยกัน หรือว่าเรากำลังจะพยายามเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง

ที่มา ...

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเป็นภาษาบาลี

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ