วิปัสสนาญาณ ๑๖ มหาวิปัสนา ๑๘
ดิฉันเป็นลูกศิษย์ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มาเล้วประมาณ ๒๑ ปี เศษค่ะ สนใจที่จะร่วมสนทนาธรรม กับ เพื่อนๆ สหายธรรมค่ะ ดิฉัน จะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะคำถามแรก ก็คือ ตอนนี้ดิฉัน ไม่มีพระไตรปิฎกอยู่ในมือ แต่ดิฉันอยากจะได้ List ของ
๑. วิปัสสนาญาณ ๑๖
๒. มหาวิปัสสนาญาณ ๑๘
ขอความกรุณาด้วยค่ะ และ ขอฝากกราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยนะคะ เป็นพระคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ
สุนาน ทิสยากร
เชิญคลิกอ่านที่นี่
มหาวิปัสนา (คืออนุปัสนา) ๑๘ [วิสุทธิมรรคแปล]
วิปัสสนาญาณ ๑๖
๑. นามรูปปริเฉทญาน
๒. ปัจจยปริคคหญาณ
๓. สัมมสนญาณ
๔. อุทยัทพพยญาณ
๕. ภังคญาณ
๖. ภยญาณ
๗. อาทีนวญาณ
๘. นิพพิทาญาณ
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐. ปฏิสังขารญาณ
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. อนุโลมญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ
๑๔. มัคคญาณ
๑๕. ผลญาณ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
สวัสดีครับ สหายธรรม ขอร่วมสนทนาด้วยครับ
วิปัสสนาญาณเป็นเรื่องของปัญญาที่แทงตลอดสภาพธัมมะ แต่ละขั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไกล แต่ก่อนจะถึงวิปัสสนาญาณ ก็ต้องอบรมสติปัฏฐาน บ่อยๆ เนืองๆ เป็นปกติในชีวิตประจำวัน และก่อนจะถึงสติเกิดเป็นปกติก็ต้องสติเกิดบ้าง เล็กๆ น้อยๆ และก่อนที่สติจะเกิดเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องอบรมปัญญาขั้นการฟังจนเป็นสัจญาณคือ ปัญญาที่มั่นคงว่าสภาพธัมมะ มีในขณะนี้ และก่อนที่สัจญาณจะมั่นคงก็ต้องเริ่มฟังตั้งแต่เบื้องต้นว่าธัมมะคืออะไร ปัญญาจะต้องรู้อะไรขณะนี้ ดังนั้น เราจะต้องรู้ตัวเองว่าเราอยู่ในระดับไหน และที่สำคัญ ปัญญาเป็นสภาพธัมมะที่เจริญ ช้า จึงต้องอาศัยการอบรมทีละเล็ก ทีละน้อยนะครับ อย่าเพิ่งไปไกล และที่สำคัญในเรื่องสติปัฏฐานที่ลืมไม่ได้คือ ขณะที่รู้ชื่อธัมมะ ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธัมมะนะครับ
อนุโมทนาครับ
อนุโมทนา คุณแล้วเจอกัน และ ท่านผู้เกี่ยวข้อง
สำหรับผมแล้ว ลักษณะของสภาพธัมมะ อย่างเช่น นามรูปปริเฉทญานที่ ๑ ยังไม่ประจักษ์ชัดเลย หากมีแต่การหลงลืมสติอยู่เป็นประจำ เวลากลางวัน ต้องปฏิบัติภารกิจต่างๆ เห็นมีตัวตนที่มีแต่กิเลสที่น่ารังเกียจ จะต้องทำงานในหน้าที่ต้องรับผิดชอบ สติเกิดบ้าง เล็กๆ น้อยๆ บางครั้ง แต่ถึงเวลากลางคืน พอได้สวดมนตร์ระลึกถึงพระรัตนตรัย จึงสงบ เบา สบาย แล้ว ตั้งใจฟังธรรม วันละ ๑ ชั่วโมง เพื่อสะสมอบรมปัญญาทีละเล็ก ทีละน้อยนะ เป็นเช่นนี้ ประมาณ ๖ เดือนแล้ว แต่ละคนได้สะสมกิเลสมานานในสังสารวัฏฏ์ฏไม่เหมือนกัน สภาพธัมมะที่เจริญขึ้นจะปรากฏช้า หรือ เร็วนั้น ก็เป็นเรื่องที่ระลึกรู้เฉพาะตน หากสติปัฏฐานที่เกิดได้บ่อยขึ้นในชีวิตประจำวัน สะท้อนว่าปัญญาเจริญขึ้น แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าสภาพธัมมะที่ปรากฏนั้นเป็นสติปัฏฐานจริงๆ ไม่ใช่เพียงความนึกคิดเกี่ยวกับเรื่องราวของสติปัฏฐาน
ที่ถามว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าสภาพธรรมะที่ปรากฎเป็นสติปัฎฐานจริงๆ คำตอบ คือ สติปัฏฐาน เป็น ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น
แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า สภาพธัมมะที่ปรากฏนั้นเป็นสติปัฏฐานจริงๆ ไม่ใช่เพียงความนึกคิดเกี่ยวกับเรื่องราวของสติปัฏฐาน ต้องมีลักษณะของสภาพธัมมะให้รู้ในขณะนั้น โดยไม่ใช่การนึกคิด และที่สำคัญที่สุด ขณะที่มีลักษณะของสภาพธัมมะ (สติระลึก) ขณะนั้นต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย และปํญญารู้อะไรในขณะนั้น ถ้าขณะนั้นไม่รู้อะไร ก็ไม่ใช่สติปัฏฐานแน่นอน แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ปัญญาก็จะรู้ว่าเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง แม้ยังไม่ชัด แต่ลืมไม่ได้ ต้องขณะนั้น ไม่ใช่มารู้ตอนหลังครับ
กราบขอบคุณท่านสมาชิกชื่อ แล้วเจอกัน และ wannee.s ที่ได้ไขข้อข้องใจให้เรื่องลักษณะของสติปัฏฐาน และ ขออนุโมทนา