อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แปลว่าอะไร

 
วิริยะ
วันที่  10 มี.ค. 2558
หมายเลข  26294
อ่าน  16,210

เรียนถาม อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แปลว่าอะไรคะ ดิฉันเข้าไปค้นหากระทู้เก่าๆ เป็นคำที่อยู่ในพระสูตร อ่านแล้วยังไม่เข้าใจค่ะ ขอความกรุณาอธิบายด้วยค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 มี.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปาฏิหาริย์ มี ๓ อย่าง คือ

1.อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์

2.อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์

3.อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์

อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์ได้ เช่น คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ เป็นต้น

อาเทสนาปาฏิหาริย์ คือ สามารถรู้ใจผู้อื่นได้ว่าผู้นั้นคิดอย่างไร

ส่วน อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงกับเหล่าสาวก อันสามารถทำให้ละกิเลสประการต่างได้

อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นเลิศ ประเสริฐที่สุดครับ ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า สุดยอดปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าคืออะไร ก็ต้องกล่าวว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ สุดยอดปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า เหตุผลเพราะว่า อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ไม่สามารถสละขัดเกลา และละกิเลสได้เลย จึงไม่ใช่ปาฏิหาริย์จริงๆ ครับ แต่ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนสาวกให้รู้ว่าสิ่งใดมีโทษ สิ่งใดไม่มีโทษ สิ่งใดควรเจริญ ไม่ควรเจริญ สิ่งนี้เป็นกุศล สิ่งนี้เป็นอกุศล หนทางนี้คือทางดับกิเลส คือ อริยมรรค การสอนด้วยพระธรรมทีเป็นสัจจะนี้เองที่สามารถให้สาวก หรือ ผู้ที่ได้ฟัง ละ สละ ขัดเกลากิเลส และมีปัญญาถึงการดับกิเลสได้ นี่คือ ปาฏิหาริย์สูงสุด เพราะว่ากิเลสเป็นสิ่งที่ละยาก การละกิเลสได้จนหมดสิ้นด้วยพระธรรม จึงเป็นสิ่งที่เป็นปาฏิหาริย์สูงสุดครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... ปาฏิหาริย์ ๓ [เกวัฏฏสูตร]

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 มี.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (คำสอนเป็นอัศจรรย์) เป็นคำสอนของบุคคลผู้ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาตลอดระยะเวลาสี่อสงไขยแสนกัปป์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานมาก เพื่อที่จะตรัสรู้ธรรมตามความเป็นจริง และไม่ใช่เพียงเพื่อตรัสรู้เฉพาะพระองค์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่ทรงมีพระมหากรุณาที่จะทรงแสดงพระธรรมเกื้อกูลให้สัตว์โลกได้เข้าใจพระธรรมตามพระองค์ด้วย ดังนั้น พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง จึงทำให้ผู้ได้ฟัง ได้ศึกษา จากที่เคยเต็มไปด้วยกิเลสนานาประการ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็นพระอริยบุคคล ดับกิเลสตามลำดับมรรคได้ สูงสุดคือถึงความเป็นพระอรหันต์ หมดจดจากกิเลสโดยประการทั้งปวง

จะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวัน แต่ละคนก็มีกิเลสมากด้วยกันทั้งนั้น เพราะเคยได้สะสมมานานแสนนานในสังสารวัฏฏ์ กิเลสเมื่อได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ และเกิดขึ้นบ่อยมากเกือบจะตลอดเวลาก็ว่าได้ (เมื่อไม่กล่าวถึงขณะที่เป็นวิบาก กิริยา และกุศล) เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าไม่ได้อาศัยพระธรรม ก็จะไม่รู้เลยว่าตนเองเป็นผู้มีกิเลสมากน้อยแค่ไหน เมื่อไม่รู้กิเลสตามความเป็นจริง ก็ไม่สามารถละกิเลสใดๆ ได้เลย การที่จะรู้อย่างนี้ได้ ก็ต้องฟังพระธรรม ขึ้นชื่อว่าสาวกแล้ว ต้องได้ฟังพระธรรม ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดสำหรับชีวิต เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองให้เบาบางลงจนกว่าจะมีปัญญาคมกล้าสามารถดับกิเลสทั้งหลายได้ในที่สุด ซึ่งจะต้องเริ่มสะสมปัญญาตั้งแต่ในขณะนี้ โดยที่ไม่ขาดการฟังพระธรรมในชีวิตประจำวัน บุคคลผู้ที่มีปัญญาเท่านั้น ที่จะซาบซึ้งและได้รับประโยชน์จากอนุสาสนีปาฏิหาริย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 10 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 10 มี.ค. 2558

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอัศจรรย์ ผู้ประพฤติปฏิบัติตามนำออกจากทุกข์ได้จริงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siriporn2509
วันที่ 10 มี.ค. 2558

การได้ฟังพระธรรม และศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เป็นสิ่งที่มีค่ามาก สำหรับชีวิตหนึ่ง (ขณะ) ในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด และการคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ก็ทำให้เกิด สัมมาทิฎฐิ สภาพธรรม จริงอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 11 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 12 มี.ค. 2558

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jarunee.A
วันที่ 23 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chureeporn
วันที่ 6 ก.ค. 2567

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ