ความแตกต่างระหว่างวิญญาณกับจิต

 
kobpha
วันที่  27 มิ.ย. 2558
หมายเลข  26701
อ่าน  983

คือกระผมมีความรู้สึกว่าวิญญาณกับจิตมันไม่ใช่อันเดียวกัน ไม่แน่ใจว่ากระผมเข้าใจถูกหรือผิด เพราะหลังจากที่คอยตามรู้เมื่อเกิดการกระทบ สังเกตว่า บางครั้งก็แค่รู้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจแต่อย่างใด แล้วก็ไม่ได้มีความพอใจหรือไม่พอใจกับการที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจเกิดขึ้นแต่อย่างใด อันนี้กระผมเข้าใจว่าเป็นแค่วิญญาณหรือธาตุรู้ยังไม่ได้พัฒนาจนเป็นจิต อันนี้กระผมเข้าใจถูกหรือผิดช่วยวิเคราะห์ให้หน่อยครับ

ส่วนบางครั้งเมื่อมีการกระทบเกิดขึ้นดังที่กล่าวข้างต้น เกิดเวทนาคือเกิดความพอใจหรือไม่พอใจ หรือความรู้สึกเฉยๆ กระผมจึงพอทราบว่าเกิดการเข้าไปยึดสิ่งที่รู้แล้ว บางครั้งพอรู้ว่าเข้าไปยึดแล้วก็วางไปเอง โดยไม่ต้องทำอะไรเลย แต่บางครั้งก็ใช้เวลานานกว่า แต่ถึงเป็นเข้าไปยึดในสิ่งที่รู้เป็นให้ติดอยู่ในกองทุกข์ก็ตาม กระผมคิดว่ามันยังมีประโยชน์ คือพอเมื่อนั่งสมาธิพอแค่จิตสงบ กระผมมักนำมันมาพิจารณาย้อนกลับไปกลับมา จึงพอทราบได้บ้างว่า เมื่ออายตนะภายนอกกระทบอายตนะภายในจึงเกิดผัสสะ วิญญาณทั้งหกก็ปรากฎให้เห็นตามแต่ละอายตนะที่กระทบกันให้รู้ หลังจากนั้นจึงปรากฏเวทนา (สุข ทุกข์ อทุกขมสุข) แล้วจึงเกิดความอยาก เมื่อเกิดความอยากจึงมีการเข้าไปยึด เมื่อมีการเข้าไปยึดภพหรือที่เกิดก็ปรากฏ หลังจากนั้นความเกิดความเสื่อมและความดับจึงเกิดตามลำดับ

กระผมไม่แน่ใจว่าความเข้าใจและวิธีการของกระผมจะถูกหรือคลาดเคลื่อนประการใด วอนผู้รู้ผู้มีมีประสบการณ์ช่วยแนะด้วยครับ

ขอขอบคุณมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิญญาณ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นนามธรรม แปลตามศัพท์ได้ว่า เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้ง (ซึ่งอารมณ์) เป็นสภาพธรรม ที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ วิญญาณ กับ จิต เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะหลายประการ ที่หมายถึงจิต เช่น มนะ หทยะ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ วิญญาณธาตุ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะของจิตซึ่งเป็นสภาพธรรมที่แต่ละบุคคลมีด้วยกันทั้งนั้น (ในชีวิตไม่ปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว) หนึ่งในนั้น คือ วิญญาณ ดังนั้น จิต กับ วิญญาณจึงเป็นธรรมอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 27 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิญญาณ กับ จิต เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ มีพยัญชนะหลายประการที่หมายถึงจิต เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะของจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่แต่ละบุคคลมีด้วยกันทั้งนั้น (ในชีวิต ไม่ปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว) หนึ่งในนั้น คือ วิญญาณ ดังนั้น จิตกับวิญญาณจึงเป็นธรรมอย่างเดียวกัน วิญญาณไม่มีการล่องลอย ไม่มีรูปร่าง วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะมีอยู่ทุกขณะ แม้แต่ขณะนี้ที่เห็น ก็เป็นวิญญาณ คือ จักขุวิญญาณ (จิตเห็น) โสตวิญญาณ (จิตได้ยิน) เป็นต้น ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tanrat
วันที่ 27 มิ.ย. 2558

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Phutporn
วันที่ 27 มิ.ย. 2558

อนุโมทนา สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 29 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pdharma
วันที่ 30 มิ.ย. 2558

วิญญาณกับจิต เป็นสิ่งเดียวกัน
วิญญาณ (จิต) ไม่ใช่เจตสิก
เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิก 7 อย่างเกิดร่วมด้วยเสมอ เช่น ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก

เชิญอ่าน คำตอบของ อ.ผเดิม ได้อีกที่ จักขุวิญญาณจิตมีเจตสิกใดเกิดร่วมด้วยบ้าง? อาจทำให้เข้าใจได้มากขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kobpha
วันที่ 1 ก.ค. 2558

ขอขอบพระคุณที่เข้ามาให้ความกระจ่างครับ แล้วกระผมจะคงคอยดูมันอีกต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
swanjariya
วันที่ 1 ก.ค. 2558

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
gogojojoj
วันที่ 5 ก.ค. 2558

ถ้าจิตกับวิญญาณเป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน เหตุผลใดจึงต้องแยกอรรถแห่งพยัญชนะ โดยสมมติบัญญัติแห่งพยัญชนะ เพื่ออธิบายหรือแสดงสภาพธรรมต่างๆ ทั้งที่ก็เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน?

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.ค. 2558

จะใช้คำว่าวิญญาณหรือจิต เพื่อให้คนฟังเข้าใจในสิ่งนั้น เช่น คำว่าทาน หรือ กิน ก็มีความหมายเหมือนกัน สำคัญที่ขณะนี้เป็นธรรมะที่มีจริงๆ กำลังปรากฏแต่ละหนึ่ง สะสมความเข้าใจขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Jarunee.A
วันที่ 28 ต.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ