ทำไม ชาวพุทธ ต้องฟังพระธรรม

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  23 มิ.ย. 2558
หมายเลข  26679
อ่าน  2,138

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญรับฟัง ...

ทำไมชาวพุทธต้องฟังพระธรรม

“ปัญญา” คือ “ความเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธัมมะที่กำลังปรากฏ” ทำไม พุทธศาสนิกชน ต้องฟังพระธรรม เพราะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรม คือ “เรื่องของ-สิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้” ให้คนฟัง เกิด ความเข้าใจ-ที่ถูกต้อง ให้มีความเข้าใจ-ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ต้องเข้าใจว่า “ปัญญา” คือ “ขณะที่กำลังฟัง ขณะนี้”

เข้าใจขึ้นบ้างหรือยัง

ในเรื่อง ของ “สภาพธัมมะที่มีจริงๆ ” ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้ายังไม่เข้าใจ ปัญญาก็ยังไม่เกิด แล้วจะทำยังไง ก็ต้องฟังอีก ฟังแล้วก็ต้องคิด แล้วก็ต้องพิจารณาด้วย เพราะเหตุว่าบางครั้งมีการฟังจริง แต่ไม่ได้คิดตามที่ได้ฟังเลย ฟังเท่านั้น ใครถามก็อาจจะบางที ตอบไม่ได้เลย ว่า “ฟังเรื่องอะไร”

แต่ว่า ถ้า ฟัง แล้วพิจารณา แล้วเข้าใจขึ้นนิดหนึ่ง ว่า วันนี้ พูดถึงเรื่อง-สภาพของจิตใจ พูดถึงเรื่อง-ปัญญา ซึ่งเป็น “สิ่งที่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ” และ “ทุกอย่าง-ไม่ใช่ตัวตน” - “สภาพธัมมะ-เกิดขึ้น-แล้วก็ดับไป”

ถ้า มีความเข้าใจเกิดขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย เป็นสังขารขันธ์ อย่างที่เราเคยพูดว่า ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ “ไม่มีตัวเราเลย” มีแต่สภาพธัมมะ ซึ่งแยกไปตามความยึดถือ ตามความติดข้อง เพราะฉะนั้น “สังขารขันธ์” ก็คือ “ความเข้าใจในขณะนี้” จะ ปรุงแต่ง ให้มีความเข้าใจ ขณะต่อไป เพิ่มขึ้นๆ

เพราะฉะนั้น “การปฏิบัติธัมมะ” หมายความถึง “การอบรมเจริญปัญญา” ซึ่งยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น และ ก็ให้เพิ่มขึ้น ให้มีมากขึ้น และ “ปัญญา” นั้น ไม่ใช่ - รู้อย่างอื่นเลย “รู้ - สิ่งที่กำลังปรากฏ จริงๆ ”

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปไหน อยู่ที่นี่ “มีธัมมะ-กำลังปรากฏ” แล้วก็ “มีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ” หรือยัง ถ้าไม่มีความเข้าใจ ก็เริ่มฟัง เริ่มพิจารณา แล้วไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะเหตุว่า “สภาพธัมมะ-เกิดขึ้น-เพราะเหตุปัจจัย”

เมื่อมีความเข้าใจแล้ว ก็จะ มีการระลึกรู้-สิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็พิจารณา จนกระทั่ง มีความเข้าใจถูกต้อง เพิ่มขึ้น นี่คือ “จิรกาลภาวนา” ซึ่งมีในพระไตรปิฎก การอบรมเจริญปัญญา ต้องเป็นเรื่องยาว ต้องเป็นเรื่องนาน ต้องเป็นเรื่องละเอียด เพราะเหตุว่า เป็น ปัญญา ที่รู้ สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ตามที่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว พระองค์ตรัสรู้ว่า “สภาพธัมมะขณะนี้-กำลังเกิดดับ”

ท่านพระอัญญาโกญทัญญะ ซึ่งเป็นพระสาวกรูปแรก ก็ได้รู้ตามความเป็นจริงในขณะที่ ได้ฟังพระเทศนาจบลง ว่า “สภาพธัมมะ-ขณะนี้-เกิดแล้วดับ-จริงๆ ” ขณะนั้น จะเป็น หนทาง ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่ถ้าไม่ใช่ ปัญญา อย่างนี้ “ก็เป็นตัวตน” ซึ่ง ไปทำ โดยการที่ ไม่ฟังพระธรรม ให้เข้าใจ ว่า การตรัสรู้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น และให้บุคคลทั้งหลายได้อบรมเจริญปัญญาตามก็คือ “รู้ – สิ่งที่กำลังปรากฏ

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
tanrat
วันที่ 23 มิ.ย. 2558

กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 23 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nakul63
วันที่ 23 มิ.ย. 2558

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 23 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 24 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
apiwit
วันที่ 24 มิ.ย. 2558

ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายก่อนนะครับว่าชาวพุทธหมายถึงอะไร

คำว่า พุทธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ดังนั้น ชาวพุทธ คือ ผู้ที่มีปัญญารู้แจ้งแทงตลอด มีปัญญาที่เข้าใจหรือถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหรือสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้อย่างถูกต้องจนละคลายความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน อันเป็นเหตุแห่งความติดข้องในสิ่งทั้งหลาย สามารถดับกิเลสได้ นี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่าชาวพุทธครับ ไม่ใช่เพียงแต่นับถือพุทธแต่ไม่ศึกษาพระธรรมครับ แต่ต้องศึกษาโดยละเอียดจนกระทั่งเป็นปัญญาของเราเอง

แต่ปัญญาไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ครับถ้าไม่ฟังธรรมบ่อยๆ เพราะเหตุว่าแม้ปัญญาก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง และทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงต้องมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น แม้ว่าชาตินี้เราจะฟังธรรมไม่เข้าใจในชาตินี้ แต่ปัญญาเป็นเจตสิกตัวหนึ่งซึ่งมันสามารถสั่งสมข้ามภพข้ามชาติได้

แม้จะมีความเข้าใจธรรมในขั้นของการฟังแต่ยังไม่ใช่ปัญญาในขั้นประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริงครับ ดังนั้นก็ต้องอบรมเจริญปัญญาต่อไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว ปัญญาจะปฏิบัติกิจของปัญญาครับ.

แม้แต่คำว่า ปฏิบัติ คนคิดว่า หมายถึง ทำ แต่ความจริงแล้วปฏิบัติมาจากคำ ๒ คำ คือ ปฏิ แปลว่า เฉพาะ บัติ แปลว่า ถึง ดังนั้น ปัญญาปฏิบัติก็คือเป็นปัญญาที่ถึงเฉพาะความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้นั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
apiwit
วันที่ 26 มิ.ย. 2558

เมื่อนาทีสุดท้ายของชีวิตมาถึง ความสำเร็จทั้งหมดที่เคยมีมาล้วนเป็นเรื่องมายา แต่ความสำเร็จที่แท้จริงคือความสำเร็จทางธรรม เป็นความโชคดีที่ได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ การได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ก็ยากแสนยาก เพราะต้องมีบุญ แต่เป็นความโชคดีมหาศาลที่ได้มีโอกาสเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธองค์ทรงแสดงหนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญาเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นหนทางแห่งความรู้แจ้งและความหลุดพ้น หลุดจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์อันยาวนานอย่างทุกข์ทรมาน เราจะได้ไม่ต้องดิ้นรนหาความสุขอีกต่อไป เราไม่ควรที่จะพลาดโอกาสสำคัญอันนี้ โอกาสที่จะได้พบสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดในจักรวาลนั่นคือพระพุทธศาสนา เราจึงควรเริ่มต้นศึกษาพระธรรมอย่างจริงจังตั้งแต่วินาทีนี้ ผมคิดว่ามันไม่สำคัญหรอกครับว่าเราจะมีชีวิตอยู่อีกนานเท่าไร แต่มันสำคัญที่เราได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดแล้วหรือยัง และสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิตก็คือการเกิดมาได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า หากเกิดมาเป็นชาวพุทธแล้วไม่ได้ศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ก็เปรียบเหมือนลิงได้แก้วคือมีสิ่งที่มีค่าอยู่ในมือแต่กลับไม่เห็นคุณค่า ดังนั้นเราจึงควรเห็นคุณค่าของการฟังธรรมจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
raynu.p
วันที่ 27 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
WS202398
วันที่ 3 ก.ค. 2558

พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม ๑๓ - หน้าที่ 181

การตั้งอยู่ในอรหัตตผล

[๒๓๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก เท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำ โดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้

เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้

เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้

เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง

เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม

ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาดย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร


ธัมมัสสวนสูตร

[๒๐๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ๑ ย่อมทำความเห็นให้ตรง ๑ จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒


ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาล อันควร ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรม
โดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่ง ด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ฯ

ดูกรอานนท์ จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวก ของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคตและย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม โดยกาลอันควร ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร ๖ ประการ นี้แล ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ประสาน
วันที่ 12 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
jirat wen
วันที่ 12 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
thilda
วันที่ 14 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Patchanon
วันที่ 26 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 30 ก.ค. 2558

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chvj
วันที่ 1 ส.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
สิริพรรณ
วันที่ 7 พ.ค. 2564

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

เกิดมาในชาตินี้ มีหู มีตา มีกาย เพื่อประโยชน์ในการฟังความจริงตามพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ความเข้าใจความจริงที่ทรงแสดงความเป็นไปของสภาพธรรมแต่ละหนึ่งๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เท่านั้น ที่จะค่อยๆ คล้อยไปในกิจที่เป็นกุศลที่เจริญขึ้น มั่นคงขึ้น เป็นเสบียงการเดินทางไกลต่อไป โดยมีแสงสว่างคือความรู้ความจริงจากการอบรมปัญญา คอยส่องทางเดินให้ถูก ตรง ตามหนทางที่จะถึงการสิ้นสุดการเดินทางได้ในวันหนึ่ง มีโอกาสนั้นแล้วไม่พลาดการฟังพระธรรมในทุกวันที่ยังมีลมหายใจค่ะ


กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศล อาจารย์วิทยากร เจ้าหน้าที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสหายธรรมที่เผยแพร่พระธรรมทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 7 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
Jarunee.A
วันที่ 25 ต.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ